เราควรทำอะไร จึงจะดีที่สุด

วันที่ 24 กค. พ.ศ.2566

27-7-66-01-b.png

๕. เราควรทำอะไร จึงจะดีที่สุด

           เมื่อได้ทราบคำตอบของคำถามว่า “เราคือใคร” ไปแล้ว คำถามต่อไปที่ควรหาคำตอบให้ได้คือ "เราควรทำอะไร จึงจะได้รับคุณค่าสมกับที่ได้เกิดมาตามคำตอบที่ ๑ นั้น
 

           อันที่จริง ในบรรดาคำตอบของคำถามที่ ๑ ที่ถามว่า "เราคือใคร” คำตอบที่ดีที่สุดสูง มีค่า และเป็นประโยชน์ที่สุด คือคำตอบที่ว่า “แท้ที่จริง ตัวเรานั้นไม่มี” เพราะเป็นคำตอบที่เป็นสัทธรรม ถูกต้องตรงตามความเป็นจริง เมื่อไม่มีตัวเรา ความทุกข์ทั้งปวงที่เกิดเนื่องจาก "เรา" และ "ของเรา" ย่อมไม่มี ความทุกข์ประจําร่างกายคือ ความเกิด แก่ เจ็บตาย ความทุกข์จร เช่น ความพลัดพรากจากสิ่งที่รัก ความประสบกับสิ่งที่ไม่รัก ความโทมนัสคับแค้นต่าง ๆ เหล่านี้ย่อมเกิดขึ้นไม่ได้
 

           แต่คนเราแต่ละคนมีธาตุธรรม คือสภาวะที่ทรงอยู่เฉพาะตนแตกต่างกัน บางคนมีกำลังอ่อน บางคนแข็งกล้า หรือจะเรียกว่ามีบารมีธรรมแตกต่างกันก็ได้ เมื่อเป็นเช่นนี้ความคิดเห็นย่อมไม่เหมือนกัน ผู้มีธาตุธรรมอ่อน มักจะไม่เล็งเห็นประโยชน์ของการพ้นจากความมีตัวตน ยังปรารถนาการเกิด ยังพอใจที่จะเป็นผู้ได้ไปเกิดที่นั่น ที่นี่ ภูมินั้นภูมินี้ อยากได้รับความสุขเช่นนั้นเช่นนี้
 

           เมื่อเป็นดังนี้ คำตอบที่ถามว่า "เราควรทำอะไร" จึงต้องมีหลายระดับ คือทั้งในระดับที่ยังขอมีตัวตน ไปเกิดในที่ที่ตนพอใจ และในระดับที่ขอให้พ้นจากความทุกข์ เลิกเวียนว่ายตายเกิด หมดจากความมีตัวตน ปราศจากขันธ์ ๕ ขอให้บรรลุถึงพระนิพพานอันเป็นขันธวิมุติ (พ้นจากความมีขันธ์) ตามแต่สติปัญญาของผู้ตอบคำถาม เช่นเดียวกันกับในคำถามแรก
 

           ดังนั้นค่าตอบของค่าถามที่ถามว่า "เราควรหาอะไร" จึงตอบได้ดังนี้
 

          “เราควรทำกรรมชนิด... เพื่อให้ได้ไปเกิดเป็น...” มีตั้งแต่ ระดับต้น ผู้ขาดสติปัญญาย่อมปรารถนาไปสู่อบายภูมิ เช่นชอบใจการเกิดเป็นสัตว์เดรัจฉานบางประเภทเห็นว่ามีความสวยงาม หรือเป็นอยู่สุขสบาย อยากเกิดเป็นผี เป็นเปรต เพื่อได้หลอกหลอนผู้อื่น เหล่านี้เป็นต้น
 

           ถ้าพอมีปัญญาอยู่บ้าง ปรารถนาเกิดในกามสุคติภูมิ คือ มนุษย์ และเทวดา
 

          ปัญญาสูงต่อจากนั้นย่อมปรารถนา รูปพรหมภูมิ อรูปพรหมภูมิ
 

          ปัญญาสูงที่สุด ย่อมปรารถนา มรรค ผล และนิพพาน
 

          เมื่อปรารถนาต่างกัน การกระทํากรรมก็ต้องต่างกันไปเป็นธรรมดา
 

          ในฉักกนิบาติอังคุตตรพระบาลี พระผู้มีพระภาคทรงแสดงว่า
 

          "เจตนา หํ ภิกฺขเว กมฺมํ วทามิ เจตยิตฺวา กมุมํ กโรติ กาเยน วาจาย มนสา"
 

          ดูกรภิกษุทั้งหลาย เหตุที่บุคคลมีความตั้งใจเป็นเครื่องกระตุ้น แล้วก็กระทำการงานนั้น ๆ สำเร็จลง ด้วยกายบ้าง ด้วยวาจาบ้าง ด้วยใจบ้าง ด้วยเหตุนี้ ตถาคตจึงกล่าวว่าเจตนานี้เป็นตัวกรรม กรรมจึงหมายถึง การกระทำทางกาย วาจา ใจ ทั้งทางดี และไม่ดีโดยมีเจตนา
 

          กรรมถ้าจําแนกโดยหน้าที่ มี ๔ อย่างคือ
          ๑. กรรมนำไปเกิด (ชนกกรรม)
          ๒. กรรมอุดหนุนหล่อเลี้ยง (อุปัตถัมภกกรรม)
          ๓. กรรมเบียดเบียน (อุปปีฬกกรรม)
          ๔. กรรมตัดรอน (อุปฆาตกกรรม)

 

          กรรม ถ้าจําแนกโดยความหนักเบา มี ๔ อย่างคือ
          ๑. กรรมหนักที่สุด (ครุกกรรม)
          ๒. กรรมที่ทำใกล้ตาย (อาสันนกรรม)
          ๓. กรรมที่ทำเสมอ ๆ (อาจิณณกรรม)
          ๔. กรรมเล็กน้อยพอประมาณ (กฏตตากรรม)

 

          กรรม ถ้าจําแนกโดยเวลาให้ผล มี ๔ อย่างคือ
          ๑. ให้ผลปัจจุบันทันตาเห็น (ทิฏฐธัมมเวทนียกรรม)
          ๒. ให้ผลในชาติถัดไป (ชาติที่ ๒) (อุปปัชชเวทนียกรรม)
          ๓. ให้ผลในชาติที่ ๓ เป็นต้นไปจนกว่าจะถึงพระนิพพาน (อปราปริยเวทนียกรรม)
          ๔. เลิกให้ผล (อโหสิกรรม)

 

          กรรม ถ้าจําแนกโดย เหตุให้ไปบังเกิด ในภพภูมิต่าง ๆ มี ๔ อย่างคือ
          ๑. อกุศลกรรม
          ๒. กามาวจรกุศลกรรม
          ๓. รูปาวจรกุศลกรรม
          ๔. อรูปาวจรกุศลกรรม

 

         กรรมอันเป็นเหตุให้ไปสู่อบายภูมิ คือ ทุจริตทางกาย วาจา และใจ ได้แก่การประกอบอกุศลกรรมบท ๑๐
 

        กรรมอันเป็นเหตุให้ไปสู่กามสุคติภูมิ คือ กามกุศลกรรม ๓ อย่าง ทางกาย วาจาใจ เช่นเดียวกัน มีดังนี้
        ๑. โตยกรรมทวาร คือการประกอบกุศลกรรมบถ ๑๐ ทางกาย วาจา ใจ
        ๒. โดยประเภทของกุศล มี ๓ อย่างเหมือนกัน คือ ทาน ศีล ภาวนา
        ๓. โดยอำนาจแห่งการเกิดขึ้นของกุศลจิต มี ๘ อย่าง

        ๔. โดยบุญญกิริยาวัตถุ มี ๑๐ ประการ
       

       กรรมอันเป็นเหตุให้ไปสู่รูปพรหมภูมิ คือ รูปาวจรกุศลกรรม ๕ อย่าง ไม่ใช่กระทำทาง กาย วาจา แต่เป็นมโนกรรม การกระทำทางใจอย่างเดียว คือ สำเร็จได้ด้วยภาวนามัยและอัปปนาฌาน ว่าด้วยประเภทแห่งองค์ฌานแล้ว มี ๕
 

        กรรมอันเป็นเหตุให้ไปสู่อรูปพรหมภูมิ คือ อรูปกุศลกรรม ๔ อย่าง
 

        อรูปาวจรกุศลกรรมก็เป็นมโนกรรมทางเดียว สำเร็จด้วยภาวนามัยเช่นกันและถึงอัปปนาฌาน เมื่อว่าโดยประเภทแห่งอารมณ์ของฌานแล้ว มี ๔ อย่าง
 

         ส่วนกรรมอันเป็นเหตุให้บรรลุมรรคผลนิพพานได้นั้น ต้องเป็นผู้มีปัญญาแก่กล้า สามารถไถ่ถอนเครื่องผูกมัด คือตัณหาออกเสียได้ ด้วยการปฏิบัติตนอยู่ในศีล สมาธิอันดีมาเป็นเวลานาน แล้วทำการเจริญวิปัสสนาจนถึงจิตระดับหนึ่งเรียกว่า ปฏิสังขาญาณ เห็นจิต เจตสิก ว่าเป็นของไม่เที่ยง บรรลุถึงพระนิพพานโดยมรรคญาณ ผลญาณตามลําดับตราบเข้าสู่พระนิพพาน อันเป็นธรรมที่สงบจากสังขารธรรมทั้งปวง

       ๕.๑ กรรมอันเป็นเหตุให้ไปบังเกิดในอบายภูมิ
 

          อกุศลกรรมบถ มีคำว่า อะ คำว่า กุศล คำว่า กรรม คำว่า บถ รวมกันอยู่
 

         คำว่า อะ เมื่อใช้นำหน้าคำใด มีความหมายเป็นการปฏิเสธ คือแปลว่า ไม่ใช่
 

         กุศล แปลว่า บุญความดี ฉลาด สิ่งที่ดี การกระทำที่ดี
 

        กรรม แปลว่า การกระทํา แต่หมายถึงการกระทำที่ประกอบด้วยเจตนา ดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงไว้ใน ฉักกนิบาต อังคุตตรพระบาลีว่า
 

         "เจตนา หํ ภิกฺขเว กมฺมํ วทามิ เจตยิตฺวา กมุมํ กโรติ กาเยน วาจาย มนสา
 

        "ดูกรภิกษุทั้งหลาย เหตุที่บุคคลมีความตั้งใจเป็นเครื่องกระตุ้นแล้วก็ทำการงานนั้น ๆ สำเร็จลง ด้วยกายบ้าง ด้วยวาจาบ้าง ด้วยใจบ้าง ด้วยเหตุนี้ตถาคตจึงกล่าวว่า เจตนานี้เป็นตัวกรรม"

 

       อกุศลกรรมบท ๑๐
 

          ปถ หรือ บถ แปลว่า ทาง
 

          อกุศลกรรมบถ จึงแปลว่า การกระทำที่เป็นหนทางไปสู่อบายภูมิ มี ๑๐ ประการ

คือ
 

                อกุศลกายกรรม มี ๓ อย่าง ได้แก่ ปาณาติบาต อทินนาทาน กาเมสุมิจฉาจาร
 

                อกุศลวจีกรรม มี ๔ อย่าง ได้แก่ มุสาวาท ปิสุณาวาท ผรุสวาท สัมผัปปลาปะ
 

                อกุศลมโนกรรมมี ๓ อย่าง ได้แก่ อภิชฌา พยาบาท มิจฉาทิฏฐิ
 

                         อกุศลกรรมบถ ๑๐ นี้เรียกอีกชื่อว่า ทุจริต ๑๐

 

๑. ปาณาติบาต
 

           ปาณาติบาต คือคำว่า ปาณะ รวมกับคำ อภิปาตะ ปาณะ เมื่อกล่าวตามที่เข้าใจกัน
 

           ปาณ ก็หมายถึงสัตว์ทั้งหลายที่มีชีวิต (ปาณ แปลว่าลมหายใจ) อติ แปลว่า เร็วแปลว่า ก้าวล่วง ปาต แปลว่า ตกไป แปลว่า เหว
 

           เมื่อรวมกันแล้วปาณาติบาต แปลว่า ให้สัตว์หรือให้ชีวิตนั้นตกไปโดยเร็ว ที่แปลว่าตกไปโดยเร็ว หมายถึงทำให้สัตว์นั้นตายก่อนถึงกำหนดอายุของตน

          ข้อสำคัญอันเป็นหลักวินิจฉัยในเรื่องปาณาติบาต คือวธกะเจตนา คือมีการตั้งใจฆ่า

 

          สัตว์ที่ถูกฆ่ามีชีวิตอันประกอบด้วยรูปร่างกาย เรียกว่ารูปชีวิตินทรีย์ และนามอันเรียกว่านามชีวิตินทรีย์ การฆ่านั้น ผู้ฆ่าทำลายได้เฉพาะรูปชีวิตินทรีย์ ท่าลายนามชีวิตินทรีย์โดยตรงไม่ได้ แต่การเกิดขึ้นสืบต่อกันของนามชีวิตินทรีย์ต้องเกี่ยวเนื่องอาศัยกันอยู่กับรูปชีวิตินทรีย์ เมื่อไม่มีรูปชีวิตินทรีย์เสียแล้ว นามชีวิตินทรีย์ย่อมเกิดสืบต่ออีกไม่ได้จึงเหมือนถูกทำลายไปด้วยกัน
 

          การทำอกุศลปาณาติบาตนี้ บางครั้งกระทำเสร็จแล้ว คือทำลายชีวิตสัตว์ไปแล้วบางทีก็ล่วงถึงกรรมบถ บางทีก็ไม่ล่วง ถ้าการกระทำถึงขั้นล่วงกรรมบถ การกระทำนั้นก็สำเร็จ เป็นชนกกรรม (กรรมที่มีหน้าที่ทำให้ผลของกรรมเกิด) สามารถทำให้ไปเกิดในอบายภูมิได้โดยแน่นอน แต่ถ้าไม่ล่วงถึงกรรมบถ การให้ผลปฏิสนธิในอบายภูมิย่อมไม่แน่นอน บางที่นำไปเกิดได้ บางทีไม่นำไป เป็นแต่เพียงให้ผลในปวัตติกาล คือในเวลาที่กำลังเป็นอยู่ในการดำรงชีวิตขณะนั้น ๆ ทำให้ต้องได้รับความลำบากทุกข์ยากต่าง ๆ
 

          การล่วงถึงกรรมบถหรือไม่ ใช้องค์ประกอบในการกระทำนั้นเป็นหลักในการพิจารณา อกุศลชนิดปาณาติบาตที่เป็นการก้าวล่วงกรรมบถ ต้องประกอบด้วยองค์ ๕ คือ
 

                 ๑. ปาโณ สัตว์นั้นมีชีวิตอยู่
 

                 ๒. ปาณสญญิตา รู้ว่าสัตว์นั้นมีชีวิต
 

                 ๓. วธกจิต มีจิตคิดจะฆ่า
 

                 ๔. ปโยโค ทำความเพียรเพื่อให้ตาย
 

                 ๕. เตนมรณ์ สัตว์นั้นตายลงตามความเพียรนั้น
 

          เมื่อการกระทำนั้นครบทั้ง ๕ ประการ เรียกว่าล่วงกรรมบถ หากขาดไปเพียงข้อใดข้อหนึ่งไม่ถือว่าก้าวล่วงกรรมบถ
 

         สำหรับความหนักเบาของโทษที่ได้รับจากการก้าวล่วงในกรรมบถข้อนี้ ขึ้นอยู่กับ

         ๑. ขนาดร่างกายของสัตว์
 

         ๒. คุณธรรมในตัวสัตว์นั้น ๆ
 

         ๓. ความพยายาม
 

         ที่ว่าขนาดร่างกาย เพราะถ้าเป็นสัตว์ใหญ่ ชีวิตนวกลาป (เซลล์ของชีวิตที่เป็นส่วนประกอบในส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย) ย่อมถูกทำลายลงจํานวนมาก ถ้าสัตว์นั้นเป็นสัตว์เล็กเช่น มด ยุง เป็นต้นก็มีโทษน้อย
 

         ส่วนเรื่องคุณธรรม หรือความดีมีศีลธรรมของสัตว์ที่ถูกฆ่านั้น ๆ ถือเป็นเรื่องสำคัญยิ่ง สัตว์ใดมีคุณธรรมมากย่อมมีโทษต่อผู้ประพฤติผิดก้าวล่วงกรรมบถข้อนี้มากไปตามส่วน โดยเฉพาะในระหว่างสัตว์เดรัจฉานกับมนุษย์ การฆ่ามนุษย์มีโทษมากกว่าสัตว์เดรัจฉาน เพราะมนุษย์เป็นสัตว์ประเสริฐ รู้ผิดชอบชั่วดีมากกว่าสัตว์
 

         ส่วนในระหว่างฆ่ามนุษย์กับมนุษย์ด้วยกันนั้น ถ้าฆ่าผู้มีศีลธรรม เช่น ภิกษุ สามเณรอุบาสก อุบาสิกา เป็นต้นย่อมมีโทษมาก ถ้าผู้ถูกฆ่าเป็นผู้ไม่มีศีลธรรม เช่น โจรผู้ร้าย ก็มีโทษน้อย การฆ่าที่มีโทษมากเป็นพิเศษคือ อนันตริยกรรม ได้แก่ฆ่าบิดา มารดา พระอรหันต์ ถ้าผู้ถูกฆ่าทั้งสองฝ่ายมีคุณสมบัติทุกอย่างเท่า ๆ กัน ให้ดูที่ความพยายามทำการฆ่า ถ้าใช้ความพยายามมากย่อมมีโทษมาก
 

