นอกจากธรรมกายของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าและพระปัจเจกพุทธเจ้าแล้ว ในพระไตรปิฎกบาลียังกล่าวถึงธรรมกายของพระพุทธสาวกด้วยดังที่ปรากฏในมหาปชาบดีโคตมีเถรีอปทาน อันเป็นถ้อยคำที่พระมหาปชาบดีโคตมีเถรีกราบทูลลาพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเพื่อเสด็จปรินิพพาน
พระมหาปชาบดีโคตมีเถรี คือพระมาตุจฉาผู้เป็นประดุจพระมารดาที่ทรงเลี้ยงดูเจ้าชายสิทธัตถะมาตั้งแต่แรกประสูติ และในภายหลังที่พระบรมโพธิสัตว์ได้ตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแล้ว พระมหาปชาบดีโคตมีได้ทูลขอพระบรมพุทธานุญาตออกผนวชด้วย โดยเป็นภิกษุณีองค์แรกในพระพุทธศาสนา และได้ตรัสรู้ธรรมเป็นพระอรหันตเถรีองค์หนึ่ง
ข้อความที่ท่านกราบทูลพระบรมศาสดานั้นมีคำว่า “ธรรมกาย” อยู่ด้วย ดังนี้
ข้าแต่พระสุคตหม่อมฉันเป็นมารดาของพระองค์ ข้าแต่พระธีรเจ้าพระองค์ทรงเป็นพระบิดาของหม่อมฉัน ข้าแต่พระโคดมผู้เป็นที่พึ่ง ผู้ประทานความสุขอันเกิดจากพระสัทธรรมหม่อมฉันเป็นผู้ที่พระองค์ให้เกิดแล้วข้าแต่พระสุคต พระรูปกายของพระองค์นี้หม่อมฉันได้เลี้ยงดูให้เติบโต ส่วน ธรรมกายอันน่าเพลิดเพลินของหม่อมฉัน พระองค์ทรงทำให้เติบโตแล้ว หม่อมฉันได้ถวายพระกษีรธารแด่พระองค์เพียงระงับดับกระหายได้ชั่วครู่ แต่พระองค์ทรงประทานกษีรธารคือธรรมอันสงบระงับอย่างยิ่งแก่หม่อมฉัน (แปลจากพระไตรปิฎกบาลีสยามรัฐ เล่ม 33 ข้อ 157 หน้า 284)
พระบาลีสูตรที่ ๒ เกี่ยวกับ ธรรมกาย ปรากฎใน พระสูตรขุททกนิกาย อปทาน มหาปชาบดีโคตมีเถริยาปทาน ที่ ๗ ฉบับสยามรัฐ เล่ม ๓๓ ข้อ ๑๕๗ หน้า ๒๘๔ ว่า
อหํ สุคต เต มาตา ตุวํ ธีรา ปิตา มม สทฺธมฺมสุขโท นาถ ตยา ชาตมฺหิ โคตม ฯ สํวทฺธิโตยํ สุคต รูปกาโย มยา ตว อานนฺทิโย ธมฺมกาโย มม สํวทฺธิโต ตยา ฯ มุหุตฺตํ ตณฺหาสมนํ ขีรํ ตฺวํ ปายิโต มยา ตยาหํ สนฺตมจฺจนฺตํ ธมฺมขีรมฺปิ ปายิตา พนฺธนารกฺขเน มยฺหํ อนโณ ตฺวํ มหามุเน ปตฺตกามิตฺถิโย ยาจํ ลภนฺติ ตาทิสํ สุตํ ฯ
“尊敬的善逝,我是您的母亲。尊者是传播法乐给众人的智者,但您 是我的父亲。尊敬的如来尊者,您的肉身,是我让您成长的,但是我 的令人欢喜之法身,是您让我成长的。我给您和乳汁,可以让您暂时 消除饥饿。可是您给我喝了,法河之水,让我能究竟的宁静。
๖. ในคัมภีร์ ขุทฺทกนิกาย สุตฺตนิปาต อรรถกถาปรมตฺถโชติกา ธนิยสุตฺตวณฺณนา ฉบับมหาจุฬาฯ หน้า ๓๙ ปรากฏมีข้อความเกี่ยวกับธรรมกาย ว่า
