ม ง ค ล ที่ ๒๗ มีความอดทน
ธรรมดาแผ่นดินย่อมอดกลั้นสิ่งทั้งปวง ที่เขาทิ้งลง
สะอาดบ้าง ไม่สะอาดบ้าง ไม่กระทำการขัดเคือง
เพราะการกระทำนั้น ฉันใด
แม้ท่านก็ฉันนั้นเหมือนกัน เป็นผู้อดทนต่อการนับถือ
และการดูหมิ่นของคนทั้งปวง ถึงความเป็นขันติบารมีแล้ว
จักบรรลุพระสัมโพธิญาณได้
๑. ความอดทนต่อทุกขเวทนา
๑.๑ นรชนผู้ซูบผอม มีตัวสะพรั่งไปด้วยเส้นเอ็นดังเถาหญ้านาง เป็นผู้รู้จักประมาณในข้าว
และน้ำ มีใจไม่ย่อท้อ ถูกเหลือบยุงทั้งหลายกัดอยู่ในป่าใหญ่ ย่อมเป็นผู้มีสติอดกลั้นได้อยู่ในป่านั้น
เหมือนช้างที่อดทนต่อศาสตราวุธในยุทธสงคราม ฉะนั้น.
ขุ.เถร. เถระ) มก. ๕๒/๔๙๐
๑.๒ แม้หากว่าพวกโจรที่มีใจต่ำช้า เอาเลื่อยมีคมสองข้างตัดอวัยวะน้อยใหญ่ ผู้ใดพึงยังใจ
ประทุษร้ายโจรนั้น ไม่ชื่อว่า ทำตามคำสอนของพระบรมศาสดา.
ขุ.สุ. (พุทธ) มก. ๔๖/๒๔
๒. ความอดทนต่อความเจ็บใจ
๒.๑ บุคคลแม้เมื่อล้างที่ซึ่งเปื้อนแล้วด้วยของไม่สะอาดมีน้ำ ลาย และน้ำ มูก เป็นต้น ด้วย
ของไม่สะอาดเหล่านั้นแล ย่อมไม่อาจทำ ให้เป็นที่หมดจดหายกลิ่นเหม็นได้โดยที่แท้ที่นั้นกลับเป็นที่
ไม่หมดจด และมีกลิ่นเหม็นยิ่งกว่าเก่าอีก ฉันใด
บุคคลเมื่อด่าตอบชนผู้ด่าอยู่ ประหารตอบชนผู้ประหารอยู่ ย่อมไม่อาจยังเวรให้ระงับด้วย
เวรได้โดยที่แท้เขาชื่อว่า ทำ เวรนั่นเองให้ยิ่งขึ้น ฉันนั้นนั่นเทียว.
ขุ.ธ. (อรรถ) มก. ๔๐/๗๔
๒.๒ เราจักอดกลั้นคำล่วงเกิน เหมือนช้างอดทนต่อลูกศร ที่ตกจากแล่งในสงคราม ฉะนั้น.
ขุ.ธ. (พุทธ) มก. ๔๓/๒๒๓
๒.๓ ธรรมดาแผ่นดินย่อมอดกลั้นสิ่งทั้งปวง ที่เขาทิ้งลง สะอาดบ้าง ไม่สะอาดบ้าง
ไม่กระทำ การขัดเคือง เพราะการกระทำ นั้น ฉันใด แม้ท่านก็ฉันนั้นเหมือนกัน เป็นผู้อดทนต่อการ
นับถือ และการดูหมิ่นของคนทั้งปวง ถึงความเป็นขันติบารมีแล้ว จักบรรลุพระสัมโพธิญาณได้.
ขุ.อป. (โพธิ) มก. ๗๐/๕๔
๒.๔ บุคคลผู้ถูกขับไล่จากแว่นแคว้นของตนไปอยู่ถิ่นอื่นแล้ว ควรสร้างฉางใหญ่ไว้สำ หรับ
เก็บคำ หยาบคายทั้งหลาย.
