วิธีเช็คความผิดปกติของแอนดรอยโฟน ฉบับรวดเร็ว

วันที่ 11 กพ. พ.ศ.2557

 

วิธีเช็คความผิดปกติของแอนดรอยโฟน

ฉบับรวดเร็ว เวลาซื้อมือถือในงาน

 

.....สวัสดีครับ เมื่อสู่ช่วงเดือนกุมภาพันธ์ หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่าเดือนแห่งความรัก สำหรับคนไม่มีความรักอย่างผมใจจริง ก็อยากจะให้เมื่อจบเดือนมกราคม ก็อยากจะข้ามไปเดือนมีนาคมกันเลยทีเดียว แต่ปีนี้จะพิเศษกว่าทุกปีเพราะนอกจากวันที่ 14 กุมภา จะเป็นวันวาเลนไทม์แล้ว ยังเป็นวันมาฆบูชาอีกด้วย เท่านั้นยังไม่พอ ยังเป็นที่มหกรรมโทรศัพท์ ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในประเทศไทย ได้จัดงาน Thailand Mobile Expo ขึ้นในวันเดียวกันนี้อีก โอ้ววพระเจ้า วันนี้ผมเลยมีบทความดีๆมาฝากเพื่อนๆกัน เพราะแน่นอนว่าเพื่อนๆ หลายๆ คนคงจะคิดเอาไว้แล้วว่าจะ ไปหาซื้อสมาร์ทโฟนมาใช้สักเครื่องนึง แต่การจะเช็คเครื่องด้วยกลวิธี ที่ไม่ว่าผมจะเคยเขียนไว้มาก่อน หรืออาจจะเคยอ่านเจอตามเน็ต บางคนถึงกลับปริ้นออกมาแล้วก็ มานั่งอ่านพร้อมกับทำตามั้นตอน ซึ่งบางทีเราไม่ได้มีเวลา ในการตรวจเช็คนานขนาดนั้น อาจจะด้วยสถานที่ เวลา ความวุ่นวายที่จะเกิดขึ้นในงาน ดังนั้น วันนี้ผมเลยจะมาเสนอวิธีการ ตรวจเช็คสมาร์ทโฟนแบบง่ายๆ ไม่ต้องโหลดแอปนู้นนี่นั่นมาตรวจเช็ค ให้วุ่นวายครับ

 

 


วิธีแรก เช็คจากบริการของตัวเครื่อง


.....วิธีนี้เป็นวิธีที่คนส่วนใหญ่จะใช้กันนะครับ เพราะว่าค่อนข้างที่สะดวก ไม่ต้องไปวิ่งหา Wifi มาต่อเน็ตเพื่อโหลดแอปนู้นนี่นั่น เพียงแค่เรากดตัวเลขเพียงไม่กี่ตัวเท่านั้น เราก็จะสามารถเข้าสู่โหมดแผงควบคุมการใช้งานต่างๆของสมาร์ทโฟนเครื่องนั้นๆ ให้เราสามารถเช็คการใช้งานได้ทันทีว่าจอนั้นสามารถแสดงสีต่างๆได้ถูกต้องหรือไม่ ลำโพงแตกหรือมีปัญหารึป่าว ไปจนถึงการเช็คเซ็นเซอร์ การเช็คการสั่น การเช็คการทัช ซึ่งตัวเลขของแต่ละค่ายนั้นก็จำไม่ยาก ดังนี้ครับ
 

ก่อนอื่นให้นำสมาร์ทโฟนขึ้นมา เข้าไปที่เมนูโทรแล้วกดตัวเลข



•Samsung กด *#0*#
                     
•Sony กด *#*#7378423#*#*
                     
•HTC กด *#*#3424#*#*
                     
•LG กด 3845#*รหัสรุ่น#
                     
•OPPO กด *#808#

 

.....ซึ่งหลังจากที่เรากดเสร็จตัวเครื่องจะเด้งมาในหน้าแผงตรวจสอบตัวเครื่องเลย ก็ก็สามารถที่จะเช็คได้ทันทีว่าเครื่องใช้งานได้สมบูรณ์แบบรึป่าวนั่นเองง...

