วิธีปฏิบัติธรรม
ปฏิบัติ ธรรมนำสุขให้ |
ชีวา |
ต้อง ตรึกกลางกายา |
อย่าคร้าน |
ทำ ได้ตลอดเวลา |
ดียิ่ง |
จริง อย่างนี้ชัวร์ล้าน |
หมื่นร้อยเปอร์เซ็นต์ |
ตะวันธรรม
เมื่อเราได้สวดมนต์บูชาพระรัตนตรัยกันเสร็จเรียบร้อยแล้วต่อจากนี้ไปตั้งใจเจริญสมาธิภาวนากันนะ ตั้งใจหลับตาเจริญสมาธิภาวนากันนะ หลับตาเบา ๆ พอสบาย ๆ ทำใจของเราให้เบิกบาน แช่มชื่น ให้สะอาด บริสุทธิ์ผ่องใส ไร้กังวลในทุกสิ่ง แล้วก็หยุดใจไปที่ศูนย์กลางกายฐานที่ ๗ ซึ่งอยู่ในกลางท้องของเรา ในระดับที่เหนือจากสะดือขึ้นมา ๒ นิ้วมือ
ให้ตรึกนึกถึงดวงใส หยุดอยู่ในกลางดวงใส ๆ หรือตรึกถึงพระแก้วใส ๆ แล้วก็หยุดในกลางองค์พระใส ๆ อย่างใดอย่างหนึ่งนะ ไม่ชัดก็ไม่เป็นไร ให้ใจเราหยุดอยู่ภายในอย่างเบาสบายแล้วก็ผ่อนคลาย หมั่นฝึกฝนให้ใจมาหยุดมานิ่งอย่างนี้ให้ได้ทุกวัน อย่าท้อ ให้หมั่นทำทุกวัน เพราะเรามาเกิดเพื่อการนี้ ฝึกไป
เรื่อย ๆ
วันนี้ใจไม่หยุดก็ไม่เป็นไร พรุ่งนี้เราฝึกใหม่ ถ้าเราไม่ทอดธุระ ทำสม่ำเสมอทุกวัน ฝึกไป
เรื่อย ปรับใจของเราไปเรื่อย ๆ สักวันหนึ่งจะเป็นวันแห่งความสมปรารถนา
อย่าให้แต่ละวันผ่านไปเฉย ๆ โดยไม่ได้เก็บใจไว้ที่ศูนย์กลางกายฐานที่ ๗ ต้องฝึกควบคู่กับ
ภารกิจประจำวัน ทั้งนั่ง นอน ยืน เดิน กิน ดื่มทำ พูด คิด หยุดนิ่ง ลิ้มรส ทำควบคู่กันไป ฝึกทุกวัน
การทำอย่างนี้ได้ชื่อว่า เรายกใจของเราให้สูงส่ง ใจจะสูงส่งได้ขึ้นอยู่กับว่า เราเอาใจไปผูกไว้กับอะไร ถ้าเราผูกพันไว้กับพระรัตนตรัย ซึ่งเป็นสิ่งที่สูงที่สุด เป็นวัตถุอันเลิศ อันประเสริฐที่สุด ใจเราก็จะพลอยสูงตามไปด้วย สิ่งอื่นที่จะสูงส่งเท่าพระรัตนตรัยเป็นไม่มี
มนุษย์ เทวดา พรหม อรูปพรหมก็ยังต้องกราบไหว้พระรัตนตรัย ยกเว้นผู้ที่ไม่มีความรู้ว่าอะไรคือที่พึ่งที่ระลึกที่แท้จริงก็ตั้งสมมติฐานกันไปว่า มีเทพเจ้าองค์นั้นองค์นี้เป็นสิ่งสูงส่ง ที่แตะต้องไม่ได้ เมื่อเซ่นสรวงบูชา เอาอกเอาใจ ก็จะได้รับประทานพรพิเศษ แต่ว่าความจริงมันไม่มีตัวตน เหมือนหญิงสาวที่นึกถึง
