มงคลที่ ๗ เป็นพหูสูต
ปัญญามีการทำให้สว่างเป็นลักษณะ
เหมือนบุรุษส่องประทีปเข้าไปในเรือนที่มืด
เเสงสว่างย่อมกำจัดความมืดทำให้เห็นรูปทั้งหลาย
๑.ปัญญา
๑.๑ ปัญญาเป็นเสมือนรสเกลือที่ใส่เข้าไว้ในกับข้าวทุกชนิด.
สัง.นิ.(อรรถ) มก. ๒๖/๗๖๑
๑.๒ ปัญญามีลักษณะตัด อุปมาเหมือนคนเกี่ยวข้าวจับกอข้าวด้วยมือซ้าย ใช้เคียวตัดด้วยมือขวา.
มิลิน.๔๖
๑.๓ ในเรือนมีฝา ๔ ด้าน เวลากลางคืนเมื่อจุดประทีป ความมืดย่อมหายไป ความสว่างย่อมปรากฏ ฉันใด ปัญญามีความสว่างเป็นลักษณะ ก็ฉันนั้น.
ขุ.ม.(อรรถ) มก.๖๕/๓๔๗
๑.๔ ปัญญามีการทำให้สว่างเป็นลักษณะ เหมือนบุรุษส่องประทีปเข้าไปในเรือนที่มืด เเสงสว่างย่อมกำจัดความมืด ทำให้เห็นรูปทั้งหลาย.
มิลิน. ๕๖
๑.๕ ปัญญามีอยู่เเต่เเสดงไม่ได้เหมือนลม.
มิลิน. ๑๒๒
๑.๖ ธรรมดาของงูย่อมไปด้วยอก ฉันใด ภิกษุผู้ปรารภความเพียรก็ควรไปด้วยปัญญาฉันนั้น เพราะจิตของผู้ไปด้วยปัญญาย่อมนำไปสู่ธรรมที่ควรรู้ ย่อมละเว้นสิ่งที่ไม่ควรกำนดจดจำ ฝึกฝนเเต่สิ่งที่ควรจำ.
มิลิน. ๔๕๔
๒. ผู้มีปัญญา
๒.๑ ศีลอันปัญญาชำระให้บริสุทธิ์ ศีลมีในบุคคลใด ปัญญาก็มีในบุคคลนั้น ปัญญามี
ในบุคคลใด ศีลก็มีในบุคคลนั้น ปัญญาเป็นของบุคคลผู้มีศีล ศีลเป็นของบุคคลผู้มีปัญญา และ
นักปราชญ์ย่อมกล่าวศีลกับปัญญาว่า เป็นยอดในโลก เหมือนบุคคลล้างมือด้วยมือ หรือล้างเท้า
ด้วยเท้า ฉะนั้น
ที.สี. (พุทธ) มก. ๑๒/๑๔
๒.๒ ท่านผู้มีความรู้ มีปัญญาเป็นพหูสูต คิดเหตุการณ์ได้มากย่อมไม่ร้องไห้ การที่พวก
บัณฑิตเป็นผู้บรรเทาความเศร้าโศกผู้อื่นได้ นี่แหละเป็นที่พึ่งอย่างยอดเยี่ยมของนรชน เหมือนอย่าง
เกาะเป็นที่พำนักของคนที่ต้องเรือแตกในมหาสมุทร ฉะนั้น
ขุ.ชา. (ทั่วไป) ๖๒/๖๗๐
๒.๓ อริยสาวกเป็นพหูสูต ทรงสุตะ สั่งสมสุตะ ได้สดับตรับฟังมาก ทรงจำไว้ คล่องปาก
ขึ้นใจ แทงตลอดด้วยดีด้วยทิฏฐิ ซึ่งธรรมทั้งหลายอันงามในเบื้องต้น งามในท่ามกลาง งามในที่สุด
ประกาศพรหมจรรย์พร้อมทั้งอรรถ พร้อมทั้งพยัญชนะ บริสุทธิ์บริบูรณ์สิ้นเชิง เปรียบเหมือนในปัจ
จันตนครของพระราชา มีการสะสมอาวุธไว้มาก ทั้งที่เป็นอาวุธแหลมยาว และอาวุธคม สำหรับคุ้ม
ภัยภายใน และป้องกันอันตรายภายนอก ฉะนั้น
อัง.สัตตก. (พุทธ) มก. ๓๗/๒๒๖
๒.๔ พระจันทร์ปราศจากมลทินโคจรไปในอากาศ ย่อมสว่างไสวกว่าหมู่ดาวทั้งปวงในโลกนี้
ด้วยรัศมี ฉันใด สัมภวกุมารแม้ยังเป็นเด็ก ก็ฉันนั้น ย่อมไพโรจน์กว่าบัณฑิตทั้งหลาย เพราะ
ประกอบด้วยปัญญา
ขุ.ชา. (ทั่วไป) มก. ๖๑/๔๑๒
๒.๕ สุตะอันภิกษุใดสั่งสมไว้ในหีบ คือ หทัย ย่อมคงอยู่ดุจรอยจารึกที่ศิลา.