         ความพยายามมี ๖ ประการ (ปโยคะ แปลว่า ความพยายาม)
 

          ๑. สาหัตถกะ ความพยายามที่กระทำด้วยตนเอง (สะ แปลว่าพร้อม หัตถะแปลว่า มือ แปลรวมว่า พร้อมด้วยมือของตน) ความพยายามที่เกิดขึ้นด้วยมือของตนเองเช่น ฟันแทงด้วยมีดด้วยไม้เป็นต้น
 

         ๒. อาณัตติกะ ความพยายามที่เกิดขึ้น โดยการใช้ให้ผู้อื่นกระทำ เช่นใช้กิริยาใช้วาจา เขียนหนังสือ ใช้การให้อาณัติสัญญาณต่าง ๆ มีพยักหน้า ขยิบตา เคาะเสียง ชี้มือเป็นต้น (อาณัติ แปลว่า บังคับ)
 

         ๓. นิสสัคคิยะ ความพยายามด้วยการปล่อยอาวุธ มีขว้างปายิงด้วยอาวุธ (นิสสัคคะแปลว่าการปล่อย) เช่น ขว้างมีด พุ่งหลาว พุ่งหอก ยิงปืน ยิงธนู ขว้างระเบิด ขว้างก้อนหิน เป็นต้น
 

         ๔. ถาวระ ความพยายามด้วยการสร้างเครื่องประหารไว้อย่างถาวร (ถาวร แปลว่า ตั้งมั่น คงทน เช่น ขุดหลุมพรางไว้เพื่อให้คนหรือสัตว์ตกลงไปตาย ฝั่งขวากหนามไว้สร้างอาวุธต่าง ๆ เช่น มีด ปืน ธนู ระเบิด ฯลฯ ไว้เพื่อใช้ในการสังหาร ผู้สร้างอาวุธ แม้มิได้นำไปลงมือฆ่าด้วยตนเอง ถ้ามีผู้ใดผู้หนึ่งนำไปใช้จนมีการฆ่าสำเร็จลง ผู้สร้างย่อมได้รับโทษมีความผิดกระทำปาณาติบาตด้วย เพราะเกี่ยวด้วยถาวรูปโยคะ
 

          ๕. วิชชามยะ ความพยายามด้วยการใช้วิชาอาคม และการใช้ไสยศาสตร์ต่าง ๆมีอยู่หลายประการ เช่น การทำยันต์ ลงชื่อ วัน เดือน ปี ของผู้เป็นศัตรู แล้วนำไปเผา ฝังเฆี่ยน ตี ทำให้ผู้นั้นล้มเจ็บถึงตาย การปั้นรูปปั้นรอย หรือเอาเครื่องใช้เครื่องนุ่งห่มของศัตรูไปทำพิธีเสกเวทมนต์ คาถา เผาไฟจนเขาตาย หรือใช้ภูตผีปีศาจเทวดาไปรังควาญจนตาย เป็นต้น
 

          ๖. อิทธิมยะ ความพยายามด้วยการใช้อิทธิฤทธิ์ที่เป็น กัมมสิทธิ์ เช่นบางคนมีฤทธิ์โดยการถลึงตา ผู้ถูกถลึงตาถึงตกใจตาย เป็นต้น กัมมสิทธิ์ เป็นฤทธิ์ที่ได้มาจากกรรมที่ตนเองกระทำไว้เดิม
 

           อนึ่ง ผู้ที่กระทำปาณาติบาตนั้น ผู้ที่รู้อยู่ว่าการทำเช่นนี้เป็นอกุศล ย่อมมีโทษน้อยกว่าผู้ที่ไม่รู้ว่าเป็นอกุศล เพราะผู้ที่รู้ย่อมกระทำได้ไม่เต็มที่แรงกล้า เหมือนผู้ไม่รู้ซึ่งย่อมเป็นผู้ประกอบด้วยมิจฉาทิฏฐิ กระทำด้วยความเต็มใจพอใจ อุปมาเหมือนการจับถ่านไฟร้อน ผู้ไม่รู้ย่อมจับลงไปเต็มที่ไม่มีการยั้งมือ ย่อมได้รับโทษมาก ส่วนผู้รู้ว่าสิ่งนั้นเป็นของร้อน ย่อมจับโดยระมัดระวังกว่า
 

          ในการพยายามฆ่าด้วยการลงมือกระทำเอง (สาหัตถิกปโยคะ) และการฆ่าโดยการปล่อยอาวุธ (นิสสัคคิยปโยคะ) แบ่งออกเป็นอย่างละ ๒ คือ
 

           ฆ่าโดยเจาะจง (อุททิสสะ) และ ฆ่าโดยไม่เจาะจง (อนุททิสสะ) การฆ่าโดยเจาะจงคือตั้งใจฆ่าสัตว์ตัวนั้นโดยเฉพาะ หากเกิดกระทำพลาดพลั้ง สัตว์นั้นไม่ตาย แต่สัตว์ตัวอื่นตายแทน การฆ่าเช่นนี้ไม่ครบองค์ปาณาติบาต ขาดข้อวธกะ และปโยคะ ไม่ก้าวล่วงกรรมบถ
 

           ฆ่าโดยไม่เจาะจง เช่นยิงปืนเข้าไปในฝูงนก ไม่เจาะจงว่าเป็นตัวใด ขอเพียงให้ตัวใดตายก็ใช้ได้ ดังนี้เมื่อมีนกตัวใดตาย จัดเป็นก้าวล่วงกรรมบถทั้งสิ้น
 

          การฆ่าตัวเองตาย บางแห่งถือว่าไม่ครบองค์ปาณาติบาต คือขาดข้อ ปาณสัญญตารู้ว่าสัตว์มีชีวิต เพราะหมายถึงรู้ความมีชีวิตของสัตว์อื่น ไม่เกี่ยวกับตน บางแห่งก็ถือว่าเป็นปาณาติบาต
 

           การฆ่าบิดามารดา จะเป็นการฆ่าโดยรู้หรือไม่รู้ เจตนาหรือไม่เจตนา ถือเป็นอนันตริยกรรมทั้งสิ้น ยกเว้นลูกเป็นมนุษย์ บิดามารดาเป็นสัตว์เดรัจฉาน มีโทษเป็นเพียงกรรมหนัก แต่ไม่ถึงขั้นอนันตริยกรรม
 

          การที่นักโทษขอร้องให้เจ้าหน้าที่ตัดมือเท้าของตนแทนการประหารชีวิต ถ้าเจ้าหน้าที่มีอำนาจกระทำการผ่อนผันให้ดังนั้นได้ ไม่ชื่อว่าเป็นปาณาติบาต กลับเป็นทานชีวิตกุศล
 

          การทำลายอวัยวะบางส่วนของสัตว์ที่ยังเคลื่อนไหวได้ ทั้งที่หลุดออกจากร่างกายแล้ว เช่น หางจิ้งจก จิ้งเหลน ไม่ถือว่าเป็นปาณาติบาต เพราะในอวัยวะเหล่านั้นไม่มีจิตเจตสิก
 

          การทำลายเชื้อปฏิสนธิของชาย การทำลายเชื้อปฏิสนธิของหญิง ในขณะที่เชื้อทั้งสองยังไม่ได้ทำการผสมกัน ไม่เป็นปาณาติบาต เพราะเชื้อเหล่านี้ แม้จะเคลื่อนไหวได้ก็จริง แต่ไม่มีวิญญาณ เป็นเพียงกลุ่มของอุตุชรูป และมีวาโยธาตุผสมด้วยทำให้เคลื่อนไหวได้เท่านั้น แต่ถ้าเชื้อทั้งสองฝ่ายผสมกันแล้ว กลายเป็นสัตว์มีปฏิสนธิวิญญาณเกิดขึ้นการทำลายจัดเป็นปาณาติบาตแห่
 

          การกินยาหรือฉีดยาฆ่าเชื้อโรคต่าง ๆ ไม่ถือเป็นปาณาติบาต เพราะเชื้อโรคเป็นกลุ่มของอุตุชรูป วาโยธาตุ เตโชธาตุ ไม่มีวิญญาณ เจริญเติบโตแพร่พันธุ์ ได้เหมือนต้นไม้ไม่มีการตายเองตามกำหนดเวลาเหมือนอายุของสัตว์ ต้องถูกทำลายจึงจะตาย เชื้อโรคจึงไม่ใช่สัตว์ เชื้อโรคเป็นเหมือนสนิมเหล็กที่เกิดจับอยู่กับของใช้ที่ทำด้วยเหล็ก หรือเหมือนตะไคร่น้ำที่เกิดอยู่ฝาผนังที่ชื้นแฉะ
 

         การทำลายฟองไข่ที่ไม่มีเชื้อตัวผู้ผสมเพื่อเป็นอาหารนั้น กล่าวไม่ได้ว่าเว้นจากการบริโภคสิ่งมีชีวิต เพราะการตั้งครรภ์เกิดได้ถึง ๘ ชนิด เราไม่มีทางทราบได้ว่าในไข่ฟองนั้น ๆ มีปฏิสนธิ วิญญาณเกิดอยู่หรือไม่ เพราะแม้ไม่ได้รับเชื้อตัวผู้ผสมด้วยเลยสัตว์ก็อาจเกิดขึ้นเองได้ ด้วยวิธีต่าง ๆ ดังนี้
 

         ๑. เมถุนํ โดยการเสพเมถุน ข้อนี้ส่วนใหญ่เชื้อผสมกัน
 

         ๒. โจฬคหนํ โดยการเอาผ้าที่เปื้อนเชื้อของชายป้ายในช่องคลอด
 

         ๓. สํสคฺโค โดยชายต้องตัว ฝ่ายหญิงเกิดราคะมาก ทำให้เพียงจับต้องตัวก็ตั้งครรภ์ได้
 

         ๔. นาภิอามสนํ โดยฝ่ายชายลูบที่สะดือ ขณะเมื่อฝ่ายหญิงมีประจำเดือน เช่นมารดาของพระสุวรรณสาม ตั้งครรภ์ให้กำเนิดพระสุวรรณสาม เพราะพระสวามีลูบสะดือนาง
 

         ๕. ปานํ โดยกินน้ำอสุจิของชาย เช่นมิคสิงคดาบส เป็นลูกของนางเนื้อสมันซึ่งไปกินน้ำปัสสาวะที่ปนน้ำอสุจิของดาบสองค์หนึ่งเข้า
 

         ๖. ทสฺสนํ โดยได้เห็นรูปร่างของเพศชาย เกิดกำหนดกล้าในราคะ เช่น นางสนมคนหนึ่งของพระเจ้าแผ่นดินในลังกาทวีป เห็นทหารองครักษ์ผู้หนึ่ง
 

          ๗. สวนํ โดยได้ยินเสียงของเพศชาย หรือเสียงที่ตนฟังแล้วเกิดกำหนัดยินดีจนตั้งครรภ์ เช่น นกยางซึ่งปกติแล้วไม่มีตัวผู้ มีแต่ตัวเมียทั้งสิ้น แต่เมื่อนกยางได้ยินเสียงฟ้าร้อง นกยาง ตั้งครรภ์ได้ ไก่ตัวเมียหรือโคตัวเมียบางตัวได้ยินเสียงตัวผู้ก็ตั้งครรภ์ได้
 

          ๘. ฆายนํ โดยได้ดมกลิ่นฝ่ายชาย เช่นโคตัวเมียบางตัว ได้กลิ่นโคอุสภแล้วตั้งครรภ์ หรือ ช้าง ม้าตัวเมียบางตัว ได้กลิ่นตัวผู้ก็ตั้งครรภ์ขึ้นได้
 

          สําหรับการตายด้วยผู้นั้นสิ้นกรรมและสิ้นอายุลง บังเอิญในเวลานั้นมีผู้มาลงมือทำร้ายพร้อมกัน เมื่อผู้นั้นตายลง แต่มิใช่ตายเพราะถูกฆ่า ตายเพราะสิ้นกรรมและสิ้นอายุพอดี ผู้กระทำการฆ่า ไม่ถือว่าก้าวล่วงกรรมบถ เพราะไม่ครบองค์ปาณาติบาต ขาดข้อ เตนมรณ์ คือ สัตว์ตายด้วยความพยายามนั้น
 

          จิตใจของบุคคลผู้กระทำปาณาติบาต มีเจตสิกธรรมที่เกิดร่วมอยู่ในจิตที่นับเป็นเหตุให้ประกอบกรรมได้ อยู่ทั้ง ๓ เหตุ คือ ทั้งโลภะ โทสะ และโมหะ
 

          สำหรับโมทเจตสิก ธรรมชาติที่เป็นความโง่หลง ไม่รู้เท่าทันตามความเป็นจริงนั้นประกอบร่วมอยู่เป็นพื้นฐานของอกุศลจิตทั้ง ๑๒ ชนิดอยู่แล้ว ส่วนโลภะเจตสิก และโทสะเจตสิกนั้นเกิดขึ้นตามโอกาสของลักษณะจิต ในขณะที่กำลังกระทำปาณาติบาตเกิดไม่พร้อมกัน คือบางครั้งอาจกระทำเพราะความโลภ เช่นฆ่าสัตว์เพื่อใช้กินเป็นอาหาร บางขณะฆ่าเพราะความโกรธ เช่นฆ่าแมลงที่มาทำลายพืชผลที่ปลูกไว้ ฆ่าสุนัข แมว เพราะมันกัดคนที่ตนรักเหล่านี้เป็นต้น
 

๒. อทินนาทาน
 

            คําว่า อทินนาทาน มาจากคำว่า อะ คำว่า ทินนะ คำว่า อาทานะ รวมเข้าด้วยกัน
 

            อะ เป็นค่าปฏิเสธ แปลว่า ไม่ หรือไม่ใช่
 

           ทินนะ แปลว่า วัตถุสิ่งของที่เจ้าของอนุญาตให้
 

           อาทานะ แปลว่า ยึดถือเอา
 

          อนินนาทาน จึงแปลว่า ยึดถือเอาวัตถุสิ่งของที่เจ้าของไม่ได้อนุญาตให้ หรือที่เจ้าของหวงแหน
 

          การอนุญาต หมายถึง การกล่าววาจา การหยิบยื่นให้ด้วยมือ การแสดงกิริยา เช่นเสือกไสให้ พยักเพยิดให้ การเขียนหนังสืออนุญาตให้ เหล่านี้เป็นต้น
 

          การยึดถือเอา ได้แก่ การหยิบฉวย ฉ้อโกง สับเปลี่ยน ข่มขู่ ลักขโมย จี้ ปล้น วิ่งราว เป็นต้น ธรรมชาติที่เป็นเหตุให้บุคคลกระทำอทินนาทาน คือ เถยยเจตนา (เจตนาในทางเป็นขโมย)

         คำว่า เลย เถยยะ เถนะ แปลว่า ขโมย เถยยเจตนากระทำได้ ๒ ทาง คือ ทางกายและทางวาจา คือใช้คำพูดล่อลวง

 

               การก้าวล่วงกรรมบถข้ออนินนาทาน ต้องประกอบด้วยองค์ ๕
 

         ๑. ปรปริคฺคหิตํ วัตถุสิ่งของนั้น มีเจ้าของเก็บรักษาไว้
 

         ๒. ปรปริคฺคหิตํ สุญฺญิตา รู้ว่าวัตถุสิ่งของนั้นมีเจ้าของเก็บรักษาไว้
 

         ๓. เถยฺฺยจิตฺตํ มีจิตคิดจะลัก
 

         ๔. ปโยโค ท่าความเพียรเพื่อลัก


         ๕. อวหาโร ได้สิ่งของนั้นมาด้วยความเพียรนั้น
 

        ถ้าการกระทําอทินนาทานไม่ครบองค์ ๕ ก็ไม่ถือว่าก้าวล่วงกรรมบถ
 

          ความพยายาม (ปโยคะ) ในการลักทรัพย์ มี 5 อย่างเหมือนในการทำอกุศลปาณาติบาต คือ


          ๑. สาหัตถิกะ ลักด้วยตนเอง
 

          ๒. อาณัตติกะ ใช้ให้ผู้อื่นลัก โดยใช้วาจาหรือแสดงกิริยาอย่างหนึ่งอย่างใดให้รู้
  

          ๓. นิสสัคคิยะ ลอบทิ้งวัตถุสิ่งของเพื่อแอบหยิบฉวยได้ในภายหลัง เช่นขนของหนีภาษีทิ้งให้พ้นเขต
 

          ๔. ถาวระ เป็นอทินนาทานที่ถาวร เช่นสั่งผู้เป็นบริวารให้กระทำเป็นประจำ
 

          ๕ วิชชามยะ ใช้เวทมนต์คาถา สกดหรือทำให้เจ้าของทรัพย์งงงวยหยิบยื่นสิ่งของนั้นให้แก่ตน
 

          ๖. อิทธิมยะ ใช้อิทธิฤทธิ์ต่าง ๆ แต่ส่วนใหญ่ผู้มีฤทธิ์มักไม่กระทำอทินนาทานที่มีโทษในทางโลก
 

          การทำอทินนาทาน จะมีโทษมากน้อย ขึ้นอยู่กับราคาของสิ่งของ ความพยายามและความมีศีลธรรมของผู้เป็นเจ้าของ สำหรับเจ้าของทรัพย์ ถ้าเป็นฆราวาสย่อมมีโทษน้อยกว่าของพระภิกษุสามเณรรูปเดียว ถ้าเป็นของพระภิกษุสามเณรูปเดียว ก็มีโทษน้อยกว่าของคณะสงฆ์คือตั้งแต่ ๔ รูปขึ้นไปที่สุด
 