ชายหนุ่มในฝัน หรือชายหนุ่มนึกถึงหญิงสาวที่อยู่ในฝันที่ไม่มีจริง แต่พระรัตนตรัยมีอยู่จริงภายในตัวเราทุกคน เราสามารถเข้าถึงได้ ไม่ว่าจะเป็นเชื้อชาติ ศาสนา หรือเผ่าพันธุ์ใดก็ตาม ถ้าหยุดใจที่ศูนย์กลางกายฐานที่ ๗ ได้ ก็เข้าถึงได้
มีตัวอย่างเยอะแยะ ที่ต่างเชื้อชาติ ศาสนาและวัฒนธรรมเผ่าพันธุ์ เมื่อทำใจให้หยุดนิ่งในกลางกาย ก็มีประสบการณ์ภายในเหมือนกับชาวพุทธ คือ ใจตกศูนย์ ดวงธรรมผุดขึ้นมาเป็นดวงใส ๆ แล้วก็มาพร้อมกับความสุข ความสุขนั้นก็จะทำให้ใจอยู่ตรงนั้นตลอดเวลา แล้วก็เคลื่อนเข้าไปสู่ภายใน จนถึง
พระรัตนตรัยในตัว นี่ไม่ใช่สิ่งเลื่อนลอย ไม่ได้เป็นสมมติฐานแต่เป็นสิ่งที่มีจริงอยู่ภายในตัวทุกคน
ฝึกฝนอบรมใจของเราไปเรื่อย ๆ นึกทุกวัน ตรึกทุกวันให้ได้มากที่สุดในแต่ละวันหรืออย่างน้อยก็ทำการบ้านที่ได้บอกเอาไว้ ใจเราจะสูงอยู่ตลอดเวลา เป็นทางมาแห่งบุญและคุณธรรมอัน
ประเสริฐจะเกิดขึ้นภายในตัวเรา เราต้องพร้อมเสมอสำหรับการเดินทางไปสู่ปรโลก ในทุกหนทุกแห่ง ถ้าใจหยุดได้ จะไปที่ไหนหรืออยู่ที่ไหนก็ได้ เพราะว่ามีที่พึ่งภายใน มีความสุขภายในเป็นพื้นฐานแล้ว เพราะฉะนั้นหมั่นฝึกไปเรื่อย ๆ
หยุดแรกยากนิดหนึ่ง
มันยากตอนแรกนิดหนึ่ง ไม่ได้ยากเยอะ คือตอนที่เราจะนำใจกลับมาตั้งไว้กลางกาย ที่ยากเพราะเราคุ้นกับการส่งใจไปภายนอก ไปติดในคน สัตว์ สิ่งของต่าง ๆ ที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าสรุปไว้ว่า ติดในรูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส ธรรมารมณ์วัตถุรูปอย่างนี้ เสียงเพราะๆ อย่างนี้ หรือไม่ก็นำมาครุ่นคิดที่
จะให้มันออกไป หรือพูดให้เข้าใจง่าย ๆ ก็คือ ติดในคน สัตว์สิ่งของ สิ่งมีชีวิตหรือไม่มีชีวิตนั่นแหละ
ที่ยากคือ เมื่อเราเอาใจมาไว้ภายใน มันก็จะออกไปภายนอกเสมอ เพราะความคุ้น เราจับปลามาไว้ในกระป๋องที่มีน้ำมันก็จะพยายามดิ้นรนลงไปในหนองน้ำ เพราะมันไม่คุ้นอยู่ในกระป๋อง ใจเราเอามาไว้ภายในมันก็จะกระโดดโลดเต้นไปกับสิ่งที่เราคุ้น ในธุรกิจการงาน บ้านช่อง การศึกษาเล่าเรียน ความ
สนุกสนานเพลิดเพลินอะไรต่าง ๆ เหล่านั้น เพราะฉะนั้นตอนดึงกลับเข้ามาเราก็ต้องยอมรับว่า เราก็ต้องให้เวลากับตัวเราเอง ให้โอกาสในการฝึก แล้วถ้ามันหลุดออกไปบ้างก็ช่างมัน แต่พอรู้ตัว เราก็ดึงกลับมาอยู่ภายในใหม่