 

 

 

วิธีที่สอง เช็คจากการใช้งานจริง


.....วิธีที่สองคือการใช้งานจริงจากแอพพลิเคชัน และลูกเล่นในตัวเครื่อง เพราะไหนเราก็ต้องใช้งานอยู่แล้ว เราก็เอาวิธีใช้งานนั้นมาใช้ในการตรวจเช็คตัวเครื่องได้เลยดังนี้ครับ

 

.....เช็คกล้องหน้า/หลัง ด้วยการเปิดแอปฯกล้อง (ของตัวเครื่องนะครับ ไม่ควรเปิดด้วยแอปฯ เสริมเช่น Camera360) แล้วส่องไปที่จุดที่เป็นสีพื้นเช่น ขาว ฟ้า เขียวอ่อน หากมีสีที่ปกติ ขั้นตอนต่อไปก็ลองกดถ่ายดูครับ การจับโฟกัส ไฟแฟลชทำงานปกติหรือไม่ ตัวกล้องมีฝุ่นอยู่ในเลนซ์รึป่าว เช็คดูให้ดีครับ


.....เช็คลำโพงและหูฟัง ก่อนอื่นคือลำโพง ควรจะเปิดเสียงจากเบาสุด และค่อยๆปรับไปเรื่อยๆจนดังสุดครับ เพลงที่ใช้ควรเลือกใช้เพลงที่เน้นเบส เน้นเสียงกระทึกครึกโครม หากสมาร์ทโฟนเครื่องนั้นสามารถปรับแต่งเสียงได้คุณก็ลองปรับๆดูเลยครับ หากไม่มีปัญหาอะไรเสียงใส ก็โอเครครับ ต่อมาคือหูฟัง แต่ก่อนจะใช้ก็ควรจะสอบถามพนักงานก่อนนะครับว่าก่อนทำการชำระเงินสามารถทดลองใช้หูฟังได้มั้ย เพราะนี่ไม่ใช่แค่การเช็คว่าหูฟังมีปัญหาหรือไม่ เรากำลังจะเช็คอีกด้วยว่ารูเสียบหูฟังที่ตัวเครื่องมีปัญหาหรือไม่ครับ


.....เช็คเซ็นเซอร์ต่างๆในเครื่อง แน่นอนว่าเราอาจจะ ไม่ได้รู้ว่าตัวเครื่องที่จะซื้อนั้นมันมีเซ็นเซอร์ อะไรมาให้บ้าง ซึ่งผมจะมาแนะนำการเช็คแบบเบื้องต้นให้นะครับ


.....1.ลองกดโทรบอกแล้วเอาสมาร์ทโฟนแนบหูดู ถ้าจอดับแสดงว่าไม่มีปัญหา
.....2.ลองเล่นเกมที่ต้องใช้การโยกเครื่องในการควบคุม ถ้าใช้ได้ปกติก็ผ่าน
.....3.ลองเปิดภาพขึ้นมาแล้วลองดูในแนวนอน หากภาพกลับมุมเป็นแนวนอนแสดงว่าไม่มีปัญหา
.....4.ลองกดปรับแสงหน้าจออัตโนมัติ ถ้าหากเราอยู่ในที่มืดแล้วจอลี่แสงลง หรือถ้าเราอยู่ในที่สว่างแล้วจอก็สว่างตามไปด้วย แสดงว่าปกติ
.....5.สุดท้าย ลองเซ็นเซอร์พิเศษที่ตัวเครื่องใส่มาให้ เช่นของ Samsung Galaxy S4 ที่มีมาถึง 9 เซนเซอร์ด้วยกัน ถ้าทุกอันสามารถใช้งานได้ปกติ ก็ถือว่าผ่านในเรื่องของเซ็นเซอร์ครับ


.....หน้าจอ ถือว่าเป็นส่วนที่สำคัยเลยทีเดียว และก็ถือว่าเป็นส่วนที่ต้องเช็คให้ละเอียดที่สุด เพราะทุกวันนี้จอมักจะมีปัญหาต่างๆนานๆไม่ว่าจะเป็นสีเหลือง จอฟ้า จอมีจุดดำ Dead Pixle มีฝุ่นอยู่ข้างใน เป็นต้น วิธีการเช็คและเห็นผลที่สุดก็คือหาภาพหรือเข้าไปในส่วนไหนก็ได้ของตัวเครื่องที่มีแต่สีขาวล้วน หรือสีดำล้วน เพื่อ สีขาวจะทำให้เราเห็นจุดดำ และความขาวจะแสดงให้เห็นว่ามันขาวอมเหลือง อมฟ้า หรือขาวจริงๆ ส่วนสีดำจะทำให้เราเห็นจุดขาว เส้น และฝุ่นที่อาจจะเล็กมากๆจนมองแทบไม่เห็นนั่นเอง
                     