          การทำอทินนาทานมีโทษมากน้อยแตกต่างกัน กระทำต่อพระอรหันต์มีโทษหนัก
 

การลักขโมย ๒๔ ประเภท
 

           ๑. การขโมยทรัพย์สิ่งของต่าง ๆ ทั้งที่มีชีวิต และไม่มีชีวิต มี ๕ ประเภท
 

                ๑.๑ การคดโกงเอาทรัพย์สมบัติ เช่น บ้าน ที่ดิน โดยวิธีทางกฎหมาย ฟ้องร้องต่อศาล ทำให้เจ้าของทรัพย์เกิดความท้อแท้ใจว่าจะต้องสูญเสียทรัพย์ ผู้คดโกงนั้นชื่อว่าก้าวล่วงกรรมบถแล้ว
 

                ๑.๒ การพาหรือนำทรัพย์ของผู้อื่นไปตามหน้าที่ แต่ในขณะที่นำไปอยู่นั้นมีจิตคิดขโมย ทําให้นำของนั้นวางเคลื่อนไปจากที่ที่สมควร ชื่อว่าล่วงกรรมบถ
 

                ๑.๓ รับฝากทรัพย์ไว้ ครั้นเจ้าของมาขอทรัพย์คืน ก็ปฏิเสธ ด้วยมีจิตคิดคดโกง
 

                ๑.๔ จัดการให้เจ้าของทรัพย์ออกไปให้พ้นจากที่ไว้ทรัพย์ ไม่ว่าวิธีใด แล้วจึงยึดเอาทรัพย์ เพียงเจ้าของเคลื่อนกายไปก้าวที่สอง ถือว่าผู้นั้นล่วงกรรมบถ
 

                 ๑.๕ หยิบทรัพย์ให้เคลื่อนที่ไปด้วยเจตนาขโมย
 

         ๒. การขโมยเฉพาะสิ่งมีชีวิต มี ๕ ประเภท
 

                ๒.๑ โดยวิธีฟ้องร้องเอาตามกฎหมาย
 

                ๒.๒ มีหน้าที่น่าไปตามหน้าที่ แต่ขณะพาไปมีจิตคิดจะลัก จึงเปลี่ยนแปลงเช่นเปลี่ยนเส้นทาง

                ๒.๓ รับฝากไว้แล้วปฏิเสธเมื่อเจ้าของมาขอรับคืน

 

                ๒.๔ ล่อลวง ฉุดคร่า ลักพา ฯลฯ เพื่อนำไปหาประโยชน์ หรือนำไปเป็นกรรมสิทธิ์
 

                ๒.๕ ลักขโมยมาจากที่ผูกหรือที่คุมขัง
 

          ๓. การขโมยด้วยตนเอง มี ๕ ประเภท
 

                ๓.๑ การทําด้วยตนเอง
 

                ๓.๒ ใช้ให้ผู้อื่นกระท่า
 

                ๓.๓ ออกคำสั่งให้ผู้อื่นกระทำ โดยกำหนดการกระทำไว้แน่นอนไม่เปลี่ยนแปลงเป็นเวลานาน ๆ จนกระทําสำเร็จ
 

                ๓.๔ ขโมยชนิดทิ้งไปให้พ้นเขต แล้วแอบขนเอาทีหลัง เช่นของหนีภาษี
 

                ๓.๕ ฟ้องร้องต่อศาลยืดทรัพย์ที่มีชีวิตและไม่มีชีวิต ที่เขาน่ามาฝาก
 

          ๔. การกระทำที่สำเร็จเป็นอทินนาทานแล้วตั้งแต่ก่อนลงมือกระทำอทินนาทานโดยตรง มี ๕ ประเภท

                ๔.๑ การใช้ให้ผู้อื่นทำ เพียงขณะกล่าววาจาสั่ง เป็นอันล่วงกรรมบถ

 

                ๔.๒ เพียงการคิดว่าจะลักขโมยสิ่งของนั้น ๆ
 

                ๔.๓ ร่วมคิด ร่วมเดินทางไปด้วยกัน แม้จะลงมือเพียงคนเดียว คนอื่นถือเป็นล่วงกรรมบถด้วย

                ๔.๔ ออกคำสั่งไว้ โดยกำหนดเวลาแน่นอน ถ้าผู้รับคำสั่งทำตามเวลาถือว่าล่วงกรรมบถ
 

                ๔.๕ ใช้ให้ผู้อื่นกระทำ โดยกำหนดอาณัติสัญญาณเป็นสำคัญ
 

          ๕. การฉ้อโกง เปลี่ยนแปลงวัตถุสิ่งของ ทำของปลอม ล่อลวง ตัดช่องย่องเบาโดยเจ้าของไม่รู้สึกตัว มี ๕ ประเภท
 

               ๕.๑ ชั่ง ตวง วัด หายไปไม่ตรงจำนวนตามที่ตกลงกัน
 

               ๕.๒ ขู่เข็ญ หรือใช้อิทธิพลต่าง ๆ บังคับเอาทั้งโดยตรงและโดยอ้อม
 

              ๕.๓ ขโมยวัตถุที่กำหนดหมายไว้ หรือไม่กำหนดวัตถุแต่กำหนดบริเวณของสถานที่เช่น พบวัตถุมีค่าสิ่งใดในบริเวณนั้น จะต้องลักขโมยทุกอย่างหรือเท่าที่ต้องการ

             ๕.๔ กลบเกลือนปกปิดทรัพย์นั้นไว้ ไม่ให้เจ้าของเห็น เมื่อเจ้าของไปแล้วจึงทำการลักขโมย
 

              ๕.๕ เปลี่ยนชื่อผู้เป็นเจ้าของ หรือสับเปลี่ยนสิ่งของ
 

         การที่มนุษย์ลักทรัพย์จากสัตว์เดรัจฉาน บางอย่างเป็นการก้าวล่างกรรมบถ บางอย่างไม่ใช่ เช่น ถ้าสิ่งของนั้นเป็นของไม่มีชีวิต เช่นอาหาร หรือของอื่น ๆ ที่สัตว์นำมามนุษย์ทำการยื้อแย่ง จัดเป็นอทินนาทาน แต่ถ้าสัตว์นำของที่มีชีวิตมา เช่น เหยี่ยวโฉบลูกไก่ งูคาบกบหรือเขียด มนุษย์ทำการยื้อแย่งช่วยชีวิตสัตว์ที่จะถูกกินเหล่านั้น ไม่ถือเป็นการก้าวล่วงกรรมบถ เป็นอภัยทานกุศล
 

         ส่วนเรื่องวัตถุสิ่งของควรเคารพ เช่น พระพุทธรูป เจดีย์ ปูชนียวัตถุอื่น ๆ แม้บุคคลผู้นั้นจะเป็นผู้สร้างขึ้นเอง ก็ไม่สามารถทำลายได้ เพราะเป็นได้เพียงผู้ดูแลรักษาไม่ถือเป็นเจ้าของ เช่นเราสร้างพระพุทธรูปขึ้น ถ้าทุบทำลายทิ้งจัดเป็นก้าวล่วงกรรมบถเป็นอกุศล ส่วนจะมีโทษหนักเบามากน้อย แล้วแต่เจตนา
 

         การนำเอาปูชนียวัตถุที่มีผู้ดูแลรักษาไป ถือเป็นอทินนาทาน ถ้าไม่มีผู้ดูแลรักษาก็ไม่ถือว่าล่วงกรรมบถ แต่ถ้านำไปเพื่อเป็นประโยชน์ต่อส่วนรวม ไม่ถือเป็นอทินนาทานเช่น พระอินทร์ ยึดเอาพระเขี้ยวแก้วของพระพุทธเจ้าจากมวยผมของโทณพราหมณ์ ไปบรรจุไว้ที่จุฬามณีเจดีย์ เพื่อให้เป็นที่สักการบูชาของส่วนรวม
 

        การประกอบอทินนาทาน เจตสิกธรรมที่เป็นมูลเหตุสำคัญเกิดร่วมกับจิต คือโมทเจตสิก โลภเจตสิก ถ้ามีความเห็นผิด เช่นเห็นเป็นสิ่งดีงาม ได้ทรัพย์มาโดยไม่ต้องเหน็ดเหนื่อย ก็ย่อมมีทิฏฐิเจตสิกประกอบด้วย แต่ถ้าหากเป็นการลักขโมยเพื่อแก้แค้นเพราะมีความโกรธเคืองกันอยู่ก่อน ในขณะนั้นย่อมมีโทสเจตสิกเป็นมูลเหตุแทนโลภเจตสิก
 

        จิตที่ทำให้ประกอบอทินนาทานได้ คือจิตที่ประกอบด้วยความโลกทั้ง ๘ ชนิดและจิตที่ประกอบด้วยความโกรธอีก ๒ ชนิด
 

         การประกอบอกุศลกรรมใด ๆ ถ้าไม่ถึงกับล่วงกรรมบถแล้ว เรียกได้ว่าเป็นทุจริตเช่น กายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต
 

๓. กาเมสุมิจฉาจาร
 

         ค่าว่า กาเมสุมิจฉาจาร มาจากคำว่า กาเมสุ คำว่า มิจฉา คำว่า จร หรือจาร รวมเข้าด้วยกัน
 

         กาเมสุ แปลว่า ในการเสพเมถุน การร่วมสังวาส การร่วมประเวณี การร่วมเพศ
 

         มิจฉา แปลว่า ผิด ลามก เลวทราม บัณฑิตทั้งหลายย่อมติเตียนแน่นอน
 

         จร หรือ จาร แปลว่า ไป เที่ยวไป ประพฤติ
 

         เมื่อรวมเป็นกาเมสุมิจฉาจาร จึงแปลว่า การประพฤติผิดหรือประพฤติลามกในการเสพเมถุนอันบัณฑิตทั้งหลายย่อมติเตียน
 

        โดยปรกติการประกอบเมถุนธรรม เป็นธรรมชาติโดยปรกติของสัตวโลก แต่สำหรับมนุษย์นั้น เนื่องจากเป็นสัตว์ที่มีคุณธรรมทางจิตใจสูงกว่าสัตว์เดรัจฉานเหล่าอื่นจึงได้วางกำหนดกฏเกณฑ์ เพื่อให้อยู่ร่วมกันในสังคมได้อย่างเป็นสุข ไม่มีการเบียดเบียนยื้อแย่ง กระทบกระทั่งกันในเรื่องคู่ครอง สำหรับชายหญิงที่สังคมสมมุติหรือยอมรับแล้วว่าเป็นสามีภรรยากัน การเสพเมถุนของคนทั้งสองย่อมเป็นเรื่องธรรมดาในชีวิต ไม่เป็นการกระทำที่ลามกแต่อย่างใด ไม่มีใครตำหนิติเตียน แต่ถ้าชายหญิงใดประพฤติล่วงกาเมต่อบุคคลเพศตรงข้ามที่มิได้เป็นสามีภรรยาคู่ครองของตน ทั้งผู้ที่ถูกล่วงเกินนั้นเป็นผู้อยู่ในความปกปักรักษาของผู้ปกครองอันชอบธรรม การกระทำนั้นกล่าวได้ว่าเป็นการกระทําลามก บัณฑิตทั้งหลายจึงติเตียน เพราะไม่ได้เป็นไปตามธรรมดาโลก
 

        การล่วงกาเมสุมิจฉาจารนี้ ย่อมสำเร็จกายปโยคะ (ความพยายามทางกาย) อย่างเดียว ไม่ใช่ด้วยวาจาหรือด้วยใจ
 

        การกระทำอกุศลชนิดกาเมสุมิจฉาจาร ที่เป็นการก้าวล่วงกรรมบถ ต้องประกอบด้วยองค์ ๔ คือ
 

       ๑. อคมนิยวตฺถุ วัตถุที่ไม่ควรเกี่ยวข้อง
 

       ๒. ตสฺมิ เสวนจิตฺตํ มีจิตคิดจะเสพในวัตถุนั้น
 

       ๓. ปโยโค มีความพยายามเสพ
 

       ๔. มคฺเคนมคฺคปฏิปตฺติ อธิวาสํ มีความพอใจในการประกอบมรรคซึ่งกันและกัน
 

      เมื่อกระทำผิดครบองค์ ๔ ถือเป็นการก้าวล่วงกรรมบถข้อนี้ สำหรับข้อ ๓ นั้น(ปโยโค แม้ผู้เสพฝ่ายใดจะมิได้ใช้ความพยายาม แต่พลอยสำเร็จในกิจนั้นด้วยกัน ทั้งมีความยินดีร่วมด้วย ก็ถือเป็นการก้าวล่วงอกุศลกรรมบถ กาเมสุมิจฉาจารเหมือนกัน)

             สำหรับโทษหนักเบา ต้องดูที่คุณธรรมในบุคคลที่ถูกล่วงละเมิด

 

             ถ้าล่วงเกินแก่ผู้มีศีลธรรมที่มิได้มีความพอใจยินดีด้วย ย่อมมีโทษมาก
 

             ถ้าล่วงเกินแก่ผู้ไม่มีศีลธรรม ถึงแม้ไม่เต็มใจยินยอม มีโทษเบาลงมา
 

            ถ้าล่วงเกินโดยวิธีเบียดเบียนทำร้ายร่างกาย ไม่ว่าจะเป็นผู้มีศีลธรรมหรือไม่ มีโทษหนัก
 

            ถ้าทั้งสองฝ่ายคือผู้ล่วงละเมิดและผู้ถูกล่วงละเมิดยืนยอมต่อกัน ย่อมมีโทษเบา
 

            ในระหว่างการล่วงละเมิดต่อปุถุชน และพระอริยบุคคล การล่วงปุถุชนมีโทษเบากว่า

        ส่วนในระหว่างพระอริยบุคคล โทษหนักเบาแตกต่างกันตามลำดับคุณธรรมการล่วงละเมิดต่อพระอรหันต์ มีโทษหนักที่สุด เป็นทิฏฐธัมมเวทนียกรรม ต้องรับผลทันตาเห็นในปัจจุบันเดี๋ยวนั้น เช่น ตัวอย่างนายนันทมานพล่วงเกินพระอุบลวัณณาเถรีต้องรับโทษถึงถูกธรณีสูบ ไปบังเกิดในอวีจีมหานรกทันที
 

           สำหรับในข้อต้นขององค์ที่หนึ่ง ที่ว่า อคมนียวัตถุ คือวัตถุที่ไม่ควรเกี่ยวข้องนั้น ได้แก่หญิงหรือชายที่ไม่ควรเกี่ยวข้องเสพเมถุนด้วย มี ๒๐ ประเภทคือ
 

             ๑. มีมารดาปกครอง เพราะบิดาตาย หรือแยกจากกันไป
 

             ๒. มีบิดาปกครอง
 

             ๓. อยู่ในปกครองทั้งของบิดามารดา
 

             ๔. มีพี่สาว หรือน้องสาว ดูแลรักษา
 

             ๕. มีพี่ชาย หรือน้องชาย ดูแลรักษา
 

             ๖. มีญาติเป็นผู้ปกครอง
 

             ๗. มีคนในตระกูล หรือเชื้อชาติเดียวกันปกครองดูแล เช่นคนที่ไปอยู่ต่างประเทศอยู่ในความดูแลของสถานทูต
 

             ๘. มีหัวหน้าเป็นผู้ปกครอง เช่นเป็นเพศนักบวช มีหัวหน้าสำนักดูแลรักษา
 

             ๙. มีผู้มีอำนาจจองตัวเอาไว้
 

            ๑๐. มีผู้หมายมั่นไว้ตั้งแต่อยู่ในครรภ์ หรือมีคู่หมั้นแล้ว
 

            ๑๑. เป็นผู้ถูกผู้อื่นซื้อตัวไว้แล้ว หรือถูกไถ่ตัว ผู้ซื้อหรือผู้ไถ่ตัวย่อมเป็นเจ้าของ
 

            ๑๒. เป็นผู้สมัครใจไปอยู่เป็นสามีภรรยากับผู้อื่นอยู่ก่อนแล้ว
 

            ๑๓. ผู้ยอมตัวเป็นภรรยาสามีของผู้อื่นด้วยปรารถนา เงินทอง
 

            ๑๔. ผู้ยอมเป็นภรรยาสามีของผู้อื่นด้วยปรารถนาเครื่องนุ่งห่ม
 

            ๑๕. ผู้ที่แต่งงานโดยทำพิธีแล้ว
 

            ๑๖. ผู้ที่เป็นภรรยาสามีของผู้ที่ให้ความช่วยเหลือ ให้พ้นจากความลำบาก
 

            ๑๗. ผู้ที่เป็นเชลยของผู้อื่น และตกไปเป็นภรรยาสามีของผู้เป็นเจ้าของเชลยนั้น
 

           ๑๘. ผู้เป็นลูกจ้าง และตกเป็นภรรยาสามีของนายจ้าง
 

           ๑๙. ผู้เป็นทาส และตกเป็นภรรยาสามีของเจ้าของทาส
 

          ๒๐. ผู้เป็นภรรยาสามีชั่วคราวของผู้ว่าจ้าง
 

           บุคคลประเภทที่หนึ่ง ถึงที่แปด ยังมิได้เป็นภรรยาสามีของผู้ใด ตนเองย่อมมีสิทธิในร่างกายตน หากเต็มใจมอบกายให้เป็นภรรยาสามีแก่ผู้ใด ไม่ถือเป็นกาเมสุมิจฉาจารแต่อาจมีโทษถูกทางโลกตำหนิติเตียนดูถูก ให้เป็นที่อับอายและนำความเสียใจกลุ้มใจมาสู่ตน ทำให้จิตใจเศร้าหมองเป็นอกุศลจิต เป็นเหตุให้ไปสู่อบายภูมิได้ สำหรับฝ่ายที่ล่วงเกินในบุคคลทั้ง ๘ ประเภทข้างต้น โดยที่อีกฝ่ายไม่ยินยอม ถือว่าเป็นการล่วงศีลกาเมสุมิจฉาจาร
 

