ต้องฝึกบ่อย ๆให้ชำนาญ
ตื่นนอนต้องนิ่งไว้ |
กลางกาย |
มั่นศึกษ์วิชช์ธรรมกาย |
ใฝ่รู้ |
ยิ่งกว่าท่านกำทราย |
ให้ได้ |
จึงจักกรำศึกสู้ |
ขุดเหง้ารากดำ |
ตะวันธรรม
ตั้งใจหลับตาเจริญสมาธิภาวนากันนะ หลับตาของเราเบาๆ พอสบายๆ ทำ ใจให้เบิกบาน แช่มชื่น ให้สะอาดบริสุทธิ์ ผ่องใส แล้วก็เอาใจหยุดนิ่งๆ ที่ศูนย์กลางกายฐานที่ ๗ อย่างสบายๆ
จะตรึกนึกถึงดวงใส หรือองค์พระใสๆ ก็ได้หรึอจะวางใจเฉยๆ ก็ได้ให้นิ่งๆ นุ่มๆ ละมุนละไม ให้หยุดในหยุด นิ่งในนิ่งลงไปตรงกลางเบาๆ นะ สบายๆ
ขึ้นอยู่กับการฝึกฝน
ฝึกบ่อยๆ ทำ บ่อยๆ แล้วอีกหน่อยเราจะคล่อง จะชำนาญแล้วใจจะอยู่ที่ศูนย์กลางกายฐานที่ ๗ เป็นส่วนใหญ่ทีเดียว ไม่ว่าเราจะมีภารกิจอะไรก็ตาม ใจจะไม่ค่อยห่างจากศูนย์กลางกาย ส่วนใหญ่จะอยู่ ถ้าคนทำเป็นแล้ว เขาเข้าถึงดวงธรรม ถึงกายภายในหรือองค์พระ ทั้งหลับตาลืมตาเขาก็จะเห็นได้ชัดเจนพอๆ กันใหม่ๆ บางท่านลืมตาชัดกว่าหลับตา บางท่านหลับตาชัดกว่าลืมตาแกบ่อยๆ มันก็จะชัดทั้งหลับตาและลืมตา คล้ายๆ กับว่าเรื่องของลูกนัยน์ตาไม่ได้มีปัญหาหรือเป็นอุปสรรคต่อการหยุดใจในกลางกาย แล้วยิ่งเข้าถึงพระธรรมกายก็จะชัดใสสว่าง
ก็ต้องอาศัยการฝึกฝน ไม่มีใครเก่งมาก่อนแกเอาทั้งนั้น แต่บางคนทำได้ง่ายกว่าบางคน เพราะเขาสั่งสมมาข้ามชาติ เขาทำบ่อยๆ ซํ้าแล้วซํ้าเล่า ก็ชำนาญกว่าคนที่นานๆทำที ก็เป็นเรื่องปกติธรรมดา เหมือนกับการทำของหยาบนั่นแหละทำบ่อยๆ ก็ชำนาญ นานๆ ทำทีก็ไม่ค่อยคล่องไม่ค่อยชำนาญ ใจหยุดก็เหมือนกัน ต้องทำบ่อยๆ และที่สำคัญมันมีความสำคัญต่อชีวิตของเราเสียด้วย
ถ้าเราปรารถนาที่จะเข้าถึงความสุขที่แท้จริง เราก็ต้องฝึกหยุดใจใหได้ทุกวัน อยากจะทำใจให้ใสเพื่อเตรียมตัวเอาไว้ถ้าหากเกิดอะไรฉุกเฉิน อยากจะได้เรียนรู้ความจริงของชีวิต เรื่องราวต่างๆก็ต้องอาศัยทำบ่อยๆหยุดใจบ่อยๆ ฝึกกันให้มาก ๆ
จริงๆ แล้วเราเกิดมาเพื่อการนี้แต่เรามักให้เวลากับสิ่งอื่นมากกว่า สิ่งอื่นยั่วยวนใจเรามากกว่าสิ่งนี้ แต่ความจริงถ้าเข้าถึงจริงๆ แล้ว เราจะเห็นว่าภายในเป็นเรื่องที่น่าสนใจ น่าติดตาม น่าเรียนรู้กว่ามากทีเดียว เพราะฉะนั่นตอนนี้เราฝึกหยุดไปเรื่อยๆ นะ แม้ว่าอากาศตอนบ่ายจะสู้ตอนเช้าไม่ได้เราก็ต้องฝึกให้ชำนาญทุกสภาวะอากาศ ฝึกไปเรื่อยๆ หยุดในหยุด นิ่งในนิ่งลงไป ให้ใจใสๆ ให้ใจสว่างไสว
อย่าตั้งใจมากเกินไป
ถ้านั่งแล้วมันทึบ มันตื้อ มันแคบ แสดงว่าเราได้ตั้งใจมากเกินไปแล้วได้ไปบังคับใจ หรือพยายามทำให้สมาธิมันเกิด ควบคุมมันมากเกินไป อย่างนี้ไม่ถูกหลักวิชชานะ