.....ระบบทัชรื่องการทัชสกรีนถือเป็นอีกเรื่องที่สำคัญเพราะมันเป็นการควบคุมการใช้งานทั้งหมดบนตัวสมาร์ทโฟน วิธีการเช็คก็แค่ทัชๆไม่ใช่ปัญหา แต่ที่ต้องเช็คคือมันทัชได้ตรงจุดรึป่าว ทัชได้ทุกจุดทุกส่วนของหน้าจอรึป่าว ที่สำคัญคือทัชได้กี่จุด เช็คโดยการเปิดรูปภาพแล้วลองซูมเข้า ซูมออกด้วยการจีบนิ้ว ถามว่าทำไมเช็คแค่นี้ เพราะปกติการใช้งานเราก็คงจะได้ใช้ระบบมัลติทัชแค่สองจุดเท่านั้น จึงไม่จำเป็นต้องไปเช็คให้วุ่นวาย แต่ถ้ายังไม่สบายใจ อาจจะต้องโหลดแอปที่เช็คเรื่องมัลติทัชมาช่วยนั่นคือแอป MultiTouch Tester แอปนี้จะช่วยทำให้เรารู้ว่าสมาร์ทโฟนที่เรากำลังใช้อยู่ทัชได้สูงสุดกี่จุดนั่นเอง
        

.....เช็คปุ่ม ปุ่มในที่นี้ไม่ว่าจะเป็นปุ่มเพิ่ม/ลดเสียง ปุ่มปลดล็อค สมาร์ทโฟนบางตัวยังมีปุ่มโฮม ปุ่มกลับ อยู่ เราก็ต้องเช็คให้เรียบร้อยโดยการกดใช้งาน เช็คว่าปุ่มแน่นดีหรือไม่ ปุ่มบุบเข้าไปข้างในมากเกินไปหรือป่าว หรือหลวมจนแทบจะหลุด ยังได้ก็เช็คดูให้ดีนะครับ
 

.....แบตเตอรี่ สังเกตง่ายๆเลย ในระหว่างที่เราเช็คเครื่องและลองใช้งานนู้นนี่นั่น รู้สึกว่าแบตมันลดลงอย่างรวดเร็วรึป่าว ถ้าปกติดี ก็ถือว่าใช้ได้ครับ
 

.....เช็คสัญญาณเน็ต ไม่ว่าจะเป็นสัญญาณโทรศัพท์หรือสัญญาณ Wifi ลองเอาไปเปรียบเทียบกับเครื่องอื่นดูว่ารับสัญญาณได้ดีเหมือนกันหรือไม่ สัญญาณแรงมั้ย ไม่ใช่แค่ตรวจจับสัญญาณนะครับ ลองเชื่อมต่อและเล่นดู จะลองโหลดแอป เข้าเว็ป ฯลฯ

 

 


 

 

วิธีที่สาม ให้แอปช่วยเช็คให้
                

.....สุดท้ายก็ต้องเพิ่มแอปฯนะครับ แต่วิธีนี้จะค่อนข้างดี เหมาะสำหรับคนที่ไม่แน่ใจว่าเครื่อง ที่ตนกำลังจะซื้อมันใช่เครื่องที่มีสเปกเดียวกับที่ต้องการหรือไม่ หรือเครื่องที่กำลังจะซื้อเป็นเครื่องของแท้ ไม่ใช่เครื่องก็อปเกรดเอ หรือเครื่องก็อปแบบเหมือนเป๊ะๆ เราจะมาพึ่งพาแอปฯที่มีชื่อว่า Vellamo mobile benchmark แอปฯจากค่ายผลิต CPU รายใหญ่อย่าง Qualcomm นั่นเอง แต่ไม่ใช่ว่าจะเช็คได้แต่สมาร์ทโฟนที่ใช้ CPU ของ Qualcomm เท่านั้นนะครับ CPU ค่ายไหนก็สามารถใช้ได้ครับ แล้วการใช้งานใช้ยังไง จริงๆแอปตัวนี้เป็นแอปที่ใช้ตรวจสอบ เรื่องการใช้งานสมาร์ทโฟนในส่วนของการรัน HTML5 และการใช้งานในภาพรวมนะครับ ไม่ได้ตรวจสอบเรื่องกราฟฟิค อะไรมากมายเหมือนแอปประเภท Benchmark ตัวอื่นๆ แล้วถามว่ามันมีประโยชน์ยังไง แค่แอปตัวนี้จะช่วยดูว่า ตัวเครื่องของเราเป็นสมาร์ทโฟนยี่ห้ออะไร รุ่นอะไร ใช้สเปกอะไรอยู่ รายละเอียดชัดเจนมากครับ เพียงเท่านี้เราก็จะไม่โดนหลอกอีกต่อไป...