อัง.จตุกก. (ทั่วไป) มก. ๓๕/๖๒
๒.๖ ภิกษุเมื่อขออยู่ ไม่เว้นตระกลูต่ำ สูง และปานกลาง ย่อมได้อาหารเป็นเครื่องยังชีพ
ด้วยอาการอย่างนี้ แม้ฉันใด ท่านเมื่อไต่ถามชนผู้รู้อยู่ตลอดกาลทั้งปวง ถึงความเป็นปัญญาบารมี
จักได้บรรลุพระสัมโพธิญาณ ฉันนั้นเหมือนกัน
ขุ.อป. (โพธิ) มก. ๗๐/๕๒
๒.๗ พระเจ้ามิลินท์ตรัสถามพระนาคเสนว่า มนสิการมีลักษณะอย่างไร ปัญญามีลักษณะ
อย่างไร
พระนาคเสนทูลตอบว่า มนสิการมีอุตสาหะและการถือไว้เป็นลักษณะ ปัญญามีการตัดเป็น
ลักษณะ เหมือนวิธีจับกอข้าว จับเคียว เกี่ยวข้าว ปัญญามีการทำให้สว่างเป็นลักษณะ คือ เมื่อ
เกิดขึ้นก็กำจัดความมืด คือ อวิชชา และทำให้เกิดแสงสว่าง คือ วิชชา และญาณ
มิลิน.๔๖
๓. การศึกษาเล่าเรียน
๓.๑ การเล่าเรียนมี ๓ อย่าง คือ
๑. การเล่าเรียนเหมือนจับงูข้างหาง
๒. การเล่าเรียนมีวัตถุประสงค์เพื่อออกไป
๓. การเล่าเรียนของพระอรหันต์เปรียบด้วยขุนคลัง
ที.สี (อรรถ) มก. ๑๑/๑๐๒
๓.๒ ปริยัติที่เรียนมาไม่ดี ย่อมเป็นไปเพื่อสิ่งมิใช่ประโยชน์ เพื่อทุกข์ตลอดกาลนาน เหมือน
งูพิษที่จับไม่ดี ฉะนั้น ส่วนปริยัติที่เรียนมาดี ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุขตลอด
กาลนาน เหมือนงูพิษที่จับไว้ดี ฉะนั้น
มู.มู. (พุทธ) มก. ๑๘/๓๐๗
๓.๓ นายโคบาลได้แต่เลี้ยงโคไม่ได้ดื่มนมโค ฉันใด ปุถุชนที่ทรงพระไตรปิฎก ก็ไม่มีส่วนแห่ง
สามัญญผล เหมือนนายโคบาล ฉันนั้น.
มิลิน. ๒๔
๔. ผู้มีปัญญาน้อย
๔.๑ ผู้มีปัญญาน้อยทั้งหลาย หยั่งรู้ได้ยาก และเป็นที่พึ่งไม่ได้ เหมือนมหาสมุทร สัตว์เล็กทั้ง
หลายมีกระต่ายเป็นต้น ซึ่งไม่ได้ ฉะนั้น
ที.สี. (อรรถ) มก. ๑๑/๑๐๑
๔.๒ คนมีสุตะน้อยนี้ ย่อมแก่เหมือนโคถึก เนื้อของเขาย่อมเจริญ แต่ปัญญาของเขาหา
เจริญไม่
ขุ.ธ. (พุทธ) มก. ๔๒/๑๔๒
๔.๓ บุคคลผู้ทุศีลเปรียบด้วยดุ้นฟืนเผาศพ แต่บุคคลผู้มีสุตะน้อย ผู้ละเลยการงานเปรียบ
ด้วยฝูงโค.
อัง.จตุกก. (อรรถ) มก. ๓๕/๒๗๑