ลิงติดตัง
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย...
ภูมิภาคเเห่งขุนเขาชื่อหิมพานต์ ราบเรียบ น่ารื่นรมย์
เป็นที่เที่ยวไปทั้งของฝูงลิง ทั้งของหมู่มนุษย์ มีอยู่
ณ ที่นั้น พวกพรานวางตัง (ยางไม้เหนียวใช้ดักสัตว์)
ไว้ในทางเดินของฝูงลิง เพื่อดักลิง
ในลิงเหล่านั้น ลิงเหล่าใดไม่โง่ ไม่ลอกเเลก
ลิงตัวนั้นเข้าไปใกล้ตังนั้น ย่อมหลีกออกห่าง
ส่วนลิงใดโง่ ลอกเเลก
ลิงตัวนั้นเข้าไปใกล้ตังนั้น เอามือจับ มือก็ติดตัง
มันจึงเอามือข้างที่สองจับ ด้วยคิดว่าจักปลดมือออก
มือข้างที่สองติดตังอีก
มันจึงเอาเท้าจับ ด้วยคิดว่าจักปลดมือทั้งสองออก
เท้าก็ติดตังอีก
มันจึงเอาเท้าข้างที่สองจับ
ด้วยคิดว่าจักปลดมือทั้งสอง เเละเท้าออก
เท้าที่สองก็ติดตังอีก
มันจึงเอาปากกัด
ด้วยคิดว่าจักปลดมือทั้งสอง เเละเท้าทั้งสองออก
ปากก็ติดตังอีก
ลิงตัวนั้นถูกตรึง ๕ ประการอย่างนี้เเล
นอนถอนใจ ถึงความพินาศ ถึงความฉิบหายเเล้ว
อันพรานจะพึงกระทำได้ตามความปรารถนา
พรานเเทงลิงตัวนั้นเเล้ว จึงดึงออกทิ้งไว้ในที่นั้นเอง
ไม่ปล่อยไป หลีกไปตามความปรารถนา...ฯ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นเเหละ
เธอทั้งหลายอย่าเที่ยวไปในอารมณ์อื่น อันมิใช่โคจร
เมื่อเธอทั้งหลายเที่ยวไปในอารมณ์อื่น อันมิใช่โคจร
มารจักได้ช่อง
มารจักได้อารมณ์
ก็อารมณ์อื่น อันมิใช่โคจรของภิกษุ คืออะไร
คือ กามคุณ ๕ (รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส)
มักกฏสูตร มก. เล่ม ๓๐ หน้า ๓๘๙