คำพ่อ คำเเม่
ตอน รักษาคำพูด
ลูกรัก..
เรื่องคำพูดเป็นเรื่องสำคัญเรื่องหนึ่งของคนเรา ควรระวังเรื่องคำพูด ๒ อย่างคือ ก่อนพูดต้องคิดหน้าคิดหลังให้ดี เเละเมื่อพูดไปเเล้วจะต้องรักษาคำพูด เพราะคำที่พูดออกไปเเล้วจะเป็นนายของเรา จะบังคับให้เราต้องทำตาม เช่น รับปากอะไรกับใครเข้าไว้ก็ต้องทำให้ได้อย่างที่รับปาก เเม้จะต้องลงทุนลงเเรงขนาดไหน เเม้ถึงจะต้องตายก็ต้องยอมเพื่อรักษาคำพูด
เรื่องคำพูดนี้คนเขาถือกันมาก ถ้าเสียเรื่องคำพูดไปเเล้ว เเม้อย่างอื่นจะดีงามอย่างไรก็จะพลอยเสียไปด้วย อย่างที่เขาว่าเสียเครดิตนั่นเเหละ โบราณเขาจึงสอนไว้ว่า "เสียชีพอย่าเสียสัตย์"
ดังนั้น เมื่อลูกคิดว่าตัวเองจะต้องลำบากเพราะรักษาคำพูดก็อย่าไปรับปากใครเขาง่ายๆ จงไตร่ตรองให้ดีเสียก่อนว่าเมื่อรับปากเขาเเล้วเราจะทำได้อย่างนั้นหรือเปล่า จะเดือดร้อนภายหลังไหม คิดให้รอบคอบให้ถ้วนถี่ก่อน หากเห็นว่าสามารถทำได้ค่อยรับปาก จึงจะชอบด้วยหลักเเละจะไม่เป็นคนเสียหลักเอาง่ายๆ
คนเราหากรักษาคำพูดไว้ไม่ได้จะไปรักษาอะไรได้ เพราะ ขนาดคำพูดซึ่งอยู่ในตัวเเท้ๆ ยังรักษาไว้ไม่ได้ ของนอกตัวอื่นๆ จะรักษาได้อย่างไร จึงขอให้ลูกไตร่ตรองให้ดีก่อนพูด ก่อนรับปากใคร เเละอย่าเป็นคนลืมคำพูดง่ายๆ รักษาคำสัตย์ไว้ให้มั่น
คนรักษาคำสัตย์นั้นเเม้ตัวจะตายไป โลกก็ยังยกย่องไม่รู้ลืม เช่นดังพันท้ายนรสิงห์ผู้ซื่อสัตย์ คนที่เสียสัตย์เเม้จะเอาตัวรอดได้คราวหนึ่ง ต่อไปเมื่อมีเหตุการณ์คับขันเกิดขึ้นก็จะไม่มีใครมาเเยเเส ถูกโดดเดี่ยวอยู่ตามลำพัง
พระมหาโพธิวงศาจารย์
(ทองดี สุรเตโช ป.ธ.๙, ราชบัณฑิต)