อถ ธนิโย อเวจฺจปฺปสาทโยเคน ตถาคเต มูลชาตาย ปติฏฺฐตาย สทฺธาย ปญฺญจกฺขุนา ภควโต ธมฺมกายํ ทิสฺวา ธมฺมกายสญฺโจหิตหทโย จินฺเตสิ :- "พนฺธนานิ ฉินฺทึ, คพฺภเสยฺยา จ เม นตฺถี" ติ อวีจึ ปริยนฺตํ กตฺวา ยาว ภวคฺคา โก อญฺโญ เอวํ สีหนาทํ นทิสฺสติ อญฺญตฺร ภควตา, อาคโต นุ โข เม สตฺถาติ. (*** ข้ามข้อความบางส่วน ***) ตตฺถ ยสฺมา ธนิโย สปุตฺตทาโร ภควโต อริยมคฺคปฏิเวเธน ธมฺมกายํ ทิสฺวา โลกุตฺตรจกฺขุนา, รูปกายํ ทิสฺวา โลกิยจกฺขุนา สทฺธาปฏิลาภํ ลภิ, ตสฺมา อาห "ลาภา วต โน อนปฺปกา, เย มยํ ภควนฺตํ อทฺทสามา" ติ.-
มีคำแปลที่ปรากฏใน ขุทฺทกนิกาย สตฺตนิปาต อรรถกถาธนิยสูตร เล่ม ๔๖ หน้า ๘๔ ว่า
ลำดับนั้น นายธนิยะ เห็นแล้วซึ่ง ธรรมกาย ของพระผู้มีพระภาคเจ้าด้วยปัญญาจักษุ ด้วยศรัทธา ซึ่งตั้งมั่นแล้ว อันเกิดขึ้นแล้วในพระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นมูลด้วยความเลื่อมใสที่ไม่คลอนแคลน ผู้มีหทัยอัน ธรรมกาย ตักเตือนแล้ว คิดแล้วว่านับตั้งแต่อเวจีเป็นที่สุด จนถึงภวัครพรหม เว้นพระผู้มีพระภาคเจ้าเสีย คนอื่นใครเล่าจักบันลือสีหนาทที่มีกำลังเช่นนี้ได้ พระศาสดาของเราเสด็จมาแล้วหนอ ด้วยความดำริว่า เราตัดเครื่องผูกทั้งหลายได้แล้ว และการนอนในครรภ์ของเราไม่มี (*** ข้ามข้อความบางส่วน ***) เพราะเหตุที่นายธนิยะพร้อมกับบุตรและภรรยาได้เห็น ธรรมกาย ของพระผู้มีพระภาคเจ้าด้วยโลกุตตรจักษุ โดยการแทงตลอดอริยมรรค เห็นรูปกายของพระองค์ด้วยโลกิยจักษุ และกลับได้แล้วซึ่งสัทธาฉะนั้นเขาจึงกล่าวว่า เป็นลาภของข้าพระองค์ไม่น้อยหนอ ที่ข้าพระองค์ได้เห็นพระผู้มีพระภาคเจ้า
http://www.dhammakaya.net/สมาธิ/พระธรรมกาย
ส่วนในสมาธิราชสูตรเป็นคัมภีร์มหายานอีกพระสูตรหนึ่งที่มีการกล่าวเปรียบเทียบพระพุทธองค์กับธรรมกาย เป็นพระสูตรที่สอนเรื่องการอบรมสัญญาใน“อภาวะ” และการปฏิบัติธรรมแบบเห็นพระ ส่วนในเรื่องที่กล่าวเปรียบเทียบพระพุทธองค์กับพระธรรมกายนั้น พบในต้นฉบับคัมภีร์ภาษาสันสกฤตที่ตรวจชำระและตีพิมพ์โดยสถาบันมิถิลา (Vaidya 1961b) มีข้อความที่เกี่ยวข้องปรากฏอยู่หลายแห่ง ดังตัวอย่างนี้
1. โย ธรฺมกาเย ภวติ ปฺรติษฺฐิโต อภาว ชานาติ ส สรฺวภาวานฺ | อภาวสํชฺญาย วิภาวิตาย น รูปกาเยน ชิเนนฺทฺร ปศฺยติ (Vaidya 1961b, 21)
คำแปล: ผู้ใด ย่อมดำรงมั่นอยู่ในพระธรรมกาย เขาย่อมรู้ถึงภาวะทั้งปวงว่าเป็นอภาวะ ด้วยความแจ่มแจ้งแห่งสัญญาว่าเป็นอภาวะ เขาย่อมไม่เห็นพระชินเจ้าโดยรูปกาย
2. น หิ รูปโต ทศพลานฺ ปศฺยติ โส ธรฺมกาย นรสึหานฺ (Vaidya 1961b: 77)
คำแปล: เขาย่อมไม่เห็นเหล่าพระทศพลผู้เป็นสีหะในหมู่นรชนโดยรูป (เพราะ)พระองค์ทรงมีธรรมเป็นกาย
3.ตสฺมาตฺ ตรฺหิ กุมาร โพธิสตฺตฺเวน มหาสตฺตฺเวน น รูปกายตสฺตถาคตะปฺรชฺญาตวฺยะ | ตตฺ กสฺย เหโตะ? |
