การตอบ ประสบการณ์ภายใน
เพียงแค่สองอย่างนี้ | จำไว้ |
หนึ่งถูกวิธีไซร้ | ทุกขั้น |
สองหมั่นขยันให้ | ต่อเนื่อง |
ลูกจักได้ธรรมนั้น | เที่ยงแท้แน่นอน |
ตะวันธรรม
อย่าตั้งใจเกินไปนะ ทำสบายๆ
อย่าไปเร่งอย่างผิดวิธี สมมติเราเผลอไปกังวลจะไม่ทันเพื่อน ไม่ทันใช้งาน ไม่ทันใจหลวงพ่อ อะไรอย่างนี้ เดี๋ยวมัน จะไปลุ้น จะไปตั้งใจ แล้วมันจะตึง
หากเราตึง ต้องรีบลืมตาเลย แล้วก็ทำสบายๆ ใหม่ พอร่างกายและจิตใจมีความพร้อม เราก็เริ่มต้นใหม่อย่างง่ายๆ เราต้องพยายามสอนตัวเองว่า ต้องสบายๆ ใจใสๆ ใจเย็นๆ
เราไม่ต้องเอาตัวเราไปเปรียบเทียบกับใคร ของเราก็คือ ของเรา
ค่อยๆ ประคองใจไปเรื่อยๆ เดี๋ยวใจก็จะค่อยๆ นิ่งๆ นุ่มๆ เบาๆ สบายๆ ต้องนิ่ง นุ่ม เบา สบาย และผ่อนคลายเท่านั้น ถึงจะไปถึง จุดหมายปลายทางที่เราต้องการได้ นี่สำคัญคัญนะลูกนะ อย่าเพิ่งไปใช้อารมณ์หนุ่มแข็งแรงมาใช้อย่างนั้น นั่งสมาธิ ต้องสบายๆ ทำใจใสๆ ใจเกลี้ยงๆ
ตอบประสบการณ์เท่าที่มี
แล้วถ้าประสบการณ์ดีกว่านี้ ถ้าหลวงพ่อ ถามก็ต้องตอบเท่าที่เรามี เห็นแค่ไหนก็ตอบ แค่นั้น ตอบตรงไปตรงมา หลวงพ่อจะได้ช่วยปรับปรุงแก้ไขได้ง่ายๆ เราจะยกชั้นกันได้ ถ้าทำถูกหลักวิชชา
เพราะฉะนั้น ต้องใสๆ ต้องสบายๆ ต้องเปิดช่องให้บุญเก่า ของเราที่มีมากเพียงพอ ที่จะส่งผลให้เราได้เข้าถึงวิชชา ซึ่งต้องง่ายๆ ถ้าเราไปลุ้น ไปเร่ง ไปเพ่ง ไปจ้อง เหมือนเราไป ปิดช่องที่จะเชื่อมต่อกับบุญเก่า เพราะฉะนั้นต้องสบาย มีสติ กับสบาย ควบคู่กันไป ใจใสๆ ใจเย็นๆ
แตะไปเบาๆ สบายๆ ผ่อนคลาย ใจใสๆ ใจเย็นๆ ได้แค่ไหนก็เอาแค่นั้นไปก่อน เห็นชัดแค่ไหนก็ให้ดูแค่นั้นไปก่อน ดูธรรมดาๆ เช่น สมมติว่า มันชัดใสแค่ ๒๐ เปอร์เซ็นต์ เราก็ดู ไปแค่นั้นก่อน อย่าไปเร่ง
การที่เราดูอย่างสบายๆ ดูเฉยๆ เรื่อยๆ อย่างนี้คือการเร่ง ที่ถูกหลักวิชชา มีให้ดู ๒๐ เปอร์เซ็นต์ ๓๐ เปอร์เซ็นต์ ก็ให้พึง พอใจแค่นั้นไปก่อน อย่าใจร้อนนะลูกนะ
ต้องใจเย็นๆ ดูไปธรรมดาๆ ไม่ต้องคิดอะไรทั้งสิ้น ใจจะได้ อยู่กับเนื้อกับตัว กับกลางกายได้อย่างง่ายๆ แล้วมันก็จะชุ่มๆ ใจชุ่มๆ ใจเย็นๆ เดี๋ยวมันไปของมันเองอย่างง่ายๆ
ถ้าไม่ง่าย ไม่ใช่ ต้องง่าย ต้องสบายนะลูกนะ พอเริ่มรู้สึกว่า มันชักไม่ง่าย ลืมตาเลย แล้วก็เอาใหม่ ฝึกซ้ำๆ อย่างนี้
หมั่นสังเกตดู หลังจากเราเลิกนั่งแล้วว่า เราทำถูกหลัก วิชชาไหม
แล้วนอกรอบก็หมั่นตรึก หมั่นนึก หมั่นคิด ให้ใจติดอยู่ใน กลางกายตลอด ฝึกให้คุ้น ให้คล่อง ให้ชำนาญ ถ้าพื้นฐานลูก แน่นอย่างนี้นะ ต่อไปมันง่าย
จะยากตรงหยุดแรกนี่แหละ แต่ก็ยากไม่มาก ยากพอสู้ ถ้าเรารู้วิธีการหลักวิชชา มันก็ไม่ยาก หยุดแรกสำคัญ ฝึกตรงนี้ซ้ำๆ จนเราจับทางได้ว่า ต้องทำใจแบบนี้ นิ่งแบบนี้ อารมณ์แบบนี้ มันถึงจะไปถึงตรงนั้นได้ พอเราทำซ้ำๆ เดี๋ยวก็คล่อง หยุดถัดไป ก็ยิ่งง่าย ต้องทำอย่างนี้นะ ต้องค่อยๆ ฝึกไปอย่างนี้ ช้าๆ ชัดๆ ง่ายๆ ใจเย็นๆ ต้องสบายๆ เราฝึกไป
หลวงพ่อธัมมชโย
อังคารที่ ๑๒ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๖
จากหนังสือ ง่ายเเต่ลึก เล่ม 4
โดยคุณครูไม่ใหญ่