ความอยากได้
ยากอีกตอนคือ ความอยากได้ เพราะเรารู้ว่าถ้าเข้าถึงแล้วดี วิเศษ ทำให้เรามีความสุข เป็นมนุษย์มหัศจรรย์ ได้รู้เรื่องราวความเป็นจริงของชีวิตๆ เพราะเราฟังมามาก เราก็เลยอยากได้มาก อยากได้มากน่ะ ไม่มีปัญหา แต่มันมากเกินไป คือเอาความอยากมาใช้ตอนนั่ง ความอยากได้ควรใช้ตอนแรก ๆ สมัครใจที่เราจะทำ แต่ว่าเวลานั่งต้องหยุดความอยากทีนี้มันยากตอนที่อยากจะหยุดใจเลยนี่ มันก็เลยหยุดใจยาก
ทีนี้พออยากได้มาก เราก็เลยตั้งใจมาก ถ้าเรานึกถึงภาพ เราก็จะอดเค้นภาพไม่ได้ อดกดลูกนัยน์ตาลงไปดูในท้องไม่ได้ นี่มันยากแค่นี้ ไม่ได้ยากอะไรมากมายไปกว่านี้เลย
ถ้าหากเราเริ่มต้นด้วยความสบาย ด้วยความสุข แค่ทำความรู้สึกว่า มีดวงใส ๆ มีพระแก้วใส ๆ อยู่ภายใน แค่เป็นเพียงความรู้สึกว่า “มีอยู่” ในตัว แต่ว่ามันไม่ได้เห็นหรอกนะ เราเริ่มต้นด้วยการทำความรู้สึกว่า มีดวงแก้วใส ๆ มีพระแก้วใส ๆมันก็จะลดความตั้งใจมากเกินไป กับกดลูกนัยน์ตาไปดู เพราะเราคุ้นกับการเห็นด้วยลูกนัยน์ตา เราจึงเข้าใจผิดว่าเห็นในท้องมันก็คงจะต้องใช้ลูกนัยน์ตามองลงไปมั้ง มันยากตรงนี้
ทีนี้พอเราเข้าใจว่าตาเนื้อเห็นได้เฉพาะตอนเราเปิดเปลือกตามองข้างนอก แต่เป็นไปไม่ได้ที่เอาลูกนัยน์ตาเนื้อมองเข้าไปในท้อง ถ้าอย่างนั้นก็ไม่ต้องมีกล้องเอกซเรย์หรอก เพราะฉะนั้นดวงตาก็คือดวงตาที่จะเห็นได้เฉพาะข้างนอก เขาเรียกว่ามังสจักษุ ส่วนธรรมจักษุเห็นข้างใน เพราะฉะนั้นเราก็อย่าเอา
ลูกนัยน์ตามาใช้
แล้วถ้าเราป้องกันความอยากที่จะเห็น เราก็ต้องคิดว่า มันเป็นเรื่องธรรมดาน่ะ ของมันมีอยู่แล้วในตัว ไม่ใช่ว่าเราไปทำให้มีขึ้น แต่ว่าเป็นของละเอียด หน้าที่เราก็ต้องทำใจให้ละเอียดเหมือนของที่มี เดี๋ยวเราก็เห็น แล้วก็ยืนยันกับตัวเองว่า เราต้องเห็นอย่างแน่นอน แล้วหลังจากนั้นก็ทำใจให้สบาย คล้าย ๆ
เป็นของตายอยู่แล้วยังไงก็ต้องเห็น ก็ทำสบาย ๆ ให้ใจนิ่ง ๆนุ่ม ๆ ทีนี้พอเราปลงได้อย่างนี้ หรือคิดได้อย่างนี้ การนั่งรู้สึกจะง่ายเข้า
กังวลกับฐานที่ ๗ มากเกินไป