            ชายหญิงที่เหลืออีก ๑๒ พวก ตั้งแต่ประเภทที่ ๙ ถึง ๒๐ เป็นผู้มีภรรยาสามีแล้วแม้แต่จะเป็นชนิดชั่วครั้งชั่วคราวก็ตาม ถ้าตนเองนอกใจคู่ของตน ยินยอมให้ผู้อื่นล่วงเกินได้เป็นอันล่วงศีลกาเมสุมิจฉาจาร ถ้าเป็นหญิงนครโสเภณี เมื่อมีผู้จองตัวโดยชำระเงินไว้ก่อนแล้วแต่ยังไม่ได้ประกอบกิจธุระให้สำเร็จลง ในระหว่างนั้นถ้าไปรับสินจ้างและยินยอมให้ผู้อื่นร่วมประเวณี ถือว่าล่วงกาเมสุมิจฉาจาร ชายหญิงทั้ง ๑๒ จำพวกเหล่านี้ ถือว่าเป็นผู้มีเจ้าของแล้ว แม้แต่กับสัตว์เดรัจฉานก็ให้ล่วงประเวณีไม่ได้ เช่นตัวอย่าง พระนางมัลลิกาเทวี อัครมเหษีของพระเจ้าปัสเสนทิโกศล ล่วงกาเมกับสุนัขในห้องน้ำ เมื่อตายแล้วไปเกิดในอวีจีมหานรกถึง ๗ วัน กุศลกรรมที่กระทำไว้จำนวนมากมายในครั้งเป็นมนุษย์ยังไม่อาจทัดทานได้
 

           สำหรับฝ่ายชายถ้ามีภรรยาหรือคู่หมั้นอยู่แล้ว ถ้านอกใจไปล่วงกาเมกับหญิงอื่นโดยเฉพาะหญิงที่เป็นภรรยา หรือคู่หมั้นของผู้อื่น เป็นกาเมสุมิจฉาจารกรรม
 

           ชายหญิงที่เสพกาเมในระหว่างเพศเดียวกัน ไม่ถือเป็นการล่วงกาเมสุมิจฉาจารเพราะไม่ใช่เป็นอคมนียวัตถุ แต่เป็นการประพฤติผิด เป็นมิจฉาธรรมะ ถูกตำหนิติเตียนได้ อย่างไรก็ตาม การกระทำผิดในอกุศลกรรมข้อนี้ ยังคงยึดถือเรื่องเจตนาเป็นหลักสำคัญเช่นเดียวกับเรื่องอื่น ๆ หากกระทำเพราะความเข้าใจผิด เช่นเป็นที่มืด ชายหญิงต่างฝ่ายต่างเข้าใจว่าเป็นภรรยาสามีของตน แล้วประพฤติล่วงกาเมกัน แม้จะก้าวล่วงกรรมบถแต่มีโทษไม่หนัก
 

           ในอกุศลกรรมบถ ๑๐ ไม่มีข้อห้ามเรื่องการดื่มสุราเมรัย ทั้งนี้เพราะผู้ดื่มไม่ได้กระทำทุจริตทางกาย วาจา ใจ เป็นแต่เพียงเพื่อความพอใจและสนุกสนาน เท่ากับเป็นการยินดีในกามคุณอารมณ์ คือติดใจพอใจในรสารมณ์ (รส) เหมือนกับผู้ประพฤติผิดทางประเวณีก็ด้วยสาเหตุกำหนัดยินดีในโผฏฐัพพารมณ์ (การสัมผัสถูกต้องทางร่างกาย) อารมณ์เหล่านี้คือทั้ง ทางรูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส ล้วนเป็นกามคุณอารมณ์อยู่ด้วยกันทั้งสิ้น
 

           การดื่มสุราเมรัย ดื่มแล้วแต่ยังไม่ได้ประพฤติผิดทางกาย วาจา ใจ อย่างได้ สงเคราะห์เข้าในการผิดศีลข้อกาเมสุมิจฉาจารได้ (ประพฤติผิดในกามคุณอารมณ์) เมื่อดื่มสุราเข้าไปแล้ว ย่อมสามารถเป็นสาเหตุให้กระทำทุจริตอื่น ๆ ตามมา คนเคยมีความละอายต่อทุจริตเมื่อเสพสุรามึนเมาขาดสติย่อมหมดความละอายโดยง่าย
 

           พระพุทธองค์ทรงแสดงโทษอย่างหนักของการดื่มสุราไว้ในอังคุตตรพระบาลีว่า
 

          "สุราเมรยปานํ ภิกฺขเว อเสวิตํ ภาวิตํ พหุลีกตํ นิรยสํวตฺตนิกํ ติรจฺฉานโยนิสํวตฺตนิกํเปตฺติวิสยสํวตฺตนิก์ โย จ สพฺพหุโก สุราเมรยปาสฺส 

วิปาโก โส มนุสฺสภูตสฺส อุมฺมตฺตสํวตฺตนิโก โหติ"

 

           แปลความว่า “ดูกรภิกษุทั้งหลาย การดื่มสุราและน้ำเมาต่าง ๆ นี้ เมื่อดื่มเสมอ ๆตี่มมากเข้า ๆ ดี่มหลาย ๆ ครั้งเข้า ย่อมสามารถนำไปสู่นิรยภูมิ ดิรัจฉาน เปตติภูมิ โทษของการดื่มสุราเมรัย อย่างเบาที่สุดนั้น เมื่อมีโอกาสได้เกิดเป็นมนุษย์ด้วยกุศลกรรมอื่น ๆ ผู้นั้นก็ย่อมเป็นคนบ้า”
 

            พระอานันทเถระแสดงไว้ในมูลฎีกาว่า
 

            "ตสฺส สภาคตฺเตน มิจฺฉาจาร อุปการกตฺเตน ทสสุ ป กมฺมปเทสุ อนุปฺปวาส โหติ"
   

         แปลความว่า การดื่มสุรา อนุโลมเข้าในกาเมสุมิจฉาจาร เพราะสภาพเหมือนกับกาเมสุมิจฉาจาร และอนุโลมเข้าในอกุศลกรรมบถ ๑๐ ด้วย เพราะเป็นการช่วยอุปการะให้อกุศลกรรมบถ ๑๐ สำเร็จลง
 

         ที่เรียกว่าการดื่มสุรา เป็นการช่วยอุปการะให้อกุศลกรรมบถ ๑๐ สำเร็จลง ตัวอย่างเช่น คนเสพสุรามึนเมา ย่อมครองสติไม่ได้ หมดความละอายใด ๆ สามารถกระทำผิดกรรมบถอื่น ๆ ได้โดยง่ายทุกข้อ คือ สามารถฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ประพฤติผิดในกาม พูดปิด พูดหยาบ ส่อเสียด เพ้อเจ้อ และอื่น ๆ ได้
 

        สรุปได้ว่า การดื่มสุรา กระทําให้สําเร็จกิจได้ ๒ ประการ คือ
 

             ๑. ปฏิสนธิชนนกิจ กิจที่ทำให้เกิดในนิรยภูมิ
 

             ๒. กัมมชนนกิจ กิจที่ทําให้การกระทำทุจริตสําเร็จลง
 

         ในกิจสองอย่างนี้ กิจประการที่สอง คือกิจที่ท่าให้การกระทำทุจริตสำเร็จลง มีกำลังแรงกว่ากิจที่ทำให้ไปเกิดในนรยภูมิ กำลังแรงอันนี้สามารถกระตุ้นชักชวนให้กระทำทุจริตทราชีพต่างๆ
 

         สำหรับกิจที่ทำให้ไปเกิดในนิรยภูมินั้น มุ่งหมายเอาปุพพเจตนา คือเจตนาที่เกิดขึ้น ก่อนการไปลงมือกระทำทุจริตทราชีพ เรื่องการดื่มสุราเป็นเหตุให้เกิดการกระตุ้นชักชวนให้กระทำผิดนั้น ไม่เป็นเรื่องแน่นอนเสมอไป ถ้ามีการกระตุ้นชักชวนเกิดขึ้นจริง แต่ผู้ดื่มมิได้ลงมือกระทำทุจริตอันใด ปุพพเจตนานั้นย่อมไม่มีกำลังแรงพอส่งผลให้ไปบังเกิดในนิยภูมิได้
 

          กาย วาจา ใจ ที่เป็นสุจริต ทุจริต ชนิดให้ผลในปฏิสนธิ คือนำไปเกิดในสุคติ ทุคติภูมิได้ จึงจะเรียกว่ากุศลหรืออกุศลกรรมบถ ส่วนกรรมที่ส่งผลปฏิสนธิไม่แน่นอน เป็นเพียงสุจริตหรือทุจริตธรรมดา การดื่มสุราที่ยังมีสติ สูบยาเสพติด เล่นการพนัน ดูมหรสพเล่นมหรสพ หรือการเว้นจากสิ่งเหล่านี้ เป็นทุจริตกรรมและสุจริตกรรมที่ยังไม่แน่นอนในการส่งผลปฏิสนธิ จึงยังไม่ถึงขั้นเป็นกุศล หรืออกุศลกรรมบถ
 

         การดื่มสุรา มีหลายประเภท พอแบ่งได้เป็น ๔ คือ
 

        ๑. ดื่มเพราะผสมอยู่ในยาหรืออาหาร
 

        ๒. ดื่มสุราล้วน ๆ นึกเอาว่าเป็นยา
 

        ๓. ดื่มเพราะชอบในรสและอาการ
 

        ๔. ดื่มเพื่อย้อมใจให้กล้าทำทุจริต
 

          การดื่มชนิดเป็นยา หรือนึกว่าเป็นยานั้น มีโทษเบา เพราะมีเจตนาเพื่อรักษาโรคหรือบำรุงร่างกาย แต่ถ้าเป็นผู้สมาทานรักษาศีล ไม่ว่าจะเป็นศีลจำนวนเท่าใดไม่ควรดื่มแม้ประเภทที่สอง คือ ดื่มสุราล้วน ๆ ถือว่าศีลขาด สำหรับประเภทที่ ๓ ถือว่ามีโทษหนักผู้ที่ดื่มเพราะชอบนี้จะบังคับใจตนเองได้ยาก เมื่อดื่มครั้งหนึ่งแล้ว ต้องอยากดื่มเรื่อย ๆไป ไม่มีที่สิ้นสุด
 

          พระพุทธองค์ทรงแสดงไว้ในอังคุตตรพระบาลีว่า
 

         “ติณฺณํ ภิกฺขเว ปฏิเสวนาย นตฺถิ ติตฺติ
 

          กตเมสํ ติณฺณํ โสปฺปสฺส ภิกฺขเว ปฏิเสวนาย นตฺถิ ติตฺติ
 

          สุราเมรยปานสฺส ภิกฺขเว ปฏิเสวนาย นตฺถิ ติตฺติ
 

         เมถุนธมุมสมาปตฺติยา ภิกฺขเว ปฏิเสวนาย นตฺถิ ติตฺติ
 

         อิเมสํ ภิกฺขเว ติณฺณํ ปฏิเสวนาย นตฺถิ ติตฺตีติ"
 

         ดูกรภิกษุทั้งหลายการเสพที่ไม่มีการอิ่มนั้นมี ๓ อย่าง ๓ อย่างนั้นคืออะไร
 

         ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความไม่อิ่มในการนอนอย่างหนึ่ง
 

        ความไม่อิ่มในการดื่มสุราเมรัยอย่างหนึ่ง
 

        ความไม่อิ่มในการเสพเมถุนธรรมอย่างหนึ่ง ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความไม่อิ่มในการเสพ ๓ อย่างนั้น มีดังกล่าวมานี้
 

         การดื่มสุราให้โทษมาก ไม่แต่เพียงทำให้เกิดอกุศลกรรมอื่น ๆ ตามมา แม้ผู้ที่มีคุณธรรมพิเศษ เช่นบรรลุฌานอภิญญา เมื่อเสพสุรามึนเมาครองสติไม่ได้ คุณวิเศษเหล่านั้นย่อมเสื่อมสิ้นไป ดังเช่นพระสาคตเถระในสมัยพุทธกาล เป็นพระภิกษุปุถุชนที่ได้อภิญญาเก่งกล้า สามารถประลองฤทธิ์มีชัยชนะต่อพระยานาค ชาวเมืองเลื่อมใสยินดีถวายอาหารและสุราด้วย จึงมึนเมาจนอภิญญาเสื่อม ขาดสติแสดงอคารวะต่อพระพุทธเจ้าพระองค์จึงทรงบัญญัติสิกขาบท ห้ามภิกษุสามเณรดื่มสุราเมรัย
 

        การดื่มสุราประเภทที่ ๔ ดื่มย้อมใจให้กล้าในการทำทุจริต จัดเป็นปุพพเจตนา มีสภาพกระตุ้นชักชวนในการทำทุจริตที่เป็นมุญจเจตนาให้เกิดขึ้น การดื่มสุราย้อมใจจึงสามารถนำผู้ดื่มไปอบายภูมิได้
 

        สุรา แปลว่า สิ่งที่ทำให้เกิดความกล้า สุรามี ๕ ประเภท
        
        ๑. สุราที่ทำด้วยแป้งข้าวเจ้า (ปิฎฐสุรา ปิฏฐ์ แปลว่า แป้ง)

 

        ๒. สุราที่ทำด้วยขนม เช่นข้าวหมาก (ปูปสุรา ปุปะ แปลว่าขนม)

        ๓. สุรา ทําด้วยข้าวสุก (โอทนสุรา โอทนะ แปลว่า ข้าวสุก)
 

       ๔. สุราที่ทำด้วยแป้งเชื้อสุรา (กิณณปาจิตตสุรา กัณณ แปลว่า เชื้อ ปกขิตตแปลว่า ใส)
 

       ๕. สุราที่ทำด้วยผลไม้ เช่นองุ่น (สมภารสํยุตฺตสุรา)

      เมรัย แปลว่า สิ่งที่ทำให้มึนเมา เมรัยมี ๕ ประเภทเช่นกัน

 

     ๑. เมรัยที่ได้จากการเอาดอกไม้ต่าง ๆ มาหมักไว้ (บุปผาสว)
 

     ๒. เมรัยที่ได้จากการเอาผลไม้ต่าง ๆ มาหมักไว้ (ผลาสว)
     

     ๓.  เมรัยที่ได้จากการเอาผลองุ่นมาหมักไว้ (มธวาสว)

     ๔. เมรัยที่ได้จากการน่าเอา น้ำอ้อย น้ำตาลหมักไว้ (คุฬาสว)

 

    ๕. เมรัยที่ได้จากการเอา มะขามป้อม สมอ มาหมักไว้ (สมภาร ยุตตาสว)
 

         สุรา และเมรัย ทั้งสองอย่างนี้ เรียกว่า มัชชะ ก็ได้ เพราะเป็นเหตุทำให้ผู้เสพมึนเมาทำให้ผู้เสพมีนซึม นอกจากนี้ สิ่งเสพติดทั้งปวง เช่น ฝิ่น กัญชา เฮโรอีน กระทั่งหมากบุหรี่ย่อม ถือว่าเป็นมัชชะได้ทั้งนั้น ทำให้ผู้เสพมีนซึม
 

        การทําความผิดในเรื่องเสพของมึนเมาต้องประกอบด้วยองค์ ๔ คือ
 

                ๑. สุราเมรยภาโว สิ่งที่เสพเป็นสุราเมรัย (หรือของมึนเมา)
 

                ๒. ชีวิตกามตา มีความประสงค์บริโภค
 

               ๓. บิวน์ ท่าการบริโภค
 

               ๔. มาทน์ มีอาการมึนเมา
 

         ในสุตตนิบาตอรรถกถา แสดงโทษของการดื่มสุราไว้ว่า
 

         "ยสฺมา ปน มชฺชปายี อตฺถํ น ชานาติ
 

           ธมฺมํ น ชานาติ
 

           มาตุปิ อนุตรายํ  กโรติ
 

           ปิตุปิ พุทฺธปจฺเจกพุทฺธตถาคตสาวกานมฺาปิ อนุตรายํ กโรติ
 

           ทิฏธมฺเม จ ครหํ สมปราเย จ ทุคฺคดี อปราปริยาย อุมฺมาทํ ปาปุณาติ"
 

         “ผู้ที่ดื่มสุราอยู่เป็นนิจ ย่อมไม่รู้จักผล ไม่รู้จักเหตุ ย่อมทำอันตรายแก่ทรัพย์หรือชีวิตร่างกายของมารดา บิดา พระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้า และพระสาวกทั้งหลาย ในระหว่างที่ยังมีชีวิตอยู่ ก็ย่อมได้รับคำครหานินทา จากบัณฑิตและสัปบุรุษทั้งหลาย เมื่อตายจากโลกนี้ไปแล้วย่อมไปสู่ทุคติภูมิ สำหรับในภพที่ ๓ เป็นต้นไปนั้นย่อมเป็นผู้ที่มีสติฟั่นเฟือนวิกลจริต”
 

             พระมหาพุทธโฆสาจารย์ ได้วินิจฉัยโทษของการดื่มสุราไว้ว่า
 

         "อปิเจ ถ สุราเมรยมชฺชปมาทฏฺฐานเมว มหาสาวชฺชํ น ตถาปาณาติปาตาทโย
         กสฺมา มนุสฺสภูตสสปิ อุมฺมตฺตาภาวสํวตฺตเนน อริยธมฺมนฺตราย กรณโต"

 

          "เมื่อกล่าวตามความเป็นจริงแล้ว ในศีลทั้ง ๕ นั้น การดื่มสุราเมรัยที่เป็นเหตุแห่งความประมาทย่อมมีโทษมาก ส่วนศีล ๔ ข้อมีปาณาติบาตเป็นต้นเหล่านี้ ไม่มีโทษมากเหมือนการดื่มสุราเมรัย เพราะการดื่มสุราเมรัยนี้ย่อมกระทำให้ผู้นั้นเป็นบ้า เป็นอันตรายต่อมรรคผล"
 