ธรฺมกายา หิ พุทฺธา ภควนฺโต ธรฺมกายปฺรภาวิตาศฺจ น รูปกายปฺรภาวิตาะ
| (Vaidya 1961b, 143)
คำแปล: เพราะฉะนั้น กุมาร ในเรื่องนี้ พระโพธิสัตว์มหาสัตว์ไม่พึงรับรู้พระพุทธองค์โดยพระรูปกาย เพราะอะไร เพราะพระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทั้งหลายทรงมีธรรมเป็นกาย ทรงปรากฏโดยพระธรรมกาย มิใช่ปรากฏโดยพระรูปกาย
http://ebook.dmc.tv/book-หลักฐานธรรมกายในคัมภีร์พุทธโบราณ-1-ฉบับวิชาการ-606.html
และในคัมภีร์สมาธิราชสูตร ปรากฏหลักฐานว่า พระพุทธเจ้าผู้มีพระภาคทั้งหลาย คือ ธรรมกาย ถูกอบรมด้วยธรรมกาย มิใช่ถูกอบรมด้วยรูปกาย ปรากฏความว่า
(ทราบว่าลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกจันทรประภาผู้กุมารว่า)
"ดูก่อนกุมาร เพราะเหตุนั้นในบัดนี้ พระโพธิสัตว์มหาสัตว์พึงไม่ใส่ใจในกาย ไม่มุ่งหวังในชีวิต ฯ
ข้อนั้นเป็นเหตุแห่งอะไร? ดูก่อนกุมาร เพราะว่า เพราะเหตุแห่งความสิ้นสุดลงแห่งกายและชีวิต บุคคลย่อมเป็นผู้
ถูกอกุศลธรรมปรุงแต่ง ฯ
ดูก่อนกุมาร เพราะเหตุนั้นในบัดนี้ พระโพธิสัตว์มหาสัตว์ ไม่พึงรู้จักพระตถาคตโดยรูปกาย ฯ
ข้อนั้นเป็นเหตุแห่งอะไร? เพราะว่า พระพุทธเจ้าผู้มีพระภาคทั้งหลาย คือ ธรรมกาย ถูกอบรมด้วยธรรมกาย มิใช่ถูกอบรมด้วยรูปกาย ฯ"
ตสฺมาตฺ ตรฺหิ กุมาร โพธิสตฺตฺเวน มหาสตฺตฺเวน กาเย-นธฺยวสิเตน ชีวิเต นิรเปเกฺษณ ภวิตวฺยมฺ |
ตตฺ กสฺย เหโต: ? กายชีวิตาธฺยวสานเหโตรฺหิ กุมาร อกุศลธรฺมาภิสํสฺกาโร ภวติ |
ตสฺมาตฺตรฺหิ กุมาร โพธิสตฺตฺเวน มหาสตฺตฺเวน น รูปกายตสฺตถาคต:ปฺรชฺญาตวฺย: |
ตตฺ กสฺย เหโต: ? ธรฺมกายา หิ พุทฺธา ภควนฺโต ธรฺมกายปฺรภาวิตาศฺจ น รูปกายปฺรภาวิตา: |184
SR. 22.143.1.
http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/bitstream/123456789/605/1/53105902%20%20พรชัย%20%20หะพินรัมย์.pdf
สรุปความว่า ธรรมกาย นั้นสามารถทำให้เติบโตได้เหมือนประโยคว่า ธรรมกายอันน่าเพลิดเพลินของหม่อมฉัน พระองค์ทรงทำให้เติบโตแล้ว และธรรมกาย นั้นสามารถตักเตือนผู้เข้าถึงได้ด้วยดังประโยคว่า นายธนิยะเห็นแล้วซึ่งธรรมกายของพระผู้มีพระภาคเจ้า... ผู้มีหทัยอันธรรมกายตักเตือนแล้ว และพระโพธิสัตว์มหาสัตว์ ไม่พึงรู้จักพระตถาคตโดยรูปกาย เพราะว่า พระพุทธเจ้าผู้มีพระภาคทั้งหลาย คือ ธรรมกาย ถูกอบรมด้วยธรรมกาย มิใช่ถูกอบรมด้วยรูปกาย ฯ เพราะพระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทั้งหลายทรงมีธรรมเป็นกาย ทรงปรากฏโดยพระธรรมกาย มิใช่ปรากฏโดยพระรูปกาย