กับอีกพวกกังวลกับฐานที่ ๗ มากเกินไป คือพอได้ศึกษาว่า ฐานที่ ๗ เป็นจุดเริ่มต้นของการเดินทางไปส่อู ายตนนิพพานก็เลยพยายามควานหาฐานที่ ๗ ให้เจอ ก็มัวกังวลอยู่อย่างนี้ว่าเออ ใจเราวางอยู่ตรงนี้ มันตรงฐานที่ ๗ ไหม หรือมันไม่ตรงกับอีกพวกกังวลกับฐานที่ ๗ มากเกินไป คือพอได้ศึกษาว่า ฐานที่ ๗ เป็นจุดเริ่มต้นของการเดินทางไปสู่อายตนนิพพานก็เลยพยายามควานหาฐานที่ ๗ ให้เจอ ก็มัวกังวลอยู่อย่างนี้ว่าเออ ใจเราวางอยู่ตรงนี้ มันตรงฐานที่ ๗ ไหม หรือมันไม่ตรงก็พยายามบังคับให้มันอยู่ตรงนั้น ทีนี้ใจไม่ชอบบังคับ แต่ชอบประคอง พอไปบังคับ มันก็เกร็ง ตึงไปหมดเลย มันก็เครียด
เราก็ต้องวางใจเฉย ๆ อย่าไปกังวลกับฐานที่ ๗ มากเกินไป หรือเราคิดอย่างนี้ก็ได้ว่า ฐานที่ ๗ ขยายกว้างออกไปสุดขอบฟ้าแล้ว ตอนนี้เรานั่งอยู่กลางฐานที่ ๗ แล้วหลังจากนั้นก็นิ่งเฉย ๆ คิดอย่างนี้จะช่วยแก้ความรู้สึกที่ควานหาฐานที่ ๗กับควานหาของในที่มืด คือเราอยากจะควานหาดวงใส ๆ องค์พระใส ๆ ก็มัวกวาดตามอง อย่างนี้มันก็ตึงสิ ไม่ถูกวิธี
อย่าไปควานหาอะไร แค่เรานั่งนิ่ง ๆ เฉย ๆ เพื่อให้ใจเปลี่ยนสภาวะจากหยาบไปละเอียด แล้วหลุดจากกายหยาบออกจากที่แคบไปสู่ที่กว้าง ถ้านั่งอย่างนี้ มันมีความสุขสบายเป็นการเริ่มต้นที่ถูกต้อง
นั่งแล้วตัวหาย
แล้วถ้านิ่งในระดับที่ตัวหายไปแล้ว มีความรู้สึกเหมือนอยู่ในกลางอวกาศ ก็เกิดความสงสัยว่า จะเอาใจไว้ตรงไหน เพราะตัวไม่มีแล้ว ฐานที่ ๗ ก็หาไม่เจอ ก็มัวควานหาสิ พอควานหาอ้าว ใจก็ถอนมาใหม่ เพราะฉะนั้นถ้าหากว่ามีความรู้สึกเหมือนตัวเราว่าง ๆ อยู่กลางอวกาศ เคว้งคว้าง ไม่ต้องไปมัวควานหา
ฐานที่ ๗ เราก็นิ่งอยู่ตรงนั้นแหละ เหมือนเราอยู่ในกลางฐาน ที่ ๗ แล้ว ไม่ต้องหา และไม่ต้องไปคิดว่า ใจอยู่ตรงไหน เอาว่าสบายตรงไหนก็เอาใจไว้ตรงนั้น แล้วก็ปล่อยให้มันเป็นไป โดยไม่ต้องคิดอะไร
อย่าลืมว่า เรากำลังจะเปลี่ยนระบบที่เราคุ้นเคย ไปสู่ระบบความไม่คุ้นเคย เราคุ้นเคยกับระบบของการใช้ความคิดแต่เรากำลังจะเปลี่ยนไปสู่ระบบของการใช้ความไม่คิด แค่ทำจิตให้หยุดนิ่ง เพราะฉะนั้นก็ให้ทำอย่างที่ได้แนะนำ สิ่งที่ยากมันก็จะง่ายสำหรับเราแล้วล่ะ