ถ้าถูกหลักพอวางใจแล้วมันต้องขยาย ต้องกว้าง ไม่แคบ นิ่งแต่ไม่แคบ นิ่งแล้วต้องขยาย สบาย โล่ง ต้องโปร่งโล่งใจ โปร่งใจ จนกระทั่งกลืนไปกับบรรยากาศ แล้วความรู้สึกที่ร่างกายก็หมดไป เหมือนกับเราไม่มีตัวตน เหลือแต่ใจที่หยุดกับนิ่ง แล้วก็หยุดในหยุด นิ่งในนิ่งลงไป ทำ อย่างนี้ไปเรื่อยๆ เดี๋ยวก็จะชัดจะใสจะสว่างขึ้นมาเอง ถ้าตั้งใจทำเป็นทุกคน ไม่เป็นเป็นไม่มีหรอก ฝึกฝนกันไป
ให้มีสติ สบาย สมํ่าเสมอ แล้วก็หมั่นสังเกตว่า เรามีสติกับสบายไหม คือรู้ตัวอยู่ ณ กลางกายหรือ ณ จุดที่เรารู้สึกสบายตรงนั่นไปก่อน แล้วทำ ให้สม่ำเสมอ คือให้ได้อารมณ์นั้นต่อเนื่อง สติกับสบายให้ต่อเนื่อง แม้ยังไม่เห็นอะไรก็ตาม
จนกระทั่งถึงจุด ๆ หนึ่ง ใจจะนึ่ง ๆ นุ่มๆ ละมุนละไม แล้วม้นจะขยาย แล้วก็จะค่อยๆใส เหมือนใจตกตะกอนคล้ายๆ กับเราเอาสารส้มไปแกว่งในตุ่มนํ้า ตะกอนมันก็นอนก้น หรือนํ้าที่ใสๆ เราฝึกหยุดใจก็เช่นเดียวกัน ตะกอนของใจก็ตกลงไปเหลือแต่ใจที่ใสๆ แล้วเราก็รักษาสภาพนั้นไปเรื่อยๆ ไม่ต้องไปพยายามปรุงแต่งหรือไปเปลี่ยนแปลงอะไร นึ่งๆ เดี๋ยวมันสว่างขึ้น ชัดขึ้น ใสขึ้น เหมือนไปอยู่ในที่สว่าง แล้วก็เห็นจุดใสๆ ดวงใสๆ หรือองค์พระใสๆ มาให้เห็น
อย่าตื่นเต้น...ทำเฉยกับทุกสิ่งที่เห็น
ซึ่งเราจะต้องระงับความตื่นเต้นให้ได้ เมื่อเห็นของที่ต้องใจ ของที่อยากได้ถูกใจเรา เป็นดวง เป็นองค์พระ ก็ต้องทำ ใจให้เป็นปกติ เก็บความรู้สึกยินดีปรือตาเอาไว้ให้ได้ ใจจะได้นิ่งๆ นุ่มๆ เดินทางต่อไป
ทำเฉยๆ กับทุกสิ่งที่เราเห็น เดี๋ยวภาพนั้นก็จะเปลี่ยนแปลงไป คล้ายๆ กับเรานั่งไปในรถ มองดูรถที่สวนมา ภาพสองข้างทาง เป็นทิวทัศน์บ้าง ตึกรามบ้านช่อง เสาไฟฟ้า ผู้คน เราก็เฉยๆ เดี๋ยวเราก็ไปถึงจุดหมายจนได้
ภาพที่เกิดขึ้นมาก็เหมือนกัน เราก็เฉยๆ นิ่งๆ เอาไว้จนกระทั่งถึงจุดๆ หนึ่ง มันรวมหยุดสนิท ก็จะตกศูนย์วูบไปเลย ดวงปฐมมรรคก็ลอยเกิดขึ้นมา ซึ่งตอนนี้เราจะตื่นตาตื่นใจมาก มีความสุขมากๆ เบิกบานทีเดียวแหละ มันมีอารมณ์ที่อยู่เหนือคำว่า ความสุข มันมีมากกว่านั้น แต่เราก็ยังอับจน ถ้อยคำว่าจะใช้คำอะไรคือมันจะสบายมากๆ เบิกบานมากๆประเดี๋ยวใจก็จะแล่นเข้าไปข้างใน
ดวงก็ขยาย ดวงศีล สมาธิ ปัญญา วิมุตติ วิมุตติญาณทัสสนะ ที่เราได้ยินได้ฟังก็จะผุดขึ้นมา เกิดขึ้นสว่างไสว นำความบันเทิงใจ เบิกบานใจเราเพิ่มขึ้น ใจของเราก็จะเกลี้ยงเกลาเพิ่มขึ้นไป สะอาดเพิ่ม บริสุทธิ์เพิ่ม ยิ่งเข้าไปถึงกายในกาย ถึงองค์พระ ถึงกายธรรม ก็จะยิ่งบริสุทธิ์สะอาดสว่างสุกใสเพิ่มไปเรื่อยๆ สว่างไปเรื่อยๆ ใจก็สบ๊าย สบาย
พระเทพญาณมหามุนี วิ.
วันอาทิตย์ที่ ๒ กุมภาพ้นธ์ พ.ศ. ๒๕๔๖
จากหนังสือ ง่ายเเต่ลึก เล่ม 3
โดยคุณครูไม่ใหญ่