          การดื่มสุรานับเป็นสิ่งที่น่ากลัวมาก การทำทุจริตผิดกฎหมายต่าง ๆ ดังที่เป็นกันอยู่ในทุกวันนี้ ก็เนื่องมาจากสุราเป็นต้นเหตุเสียส่วนใหญ่ แต่คนโดยมากกลับนิยมดื่มสุรา จึงพากันมองไม่เห็นโทษ หรือแม้จะเห็นก็เพิกเฉยเสียเพราะความชอบของตนเอง มีอำนาจรุนแรง หรือมิฉะนั้นเพื่อนสนิทมิตรสหาย ญาติพี่น้องชอบ จึงเกิดความเกรงใจไม่กล้าตำหนิติเตียนว่ากล่าว ด้วยเหตุนี้สัปบุรุษทั้งหลายจึงมักเปรียบเทียบการดื่มสุราเหมือนการเป็นหัวหน้าโจร ใช้ลูกน้องไปทำทุจริตต่าง ๆ ตนเองเป็นผู้บงการ ถ้าลูกน้องถูกจับได้ลูกน้องย่อมตกเป็นจำเลยที่หนึ่ง หัวหน้าโจรเป็นเพียงจำเลยที่สองข้อนี้ฉันใด การดื่มสุราแล้วกระทำทุจริตก็เป็นเช่นเดียวกัน เมื่อส่งผลให้ไปเกิดในอบายภูมิแล้ว เจตนาในการทำทุจริตย่อมตั้งอยู่ในฐานะจำเลยที่หนึ่ง เจตนาที่เกี่ยวกับการดื่มสุราย่อมตั้งอยู่ในฐานะเป็นจําเลยที่สองฉันนั้น
 

          การฆ่าสัตว์ การลักทรัพย์ การประพฤติผิดทางกาม ทั้ง ๓ อย่างนี้ได้ชื่อว่า ทุจริตทางกายกรรม เพราะการกระทำส่วนใหญ่เกิดทางกายทวาร คือกายวิญญัติ (การเคลื่อนไหวทางกาย คำว่ากายทวาร ในที่นี้มุ่งหมายเอา กายวิญญัติ ไม่ใช่กายปสาท)
 

          โดยปรกติอาการเคลื่อนไหวต่าง ๆ ของร่างกาย จะต้องประกอบด้วยวาโยธาตุคือธาตุลมเป็นประธาน แต่การเคลื่อนไหวอย่างมีจุดประสงค์ย่อมต้องประกอบด้วยจิตตชรูป(รูปที่เกิดจากจิต) ร่วมอยู่ด้วย และการที่ร่างกายเคลื่อนไหวโดยสามารถแสดงอาการได้ต่าง ๆ เช่นยกมือ ยกเท้า ก้มตัว เงยหน้า คู่ เหยียด ฯลฯ ได้โดยสะดวกจำเป็นต้องมีวิการรูปคือ อาการเบา อาการอ่อน และอาการสมควรต่อการงานต่างๆ ของนิปผันนรูป (รูปที่เกิดจากกรรม จิต อุตุ อาหาร) ประกอบ ถ้าไม่มีวิการรูปเข้าประกอบ ปล่อยให้การเคลื่อนไหของร่างกายเป็นไปด้วยอำนาจวาโยธาตุอย่างเดียว การเคลื่อนไหวนั้นจะไม่แตกต่างกับการเคลื่อนไหวของธรรมชาติ เช่นลมพัดใบไม้ไหว สิ่งของตกจากที่สูง ซึ่งย่อมไม่อาจสำเร็จผลตามความมุ่งหมายของจิต
 

          ฉะนั้น ในการฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ประพฤติผิดทางกามเหล่านี้ มิใช่ร่างกายจะเคลื่อนไหวเองได้ตามลำพัง ต้องเคลื่อนไหวไปตามความประสงค์ของจิต เช่นต้องการฆ่าสัตว์ จึงยกปืนขึ้นยิง อาการที่ยกปืนขึ้นยิง ย่อมเป็นไปด้วยอำนาจวาโยธาตุที่ประกอบด้วยวิการรูป ดังนั้นจึงชื่อว่ากายกรรม
 

           คำว่ากาย สามารถเข้าใจได้เป็น ๓ ประการ
 

           ๑. สสมฺภารกาย ได้แก่ร่างกายที่ประกอบด้วยของ ๓๒ ส่วน เช่น ผม ขน เล็บฟัน หนัง ฯลฯ
 

           ๒. ปสาทกาย ได้แก่กายปสาทที่เป็นที่อาศัยเกิดของกายวิญญาณจิต (ความรู้อารมณ์ทางกาย)
 

           ๓. โจปนกาย ได้แก่ วิญญัติรูป (รูปที่ทำให้ผู้อื่นรู้ถึงความประสงค์โดยการแสดงการเคลื่อนไหวทางร่างกาย และทางคำพูด) ที่เกิดพร้อมวาโยธาตุ เพื่อทำให้การเคลื่อนไหวกายเกิดขึ้น
 

           คำาว่ากายที่กล่าวถึงใน กายทวาร จึงหมายถึง โจปนกาย (โจ-ปะ-นะ-กา-ยะ)
 

           อันที่จริงกายทุจริตนั้น มีแต่การประพฤติผิดทางกามอย่างเดียว ที่เป็นทุจริตทางกายทวารแท้ๆ ทำทางทวารอื่นไม่ได้ ส่วนกายทุจริตอีก ๒ อย่าง คือ การฆ่าสัตว์ การลักทรัพย์ สามารถกระทำทางวจีทุจริตได้อีก เช่นใช้วาจาออกคำสั่งให้ผู้อื่นกระทำ เมื่อผู้รับคำสั่งทำสำเร็จลง ย่อมถือว่าผู้ออกคำสั่งล่วงกรรมบถไปด้วย แต่ทุจริต ๒ ประการนี้กระทำทางกายทวารมากว่าวจีทวาร จึงเรียกเป็นกายกรรม
 

          "กายทฺวาเร เยภุยฺเยน ปวตฺตํ กมฺมนฺติ = กายกมุมํ"
 

          กรรมที่เกิดขึ้นในกายทวารเป็นส่วนมาก ฉะนั้นจึงชื่อว่า กายกรรม
 

          การแยกการกระทําออกเป็น ๓ ทวาร เพื่อสะดวกในการเห็นได้ชัดเจนเป็นส่วนสําคัญ สะดวกในการจดจําและทำความเข้าใจ ส่วนความเป็นจริงการกระทำบางเรื่อง ไม่ใช่ประกอบเพียงทวารเดียว ดังกล่าวแล้ว
 

๔. มุสาวาท
 

            คำว่า มุสาวาท มีคำว่า มุสา คำว่า วาท รวมกันอยู่
 

            มุสา แปลว่าสิ่งที่ไม่เป็นความจริง เช่นเรามีเงินอยู่ เมื่อมีผู้ถาม เราบอกว่าไม่มี นี้เป็นมุสา
 

            วาท หมายถึง คำพูด
 

           ใครก็ตามกล่าวถึงเรื่องราวหรือวัตถุสิ่งใดที่ไม่จริง ว่าเป็นความจริง ด้วยเจตนาอันใด เจตนาที่เป็นเหตุให้กล่าวคำไม่จริงนั้น ชื่อว่า มุสาวาท เป็นเจตนาที่ทำให้ผู้อื่นเข้าใจผิด จิตในขณะนั้นประกอบด้วย โลภะหรือโทสะ เป็นประธานใหญ่ ทำให้เกิดทุจริตทั้งทางกายทวารและวจีทวารแสดงออกมา
 

          แต่ที่กำหนดเอาว่ามุสาวาทอยู่ในวจีทวาร เพราะการกล่าวมุสาวาท ใช้แสดงออกโดยทางวาจาเป็นส่วนใหญ่ ถ้ามุสาวาทแสดงด้วยอาการอย่างอื่นที่ไม่เกี่ยวกับการพูดจาเช่นแสดงทางกาย พยักหน้ารับ สั่นหน้าปฏิเสธที่ไม่ตรงกับความเป็นจริง หรืออาการอย่างหนึ่งอย่างใดที่ให้อีกฝ่ายเข้าใจผิดไปเสียจากความเป็นจริง ก็ถือเป็นมุสาวาทเช่นเดียวกัน แต่ที่จะถือว่าเป็นการล่วงกรรมบถหรือไม่ ต้องประกอบด้วยองค์ ๔ คือ
 

        ๑. อตฺถวตถุ สิ่งของหรือเรื่องราวนั้นเป็นของไม่จริง
 

        ๒. วิสํวาทนจิตฺตตา มีจิตคิดจะมุสา
 

        ๓. ปโยโค พยายามมุสาด้วยอาการทางกายหรือวาจา ตามความประสงค์ของตน
 

        ๔. ตทตฺถ วิชานนํ ผู้อื่นมีความเชื่อตามเนื้อความที่มุสานั้น
 

        การมุสาวาทที่ครบองค์ ๔ แต่ไม่ทำให้ผู้หลงเชื่อเกิดความเสียหายแต่ประการใดเป็นแต่เพียงมุสาวาทธรรมดา ไม่ล่วงกรรมบถ คือไม่ถึงเป็นเหตุนำไปสู่อบาย ถ้าทำให้ผู้หลงเชื่อได้รับความเสียหาย ย่อมก้าวล่วงกรรมบถ
 

        ความพยายามในการมุสามี ๔ อย่าง
 

        ๑. สาหัตถิกะ พยายามมุสาด้วยตนเอง
 

        ๒. อาณัตติกะ ใช้ให้คนอื่นมุสา
 

        ๓. นิสสัคคิยะ แสดงเรื่องที่ไม่จริง เช่นเขียนจดหมาย แล้วทิ้งไปให้คนอื่นเข้าใจผิด หรือการโฆษณาชวนเชื่อด้วยวิธีต่าง ๆ เช่นพูดวิทยุ แสดงออกทางโทรทัศน์ เป็นการชั่วคราว

        ๔. ถาวระ มุสาเป็นการถาวร เช่นปิดโฆษณาประกาศไว้ อัดเสียงพูดไว้ พิมพ์เป็นหนังสือไว้

 

          ในความพยายามทั้ง ๔ อย่างนี้ ที่คนกระทำกันอยู่โดยส่วนมากคือประการแรกสาหัตถิกะ อีก ๓ อย่างก็มีบ้าง แต่น้อยกว่ามาก รวมความแล้วมุสา สามารถกระทำได้ทั้ง ๒ ทางคือทางกายและวาจา
 

          มุสาที่กระทำขึ้นไม่ครบองค์ ๔ และไม่เกิดผลเดือดร้อนแก่ผู้หลงเชื่อ ย่อมเป็นเพียงศีลวิบัติ ไม่ก้าวล่วงไปถึงกรรมบถ ถ้าการมุสานั้นครบองค์ ๔ เป็นอันว่าสำเร็จกรรมบถสำหรับในข้อ ๔ ขององค์ ๔ ถ้าผู้ฟังไม่เชื่อตามย่อมถือว่าไม่ครบองค์
 

          การมุสาที่ครบองค์ แต่ไม่ให้ผลร้ายต่อผู้ฟัง เช่นการรักษาศรัทธาของพระราชาทำให้มหาดเล็กพูดปด การไม่บอกอาการของโรคที่แท้จริงให้คนไข้ทราบเพื่อป้องกันความสะเทือนใจ การมุสาเพื่อรักษาชีวิตของคนในคราวคับขัน โดยอีกฝ่ายไม่ได้รับความเดือดร้อน เหล่านี้ไม่มีโทษรุนแรง (อัปปสาวัชชะ)

          ส่วนที่จะมีโทษมากน้อยหนักเบาต่างกันเพียงใด ขึ้นอยู่กับความเสียหายที่ผู้ฟังหลงเชื่อถือ ถ้าเสียหายน้อยก็มีโทษน้อย ถ้าเสียหายมากจึงมีโทษมาก อย่างเช่นการพูดปดเป็นพยานเท็จในศาล ทำให้อีกฝ่ายต้องรับโทษดังนี้เป็น มหาสาวัชชะ (โทษมาก)
 

         คำกล่าวของผู้เป็นอันธพาล ๔ อย่างดังต่อไปนี้ ถือเป็นมุสาวาทประเภทโทษหนักเรียกว่า อนริยโวหาร มี
 

         ๑. สิ่งที่ไม่ได้เห็น     บอกว่า  เห็น
 

         ๒. สิ่งที่ไม่ได้ยิน      บอกว่า  ได้ยิน
 

         ๓. สิ่งที่ไม่ได้พบ      บอกว่า  ได้พบ
 

         ๔. สิ่งที่ไม่รู้             บอกว่า  รู้
 

         ๕. สิ่งที่ตนเห็น        บอกว่า  ไม่เห็น
 

         ๖. สิ่งที่ตนได้ยิน      บอกว่า  ไม่ได้ยิน
 

         ๗. สิ่งที่ตนได้พบ     บอกว่า  ไม่ได้พบ
 

         ๘. สิ่งที่ตนรู้            บอกว่า  ไม่รู้
 

              (พบ หมายถึง การได้กลิ่น ได้รู้รส ได้ถูกต้อง ทางจมูก ลิ้น กาย นั่นเอง) ส่วนการมุสาที่มีผลหนักมากที่สุด คือการทำให้สงฆ์ต้องแตกแยกจากกัน เป็นมหาสาวัชชะครุกกรรม
 

             ในอกุศลกรรมบถบางอย่าง เช่น ฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ประพฤติผิดในกาม ดื่มสุราเมรัย บางครั้งผู้ที่บำเพ็ญบารมีเป็นพระโพธิสัตว์ยังเกิดความประมาท ก้าวล่วงกรรมบถแม้การกล่าวมุสาที่ไม่ได้ทำให้ผู้ฟังได้รับความเสียหาย พระโพธิสัตว์ยังอาจกระทำได้ แต่การกล่าวมุสาชนิดที่มีเจตนาให้ผู้อื่นได้รับความเสียหายนั้น พระโพธิสัตว์ ไม่กระทำเลยเป็นอันขาด
 

๕. ปิสุณวาจา
 

           ปิสุณวาจา มีคำว่า ปิสุณ กับคำว่า วาจา รวมกัน
 

           ปิสุณ แปลว่า การบดให้ละเอียด หรือการกระทำให้แตกกระจัดกระจาย
 

           วาจา แปลว่า คำพูด
 

           ปิสุณวาจา จึงแปลว่า คำพูดที่บดความสามัคคีให้แตกแยกกระจัดกระจาย หรือบางแห่งแปลว่า คำพูดที่ทำให้ตัวผู้พูดเป็นที่รักของผู้ฟัง แต่กระทำให้ผู้อื่นสูญจากความรัก
 

           องค์แห่งปิสุณวาจา มี ๔ คือ
 

           ๑. ภินฺทิตพฺโพ มีบุคคล (สองฝ่าย) ที่จะถูกทำให้แตกจากกัน
 

           ๒. เภทปุรกฺขาโร มีเจตนามุ่งให้แตกจากกัน
 

           ๓. ปโยโค ท่าความเพียรให้แตกจากกัน
 

           ๔. ตทตฺถ ซานนํ ผู้ฟังรู้ตามเนื้อความนั้น และผู้ถูกส่อเสียดเกิดแตกแยกกัน
 

           สำหรับเรื่องปิสุณวาจานี้ ส่วนใหญ่ผู้ล่วงกรรมบถมีเจตนามุ่งปรารถนาให้เกิดการแตกแยกกันเป็นส่วนใหญ่ เรื่องให้ตนเป็นที่รักนั้นยังไม่ใช่ข้อสำคัญนัก
 

           ความพยายาม (ปโยคะ) ที่จะให้เกิดการแตกแยกนั้น กระทำได้ทั้งทางกายและทางวาจา ทางกายเช่นอาการบอกใบ้ให้เข้าใจผิดไขว้เขว ทางวาจาได้แก่การกล่าวคำพูด
 

           การกล่าวปิสุณวาจาแม้จะครบองค์ ๔ แต่ถ้าผู้ถูกส่อเสียดไม่แตกแยกจากกัน ก็ถือว่าไม่ล่วงกรรมบถ ส่วนที่จะบังเกิดโทษมากน้อย ขึ้นอยู่กับผู้ที่แตกแยกกันเป็นผู้มีศีลธรรมเพียงได
 

๖. ผรุสวาจา
 

           ผรุสวาจา ได้แก่คําว่า ผรุส รวมกับค่าว่า วาจา
 

          ผรุส แปลว่า อย่างหยาบ
 

          วาจา แปลว่า คำพูด
 

          ผรุสวาจา จึงแปลว่า คำพูดที่หยาบคาย ได้แก่การด่า การแช่ง เป็นต้น สาเหตุใหญ่ของจิตที่จะทำให้กล่าวผรุสวาจาออกมาได้ คือ โทสะ
 

          หรือจะแยกผรุสวาจาออกเป็นคำว่า ผร รวมกับ อุส รวมกับ วาจา ก็ได้
 

          ผร แปลว่า แผ่
 

          อุส แปลว่า เดือดร้อน
 

          วาจา แปลว่า คำพูด
 

          ผรุสวาจา จึงแปลว่า คำพูดที่ทำให้ความเดือดร้อนแผ่ไป “ในหัวใจ”
 

