ภาพพระปางแก่นจันทนืโลหะเรียงตามแต่ละยุค
โดยสรุปจากหนังสือของ Soper, Alexander Coburn เรื่อง Literary Evidence for Early Buddhist Art in China. Ascona: Artibus Asiae. หน้า Xiii, 262 ได้กล่าวถึงคำบอกเล่าของพระภิกษุเสวียนจั้ง ท่านได้เห็นพระพุทธปฏิมาไม้แก่นจันทน์สามองค์ซึ่งเป็นที่นิยมเคารพบูชาอย่างแพร่หลาย องค์ที่หนึ่งสูง 20 ฟุต (สีทอง) อยู่ที่หันโม แคว้นโขตาน ซึ่งเชื่อกันว่าเป็นองค์ดังเดิมที่แท้จริงและ(ไปสู่จีน?) องค์ที่สองในวิหารที่โกสัมพีซึ่งพระเจ้าอุเทนเป็นผู้สร้างจำลองเพื่อเผยแผ่พระศาสนาตามที่ท่านฟาเหียนบอกไว้ และองค์ที่สามอยู่ในเชตวันมหาวิหารที่สาวัตถีอันเป็นองค์ที่ทรงสร้างโดยพระเจ้าปเสนทิโกศล ดังปรากฏในหนังสือ ถังซำจั๋ง จดหมายเหตุการเดินทางสู่ดินแดนตะวันตกของมหาราชวงศ์ถัง
องค์ที่หนึ่งสูง 20 ฟุต (สีทอง) อยู่ที่หันโม แคว้นโขตาน ซึ่งเชื่อกันว่าเป็นองค์ดังเดิมที่แท้จริงและ(ไปสู่จีน?) มีหลักฐานภาพถ่ายพระพุทธรูป(คล้ายกับพระแก่นจันทน์) ตรงกำแพงด้านทิศตะวันออกและตะวันตกเฉียงใต้ในพระเจดีย์ราวัก แห่งเมืองโบราณโขตาน (เหอเถียน, ซินเจียง)
Sand Buried Ruin of Khotan Vol II - XVIId - Relief sculptures on outer south-east wall, Rawak stupa court - Stein numbered these lv to lxx - this is fourth in the set of four.
ที่มา http://www.xenophon-mil.org/china/centralasia/sandkhotan2xviid.htm
Sir Marc Aurel Stein
ที่มา https://www.winnews.tv/news/14270
http://www.nationalmuseumindia.gov.in/hindi/prodCollections.asp?pid=45&id=5&lk=dp5
Wall painting of Hinyana monks with strongly Indian features Buddhist Shrine M. Photo Serindia
http://rolfgross.dreamhosters.com/SteinFinal/SecondExpedition/SecondExpedition.html
Kingdom of Khotan https://en.wikipedia.org/wiki/Kingdom_of_Khotan
ท่านพระถังซำจั๋งได้จดจารึกถึงพระแก่นจันทน์องค์ที่ 2 ที่พระเจ้าอุเทนสร้างไว้ว่า " พระราชวังเก่าในเมืองหลวงมีวิหารใหญ่หลังหนึ่ง สูงกว่า 60 เชี๊ยภายในประดิษฐานพระพุทธรูปจำหลักด้วยไม้จันทน์องค์หนึ่ง มีฉัตรศิลาแขวนห้อยอยู่ พระเจ้าอุเทนราชาทรงสร้างไว้ มีความศักดิ์สิทธิ์มาก เปล่งรัศมีส่องสว่างเป็นนิจ "
จดจารึกถึงพระแก่นจันทน์องค์ที่ 3 ที่พระเจ้าปเสนทิโกศลสร้างไว้ว่า "ที่สวนอนาถปิณฑิกะผู้ซึ่งเป็นอำมาตย์ผู้ใหญ่ของพระเจ้าประเสนชิตราชาสร้างถวายพระพุทธเจ้าเดิมที่สร้างเป็นอาราม แต่บัดนี้ปรักหักพังไปมดแล้ว คงเหลือตัวเรือนและห้องหับต่างๆ ทรุดโทรมแล้ว เหลือแต่ฐานปรักหักพัง ที่ยังเหลือแข็งแรงคงทนอยู่เพียงสิ่งเดียวคือห้องที่ก่อด้วยอิฐ "มีพระพุทธรูปประดิษฐานอยู่ภายใน" เมื่อครั้งที่พระพุทธองค์เสด็จสู่ดาวดึงส์เพื่อแสดงธรรมเทศนาพระทานพุทธมารดานั้น พระเจ้าประเสนชิตราชา (ประเสนทิโกศล) ทรงได้ข่าวว่าพระเจ้าอุเทนราชาทรงจำหลักพระพุทธรูปด้วยไม้จันทน์ พระองค์จึงทรงสร้าง พระปฏิมาองค์นี้ขึ้น"
ภาพพระแก่นจันทน์,The Sandalwood Buddha, Zandan Zhuu ขณะทรงประดับและไม่ประดับเครื่องทรงธิเบต จะสังเกตเห็นได้ว่าจะมีพระพุทธลักษณะเหมือนกับพระแก่นจันทน์นิกายมหายยานหรือเถรวาทด้วย ซึ่งเชื่อกันว่าเป็นพระแก่นจันทน์ที่มีพระพุทธลักษณะและรูปแบบระบุว่าตามตำนานพระแก่นจันทน์พระเจ้าปเสนทิ/พระเจ้าอุเทนปรากกฏในว่า There are two stories about the creation of Zandan Zhuu. First of them can be found in a Chinese translation of Ekottara-Agama Sutra (Anuttara-nikaya) that were written by the Indo-Bactrian monk Dharmananda (384–385 CE). According to that story,
ที่มา http://www.tangmi.com/indiaphoto/buddha1.htm http://www.academia.edu/11720847/Cong_Bei_Yindu_dao_Buliyate_Mengguren_sheyezhong_de_zhantan_foxiang_从北印度到布里亚特_蒙古人视野中的旃檀佛像
ถ้าตามเอกสารของ Cong Bei Yindu dao Buliyate : Mengguren sheyezhong de zhantan foxiang 从北印度到布里亚特:蒙古人视野中的旃檀佛像 ก็ระบุว่าเป็นพระแก่นจันทน์องค์แรกดั่งเดิมอันเป็นองค์ที่พระเจ้าปเสนทิทรงสร้าง และไปอยู่ที่หันโม แคว้นโขตาน(Han-mo Khotan) ซึ่งเชื่อกันว่าเป็นองค์ดังเดิมที่แท้จริง ตามประวัติคำทำนายว่า "อีกพันกว่าปีพระแก่นจันทน์นี้จะไปจากอินเดียแล้วไปประดิษฐานอยู่ที่ประเทศจีน" และสุดท้ายอยู่รัสเซียในปัจจุบันนี้? ส่วนความจริงจะเป็นอย่างไร เป็นเรื่องที่นักประวัติศาสตร์และนักปราชญ์ทางพระพุทธศาสนา ต้องติดตามไปพิสูจน์กันต่อไป