ม ง ค ล ที่ ๒๘ เป็นคนว่าง่าย
อันคนไขน้ำทั้งหลายย่อมไขน้ำ
ช่างศรทั้งหลายย่อมดัดลูกศร ช่างถากทั้งหลายย่อมถากไม้
ผู้สอนง่ายทั้งหลายย่อมฝึกตน
๑. ความว่าง่าย
๑.๑ อันคนไขน้ำ ทั้งหลายย่อมไขน้ำ ช่างศรทั้งหลายย่อมดัดลูกศร ช่างถากทั้งหลาย
ย่อมถากไม้ผู้สอนง่ายทั้งหลายย่อมฝึกตน.
ขุ.ธ. (อรรถ) มก. ๔๒/๑๔๐
๑.๒ ธรรมดาโคย่อมเต็มใจดื่มน้ำ ฉันใด ภิกษุผู้ปรารภความเพียรก็ควรเต็มใจฟังคำ สอน
ของพระอุปัชฌาย์ฉันนั้น.
มิลิน. ๔๔๗
๑.๓ ธรรมดาโคนั้น เมื่อผู้ใดจูงไปก็ย่อมทำตามที่ผู้นั้นสั่ง ฉันใด ภิกษุผู้ปรารภความเพียรก็
ยินดีรับฟังคำสั่งสอนของภิกษุด้วยกัน หรือแม้ผู้เป็นอุบาสกชาวบ้าน ฉันนั้น
ข้อนี้สมกับคำ ของพระสารีบุตรเถรเจ้าว่า ถึงผู้บวชนั้นมีอายุเพียง ๗ ขวบ สอนเราก็ตาม
เราก็ยินดีรับคำ สอน เราได้เห็นผู้นั้น ก็เกิดความรักความศรัทธาอย่างแรงกล้ายินดีน้อมรับว่า
เป็นอาจารย์แล้วแสดงความเคารพอยู่เนืองๆ.
มิลิน. ๔๔๗
๑.๔ ธรรมดาแผ่นดินย่อมเป็นที่ตั้งของบ้านเรือน นคร ชนบท ต้นไม้ ภูเขา แม่น้ำ ห้วย
หนอง คลอง บึง เนื้อ นก นรชน หญิง ชาย ได้โดยไม่ย่อท้อ ฉันใด ภิกษุผู้ปรารภความเพียรแม้จะ
ต้องเป็นผู้ว่ากล่าวสั่งสอนผู้อื่น หรือถูกผู้อื่นว่ากล่าวสั่งสอนก็ไม่ควรย่อท้อ ฉันนั้น.
มิลิน. ๔๓๕
๒. ผู้ชี้ขุมทรัพย์
๒.๑ ควรเห็นบุคคลผู้ให้โอวาท เปรียบประดุจบุคคลผู้ชี้บอกขุมทรัพย์ให้ฉะนั้น.
ขุ.ธ. (พุทธ) มก. ๔๑/๒๘๙
๒.๒ เราจักไม่ประคับประคองพวกเธอ เหมือนช่างหม้อประคับประคองภาชนะดินที่ยังดิบ
อยู่ เราจักข่มแล้วจึงบอก จักยกย่องแล้วจึงบอก ผู้ใดมีมรรคผลเป็นแก่นสารผู้นั้นจักอยู่ได้.
ม.อุ. (พุทธ) มก. ๒๓/๒๕
๒.๓ เราไม่ต้องพร่ำ สอนภิกษุเหล่านั้น มีกิจแต่จะทำ สติให้เกิดในภิกษุเหล่านั้น ภิกษุทั้ง
หลาย เปรียบเหมือนรถที่เทียมด้วยม้าอาชาไนย ม้าที่ได้รับการฝึกมาดีแล้วก็เดินไปตามพื้นที่เรียบ
หรือเดินไปตามหนทางใหญ่ ๔ แพร่ง ไม่ต้องใช้แส้ เพียงแต่นายสารถีผู้ฝึกหัดที่ฉลาดขึ้นรถ แล้ว
จับสายบังเหียนด้วยมือซ้าย จับแส้ด้วยมือขวา แล้วก็เตือนให้ม้าวิ่งตรงไปบ้าง ทั้งเลี้ยวกลับไปตาม
ปรารถนาบ้าง ฉันใด ภิกษุทั้งหลาย เราไม่ต้องพร่ำสอนภิกษุทั้งหลายเนืองๆ ฉันนั้นเหมือนกัน.
ม.มู. (พุทธ) มก. ๑๘/๒๕๖
๓. โทษของการว่ายาก
๓.๑ เมื่อธรรมอันเราแสดงแล้วโดยปริยายอย่างนี้ ชนเหล่าใดจักไม่สำ คัญตาม ไม่รู้ตาม
ไม่บันเทิงตาม ซึ่งคำ ที่เรากล่าวดีแล้ว เจรจาดีแล้วแก่กัน และกัน เหตุนี้จักเป็นอันชนเหล่านั้นพึง
หวังได้คือ ชนเหล่านั้นจักเกิดความบาดหมางกัน เกิดความทะเลาะกัน วิวาทกัน จักทิ่มแทงกัน
และกันด้วยหอก คือ ปาก.
สัง.สฬา (พุทธ) มก. ๒๙/๓๙