ม ง ค ล ที่ ๒๖   ฟังธรรมตามกาล

วันที่ 15 กค. พ.ศ.2565

mongkol-life26.jpg

ม ง ค ล ที่ ๒๖   ฟังธรรมตามกาล

บุคคลมีปัญญามาก (เหมือนหม้อหงาย)
คือ ขณะฟังธรรม หรือเลิกฟังก็ยังใส่ใจอยู่
เหมือนเทน้ำลงไปในหม้อ น้ำย่อมขังอยู่

mongkol-life26.1.jpg

๑. ประเภทผู้ฟังธรรม

     ๑.๑ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสแก่ภิกษุทั้งหลาย ถึงคนไข้และผู้เปรียบด้วยคนไข้ ๓ จำ พวก
     ๑. คนไข้ที่ไม่ว่าจะได้อาหาร ยา และคนพยาบาลที่เหมาะสมหรือไม่ก็ตาม ก็คงไม่หายจาก
อาพาธ
     ๒. คนไข้ที่ไม่ว่าจะได้อาหาร ยา และคนพยาบาลที่เหมาะสมหรือไม่ก็ตาม ก็คงหายจาก
อาพาธ
     ๓. คนไข้ที่ถ้าได้อาหาร ยา และคนพยาบาลที่เหมาะสม จึงหายจากอาพาธได้แต่ถ้าไม่ได้
อาหาร ยา และคนพยาบาลที่เหมาะสม ก็ไม่หายจากอาพาธ ดังนั้น เพราะรักษาคนไข้ประเภทนี้
จึงจำต้องรักษาคนไข้ประเภทอื่นด้วย

     คนไข้๓ จำ พวกนี้ก็เปรียบได้กับบุคคลที่มีอยู่ในโลกนี้๓ จำ พวก คือ
     ๑.บุคคลที่ไม่ว่าจะได้พบตถาคต ได้ฟังธรรมวินัยหรือไม่ก็ตาม ก็ไม่ได้ปัญญารู้ธรรมตามจริง
     ๒.บุคคลที่ไม่ว่าจะได้พบตถาคต ได้ฟังธรรมวินัยหรือไม่ก็ตาม ก็ได้ปัญญารู้ธรรมตามจริง
     ๓.บุคคลที่ได้พบตถาคตได้ฟังธรรมวินัย จึงจะได้ปัญญารู้ธรรมตามจริง แต่ถ้าไม่ได้พบ
ตถาคต ไม่ได้ฟังธรรมวินัย ก็ไม่ได้ปัญญารู้ธรรมตามจริง ดังนั้น เพราะบุคคลประเภทนี้จึงจำต้อง
แสดงธรรมแก่บุคคลประเภทอื่นด้วย.
อัง.ติก. (พุทธ) มก. ๓๔/๗๐

     ๑.๒ ผู้มีปัญญา ๓ จำ พวก
     ๑. บุคคลมีปัญญาดังหม้อคว่ำ คือ ขณะฟังธรรมหรือเมื่อเลิกฟังก็ไม่ใส่ใจ เหมือนราดน้ำลง
ไปบนหม้อคว่ำ น้ำย่อมไหลไปไม่ขังอยู่
     ๒. บุคคลมีปัญญาดังหน้าตัก คือ ขณะฟังธรรมก็ใส่ใจ แต่เมื่อเลิกฟังก็ไม่ใส่ใจ เหมือน
วางของไว้บนตัก พอลุกขึ้นของนั้นก็ตกไป
     ๓. บุคคลมีปัญญามาก (เหมือนหม้อหงาย) คือ ขณะฟังธรรมหรือเลิกฟังก็ยังใส่ใจอยู่
เหมือนเทน้ำลงไปในหม้อ น้ำย่อมขังอยู่. 
อัง.ติก. (พุทธ) มก. ๓๔/๙๘
    