           วาจาที่เป็นคำหยาบ ผู้ที่ได้รับย่อมทนนิ่งอยู่ไม่ได้ จิตใจย่อมไม่สบายเหมือนหนึ่งถูกฟันเลื่อย หรือของมีคมเชือดเฉือน บางครั้งควบคุมจิตใจไว้ไม่ได้ ต้องแสดงอาการอย่างหนึ่งอย่างใดโต้ตอบออกมา การกล่าวคำหยาบได้ต้องประกอบด้วยโทสเจตนา เป็นต้นเหตุ การกล่าวคำหยาบเป็นผล องค์แห่งการกล่าวคำหยาบมี ๓ อย่างคือ
 

           ๑. โกโป มีความโกรธ
 

           ๒. อุปกุฏฺโฐ มีผู้ถูกด่า
 

           ๓. อกโกสนา กล่าววาจาด่าออกมา
 

            ข้อ ๑ เจตนาที่แสดงออกเป็นเจตนาหยาบ แม้การแสดงทางกายหรือวาจา จะมีลักษณะประณีตสุขุม เช่นกิริยาทางกายยิ้มแย้มแจ่มใส ทางวาจากล่าวคำเห็นใจไพเราะ ก็ถือว่าการกระทำนั้นสำเร็จเป็นกรรมบถผรุสวาจา เช่นผู้พิพากษาตัดสินประหารชีวิตจำเลยเจตนาที่ปรารถนาหลักคือการใคร่ให้ตายอันเป็นเจตนาหยาบ แม้จะใช้ถ้อยคำในการตัดสินนุ่มนวลเพียงใด คำเหล่านั้นย่อมถือเป็นผรุสวาจาครบองค์กรรมบถ
 

            ตรงกันข้าม ถ้อยคํา บิดามารดา ครูอาจารย์ ผู้หวังดี ด่าว่าด้วยถ้อยคำหยาบคายจริง ๆ แต่เจตนาไม่ได้เป็นไปตามคำเหล่านั้น กลับเป็นเจตนาที่ดีงาม เช่นต้องการให้มีกำลังใจ มีความห่วงใยปรารถนาให้ผู้ถูกแช่งด่าซึ่งเป็นที่รักของตนมีความสวัสดี คำแช่งด่าเหล่านี้ไม่ถือเป็นผรุสวาจา เป็นแต่คำที่เกิดขึ้นด้วยอำนาจความไม่พอใจเพียงชั่วครู่ นอกจากจะกล่าวด้วยความโกรธจัดจริงๆ พออนุโลมเป็นผรุสวาจาได้ แต่มีโทษน้อย
 

          ในข้อ ๒ มีผู้ถูกด่านั้น ไม่ว่าจะมีอยู่เฉพาะหน้า หรือผู้ถูกด่ามิได้อยู่เฉพาะหน้าอาจจะตายไปแล้วก็มี ถือเป็นล่วงกรรมบถทั้งสิ้น
 

          ในข้อ ๓ การกล่าววาจาเป็นคำด่า สิ่งที่เป็นที่ตั้งให้นำมาใช้เป็นคำด่าได้ มีอยู่ ๑๐ ประการ มีทั้งทางต่ำและทางสูง ทางสูงส่วนใหญ่เป็นคำด่ากระทบเสียดสี แดกดัน ได้แก่
 

           ๑. ชาติ เป็นคำด่าเกี่ยวกับ ชาติกำเนิด
                      ชาติต่ำ เช่น ชาติไพร่ ชาติขี้ข้า ชาตินักเลง
                      ชาติสูง เช่น ผู้ที่แปดสาแหรก มหาเศรษฐี พวกขุนนาง เจ้าขุนมูลนาย

 

           ๒. นาม เป็นคำด่าโดยออกชื่อ
                       ต่ำ เช่น ไอ้ทึ่ม ไอ้ทุย ไอ้ควาย อีเหี้ย เป็นต้น
                       สูง เช่น คุณหญิง คุณนาย เจ้าคุณ ท่านนายพล (แต่เป็นคำแกล้งเรียกเพื่อแดกดัน)

 

           ๓. โคตฺต เป็นคำด่าเกี่ยวกับเรื่องสกุล
                         สกุลต่ำ เช่น สกุลหัวขโมย สกุลล่อลวง สกุลมักง่าย สกุลใจง่าย
                         สกุลสูง เช่น ด่าประชดว่า สกุลเจ้านาย สกุลเศรษฐี

 

           ๔. กมุมํ คำด่าเกี่ยวกับอาชีพหรือการงานที่ผู้ถูกด่ากระทำอยู่
                       อาชีพต่า เช่น คนตีเหล็ก คนทุบหิน คนล้างท่อ คนดูดส้วม คนชนขยะ คนกวาดถนน
                       อาชีพสูง เช่น ช่างทอง ช่างเงิน พ่อค้า ชาวนา ชาวไร่ ชาวสวน

 

           ๕. สิปปํ เกี่ยวกับวิชา (ศิลปะ)
                       ศิลปะต่ำ เช่น วิชาขับรถ ตัดผม ปั้นโอ่ง
                       ศิลปะสูง เช่น แพทย์ ครูอาจารย์ วิศวกร สถาปนิก

 

           ๖. อาพาธ เกี่ยวกับโรคภัยไข้เจ็บ
                          อย่างต่ำ เช่นโรคเรื้อน กุดถัง กลากเกลื้อน มะเร็ง
                          อย่างสูง เช่น โรคประสาท โรคหัวใจ โรคกระเพาะอาหาร โรคเบาหวาน

 

           ๗. ลิงค์ เกี่ยวกับรูปร่างสัณฐาน
                       อย่างต่ำ เช่น อ้วน ผอม เตี้ย สูง แคระ ค่อม
                       อย่างสูง เช่น สวย เก๋ สง่า องอาจ กล้าหาญ

 

           ๘. กิเลสา เกี่ยวกับกิเลส เรื่องกิเลสนี้มีแต่ฝ่ายต่ำอย่างเดียว เช่น เจ้าโทโส ขี้อิจฉาริษยา

                           คนมีตัณหาจัด มีทิฏฐิมานะมาก
 

           ๙. อาปตฺติ เกี่ยวกับในเรื่องของสงฆ์
                           อย่างต่ำ เช่น ปาราชิก สังฆาทิเสส
                           อย่างสูง เช่น อาบัติปาจิตตีย์ ทุกกฏ

 

           ๑๐. อกฺโกโส คำด่า หยาบคาย
                              อย่างต่ำ เงินคำหยาบคายต่าง ๆ มีด่าพ่อ ด่าแม่ของอีกฝ่าย เป็นต้น
                              อย่างสูง เช่นด่าว่า สันดานชั่ว เลวทราม สัตว์เดรัจฉาน เป็นต้น

 

          การด่า ทำได้ทั้งทางวาจา และทางกาย เช่นเขียนหนังสือ หรือแสดงกิริยาอาการหยาบคายต่าง ๆ ที่ทำให้ผู้ได้รับ รู้สึกโกรธ อาย ไม่สบายใจ
 

         โทษของการด่า ขึ้นอยู่กับผู้ที่ถูกด่าเป็นผู้มีศีลธรรม หรือเป็นผู้มีบุญคุณต่อผู้ด่ามากน้อยเพียงใด เช่นบิดามารดา ครู ผู้ใดด่าย่อมมีโทษมาก
 

๗. สัมผัปปลาปะ
 

            สัมผัปปลาปะ มาจากคำว่า สมุย รวมกับคำว่า ปลาป
 

            สมุย แปลว่า การทำลายประโยชน์และความสุข
 

            ปลาป แปลว่า การกล่าว
 

           สัมผัปปลาปะ จึงแปลว่า การกล่าววาจาที่ทำลายประโยชน์และความสุข
 

           หมายถึงการกล่าวเรื่องเหลวไหลไร้สาระ ดังเช่น เล่าเรื่อง การละเล่นมหรสพหรือพูดจาตลกขบขันต่าง ๆ แม้แต่ผู้ที่แสดงการละเล่น หรือเป็นนักเขียน นักประพันธ์เอง เขียนเรื่องอ่านเล่น ไม่มีคติอะไร จัดเป็นสัมผัปปลาปะทั้งสิ้น เพราะทำให้ผู้ฟัง ผู้อ่านไม่ได้รับประโยชน์เท่าที่ควร เพียงแต่ทำให้เพลิดเพลินไปชั่วคราว กลับทำให้เสียประโยชน์ทีควรจะได้ถ้าใช้เวลานั้นไปทำประโยชน์อย่างอื่น และบางทียังทำให้ประโยชน์ที่ได้มาแล้วพลอยเสียไปอีก

         การจะกล่าวสัมผัปปลาปะได้ ต้องมีอกุศลเจตนาเป็นต้นเหตุ องค์แห่งสัมผัปปลาปะมี ๒ คือ
 

        ๑. นิรตฺถกถาปุรกฺชาโร                     ตั้งใจกล่าววาจาที่ไม่เป็นประโยชน์
 

        ๒. กฤนํ                                          กล่าววาจาที่ไม่เป็นประโยชน์นั้นขึ้น


          เมื่อครบองค์ ๒ และผู้ฟังเชื่อจึงจะสำเร็จกรรมบถ ถ้าผู้ฟังไม่เชื่อ ก็ไม่ก้าวล่วงกรรมบถ ในข้อ ๑. การกล่าวเรื่องราวที่ไม่เป็นจริง ถ้าผู้กล่าวหรือผู้ประพันธ์ตั้งใจแต่งขึ้นเพื่อให้ผู้ฟังหรือผู้อ่านเชื่อ ติดใจในคำพูดของตนแก่ผู้ฟังผู้อ่าน ถ้อยคำดังกล่าวเป็นสัมผัปปลาปะทำให้เกิดความเข้าใจผิดและเสียประโยน์

 

          แม้ถ้อยคำเหล่านั้นจะไม่ใช่ความจริง แต่ผู้กล่าวหรือผู้ประพันธ์มีเจตนายกขึ้นเป็นตัวอย่าง หรือข้ออุปมาประกอบการสอน เพื่อให้ผู้ฟังหรือผู้อ่านเข้าใจง่าย ได้รับคติธรรมอย่างหนึ่งอย่างใด คำกล่าวนั้นไม่จัดเป็นสัมผัปปลาปะ
 

         ถ้าเรื่องที่กล่าวที่ประพันธ์นั้นเป็นเรื่องเกิดขึ้นจริง แต่ผู้ฟังผู้อ่านไม่ได้รับประโยชน์แต่อย่างใด ไม่จัดเป็นสัมผัปปลาปะ เป็นเพียงการบอกหรือเขียนข่าวธรรมดา
 

         ผู้ที่พูดสนุกสนานเฮฮา กล่าวเรื่องเหลวไหลไร้ความจริงอันเป็นสัมผัปปลาปะที่ไม่จัดว่าเป็นมุสาวาท เพราะผู้พูดไม่มีเจตนาจะมุสา เป็นแต่เพ้อเจ้อไป ถ้าผู้พูดมีเจตนามุสาปนอยู่ ทั้งผู้ฟังก็หลงเชื่อไปด้วย จึงจะเป็นมุสาวาท
 

         คำพูดที่จัดเข้าเป็นนิรตฺถกถา คือคำพูดที่ไม่มีประโยชน์หาสาระมิได้ มีอยู่ ๓๒ อย่าง ที่เรียกว่า ดิรัจฉานกถา ๓๒ ที่พระพุทธองค์ทรงแสดงไว้ใน สามัญญผลสูตร แห่งสีลขันธวรรคพระบาลี คือ
 

         ๑. ราชกถํ                            เรื่องต่าง ๆ เกี่ยวกับพระราชา และพระราชวงศ์
 

         ๒. โจรกถํ                            เรื่องโจรต่าง ๆ
 

         ๓. มหามตฺตกถํ                    เรื่องอำมาตย์ราชมนตรี คณะรัฐบาล
 

         ๔. เสนากถํ                         เรื่องทหาร ตำรวจ ข้าราชการ
 

         ๕. ภยกถํ                            เรื่องภัยต่าง ๆ
 

         ๖. ยุทฺธกถํ                          เรื่องยุทธศาสตร์ การสงคราม
 

         ๗. อนฺนกถํ                         เรื่องอาหารต่าง ๆ มีข้าวและกับเป็นต้น
 

         ๘. ปานกถํ                         เรื่องเครื่องดื่มต่าง ๆ
 

         ๙. วตฺถกถํ                         เรื่องเสื้อผ้าเครื่องนุ่มหุ่มต่าง ๆ
 

       ๑๐. สยนกถํ                         เรื่องที่นอน
 

       ๑๑. มาลากถํ                       เรื่องดอกไม้ต่าง ๆ
 

       ๑๒. คนฺธกถํ                        เรื่องกลิ่นหอมต่างๆ
 

       ๑๓. ญาติกถํ                       เรื่องวงศาญาติ            
 

       ๑๔. ยานกถํ                       เรื่องยานพาหนะต่างๆ
 

       ๑๕. คามกถํ                       เรื่องหมู่บ้านต่าง ๆ
 

       ๑๖. นิคมกถํ                      เรื่องนิคมต่าง ๆ
 

      ๑๗. นครกถํ                       เรื่องจังหวัดหรือเมืองต่าง ๆ
 

      ๑๘. ชนปทกถํ                    เรื่องชนบทต่าง ๆ
 

      ๑๙. อิตฺถิกถํ                       เรื่องผู้หญิง
 

      ๒๐. ปุริสกถฺ                       เรื่องผู้ชาย
 

       ๒๑. กุมารกถํ                     เรื่องเด็กชาย


       ๒๒. กุมารีกถํ                     เรื่องเด็กหญิง
  
       ๒๓. สุรกถํ                         เรื่องความกล้า

 

       ๒๔. วิสิขากถํ                    เรื่องถนนหนทางต่างๆ
          

       ๒๕. กุมฺภฎฺฐานกถํ               เรื่องท่านํ้าต่าง ๆ
 

        ๒๖. ปุพฺพเปตกถ์                 เรื่องญาติที่ล่วงลับไปแล้ว
 

        ๒๗. นานตฺตกถํ                    เรื่องราวร้อยแปดต่าง ๆ
 

        ๒๘. โลกกฺุขายิกํ                   เรื่องโลกและผู้สร้างโลก
 

        ๒๙. สมุทฺทกขายิกํ                เรื่องมหาสมุทรและผู้สร้าง
 

        ๓๐. อิติภวาภกถํ                   เรื่องความเจริญและความเสื่อมลง
 

        ๓๑. อรญฺฺญกถํ                       เรื่องป่าต่าง ๆ
 

        ๓๒. ปพฺพตกถํ                      เรื่องภูเขาต่าง ๆ
 

             คำพูดสัมผัปลาปะเหล่านี้ ส่วนมากผู้ที่นำมาใช้คือผู้ที่เล่นมหรสพต่าง ๆ และผู้ที่เป็นนักประพันธ์เขียนเรื่องอ่านเล่นที่ไม่มีคติธรรมแต่อย่างใดเลย
 

            ในพุทธภาษิตสฬายตนสังยุตตพระบาลี บุคคลจำพวกนี้ เมื่อตายแล้วย่อมไปบังเกิดในปหาสนิรยะ อันเป็นส่วนหนึ่งของอวีจีมหานรก
 

           ด้วยเหตุที่ดิรัจฉานกถาอันเป็นทางให้คนสามารถพูดสัมผัปปลาปะมีมากมายหลายเรื่องดังกล่าวแล้ว ปุถุชนคนธรรมดาจึงยากที่จะหลีกเลี่ยงจากการพูดถึงเรื่องเหล่านี้
 

            พระพุทธเจ้าทรงอบรมเหล่าสาวกทั้งหลายอยู่เสมอว่า
 

            “ทฺวินฺนํ โว ภิกฺขเว สนฺนิบัติตานํ ทฺวยํ กรณียํ ธมฺมี วา กถา ตุณฺหีภาโว วา"
 

           ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายเมื่อได้มีการพบกันระหว่าง ๒ องค์แล้ว การงานที่ควรประพฤตินั้นมี ๒ อย่าง คือกล่าวถ้อยคำเกี่ยวกับธรรมะ หรือมิฉะนั้นก็นิ่งเฉยเสีย
 

         ในองค์ที่ ๒ "กถนํ " แสดงถึงปโยคะกล่าวออกมาทางวาจา แต่ใช้วิธีเขียนถ้อยคำเหล่านั้นก็เป็นกายปโยคะ
 

         การกล่าวสัมผัปปลาปะ จะมีโทษหนักหรือเบาขึ้นอยู่กับการกระทำบ่อยครั้ง ผู้ใดกระทำอยู่สม่ำเสมอย่อมมีโทษมากกว่าผู้ที่กล่าวนานๆครั้ง
 

         มุสาวาท ปิสุณวาจา ผรุสวาจา สัมผัปปลาปะ ทั้ง ๔ อย่างนี้ที่ได้ชื่อว่าวจีกรรมเพราะเกิด วจีทวารเสียเป็นส่วนมาก วจีทวารในที่นี้มุ่งหมายเอาวจีวิญญัติ (การเปล่งวาจาให้ผู้ฟังรู้ความหมาย) ไม่หมายถึง สัททวาจา (เสียงที่เปล่งออกมา) วิรตีวาจา (การเว้นจากวจีทุจริต) เจตนาวาจา (เจตนาที่ทำให้วจีวิญญัตติรูปเกิด) หมายเอา โจปนวาจา คือ กิริยาอาการพิเศษที่เป็นไปอยู่ในคำพูดซึ่งสามารถให้ผู้ฟังรู้ความประสงค์ของตนได้ เท่านั้น
 

๘. อภิชฺฌา
 

            อภิชฺฌา มีคำว่า อภิ เป็นคำนำหน้า และคำ เฌ ตามหลัง
 

            อภิ แปลว่า เฉพาะหน้า
 

            เฌ แปลว่า คิดถึง
 

            รวมกันแล้ว แปลว่า คิดถึงเฉพาะหน้า หมายถึงคิดเพ่งเล็งในทรัพย์สมบัติของผู้อื่นเฉพาะหน้า
 

