มีอารมณ์เดียว
คุณยายเป็นบุคคลที่น่าศึกษามากหลวงพ่ออยู่กับท่านมานานตั้งแต่ปลายปี พ.ศ.2506 จนถึงวันที่ท่านละสังขารในปี พ.ศ.2543 รวม 37 ปี เห็นท่านมีอารมณ์เดียวคือมีอารมณ์สม่ำเสมอท่านไม่ค่อยตื่นเต้นอะไรกับใครบุคลิกของท่านดูเฉยๆ พูดจาเรียบๆ สมบัติของมีค่าต่างๆ ท่านเห็นแล้วเฉยๆ แม้ว่าจะเอาอะไรไปให้ท่านเพราะอยากให้ท่านดีอกดีใจก็ต้องผิดหวังไม่ว่าส่งอะไรไปให้ท่านจะต้องเอามานั่งหลับตาเข้าที่ดูทุกทีคืออารมณ์ของท่านไม่ค่อยกระเพื่อม ไม่ว่าเราจะแสดงกิริยาอาการอย่างไรท่านจะเฉยๆ นิ่งๆ ดูเหมือนท่านมีความมั่นใจของท่านมั่นใจอย่างสงบนิ่งสงบเสงี่ยมสง่างามและน่าเข้าใกล้ทําให้รู้สึกเย็นอกเย็นใจ
หลวงพ่อเคยไปยืนดูท่านใกล้ๆ เวลาท่านถางหญ้าแล้วถามว่า “ยายทําอะไร” ท่านตอบว่า “กําลังระลึกชาติ” ก็รู้สึกทึ่งว่าท่านระลึกชาติในขณะถางหญ้าได้ด้วยหรือท่านระลึกย้อนหลังได้แล้วก็เล่าอะไรให้ฟังมากมายท่านเล่าไปแล้วก็สอนไปเวลาสอนพระเณรที่วัดพระธรรมกายท่านจะพนมมือก่อนแล้วบอกว่า “อย่าให้ยายบาปนะ” แล้วท่านก็ถวายความรู้พระเณรว่าควรปฏิบัติตนอย่างนั้นอย่างนี้และที่ย้ำมากที่สุดคือ “อย่าสึกนะท่าน” คุณยายพูดไปก็พนมมือไปด้วย
วันหนึ่งพระมหาเปรียญ 9 ประโยค ไปหาท่านตอนนั้นท่านอยู่บ้านหลังเล็กข้างวัดปากน้ำพระมหาเปรียญมาทดสอบภูมิธรรมของคุณยายคุยไปคุยมาท่านก็นั่งฟังเฉยๆ รับว่า “ค่ะๆ” แล้วท่านก็ตอบได้หมดพระมหาเปรียญถามอะไรมาท่านก็ตอบได้ท่านบอกว่าขอถามบ้าง“ท่านมหาท่านมหาก็จบเปรียญธรรม 9 มานี่รักษาศีลน่ะศีลมันเป็นอย่างไร” พระมหาอธิบายว่าศีลคืออย่างนี้ๆ ว่าตามทฤษฎีไปคุณยายบอก “ไม่ใช่แค่นั้นไม่พออย่างนั้นรักษาไม่ได้หรอกแค่รู้เรื่องศีลเท่านั้นเองจะรักษาศีลก็ต้องเห็นศีลไม่เห็นศีลแล้วจะไปรักษาได้อย่างไร” “แล้วเห็นศีลได้ด้วยเหรอไม่ใช่ศีลอย่างที่บอกไว้ในหนังสือเหรอ” คุณยายก็เรียนท่านว่า “นั่นมันรู้เรื่องศีลแต่ศีลมันต้องเห็นได้สิเมื่อไม่เห็นแล้วจะไปรักษาได้อย่างไร ศีลมีลักษณะเป็นดวงกลม ดวงศีลอยู่ในศูนย์กลางกายท่านมหานั่นแหละ รักษาด้วยใจทําใจใสๆ หยุดนิ่งไปตรงนั้นแหละให้เห็นอยู่ตลอดเวลาเรียกว่ารักษาศีล” นี่คือผู้ไม่รู้หนังสือ อ่านไม่ออก เขียนไม่ได้ถามพระมหาเปรียญธรรม 9 ประโยค แล้วพระมหาก็เลยขอมาเรียนวิชชาธรรมกายกับคุณยายบ้าง
อีกครั้งหนึ่งหลวงพ่อเคยถามคุณยายว่า “ยายเหงาบ้างไหม” ท่านตอบว่า “ยายไม่เคยเหงาเลย” “แล้วยายทําอย่างไรยายจึงไม่เหงา” ถามท่านครั้งหนึ่งตอนพบท่านใหม่ๆ เมื่อท่านอายุ 50 กว่าปีพออายุ 60 กว่าก็ถามอีกครั้ง 70 กว่าก็ถาม 80 กว่าก็ถามแต่ 90 กว่าไม่ได้ถามท่านตอบเหมือนเดิมว่า “ไม่เหงา” “ยายทําอย่างไรยายจึงไม่เหงา” ท่านตอบว่า “ยายนั่งเข้าที่” เป็นภาษาของท่านแปลว่า