               ๑.๓ คฤหบดีชาวนาต้องการจะหว่านพืช พึงหว่านพืชในนาดีก่อน ครั้นหว่านในนานั้นแล้ว
พึงหว่านในนาปานกลาง ครั้นหว่านในนาปานกลางนั้นแล้ว ในนาเลว มีดินแข็ง เค็ม พื้นดินเลว
พึงหว่านบ้างไม่หว่านบ้าง ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะที่สุดจักเป็นอาหารโค 
     ดูก่อนนายคามณีเปรียบเหมือนนาดี ฉันใด เราย่อมแสดงธรรมอันงามในเบื้องต้น งามใน
ท่ามกลาง งามในที่สุด ประกาศพรหมจรรย์พร้อมทั้งอรรถทั้งพยัญชนะ บริสุทธิ์ บริบูรณ์สิ้นเชิงแก่
ภิกษุและภิกษุณีของเราก่อน ฉันนั้น ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะภิกษุและภิกษุณีเหล่านี้มีเราเป็น
ที่พึ่ง มีเราเป็นสรณะอยู่
     ดูก่อนนายคามณีนาเลว มีดินแข็ง เค็ม พื้นดินเลว ฉันใด เราย่อมแสดงธรรมแก่อัญญ
เดียรถีย์ สมณะ พราหมณ์และปริพาชกในที่สุด ฉันนั้น.
สัง.สฬา. (พุทธ) มก. ๒๙/๑๙๔
     
                ๑.๔ ธรรมดามหาสมุทรย่อมไม่รู้จักเต็มด้วยน้ำ อันไหลมาจากแม่น้ำ ทั้งปวง อันได้แก่
แม่น้ำ คงคา ยมุนา อจิรวดี สรภู นที เป็นต้น รวมทั้งน้ำ ฝนด้วย ฉันใด ภิกษุผู้ปรารภความเพียรก็
ไม่ควรอิ่มด้วยการเรียน การฟัง การจำ การศึกษาพระธรรมวินัย พระสูตรในพระพุทธศาสนา
ฉันนั้น
     ข้อนี้สมกับพระพุทธพจน์ในมหาสุตตโสมชาดกว่า ไฟที่ไหม้หญ้า และไม้ย่อมไม่รู้อิ่มด้วย
เชื้อไฟ มหาสมุทรย่อมไม่รู้จักอิ่มด้วยน้ำ ฉันใด บัณฑิตทั้งหลาย ก็ไม่รู้จักอิ่มด้วยคำอันเป็นสุภาษิต
ฉันนั้น.
 มิลิน. ๔๓๔

                 ๑.๕ เมื่อตะโพนแตก พวกทสารหะได้ตอกลิ่มอื่นลงไป สมัยต่อมาโครงเก่าของตะโพนชื่อ
อานกะก็หายไป ยังเหลือแต่โครงลิ่ม แม้ฉันใด ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกภิกษุในอนาคตกาล เมื่อ
เขากล่าวพระสูตรที่ตถาคตกล่าวแล้วอันลึก มีอรรถอันลึก เป็นโลกุตตระ ประกอบด้วยสุญญตธรรม
อยู่ จักไม่ปรารถนา จักไม่เข้าไปตั้งจิตเพื่อรู้และจักไม่สำ คัญธรรมเหล่านั้น ว่าควรเล่าเรียนควร
ศึกษา แต่ว่าเมื่อเขากล่าวพระสูตรอันนักปราชญ์รจนาไว้อันนักปราชญ์ร้อยกรองไว้มีอักษรอัน
วิจิตร มีพยัญชนะอันวิจิตร เป็นของภายนอก เป็นสาวกภาษิตอยู่ จักปรารถนาฟังด้วยดีจักเงี่ย
โสตลงสดับ จักเข้าไปตั้งไว้ซึ่งจิตเพื่อรู้และจักสำคัญธรรมเหล่านั้น ว่าควรเรียน ควรศึกษา.
 สัง.ส. (ทั่วไป) มก. ๒๕/๔๑๙
    
