มรรค ๘
อฏฐงฺคิโก มคฺโค สมฺมาทิฏสิ สมฺมา สงฺกปฺโป สมฺมาวาจา สมฺมากมฺมนฺโต สมฺมาอาชีโว สมฺมาวายาโม สมฺมาสติ สมฺมาสมาธิ
บอกทางทีเดียว ข้อปฏิบัติเป็นกลาง ไม่เข้าไปใกล้ที่สุดทั้ง ๒ อย่างนั่น นั้นเห็นชอบ ดำริชอบ กล่าวชอบ วาจาชอบ การงานชอบ เลี้ยงชีพชอบ เพียรชอบ สติชอบ ตั้งจิตชอบ ประกอบด้วยมรรค ๘ ประการ ก็คือศีลสมาธิ และปัญญานั่นแหละ แต่ว่ายกสัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปโปขึ้นหน้าไว้ก่อน นี่แหละที่พระตถาคตตรัสรู้ด้วยปัญญาอันชอบ
สัมมาทิฏฐิ ความเห็นชอบ เห็นสัจธรรมทั้ง ๔ ทุกข์ เหตุเกิดทุกข์ ความดับทุกข์ และข้อปฏิบัติถึงความดับทุกข์
สัมมาสังกัปโป ความดำริชอบ ดำริจะออกจากกามดำริในความไม่พยาบาท ดำริในความไม่เบียดเบียน นี่เป็นสัมมาสังกัปโป
สัมมาวาจา กล่าววาจาชอบ เว้นจากวจีทุจริต วาจาชอบ คือเว้นจากวจีทุจริตสัมมาวาจา เว้นจากวจีทุจริต ทั้ง ๔ อย่าง เรียกว่า สัมมาวาจา
สัมมากัมมันโต ทำการงานชอบ เว้นจากการฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ประพฤติผิดในกาม ทั้ง ๓ อย่างนี้เรียกว่า การงานชอบ
สัมมาอาชีโว เลี้ยงชีวิตชอบ มิจฉาอาชีโว ชีวิต กปฺเปติ มิจฺฉาอาชีวนฺปหาย ละมิจฉาชีพเสียสัมมาอาชีโว ชีวิต กปฺเปติ สำเร็จเป็นอยู่ ในการเลี้ยงชีพชอบ เลี้ยงชีพดีเสมอทุกวัน ที่จะบริโภคอะไรเข้าไป ของบริสุทธิ์หรือไม่บริสุทธิ์
ถ้าบริสุทธิ์ก็บริโภค ไป ไม่บริสุทธิ์ก็ไม่บริโภคทีเดียว กลับจะเป็นพิษเป็นภัย ไปเป็นร้ายในร่างกายเรา เมื่อของไม่บริสุทธิ์บริโภคเข้าไป มันก็ไปเป็นเนื้อเป็น เลือดอยู่ข้างในไปเป็นเชื้ออยู่ แก้ไม่ตกแก้ลำบากนัก ของไม่บริสุทธิ์ ก็ไม่บริโภคทีเดียว บริโภคแต่ของบริสุทธิ์นี่เรียกว่าสัมมาอาชีวะ เลี้ยงชีพในการที่ชอบ ไม่หลอกลวงเขาเลี้ยงชีวิต
สัมมาวายาโม เพียรชอบ เพียรในที่ ๔ สถาน
สัมมาสติ สติชอบ ระลึกในมหาสติปัฏฐาน ๔
สัมมาสมาธิ ตั้งใจชอบ ตั้งใจในปฐมสาน ทุติยสาน ตติยสาน จตุตถสาน ในรูปสาน อรูปสานทั้ง อย่าง อย่างใดอย่างหนึ่งก็เป็นสัมมาสมาธิทั้งนั้น
จากพระธรรมเทศนาเรื่อง "หิริโอตตัปปะ"
๒๕ กุมภาพันธ์ ๒๔๙๘