แต่ทีนี้แม้ทำอย่างนี้ใจก็อดจะฟุ้งไม่ได้ ถ้าอดไม่ได้ก็ไม่ต้องอด ก็ปล่อยให้มันฟุ้งบ้าง ตามใจเขาไปก่อน แต่อย่าตามใจมาก พอรู้ตัวก็มาเริ่มต้นใหม่อย่างง่าย ๆ นิ่งใหม่ พอเรานิ่งอ้ะ ไปอีกแล้ว เพิ่งนิ่งได้แค่ ๕ วินาที อ้ะ ไปแล้ว ๑๐ นาที ก็ช่างมัน รู้ตัวก็มาอีก ๕ วินาที เริ่มต้นใหม่อย่างง่าย ๆ เดี๋ยวเวลาแห่งความฟุ้งก็จะลดลงมา แล้วจะมาเพิ่มเวลาแห่งความไม่ฟุ้งมาทดแทนกัน เพราะเราเป็นคนธรรมดา เราก็นั่งแบบคนธรรมดา คนธรรมดาก็มีฟุ้งบ้าง ง่วงบ้าง เมื่อยบ้าง มืดบ้างอะไรต่าง ๆ เหล่านั้น ก็ให้ทำแบบธรรมดา ๆ อย่างนี้
ทีนี้พอทำอย่างนี้แล้วใจก็จะสบาย มันไม่ถึงกับถูกอยู่ในกรอบจนเกินไป แค่อยู่ในลู่ คล้าย ๆ เราอยู่ในเส้นรอบวง แต่เส้นรอบวงนั้นขยายกว้างออกไป คือ ยังอยู่ในลู่นั่นแหละ เพราะฉะนั้นเราก็แค่นิ่งอย่างเดียว
ทำเฉยๆ กับทุกประสบการณ์
พอเรานิ่งอย่างเดียว ใจมันก็สบาย ตรงสบายนี่แหละมันก็จะวูบวาบเกิดขึ้นภายใน ซึ่งเป็นประสบการณ์ใหม่สำหรับเรา แต่ก็อย่าไปตื่นเต้นกับทุก ๆ ประสบการณ์ที่เกิดขึ้น บางประสบการณ์นี่มันเสียว ๆ เหมือนโดนดึงดูดเข้าไปข้างใน อย่าไปฝืน อย่าไปยั้งเอาไว้ อย่าไปหิ้วตัวเราออกมา ทำเฉย ๆ แต่ถามว่าหวาดเสียวไหม มันก็หวาดเสียว แต่ถามว่าอันตรายไหมไม่อันตราย
ไม่อันตรายแล้วเป็นไง มันเป็นสิ่งที่ดีมาก แล้วถ้าสมมติว่ารู้ว่ามันดีมากแล้วนี่ แต่มันยังเสียวแล้วจะทำไง ก็ปล่อยให้มันเสียวไป แล้วพอเสียวมันจะหลุดออกมาหยาบใหม่ เราก็เริ่มต้นใหม่ เริ่มต้นใหม่ อ้าว ! เสียวอีกแล้ว เพราะมันตกวูบลงไปอีกแล้ว ก็ต้องยอมให้เสียวอีก จะเป็นอย่างนี้สักกี่ครั้งก็ช่างมันจนกระทั่งมันชักคุ้น
พอคุ้น คราวนี้ไม่หวาดเสียวแล้ว กลายเป็นความบันเทิงมีความสุขแล้วก็สนุกกับการเคลื่อนหรือหล่นเข้าไปข้างในอย่างละมุนละไม เพราะเราคุ้นเคยกับสิ่งเหล่านั้นแล้ว ใจมันก็นิ่งนุ่มแม้จะยังไม่สว่าง แต่เป็นความมืดที่น่ารัก ที่เป็นมิตรกับเรา เราก็อยู่ตรงนี้ไปเรื่อย ๆ นาน ๆ นานแค่ไหนก็ช่างมัน แล้วก็จะเปลี่ยนจากนาน ๆ มาเป็นไม่นาน คือมันก็จะอยู่ มันก็จะวุบขึ้นมา สว่างขึ้นมา
