บรรพชิต เรายินดีในที่สงัดหรือไม่

วันที่ 12 เมย. พ.ศ.2566

บรรพชิต
ควรพิจารณาเนือง ๆ ว่า เรายินดีในที่สงัดหรือไม่

บรรพชิตพึงพิจารณาเนือง ๆ ว่า เรายินดีในเรือนว่างเปล่าหรือไม่ กจฺจิ นุ โขห์ สุญฺญาคาเร อภิรมามิ

บรรพชิต เรายินดีในที่สงัดหรือไม่

       ยินดี คือ ความสุขและความปลาบปลื้มใจในกุศลธรรม เป็นความสุขที่ประกอบด้วยปัญญา ไม่ใช่ความยินดีด้วยอํานาจของตัณหา

       สุญญาคาร แปลว่า เรือนว่างเปล่า หมายถึง เสนาสนะที่ สงบไม่มีคนพลุกพล่าน เหมาะแก่การหลีกเร้นเพื่อบําเพ็ญเพียรทาง กายและใจ๔๗ เช่น ป่า โคนไม้ ภูเขา ซอกเขา ถ้ําเขา ป่าช้า ราวป่า ที่แจ้ง กองฟาง เป็นต้น แต่หากไม่ได้เช่นนั้น แม้อยู่ในปราสาทชั้น เดียวทําความเพียรอยู่๔๘ หรือเจริญภาวนาอยู่ในวงม่านที่กั้นไว้ส่วน หนึ่งก็ถือว่าอยู่ในเรือนว่างเช่นกัน ในบางกรณียังหมายถึง ความสงัด ความว่างจากอกุศลธรรมและกุศลธรรม โดยเริ่มจากระดับหยาบ ไปหาละเอียดยิ่ง ๆ ขึ้นไป เรียกว่า เรือนว่างภายในตน๔๙

       ภิกษุควรหมั่นหาโอกาสบําเพ็ญเพียรภาวนาในเรือนว่างหรือในสถานที่เงียบสงบให้มากเท่าที่จะทําได้ การปฏิบัติอย่างนี้เรียกว่า การพอกพูนสุญญาคาร สามารถทําได้ ๒ ลักษณะ คือ
       ๑. อยู่ผู้เดียวทุกอิริยาบถในที่สงัดปราศจากบุคคลอื่น เช่น เรือนว่าง ห้องว่าง ลอมฟาง ซอกเขา กลางทุ่ง ชายป่า เป็นต้น
       ๒. การมนสิการถึงกรรมฐาน เช่น นึกถึงป่า นึกถึงทุ่งหญ้า นึกถึงอากาศอันว่างรอบตัว นึกถึงกสิณนิมิต ฌาน วิปัสสนา เป็นต้น หากภิกษุไม่ได้โอกาสตามข้อ ๑ แต่ถ้าใส่ใจในกรรมฐานเป็นนิตย์ แม้อยู่ท่ามกลางภิกษุนับพันก็ยังชื่อว่า อยู่ผู้เดียวในเรือนว่าง คือ กายและใจของตนนั่นเอง
       ภิกษุควรหมั่นเตือนตัวเองให้ปลีกตัวไปหาที่สงบเพื่อเจริญภาวนา ไม่คลุกคลีด้วยหมู่คณะมากเกินความจําเป็น ดําเนินตาม หลักวิเวก ๓ คือ กายวิเวก จิตวิเวก และอุปธิวิเวก โดยปลีกตัว ไปอยู่ในที่สงบ ทําใจให้หยุดนิ่ง เพื่อให้เข้าถึงพระธรรมกายภายใน ตัว และอาศัยพระธรรมกายในตัวกําจัดกิเลสให้หมดไปได้ในที่สุด

 

"หมั่นใส่ใจในกรรมฐานเป็นนิตย์ 
แม้อยู่ท่ามกลางภิกษุนับพันก็ยังชื่อว่า
อยู่ผู้เดียวในเรือนว่าง คือกายและใจของตน"

 

๔๗ สํ.สฬา.อ. อสังขตสังยุต (ไทย.มมร) ๒๙/๒๗๖
๔๘ ขุ.อิติ.อ. สัลลานสูตร (ไทย,มมร) ๔๕/๓๑๓, ขุ.ม.อ. ตัวฎกสุตตนิทเทส (ไทย,มมร) ๖๖/๔๑๗) 
๔๙ ม.อุ. จูฬสุญญตสูตร (ไทย.มมร) ๒๓/๓๓๓/๑-๗

 

 

บทความจากหนังสือ บรรพชิตมหาพิจารณา สำนึกของพระเเท้
ดาวน์โหลดหนังสือเล่มนี้ (ไฟล์ PDF) ได้ที่นี่

บรรพชิตมหาพิจารณา สำนึกของพระเเท้

 

 ยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคล Total Execution Time: 0.0012218832969666 Mins