            ธรรมที่เป็นเหตุให้เกิดอภิชฌา คือ โลภะ
 

            ความจริงโลภะ มีอยู่ ๒ ชนิด
 

           ๑. ธรรมิยโลภะ     ความพอใจอยากได้โดยชอบธรรม
 

           ๒. อธรรมิยโลภะ   ความพอใจอยากได้โดยไม่ชอบธรรมอภิชฌา เป็นอธรรมิยโลภะ
 

           โดยธรรมดาคนทั่วไป เมื่อพบเห็นในอารมณ์ที่ดีต่าง ๆ ไม่ว่าทางตา หู จมูก ลิ้น กาย มักเกิดความพึงพอใจ เมื่อพอใจก็ใครได้ไว้ในครอบครอง จึงต้องพยายามแสวงหาด้วยวิธีการต่าง ๆ ถ้าหาได้มาด้วยความสุจริต เช่นการซื้อ การแลกเปลี่ยน การขอ ความพอใจอยากได้ของคนประเภทนี้เป็นธรรมยโลภะ ไม่ใช่เป็นอภิชฌา
 

           ส่วนบุคคลที่เมื่อมีความพอใจอยากได้เกิดขึ้นแล้ว กลับเพ่งเล็งอยากได้ของเหล่านั้นมาเป็นของตนโดยความไม่ชอบธรรม ไม่อยากซื้อ ไม่ยอมแลกเปลี่ยน ไม่ขอ แต่คิดหาหนทางจะขโมย โกง ข่มขู่บังคับเพื่อให้ได้สิ่งเหล่านั้นมาเป็นของตน ความพอใจอยากได้ประเภทนี้คือตัว อภิชฌา เป็นอธรรมยโลภะ
 

           อภิชฌา เมื่อเข้าครอบงำในจิตใจของผู้ใด ย่อมทำให้ผู้นั้นเกิดความละโมภในทรัพย์สมบัติของผู้อื่น ที่เขาหามาได้ด้วยการงาน ปัญญา และความพากเพียร ส่วนตนเมื่ออยากได้ไม่คิดจะเหน็ดเหนื่อย ลำบากดังเช่นเจ้าของ แต่กลับอยากได้โดยวิธีง่าย ๆ ใน
ทางทุจริต ไม่คำนึงถึงความเดือดร้อนที่ผู้เป็นเจ้าของจะได้รับ

           ความคิดอยากได้ที่เรียกว่า อภิชฌานี้ สำหรับกัลยาณชนแม้ยังอยู่ในชั้นเพียงความคิด ยังมิได้ลงมือ กระทําออกมาทางกาย ทางวาจา ก็ถือว่าความนึกคิดเช่นนี้เป็นสิ่งน่ารังเกียจ น่าเกลียดน่ากลัว น่าละอายมาก แต่สำหรับผู้ถูกอภิชฌาครอบงำแล้ว จะกลับเห็นเป็นสิ่งดีงามควรกระทำไปเสีย
 

          องค์แห่งอภิชฌา มี ๒ อย่างคือ
 

         ๑. ปรภณฺฑํ                    ทรัพย์สมบัตินั้นเป็นของผู้อื่น
 

         ๒. อตฺตโนปริณามนํ        มีจิตคิดให้ของนั้นเป็นของตน

         ใน ปราณฺฑํ มุ่งหมายเอาอวิญญาณกทรัพย์ ทรัพย์ที่ไม่มีวิญญาณครองทั้งหมดส่วนสวิญญาณกทรัพย์ หมายเอาเพียงสัตว์เลี้ยง มนุษย์ที่เป็นทาส หรือที่เป็นคู่หมั้น คู่ครอง ส่วนบุคคล ๘ ประเภทข้างต้นในกรรมบถข้อกาเมสุมิจฉาจารนั้น ถ้าผู้ใดคิดปรารถนาใครได้เป็นคู่ครองแล้ว ไม่ถือเป็นอภิชฌา
 

๙. พยาบาท
 

            "พฺยาปชฺชติ หิตสุขํ เอเตนาติ = พฺยาปาโท ประโยชน์และความสุขย่อมเสียหายไปด้วยโทสะนี้ ฉะนั้น โทสะนี้จึงชื่อว่าพยาบาท”
 

           ความโกรธ ความไม่พอใจที่เป็นไปโดยธรรมดา ที่คนส่วนมากเป็นกันอยู่ ยังไม่จัดเข้าเป็นมโนทุจริต ถือเป็นพยาปาทกายคันถะ คือความโกรธที่สามารถเกี่ยวคล้องนามกาย รูปกายในปัจจุบัน กับในอนาคตเข้าด้วยกัน โทสะที่เป็นพยาบาทมโนทุจริตนั้นเป็นโทสะชนิดหยาบมาก มีอาการมุ่งร้ายต่อผู้อื่น มีความปรารถนาที่จะทำลายประโยชน์และความสุขของผู้อื่นให้เสียหายไป เช่นเมื่อมีความโกรธผู้ใดแล้ว ก็คิดในใจว่า จะทำอย่างไรดีที่จะทำให้ผู้นั้นเกิดความพินาศเสียหาย หรือนึกแช่งให้ได้รับความทุกข์ ความเดือดร้อนต่าง ๆ จนถึง นึกให้ถึงแก่ความตาย
 

          องค์แห่งพยาบาทมี ๒ คือ
 

         ๑. ปรสตฺโต ผู้อื่น (มีอยู่)
 

         ๒. วินาสจินฺตา คิดให้ความเสียหายเกิดขึ้นแก่ผู้อื่นนั้น
 

            ถ้าครบองค์ ๒ นี้แล้ว โทสะที่เกิดขึ้นเรียกว่าล่วงกรรมบถ เป็นมโนทุจริต แต่ถ้าเป็นการคิดร้ายต่อตัวเอง เช่น คิดอยากฆ่าตัวตาย ไม่ถือเป็นการล่วงกรรมบถ เพราะขาดปรสตฺโต

            เจตนาของพยาบาท ต่างกับ วธกเจตนาในเรื่องปาณาติบาต (วธกเจตนา มีจิตคิดจะฆ่า) วธกเจตนา เป็นเจตนาที่เกี่ยวกับทางกาย เป็นวีติกกมกิเลส (กิเลสอย่างหยาบ)กําจัดได้ด้วยการรักษาศีล
 

          ส่วนเจตนาของพยาบาทนั้น เป็นเจตนาทางใจ จัดเข้าในปริยุฏฐานกิเลส (กิเลสอย่างกลาง) กิเลสขั้นนี้สามารถกำจัดได้ด้วยการกระทำสมาธิ ถ้าเป็นอนุสัยกิเลส (กิเลสอย่างละเอียดที่นอนเนื่องในขันธสันดาน จึงต้องใช้ปัญญากำจัด)
 

         โทษหนักเบาของความพยาบาท ขึ้นอยู่กับบุคคลที่ถูกปองร้าย ถ้าเป็นผู้มีคุณธรรมสูง เช่น มีศีลคุณ สมาธิคุณ ปัญญาคุณ ผู้ใดคิดพยาบาทย่อมมีโทษมากเป็นมหาสาวัชชะ ถ้าเป็นผู้ไม่มีศีลธรรม หรือมีบ้างก็เป็นส่วนน้อย ก็มีโทษน้อย เป็น อัปปสาวัชชะ
 

๑๐. มิจฉาทิฏฐิ
 

            มิจฉาทิฏฐิ มีคำว่า มิจฉา กับคำว่า ทิฏฐิ รวมกัน
 

            มิจฉา แปลว่า ผิด วิปริต
 

            ทิฏฐิ แปลว่า ความเห็น
 

            มิจฉาทิฏฐิ แปลว่า ความเห็นที่วีปริต ผิดแผกไปจากความเป็นจริง
 

           ตามธรรมดาทิฏฐิเจตสิกที่เกิดร่วมกับจิตที่มีความโลภเป็นประธานนั้น ย่อมมีสภาพทำให้เห็นผิดไปจากความเป็นจริงของสภาวธรรมทั้งปวง ผู้มีมิจฉาทิฏฐิจะไม่ยอมเชื่อ ไม่เลื่อมใสในคำสอนของสัปบุรุษ และบัณฑิตทั้งหลาย มักมีความประพฤติตรงข้ามกับคําสั่งสอนเหล่านั้น
 

          เรื่องมิจฉาทิฏฐิ มีอยู่หลายประเภท เช่น
 

          สักกายทิฏฐิ ยึดมั่นในขันธ์ ๕ ว่าเป็นตัวเป็นตน ถือเราถือเขา
 

          มิจฉาทิฏฐิ ๖๒ ที่แสดงไว้ในพรหมชาลสูตร แห่งสีลขันธวรรค
 

          นิยตมิจฉาทิฏฐิ ๓ ที่แสดงไว้ในสามัญญผลสูตรแห่งศีลขันธวรรค
 

          มิจฉาทิฏฐิในมโนทุจริต มุ่งหมายเอาเพียงนิยตมิจฉาทิฏฐิทั้ง ๓ ที่สำเร็จเป็นกรรมบถ ส่วนมิจฉาทิฏฐิอื่น ๆ เป็นแต่เพียงทิฏฐิสามัญ
 

          นิยต แปลว่า แน่นอน เที่ยงแท้ นิยามิจฉาทิฏฐิ หมายถึงความเห็นผิดชนิดร้ายแรง หลังจากตายแล้วส่งผลให้เกิดในนรกทันที โดยไม่มีระหว่างคั่น คือไม่สามารถเกิดในภพภูมิอื่นได้ นอกจากในนรกเท่านั้น เรียกว่าไม่มีภพภูมิอื่นมาคั่น เป็นผลกรรมที่ต้องได้รับโดยแน่นอน
 

           นิยามิจฉาทิฏฐิทั้ง ๓ มีดังนี้คือ
 

           ๑. นัตถิกทิฏฐิ      มีความเห็นว่า จะทำสิ่งใดก็ตาม ทำแล้วก็แล้วกันไป ไม่มีผลเกิดขึ้น (ปฏิเสธผล)
 

           ๒. อเหตุกทิฏฐิ    มีความเห็นว่า สัตว์ทั้งหลายที่กำลังเป็นไปอยู่ หรือเรื่องต่าง ๆ อะไรก็ดี ไม่ได้มาจากเหตุ ทุกสิ่งทุกอย่างเกิดขึ้นได้                                         เอง (ปฏิเสธเหตุ)
 

           ๓. อกิริยาทิฏฐิ    มีความเห็นว่า การกระทำต่าง ๆ ของสัตว์ทั้งหลาย ไม่สําเร็จเป็นบุญเป็นบาปแต่อย่างใด (ปฏิเสธทั้งเหตุ และผล)
 

         ๑. นัตถิกทิฏฐิ ในมิจฉาทิฏฐิทั้ง ๓ อย่าง ผู้ที่มีนัตถิกทิฏฐิ ย่อมมีอุจเฉททิฏฐิ คือเห็นว่าสัตว์ทั้งหลายตายแล้วสูญ ไม่มีการเกิดอีก และมีความเห็นดังต่อไปนี้
 

         นตฺถิ ทินฺนํ การทำบุญ ทำทาน กระทำแล้วย่อมไม่ได้รับผลแต่ประการใด
 

         นตฺถิ ยิฏฺฐํ การบูชาต่าง ๆ กระทำแล้วไม่ได้รับผลแต่อย่างใด
 

         นตฺถิ หุตํ การเชื้อเชิญต้อนรับต่าง ๆ ไม่ได้รับผลแต่อย่างใด
 

         นตฺถิ สุกทุกฺกฏานํ กมฺมานํ ผลํวิปาโก การทําดีทำชั่วไม่ได้มีผลอะไรอย่างใดทั้งทางตรงและอ้อม
 

         นตฺถิ อยํ โลโก ภพนี้ไม่มี คือผู้ที่กำลังเกิดปรากฏอยู่ในปัจจุบันคือภพนี้ไม่มีตายแล้วไม่มีการเกิดอีก
 

         นตฺถิ ปโร โลโก ภพหน้าไม่มี เพราะตายแล้วจะไม่เกิดอีก
 

         นตฺถิ มาตา การทำดีทำชั่วต่อมารดา ไม่มีผลอะไร
 

         นตฺถิ ปิตา การทําดีทําชั่วต่อบิดา ไม่มีผลอะไร
 

         นตฺถิ สตฺตา โอปปาติกา สัตว์ที่เกิดโดยเติบโตทีเดียว คือสัตว์นรก เปรต เทวดา พรหม ไม่มี
 

         นตฺถิ โลเก สมณพฺราหฺมณา สมฺมคุตตา สมฺมาปฏิปนฺนา เย อิมญฺจ โลกํ ปรญฺจ โลกํ สยํ อภิญฺญา สจฺฉิกตฺวา ปเวเทนฺติ สมณพราหมณ์ที่มีการรู้แจ้งโลกนี้โลกหน้าด้วยตนเอง และสามารถชี้แจงแนะนำให้ผู้อื่นเข้าใจได้ สมณพราหมณ์ที่ถึงพร้อมด้วยความสามัคคี ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบเหล่านี้ไม่มี (หมายความว่าผู้ที่กระทำ "สมถะ วิปัสสนา ได้ฌาน มรรคผลไม่มี ผู้ที่ถือเพศเป็นบรรพชิตปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ ในโลกนี้ไม่มี ที่เห็นกันอยู่ล้วนแต่เป็นเรื่องเหลวไหล ปฏิบัติเพียงเพื่อเป็นอาชีพของตนเท่านั้น)
 

         ผู้ที่มีนัตถิกทิฏฐิ ปฏิเสธผลนี้ เท่ากับปฏิเสธอำนาจของกุศล อกุศลเจตนา ที่เป็นเหตุของผลต่าง ๆ เหล่านั้น ความเห็นผิดชนิดนี้ย่อมไม่เชื่อบุญ บาป นรก สวรรค์ เป็นอันตรายต่อตนเองยิ่งนัก คนประเภทนี้เมื่อตายแล้วต้องบังเกิดในนิรยภูมิโดยแน่นอนสถานเดียว หนทางแก้ไขต้องกระท่าดังนี
 

          ๑. ต้องอบรมตนให้เกิดปัญญาในทางพระพุทธศาสนา โดยเฉพาะการปฏิบัติวิปัสสนาจนบรรลุผล
 

         ๒. ต้องศึกษาพระอภิธรรมทั้งปริยัติและปฏิบัติ ให้เข้าใจสภาวะความเป็นจริงต่าง ๆ ทั้งทางวัตถุและจิตใจ
 

         ๓. หรือต้องเป็นผู้มีศรัทธาจริต เชื่อฟังคำสอนของบิดามารดาครูอาจารย์ที่มีความรู้ทางพุทธศาสนา
 

         ถ้าปฏิบัติตามข้อที่กล่าวนี้ จึงจะพ้นจากมิจฉาทิฏฐิได้ มิฉะนั้นแม้จะมีความรู้ทางโลกมากมายเพียงใด ก็ไม่สามารถช่วยให้ตนรอดพ้นจากอบายภูมิ เพราะมีทิฏฐิอันเลวทรามนั้น ด้วยความรู้ทางโลก เป็นแต่เพียงศึกษาเพื่อประกอบอาชีพการงานเลี้ยงชีวิตในอัตตภาพนี้เท่านั้น ช่วยตนเองในปรโลกไม่ได้
 

        ๒. อเหตุกทิฏฐิ ผู้ที่มีอเหตุกทิฏฐิ จะมีความเห็นว่า สัตว์ทั้งหลายที่ได้รับความสุขสบายหรือความทุกข์ยากลำบาก ไม่ได้อาศัยอะไรหรือสิ่งใดเป็นต้นเหตุ ความเป็นไปเหล่านั้นเกิดเป็นไปเอง ไม่มีเหตุให้เกิด (ชนกเหตุ) และเหตุที่ช่วยอุปถัมภ์ (อุปัตถัมภกเหตุ) มาประกอบในความเป็นไปของสัตว์นั้นแต่อย่างใด ความเห็นที่เป็นอเหตุกทิฏฐินี้เป็นความเห็นปฏิเสธเหตุ ถือว่าการทำดีทำชั่วที่กระทำกันอยู่ทุกวันนี้ ไม่เชื่อว่าจะเป็นเหตุก่อให้เกิดผลตามมาได้ในภายหน้า ดังนั้นการปฏิเสธเหตุอย่างนี้ จึงเท่ากับเป็นการปฏิเสธผลไปด้วยในตัว
 

          ๓. อกิริยทิฏฐิ ไม่เชื่อทั้งเหตุและผล มีความเห็นว่าสัตว์ทั้งหลายที่กระทำบุญก็ตาม กระทำบาปก็ตาม จะทําเองหรือใช้ให้ผู้อื่นกระทำก็ตาม ไม่ชื่อว่าทำบาปหรือทำบุญทั้งสิ้น เป็นสักแต่ว่ากิริยาอาการเท่านั้น ความเห็นดังนี้เป็นความเห็นปฏิเสธกรรมซึ่งเป็นตัวเหตุ จึงเท่ากับปฏิเสธผลของกรรมสําเร็จไปในตัว
 

           ในสมัยพุทธกาล มีหัวหน้าเดียรถีย์ที่เป็นมิจฉาทิฏฐิอยู่ ๓ คน ซึ่งพระพุทธเจ้าไม่ทรงสามารถทรมานให้เลิกเชื่อถือได้ เพราะทั้ง ๓ มีการยึดมั่นในทิฏฐิของตนเหนียวแน่นมาก คือ อชิตะ เป็นนัตถิกทิฏฐิ มักขลิโคสาละ เป็นอเหตุกทิฏฐิ และปุราณกัสสปะ เป็นอริยทิฏฐิ
 