บางคนก็ตัวโยก ตัวโคลงบ้าง โคลงเคลงเหมือนนั่งเรือออกท้องทะเล เจอคลื่นก็โคลงเคลง ๆ บางคนก็กลัว บางคนก็สงสัย บางคนก็สนุกเพลิน ๆ สิ่งที่เราควรทำก็คือเฉย ๆ ในทุก ๆ ประสบการณ์ที่เกิดขึ้น อย่าไปกังวลกับมัน อย่าไปติดใจอย่าไปกลัว คือเฉย ๆ อยู่กลาง ๆ ไม่ใช่กลัว แล้วก็ไม่ใช่กล้าจนบ้าบิ่นคล้อยตามกันไปอย่างนั้น พอเราไม่สนใจ เดี๋ยวสิ่งเหล่านั้นก็หายไปเอง เราทำเฉย ๆ แล้วมันก็จะนิ่งเข้าไปเรื่อย ๆ นี่
เป็นบางคนนะ ไม่ใช่ทุกคนที่เจออย่างนี้
หรือบางคนตัวยืดขึ้น ตัวเบา รู้สึกเหมือนลอยขึ้นมา บางคนลอยจริง ๆ ขั้นนี้เขาเรียกอุพเพงคาปีติ ที่มีปีติก็เพราะว่า เอาชนะความฟุ้ง ความง่วง ความท้อ ความโกรธ ความรักความชัง ความสงสัยอะไรเหล่านั้น ตัวมันก็เบา ลอย บางคนลอยจริง แต่วื้ดเดียว แล้วมันก็หล่นลงมา แต่บางคนเป็นแค่ความรู้สึกว่าลอย แต่ไม่ได้ลอยจริง บางคนกลัวลอยหลุดออกไปเลยจริง ๆ ก็เอามือจับคว้าอาสนะที่นั่งเอาไว้ บางคนลืมตา
ขึ้นมาให้มันหายสงสัยก็มี เพราะฉะนั้น สิ่งที่เราควรทำคือเฉย ๆนิ่ง ๆ ที่ลอยจริงน่ะ ไม่ค่อยจะพบเท่าไร ล้านคนจะมีสักคนหนึ่งแต่ที่รู้สึกว่าลอยจะมีเยอะ
คนที่ลอยจริงมีเมื่อสมัยสัก ๔๐ กว่าปี มีสามเณรใจนิ่งเกิดอุพเพงคาปีติ ตัวลอยขึ้นไป แล้วก็ลอยลง ก่อนหน้านี้ก็มีพระที่ปฏิบัตินั่งอยู่ในกลดแล้วลอยก็มี แต่ก็แวบเดียว ไม่ได้ลอยนานอีกท่านหนึ่งเป็นคฤหัสถ์ เพิ่งกลับมาจากเมืองนอก ไปนั่งใต้ต้นไม้ที่เหมืองแร่ของตัว ไม่รู้จะทำอะไร ก็ไปนั่งสงบ ๆ ทำใจ
นิ่ง ๆ ฝึกสมาธิก็ไม่เป็น แล้วก็ไม่ค่อยเชื่อ นะเพราะเป็นหนุ่มนักเรียนนอก แล้วใจมันนิ่งเองถึงระดับอุพเพงคาปีติ ตัวก็ลอยจนหัวไปชนกิ่งไม้ ตรงก้อนหินใต้ต้นไม้ที่ตัวนั่งอยู่ เกิดความสงสัยว่าลอยจริงไหม ก็ลืมตาดู ปรากฏว่า ลอยจริง เลยหล่นตุ้บลงมาแต่อย่างนี้นาน ๆ ก็จะเจอสักคน บางคนสงสัย ขณะปฏิบัติก็
จะถือผ้าเอาไว้ พอตัวลอยก็ทรงสมาธิขั้นนี้ไว้ เอาผ้าไปคล้องกิ่งไม้ แล้วก็เคลื่อนลงมา ลืมตาขึ้นดู เออ ลอยจริง แต่ว่านาน ๆจะเจอสักคน
อาการตัวลอยอย่างนี้เป็นปีติในระดับอุพเพงคาปีติ ต้องประกอบไปด้วยบุญเก่าที่เคยทำเอาไว้ ไม่สาธารณะทั่วไป แต่รู้สึกว่าลอยจะเป็นส่วนใหญ่ หนุ่มนักเรียนนอกท่านนั้นต่อมาก็บวชเป็นพระ ตอนนี้เป็นพระเถระไปแล้ว