                ๑.๖ ท่านไม่ได้บรรลุแล้ว แต่แล้วท่านก็แสดงธรรมแก่สาวกว่า นี้เพื่อประโยชน์ของท่านทั้ง
หลาย นี้เพื่อความสุขของท่านทั้งหลาย สาวกของท่านย่อมไม่ตั้งใจฟัง ไม่เงี่ยหูฟัง ไม่ตั้งจิตเพื่อรู้
ทั่วถึง และย่อมหลีกเลี่ยงประพฤตินอกคำสอนของศาสดา เหมือนบุรุษรุกเข้าไปหาสตรีที่กำลังถอย
หลังหนีหรือเหมือนบุรุษที่กอดสตรีที่หันหลังให้.
ที.สี. (พุทธ) มก. ๑๒/๒๕๐
    
                ๑.๗ ท่านไม่ได้บรรลุแล้ว แต่ท่านแสดงธรรมแก่สาวกทั้งหลายว่า นี้เพื่อประโยชน์ของท่าน
ทั้งหลาย นี้เพื่อความสุขของท่านทั้งหลาย สาวกของท่านย่อมตั้งใจฟัง ย่อมเงี่ยหูฟัง ตั้งจิตเพื่อ
รู้ทั่วถึง และไม่หลีกเลี่ยงประพฤตินอกคำสอนของศาสดา เหมือนบุคคลทิ้งนาของตนแล้ว สำ คัญ
นาของผู้อื่นว่า เป็นที่ที่ตนควรทำ ให้ดี.
ที.สี. (พุทธ) มก. ๑๒/๒๕๑
    
                ๑.๘ ท่านได้บรรลุแล้ว จึงแสดงธรรมแก่สาวกทั้งหลายว่า นี้เพื่อประโยชน์ของท่านทั้งหลาย
นี้เพื่อความสุขของท่านทั้งหลาย สาวกเหล่านั้น ย่อมไม่ตั้งใจฟัง ไม่เงี่ยหูฟัง ไม่เข้าไปตั้งจิต เพื่อ
ความรู้ทั่ว และหลีกเลี่ยงประพฤตินอกคำสอนของศาสดา เหมือนบุคคลตัดเครื่องจองจำ เก่าได้แล้ว
สร้างเครื่องจองจำอย่างอื่นขึ้นใหม่.
ที.สี. (พุทธ) มก. ๑๒/๒๕๐
    
                ๑.๙ พระบรมศาสดาตรัสตอบว่า ทรงเอ็นดูมุ่งประโยชน์ต่อสรรพสัตว์คือ ทรงแสดงธรรม
โดยเคารพต่อสรรพสัตว์เสมอกัน แต่ที่ทรงแสดงธรรมแก่คนบางพวกก่อน ก็เพราะทรงเอ็นดูมุ่ง
ประโยชน์ต่อคนเหล่านั้น ผู้พร้อมจะฟังธรรมเทศนาก่อน ทรงเปรียบให้ฟังว่า พระพุทธองค์เหมือน
ชาวนาที่ฉลาดเลือกหว่านพืชในนาชั้นดีก่อน แล้วหว่านในนาชั้นปานกลาง ส่วนนาชั้นเลวซึ่งมี
ดินแข็ง ดินเค็ม พื้นดินไม่ดีนั้น ชาวนาจะหว่านพืชบ้าง ไม่หว่านพืชบ้างก็ได้.
สัง.สหา. (พุทธ) มก. ๒๙/๑๙๓

 

mongkol-life26.2.jpg
๒. ความสำคัญของการฟังธรรม 
    
                ๒.๑ ข้าพระองค์ปรารถนาความเจริญของตนทางการศึกษา พวกสัตบุรุษผู้สงบจึงคบ
ข้าพระองค์ข้าพระองค์ไม่อิ่มด้วยสุภาษิต ดุจมหาสมุทรไม่อิ่มด้วยแม่น้ำ ฉะนั้น.
ขุ.ชา. (โพธิ) มก. ๖๒/๖๘๑
    
