การบวชพระ ตอน 1 นานาเทศนา
...ถามว่า การบวชคือการทำอะไร
การบวชคือการพัฒนาตัวของผู้บวชเอง อย่างเข้มงวด กวดขัน
เเล้วไปพัฒนายังไง เเล้วไปเว้นจาการกระทำอะไร
ก็ด้วยการเว้นจากการทำอะไรๆที่ไม่ดีๆทั้งน้อยทั้งใหญ่ เลิกให้ได้ ให้หมด นี่คือหลักการของการบวช คนดี คนไม่ดี อยู่ที่การกระทำของผู้นั้น
คนเวลาเกิดมาใหม่ๆพอคลอดออกมาจากท้องคุณแม่ของเรา ร้องเเว้ จัดว่าเป็นคนดีเเล้วหรือยัง ยัง คุณพ่อคุณแม่จะเป็นมหาปราชญ์
คุณพ่อคุณเเม่จะเป็นมหาเศรษฐี คุณพ่อคุณแม่จะเป็นนายก หรืออะไรก็ตาม นั่นเป็นเรื่องของ คุณพ่อคุณเเม่ เเต่เจ้าเเดงที่ร้องเเว้ ไม่ได้เก่ง
ไม่ได้ฉลาด ไม่ได้รวยตามพ่อเเม่เเละก็ยังไม่ได้ดีตามพ่อตามเเม่ เเละเเกชั่วหรือยัง ยัง เเกเป็นของกลางๆ
ต่อเมื่อไรที่เเกทำดี เเกก็เป็นเด็กดี หากเเกเกเร เเกก็เป็นเด็กไม่ดี เพราะฉะนั้น คนจะดีจะชั่วอยู่ที่ตัวทำ จะสูงจะต่ำ ก็อยู่ที่ทำตัว อันนี้โบราณให้ไว้นะ จะดี
จะชั่วก็อยู่ที่ตัวเองนั่นเเหละทำ ไม่มีใครเขาทำให้หรอก คุณทำดี คุณก็ได้ดี เป็นคนดีไป คุณทำชั่ว คุณก็กลายเป็นคนชั่ว
เเล้วจะดีมากดีน้อย ชั่วมากชั่วน้อย เป็นเพราะอะไรล่ะ
ดีชั่ว อยู่ที่ตัวทำ สูงต่ำ ดีมาก ดีน้อย หรือ ชั่วมาก ชั่วน้อย ก็อยู่ที่การทำตัว ของตัวคุณนั่นเเหละ ไม่ใช่คนอื่น
พอมาบวชคือการทำตัวให้ดียิ่งขึ้น เพราะฉะนั้น ทำอย่างไรล่ะ ก็คือการเว้นจากการทำชั่วทุกชนิดนั่นเเหละ คือการบวช
เเล้วเว้นจากการทำชั่วทุกชนิด เว้นไปทำไม พอเว้นเเล้ว คนๆนั้นจะดีขึ้นมาได้อย่างไร
ประการเเรก เพื่อขัดเกลากิเลส เชื้อที่อยู่ในใจ มันจะถูกกำจัดออกไป รวมทั้งความทุกข์ ความเดือดร้อน มันก็จะหมดตามไปด้วย
บวชเพื่อการพัฒนาตัวเองอย่างเข้มงวดกวดขัน เพื่อเว้นจากการทำชั่วทุกชนิดเเล้วจึงได้ชื่อว่าการกำจัดกิเลส
พอเว้นชั่วเเล้วทำไมถึงได้ชื่อว่าขัดเกลากิเลสล่ะ
กิเลสอยู่ที่ไหน อยู่ในใจ จะเห็นกิเลสได้ ต้องเห็นใจตัวเองก่อน กิเลสมันอยู่ในใจก็ยิ่งยากจะเห็น
เเล้วพอไม่ทำชั่ว เเล้วจะเป็นการขัดเกลากิเลสได้อย่างไร
กิเลสหรือนิสัยไม่ดีน่ะ คือเราไม่ทำความชั่ว ไม่ทำความเสียหาย กิเลสมันไม่ได้อาหาร มันอดอาหาร อาหารของกิเลสก็คือ บาปหรือกรรมชั่ว
พอเราไม่ทำกรรมชั่วกิเลสมันเลยอด กิเลสก็จะลดลง นิสัยของเราจะดีขึ้น
ประการที่2 การขจัดทุกข์ จากความเร่าร้อนใจ ก็จะคลายลง ตามคำสั่งสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า หรือตามวิธีการในพระพุทธศาสนา
เราบวชเเล้วเป็นพระ ก็มีการกำจัดนิสัยไม่ดีๆ ตามวิธีการของพระในพระพุทธศาสนาซึ่งโดยเฉพาะ
ในการทำตามคำสั่งสอนในพระพุทธศาสนา มีความจำเป็นในขั้นต้น คือต้องมีพระอุปัชฌาย์
พระอุปัชฌาย์คือใคร
คือพ่อทางธรรมของพระภิกษุ ให้กำเนิดทางธรรม คอยควบคุมดูเเลด้วย เเล้วก็มีพระอาจารย์ พระพี่เลี้ยง คอยช่วยควบคุมดูเเลอีกทีหนึ่ง
อย่างในวัดพระธรรมกาย บวชกันทีไม่ใช่เป็นสิบ เเต่บวชกันทีเป็นร้อยเป็นพัน บางทีก็หลายๆพัน เเล้วทำอย่างไรล่ะ
พระอุปัชฌาย์หรือพ่อทางธรรมดูเเลไม่ทั่วถึง ก็ต้องมีพระอาจารย์ มีพี่เลี้ยง คอยช่วยควบคุมดูเเลอีกทีหนึ่ง
ควบคุมดูเเลอะไร อายุ20เเล้วจะดูเเลอะไรกันนักกันหนา
จำเป็นต้องดูเเล ด้วยการเป็นต้นเเบบความประพฤติปฏิบัติดีงามให้ดู อย่างใกล้ชิด
อบรมเด็กก็ตามดุตามว่ากันตามควรเเก่เด็ก ผู้ใหญ่ปฏิบัติให้ดูเป็นตัวอย่าง สงสัยก็ถามมา เเม้ไม่เเน่ใจว่าเข้าใจชัดเจนไหม ก็ขยายความบอกกล่าวให้รู้
นี้ก็เป็นเรื่องที่ควบคุม ดูเเลเบบผู้ใหญ่ เป็นต้นเเบบความประพฤติดีงาม นี้เรียกว่าการบวช อย่างเข้มงวดกวดขันในพระพุทธศาสนา
การควบคุมดูเเล วิธีในทางพระพุทธศาสนา มิฉะเพราะเเต่การกระทำเท่านั้น คำพูดด้วย รวมกระทั่งการให้เเนวคิดด้วย ...
คุณครูไม่เล็ก