ทีนี้ถ้ามีอาการอย่างนี้ เราก็ทำเฉย ๆ เพราะใจเราไม่ได้มุ่งเกี่ยวกับเรื่องลอย เรามุ่งเพื่อให้เข้าไปถึงพระรัตนตรัย มันก็จะผ่านอารมณ์นี้ไปได้ แล้วก็แล่นไปถึงพระรัตนตรัยภายในพราะฉะนั้นถ้าอาการใดอาการหนึ่งเกิดขึ้น เราก็เฉย ๆ หยุดนิ่ง ๆ ทำสบาย ๆ มีสิ่งที่น่าศึกษาเรียนรู้จักเยอะแยะ เป็นความรู้ภายในที่เรียกว่าวิชชา ๓ นั่นแหละ บุพเพนิวาสานุสติญาณระลึกชาติหนหลังได้ จุตูปปาตญาณ รู้เรื่องภพภูมิ กฎแห่งกรรม
แล้วก็อาสวักขยญาณ มุ่งไปขจัดกิเลส ต้นเหตุแห่งความทุกข์
ตอนนี้เราก็วางใจให้นิ่ง ๆ หยุดนิ่งอย่างสบาย ๆ หยุดเบา ๆจะประคองใจหรือบริกรรมภาวนา สัมมา อะระหัง ไปด้วยก็ได้จะไม่ภาวนาก็ไม่เป็นไร ภาวนาไปด้วยใจที่เบิกบาน โดยไม่ใช้กำลังในการภาวนา เหมือนบทสวดมนต์ หรือเนื้อเพลงที่เราคุ้นที่ดังออกมาจากใจเราเองโดยไม่ได้ตั้งใจอย่างนั้น ถ้าจะภาวนา
ความละเอียดของเสียงต้องระดับนั้น ใจจะได้รวมเร็ว แต่ว่าพอใจเราหยุดเป็นสักครั้งหนึ่ง ตอนหลังก็ไม่ต้องภาวนาแล้ว แค่นิ่ง ๆ พอนิ่ง ๆ ก็โล่งแล้ว โปร่ง เบา สบาย ตัวขยาย แล้วก็เห็นไปตามลำดับ
พอเห็นองค์พระแล้วนี่ เราฝึกให้คุ้นเคยนั่งนอน ยืน เดินหลับตาลืมตาก็เห็นองค์พระให้ชัดเจนเท่ากัน พอฝึกบ่อย ๆ มันก็ชำนาญ เดี๋ยวเราก็จะเห็นองค์พระผุดผ่านเกิดขึ้นมาใส สว่างองค์ใหม่ ๆ ที่ผุดขึ้นมาก็จะมีลักษณะที่งามยิ่งขึ้น จนได้ลักษณะมหาบุรุษที่ครบถ้วนสมบูรณ์ทุกประการทีเดียว
พอถึงตรงนี้ใจก็จะอยู่กับพระแล้วล่ะ จะมีความรู้สึกพระเป็นเรา เราเป็นพระ จะผุดขึ้นมาเป็นพระ หรือพระผุดผ่าน หรือพระครอบเราอยู่อย่างนั้น ก็จะเข้าไปเรื่อย ๆ แล้วเดี๋ยวก็จะเห็น พระในพระ พระในพระ พระในพระเข้าไปก็จะใสสว่าง เพราะะนั้นตอนนี้เราฝึกนะ ฝึกหยุดนิ่งอย่างสบาย ๆ ทำใจให้เบิกบาน ให้แช่มชื่น อากาศกำลังสดชื่น เหมาะสมต่อการเข้าถึงพระรัตนตรัยในตัว ให้ประคองใจ ให้หยุดนิ่ง ๆ กันทุกคน
พระเทพญาณมหามุนี
วันอาทิตย์ที่ ๖ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๔๘
จากหนังสือ ง่ายเเต่ลึก เล่ม 2
โดยคุณครูไม่ใหญ่