ขุ.ชา. (โพธิ) มก. ๕๘/๔๐๐
๒.๕ ควรอดทนด้วยความอดกลั้นคำ ของคนพูดชั่วเลวทราม ฯลฯ เหมือนคนรถสวมเกราะ
หนังยืนอยู่บนรถ ย่อมอดทนต่อลูกศรทั้งหลายอันมาแล้ว... ลูกศรทั้งหลายย่อมแทงบุคคลนั้นไม่ได้
ฉันใด
ภิกษุผู้ประกอบด้วยอธิวาสนขันติย่อมอดทนถ้อยคำ อันมาแล้วได้ ถ้อยคำ เหล่านั้น
ย่อมแทงภิกษุผู้ประกอบด้วยอธิวาสนขันติไม่ได้ฉันนั้น.
สัง.ม. (อรรถ) มก. ๓๐/๑๙
๒.๖ เราเป็นเช่นกับช้างเข้าสู่สงคราม การอดทนต่อลูกศรที่แล่นมาจากสี่ทิศ เป็นภาระของ
ช้างที่เข้าสู่สงคราม ฉันใด การอดทนต่อถ้อยคำของผู้ทุศีล ก็เป็นภาระของพระองค์ฉันนั้น.
ขุ.ธ. (พุทธ) มก. ๔๓/๒๒๖
๓. ความอดทนต่ออำนาจกิเลส
๓.๑ ถ้าความโกรธเกิดขึ้น จงระลึกถึงพระโอวาทอันอุปมาด้วยเลื่อย ถ้าตัณหาในรสเกิดขึ้น
จงระลึกถึงพระโอวาทอันอุปมาด้วยเนื้อบุตร ถ้าจิตของท่านแล่นไปในกาม และภพทั้งหลาย จงรีบ
ข่มเสียด้วยสติเหมือนบุคคลห้ามสัตว์เลี้ยงโกงที่ชอบกินข้าวกล้า ฉะนั้น.
ขุ.เถร. (เถระ) มก. ๕๒/๒๑๗
๔. ประโยชน์ของความอดทน
๔.๑ ศิลปะธนูกำลังเข้มแข็ง และความกล้าหาญมีอยู่ในชายหนุ่มผู้ใด พระราชาผู้ทรงการ
ยุทธ์พึงทรงชุบเลี้ยงชายหนุ่มผู้นั้น ไม่พึงทรงชุบเลี้ยงชายหนุ่มผู้ไม่กล้าหาญ เพราะเหตุแห่งชาติ
ฉันใด
ธรรมะ คือ ขันติและโสรัจจะตั้งอยู่แล้วในบุคคลใด บุคคลพึงบูชาบุคคลนั้น ผู้มีปัญญา มี
ความประพฤติเยี่ยงพระอริยะ แม้มีชาติต่ำ ฉันนั้นเหมือนกัน.
สัง.ส. (พุทธ) มก. ๒๔/๕๑๖
๔.๒ เหมือนอย่างว่าของไม่สะอาด มีน้ำ ลาย เป็นต้นเหล่านั้น อันบุคคลล้างด้วยน้ำ ที่ใส
ย่อมหายหมดได้ที่นั้นย่อมเป็นที่หมดจด ไม่มีกลิ่นเหม็น ฉันใด
เวรทั้งหลายย่อมระงับ คือ ย่อมสงบ ได้แก่ ย่อมถึงความไม่มีด้วยความไม่มีเวร คือ ด้วย
น้ำ คือ ขันติและเมตตา ด้วยการทำ ไว้ในใจโดยแยบคาย และด้วยการพิจารณา ฉันนั้นนั่นเทียว.
ขุ.ธ. (อรรถ) มก. ๔๐/๗๔
๔.๓ บุคคลโกรธตอบบุคคลที่โกรธ จัดว่าเป็นคนเลวกว่าบุคคลผู้โกรธ เพราะความโกรธตอบ
นั้น บุคคลผู้ไม่โกรธตอบบุคคลผู้โกรธ ชื่อว่า ชนะสงครามที่ชนะได้ยาก.
ขุ.เถร. (เถระ) มก. ๕๒/๒๑๗
๔.๔ หม่อมฉันทั้งหลายเป็นผู้เข็ญใจ ฝึกแล้ว คือ หมดพยศ ความเข็ญใจฝึกหม่อมฉัน
ทั้งหลายดุจนายสารถีฝึกม้าให้หมดพยศ ฉะนั้น.
ขุ.ชา. (อรรถ) มก. ๖๔/๗๙๕