                ๒.๒ ไฟที่ไหม้หญ้า และไม้ย่อมไม่อิ่ม และสาครไม่อิ่มด้วยแม่น้ำ ทั้งหลาย ฉันใด ข้าแต่
พระองค์ผู้ประเสริฐสุด แม้บัณฑิตทั้งหลายได้สดับถ้อยคำ ของข้าพระองค์ ย่อมไม่อิ่มด้วยสุภาษิต
เหมือนกัน ฉะนั้น.
ขุ.ชา. (โพธิ) มก. ๖๒/๖๘๑

 

mongkol-life26.3.jpg
๓. ประโยชน์ของการฟังธรรม
    
                 ๓.๑ ชนเหล่าอื่นผู้มีปัญญา ย่อมดื่มคำ สั่งสอนของพระพุทธเจ้านั้น ซึ่งเป็นธรรมไม่นำ กลับ
หลัง เป็นธรรมทำ ผู้ฟังให้ชุ่มชื่น มีโอชะ เหมือนคนเดินทางไกลดื่มน้ำ ฝน ฉะนั้น. 
ขุ.เถรี. (เถระ) มก. ๕๔/๙๗
    
                ๓.๒ พระเถระยืนถือก้านตาลถวายงานพัดพระศาสดาอยู่ ได้สำ เร็จสาวกบารมีญาณ โดย
ไม่ต้องชี้แจง เหมือนคนบริโภคโภชนะที่เขาคดไว้เพื่อผู้อื่น บรรเทาความหิว และเหมือนคนเอา
เครื่องประดับที่เขาจัดไว้เพื่อผู้อื่น มาสวมศีรษะตน.
อัง.ทุก. (อรรถ) มก. ๓๓/๓๘๓
     
                ๓.๓ ธรรมอันเราแสดงแล้วโดยปริยายอย่างนี้ผู้ใดรู้ตามด้วยดีสำคัญตามด้วยดียินดีตาม
ด้วยดีซึ่งคำ ที่กล่าวดีพูดดีของกันและกัน ในธรรมที่เราแสดงโดยปริยายอย่างนี้แล้ว ผู้นั้นจะได้ผล
อันนี้คือ จักพร้อมเพรียง บันเทิง ไม่วิวาทกัน เป็นเหมือนน้ำ นมระคนกับน้ำ แลดูกันด้วยสายตา
เป็นที่รักอยู่.
ม.ม. (พุทธ) มก. ๒๐/๒๑๗
     
                ๓.๔ บัณฑิตทั้งหลายฟังธรรมแล้ว ใจย่อมผ่องใส เหมือนดังห้วงน้ำ ลึกใสแจ๋วไม่ขุ่นมัว
ฉะนั้น.
ขุ.ธ. (อรรถ) มก. ๔๑/๓๔๗
     
                ๓.๕ สัตว์ทั้งหลายผู้สร้างสมบุญไว้แล้ว ถึงความแก่กล้าในพระพุทธเจ้าองค์ก่อน ด้วยบุญ
กิริยาวัตถุ ๑๐ หวังพระธรรมเทศนาอย่างเดียว เหมือนประทุมชาติหวังแสงอาทิตย์ เป็นผู้ควรหยั่ง
ลงสู่อริยภูมิ.
ที.ม. (อรรถ) มก. ๑๓/๑๔๖

                 ๓.๖ เปรียบเหมือนบุรุษผู้ถูกความหิวความเหนื่อยอ่อนครอบงำ ได้ขนมหวานแล้วกินใน
เวลาใด ก็พึงได้รับรสอันอร่อยหวานชื่นชูใจในเวลานั้น ฉันใด ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภิกษุนักคิด
ชาติบัณฑิตพึงใคร่ครวญเนื้อความแห่งธรรมบรรยายนี้ด้วยปัญญาในเวลาใด ก็พึงได้ความพอใจ
และได้ความเลื่อมใสแห่งใจในเวลานั้น ฉันนั้น.
ม.มู. (เถระ) มก. ๑๘/๒๐๕

 ยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคล Total Execution Time: 0.035674202442169 Mins