 

 

 

 

วิธีที่สี่ เช็คตามมีตามเกิด


.....เป็นวิธีที่ฟังดูแล้วอาจจะน่าสะพรึงไปซะหน่อย แต่เราก็ต้องเข้าใจครับว่าการซื้อสมาร์ทโฟน ยิ่งถ้าไปซื้อในงาน ด้วยเวลา ด้วยสถานที่ และสถานการณ์ตอนนั้นมันอาจจะวุ่นวายมาก อีกทั้งถ้าจะรอจนเค้าสะดวกขายก็ไม่ใช่เรื่อง ยิ่งถ้าเราแอบหนีงานมาเที่ยวงาน แล้วต้องรีบกลับไปทำงานยิ่งไปกันใหญ่ เวลาชั่งน้อยนิด แต่ด้วยความไว้เนื้อเชื่อใจว่ายังไงซะสินค้ามือหนึ่งก็ไม่น่าจะมีปัญหาอะไร ยังไงเช็คสักหน่อยก็ดีนะครับ อย่างน้อยสิ่งควรจะเช็คเลยก็คือสิ่งที่แถมมากับตัวเครื่อง ก่อนซื้อเราอาจจะเช็คมาแล้วว่าตัวเครื่องนี้ในกล่องน่าจะมีอะไรแถมมาให้บ้าง คู่มือ ที่ชาร์ต หูฟัง บางรุ่นอาจจะมี Docking และ NFC Tag แถมมาให้ เราก็ต้องเช็คให้เรียบร้อยว่าของมีครบมั้ย ที่สำคัญเลยคือเช็คว่าเครื่อง กับกล่องมีรหัสเครื่องรหัสอีมี่ตรงกัยหรือไม่ เมื่อชำระเงินแล้วก็เก็บใบเสร็จไว้ให้ดี ก่อนจะเดินออกจากร้านเราก็ทำการเปิดเครื่อง (เพราะชำระเงินเครื่องก็เป็นของเรา 100%) เราก็สามารถที่จะทำอะไรกับเครื่องก็ได้ ตอนนี้แหละครับ อยากเล่นอะไร อยากเข้าตรงไหน อะไรที่คิดว่าซื้อไปต้องได้ใช้แน่ เข้าเลยครับ ไม่ต้องอาศัยวิธีการ ไม่ต้องพึ่งหลักการ ถ้าใช้ๆอยู่แล้วไม่มีปัญหาก็เดินออกจากร้านได้อย่างสบายใจ แต่ถ้าเครื่องเกิดงอแงขึ้นมา เราก็กลับไปที่จุดขายเพื่อขอเปลี่ยนเครื่องได้เลย เพราะเราก็ยังไม่ได้เดินออกจากร้านนิครับ ถูกมั้ย? สุดท้าย ก็อย่าลืมสอบถามเรื่องบริการหลังการขาย และการประกันด้วยนะครับ สอบถามรายละเอียดให้เรียบร้อย ก่อนชำระเงินก็สอบถามหาของแถมซะหน่อย ต่อราคาซะบ้าง ส่วนลดนู้นนี่นั่น เพื่อที่เราจะได้ไม่เสียสิทธิ์นั่นเองครับ

 

 

 


เผื่อจะมีประโยชน์กับผู้ที่กำลังคิดจะซื้อสมาร์ทโฟน สำหรับวันนี้ต้องขอลาไปก่อน สวัสดีครับ

 

 

 

 

 

 

 ยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคล Total Execution Time: 0.0011197010676066 Mins