           บรรดาสาวกของเดียรถีย์เหล่านี้ ในตอนแรกความเห็นผิดตามอาจารย์ยังมีกำลังอ่อน แต่เมื่อได้ท่องบ่นสาธยายมากเข้าเกิดความพอใจแน่นแฟ้น ก็ยึดมั่นเหนียวแน่นอย่างมากมายยิ่งว่าเป็นสิ่งถูกต้อง จิตเห็นผิดชนิดนี้เอง ส่งผลให้เกิดในนิรยภูมิอย่างแน่นอนหลังจากที่ตายลง
 

           เรื่องทิฏฐินี้มีสภาพความเป็นไปตรงกันข้ามกับปัญญา เป็นสภาวธรรมที่ไม่มีหนทางร่วมกันได้ เหมือนสีดำกับสีขาว เหมือนความมืดกับความสว่าง หรือเหมือนคนสองคนหันหลังชนกัน แล้วต่างวิ่งตรงไปข้างหน้าของตนเอง จึงต้องออกห่างกันไปทุกที
 

           ปัญญา เมื่อได้รับการฝึกฝนให้เจริญสูงขึ้นเรื่อย ๆ โดยได้รับอุปการะจาก ศรัทธาวิริยะ สติ สมาธิแล้ว สามารถเจริญสูงสุดจนถึงรู้แจ้งในอริยสัจ ๔ ผู้มีปัญญาย่อมมีความเลื่อมใสเป็นพิเศษในพระรัตนตรัย เชื่อในกฎของกรรม เชื่อทั้งธรรมฝ่ายเหตุและผลเชื่อว่าเมื่อตายแล้วยังมีกิเลสอยู่ตราบใด จะต้องเกิดอีก เมื่อมีปัญญาถึงระดับสูงดังนี้ หมายความว่าปัญญาของผู้นั้นเข้าถึงขั้น สัมมัตตนิยต คือมีสภาพเป็นความดี และให้ผลดีแน่นอนพ้นจากการเกิดในอบายภูมิโดยสิ้นเชิง บรรลุเป็นพระโสดาบันบุคคลเป็นต้นไป
 

           ในทำนองเดียวกัน ฝ่ายด้านทิฏฐิ เมื่อได้รับการอุปถัมภ์จาก ความดำริผิด (มิจฉาสังกัปปะ) ความเพียรผิด (มิจฉาวายามะ) และมิจฉาสมาธิ จนแม้พระสัมมาสัมพุทธเจ้าก็ทรงโปรดไม่ได้ เพราะความยึดผิดนั้นเหนียวแน่นมาก ดังนั้นแล้ว เวลานั้นทิฏฐิของผู้นั้นก็เข้าถึงความเป็น มิจฉัตตนิยตะ คือเป็นทิฏฐิที่มีสภาพเป็นความชั่ว และให้ผลชั่วโดยแน่นอน ไม่มีความหวังที่จะได้บรรลุ มรรค ผล สำเร็จเป็นพระอริยบุคคลได้ แต่กลับต้องไปเสวยทุกข์ในอวีจีมหานรกเมื่อตายจากโลกนี้แล้ว เป็นเวลานานถึงความเห็นผิดชนิดมิจฉัตตนิยตะนี้มีโทษร้ายแรงยิ่งกว่า สังฆเภทกรรม
 

          ในบรรดาโทษของอกุศลกรรมทุกชนิด โทษที่เกี่ยวกับนิยตมิจฉาทิฏฐิเป็นโทษที่ร้ายแรงที่สุด ดังพระผู้มีพระภาคตรัสไว้ในอังคุตตรพระบาลีว่า
 

          "ปรมานิ ภิกฺขเว วชฺชานิ"

          ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความเห็นผิดชนิดที่เป็นนิยามิจฉาทิฏฐินี้ มีโทษอันยิ่งใหญ่ที่สุด

 

         ในอกุศลกรรมบถทั้ง ๑๐ ประการ ตามที่ได้กล่าวมาแล้วนั้น สาเหตุสำคัญที่ทำให้ทุจริตกรรมเหล่านี้เกิดขึ้นได้ ก็คือ มิจฉาทิฏฐิ คนมีมิจฉาทิฏฐิย่อมไม่ละอายและหวาดกลัวในการทำทุจริตทั้งทางกาย วาจา ใจ แต่ที่ไม่กล้ากระทำชั่วบางประการด้วยเกรงกฎหมายบ้านเมืองบ้าง เกรงเสื่อมเสียชื่อเสียงเกียรติยศตนเองและวงศ์ตระกูลบ้างไม่ได้เป็นไปเพราะมีปัญญาเข้าใจเรื่องของกรรม คนมีมิจฉาทิฏฐิเหล่านี้ถ้ามีหนทางหลบเลี่ยงเรื่องกฎหมาย หรือทำชั่วแล้วไม่มีผู้รู้เห็น แล้วย่อมกล้ากระทำชั่วทุจริตได้โดยเต็มใจ ถ้าหากจะมีการประกอบกุศลกรรมบ้าง ก็จะต้องเป็นไปเพื่อโฆษณาหาชื่อเสียง และเกี่ยวกับประโยชน์ส่วนตนเป็นที่ตั้ง กุศลกรรมของเขาจึงไม่ใช่กุศลอย่างประเสริฐ เป็นเพียงกุศลสามัญ ทำไปด้วยอำนาจของ ตัณหา มานะ ทิฏฐิ ไม่มีผลอันไพบูลย์ ด้วยเหตุนี้ จึงกล่าวได้ว่า การเกิดขึ้นของทุจริตต่าง ๆ ไม่ว่าทางกาย วาจา ใจ ล้วนแต่มีสาเหตุมาจาก มโนทุจริตทั้งสิ้น มโนทุจริต ข้อ อภิชฌา ย่อมเป็นต้นเหตุให้เกิด อทินนาทาน กาเมสุมิจฉาจาร มุสาวาทปิสุณวาจา สัมผัปปลาปะ มิจฉาทิฏฐิขึ้นได้
 

         พยาบาท เป็นต้นเหตุให้เกิด ปาณาติบาต อทินนาทาน มุสาวาท ปิสุณวาจา ผรุสวาจา สัมผัปปลาปะได้
 

         มิจฉาทิฏฐิ เป็นต้นเหตุให้เกิดทุจริตทั้ง ๑๐ ประการ
 

         การกระทำต่าง ๆ ที่เป็นอกุศลกรรม แต่ไม่ครบองค์คือไม่ก้าวล่วงกรรมบถ เช่นการเบียดเบียนสัตว์ด้วยการเฆี่ยนตี การตอนสัตว์ ซึ่งไม่ทำให้ถึงตาย แต่เป็นการกระทำที่ไม่ดี ก็เรียกว่าเป็นทุจริตตามทวารนั้น ๆ เช่นเป็นกายทุจริต (ทำไม่ดี) วจีทุจริต (พูดไม่ดี) มโนทุจริต (คิดไม่ดี) การทุจริตทุกประการ จะต้องมีเจตนาประกอบด้วยอยู่เสมอเจตนาเกิดขึ้นได้ตลอดทั้ง ๓ กาล
 

        ๑. ปุพพเจตนา เจตนาที่เกิดก่อนการกระทำ
 

        ๒. มุญจเจตนา เจตนาที่เกิดขึ้นในขณะกระทำ
 

        ๓. อปรเจตนา เจตนาที่เกิดขึ้นในเมื่อกระท่าไปแล้ว
 

        ในอกุศลกรรมบถทั้ง ๑๐ ประการนั้น ปาณาติบาต ผรุสวาจา พยาบาท ทั้ง ๓ นี้เกิดขึ้นเพราะอาศัยจิตที่มีโทสเจตสิกเป็นตัวมูลเหตุ กาเมสุมิจฉาจาร อภิชฌา มิจฉาทิฏฐิทั้ง ๓ เกิดขึ้นเพราะอาศัยจิตที่มีโลภเจตสิกเป็นตัวมูลเหตุ อทินนาทาน มุสาวาท ปิสุณวาจา สัมผัปปลาปะ เหล่านี้บางทีเกิดขึ้นเพราะอาศัยโลภะ เป็นสมุฏฐาน บางที่อาศัยโทสะเป็นสมุฏฐาน เช่น
 

        อทินนาทาน ถ้ากระทำเพราะอยากได้มาเป็นประโยชน์แก่ตนหรือพวกพ้อง เป็นอทินนาทาน ที่มีโลภะเป็นสมุฏฐาน ถ้ากระทำเพราะต้องการแกล้งให้เจ้าของทรัพย์เดือดร้อนทำเพื่อแก้แค้น ทำเพื่อให้เกิดการทะเลาะวิวาท เพราะมีความไม่พอใจกันอยู่ก่อน ถือว่าเป็นอทินนาทานที่มีโทสะเป็นสมุฏฐาน
 

        มุสาวาท กระทำเพราะมีโลภะเป็นสมุฏฐาน เช่นรับจ้างเป็นพยานให้การเท็จ เป็นต้น ถ้ามีโทสะเป็นสมุฏฐาน เช่นการกล่าวร้ายป้ายสีให้ผู้อื่นได้รับความเสียหายเดือดร้อน
 

        ปิสุณวาจา ที่มีโลภะเป็นสมุฏฐาน เช่นกล่าวยุยงส่อเสียดให้เขาโกรธ เกลียดกันแต่ให้มารักตน ถ้าเพียงให้เขาแตกแยกกันให้ได้ มีโทสะเป็นสมุฏฐาน
 

         สัมผัปปลาปะ ที่อาศัยโลภะเป็นสมุฏฐาน เช่นการกล่าวหรือเขียนเรื่องราวที่ไม่เป็นแก่นสาร ไร้สาระ ตลกคะนอง เพื่อสินจ้างรางวัล เพื่อความสนุกสนาน ส่วนที่กล่าวหรือเขียนเรื่องไร้สาระ ปรารถนาให้คนที่ตนไม่พอใจได้รับความเดือดร้อน ด้วยเรื่องเหลวไหลไร้สาระนั้น มีโทสะเป็นสมุฏฐาน
 

         อย่างไรก็ดี ที่กล่าวนี้เป็นเพียงถือเอาสมุฏฐานส่วนใหญ่ที่เกิด แต่อันที่จริงแล้วทุจริตทุกอย่าง เวลาเกิดอาจมีสมุฏฐานปะปนกันอยู่ทั้งโลภะ และโทสะ เพราะเจตนามีอยู่ถึง ๓ กาล แต่ละกาล สมุฏฐานอาจแตกต่างกัน
 

         ที่กล่าวมาแล้ว คือกรรมที่ประกอบแล้ว ย่อมส่งผลไปบังเกิดในอบายภูมิ ภูมิไดภูมิหนึ่ง เช่น ถ้าประกอบกรรมนั้นด้วยโทสะกล้าแข็ง มักต้องไปบังเกิดในนิรยภูมิ
 

         ประกอบกรรมนั้นด้วยโลภะจัด มักต้องไปบังเกิดใน เปติวิสยภูมิ
 

        ประกอบด้วยโมหะรุนแรง มักต้องไปเกิดในกำเนิดเดรัจฉาน หรือเหล่าอสุรกาย เป็นต้น
 

        ส่วนกรรมหนักอื่น ๆ เช่น อนันตริยกรรม ๕ อย่าง นิยตมิจฉาทิฏฐิ มักต้องไปบังเกิดในอวีจิมหานรก โดยเฉพาะมิจฉาทิฏฐิที่ร้ายแรงนั้น ต้องตกถึงโลกันตริยนรกแม้แต่จักรวาลจะถูกทำลายจนสิ้น ผู้มีนิยามิจฉาทิฏฐิเหล่านี้ถ้าไม่สำนึกกลับใจ ยังดื้อดึงยึดถือในทิฏฐิผิด ๆ เหล่านั้นต่อไป ก็ยังกลับมีสถานที่ลงโทษใหม่เกิดขึ้นให้ได้เสวยทุกข์ไม่มีที่สิ้นสุด

๕.๒ กรรมอันเป็นเหตุให้ไปสู่กามสุคติภูมิ ๗
 

          (กามสุคติภูมิ ๗ คือ มนุสสภูมิ ๑ เทวภูมิ อีก ๖ ชั้น) คือ กุศลที่เป็นกามาวจรกุศลกรรม เรียกได้หลายประการ ตามแต่จะแยกประเภท มี
 

          ๑. กุศลกรรม คือ กุศลกรรมบถ ๑๐ เป็นกายทวาร ๓ วจีทวาร ๔ มโนทวาร ๓
          ๒. กุศลกรรม คือ ทาน ศีล ภาวนา
          ๓. กุศลกรรม ที่เกิดจากการเกิดขึ้นของกุศลจิต ๘ ชนิด
          ๔. กุศลกรรม คือ บุญญกิริยาวัตถุ ๑๐ ประการ

 

        ๑. กุศลกรรมบถ ๑๐ มี
 

         กายกรรม ๓ คือ
 

         ๑. ปาณาติปาตวิรติ           เว้นจากการฆ่าสัตว์
         ๒. อทินนาทานวิรติ           เว้นจากการลักทรัพย์
         ๓. กาเมสุมิจฉาจารวิรติ     เว้นจากการประพฤติผิดในกาม

 

        วจีกรรม ๔ คือ
         ๑. มุสาวาทวิรติ                เว้นจากกล่าวคำเท็จ
         ๒. ปิสุณวาจาวิรติ             เว้นจากกล่าววาจาส่อเสียด
         ๓. ผรุสวาจาวิรติ              เว้นจากกล่าววาจาหบาบร้าย
        ๔. สัมผัปปลาปวิรติ           เว้นจากกล่าววาจาที่ไม่เป็นประโยชน์

 

         มโนกรรม ๓ คือ
         ๑. อนภิชฌา                   มีการสังวรเพื่อไม่ให้อภิชฌาเกิด

         ๒. อพยาปาท                 มีการสังวรเพื่อไม่ให้พยาบาทเกิด
         ๓. สัมมาทิฏฐิ                 มีความเห็นถูกต้อง

 

         ในกามาวจรกุศลกรรมทั้ง ๑๐ ประการ ย่อมต้องประกอบด้วยเจตนาในกาลทั้ง ๓ คือ ปุพพเจตนา มุญจเจตนา และอปรเจตนา ทั้งแบ่งประเภทแห่งการกระทำออกเป็น ๔ อย่าง
 

         ๑. สาหัตถิกสุจริต             กระทำด้วยตนเอง
         

         ๒. อาณัตติกสุจริต           ใช้ให้ผู้อื่นกระทำ

         ๓. วัณณภาสนสุจริต         กล่าวแสดงประโยชน์ของการกระทำสุจริตนั้น ๆ รู้คุณรู้โทษแล้วจึงกระทำ

 

         ๔. สมนุญญาสุจริต          มีความพอใจในการกระทำนั้น ๆ
 

        องค์ธรรมของกามาวจรกุศลกรรมมีดังนี้
 

        กายสุจริต หรือกายกรรม ๓ องค์ธรรม ได้แก่ สัมมากัมมันตเจตสิก สัมมาอาชีวะเจตสิก ในวิรตีเจตสิก ๓
 

       วจีสุจริต ๔ หรือ วจีกรรม องค์ธรรมได้แก่ สัมมาวาจาเจตสิก สัมมาอาชีวเจตสิก
 

       มโนสุจริต ๓ หรือ มโนกรรม อนภิชฌา องค์ธรรมได้แก่ อโลภเจตสิก
 

       อพยาปาท องค์ธรรม ได้แก่ อโทสเจตสิก
 

       สัมมาทิฏฐิ องค์ธรรม ได้แก่ ปัญญาเจตสิก
 

            กายกรรม วจีกรรม ที่เป็นทุจริต ต่างกับ กายกรรม วจีกรรม ที่เป็นสุจริต ตรงที่ฝ่ายทุจริตส่วนใหญ่จะต้องเกิดทางทวารนั้น ๆ คือเกิดทางกาย และทางวาจา ส่วนฝ่ายที่เป็นสุจริต แม้จะเรียกว่ากายกรรม วจีกรรม แต่สามารถเกิดทางใจก็ได้ คือเพียงตั้งใจวิรติ งดเว้นอกุศลกรรมในทวารนั้น ๆ ก็ถือเป็นกุศลกรรมแล้ว สรุปว่าสุจริตทางกาย วาจาสามารถกระทำได้ทั้ง ๒ ทาง คือนอกจากกระทำทางทวารนั้น ๆ ตามชื่อที่เรียกแล้ว ยังกระทำทางใจได้อีกทวารหนึ่งโดยการเจตนาวิรัติ
 

          การประกอบกุศลกรรมนั้น ควรถือหลักสำคัญ ๒ ประการคือ
 

         ๑. การงดเว้นจากทุจริตทั้งปวง ทั้งกาย วาจา ใจ
 

         ๒. การสังวร สำรวมระวังทั้ง กาย วาจา ใจ ถ้าไม่มีการสำรวมระวังแล้ว กาย วาจาใจ จะบริสุทธิ์ไม่ได้
 

        โดยปกติปุถุชนย่อมมีจิตใจไม่คงที่แน่นอน แม้ตั้งใจประกอบคุณงามความดีเป็นพื้นฐานอยู่แล้ว แต่ถ้าหากกระทบอารมณ์ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ที่เป็นอิฏฐารมณ์เข้าความพอใจย่อมเกิด เมื่อเกิดความพึงพอใจ ก็เป็นทางไหลมาสู่ตัณหา จิตใจย่อมอ่อนไหวเอนเอียงไม่มั่นคง หวนกลับไปสู่อกุศลต่าง ๆ อีกได้ การสำรวมระวังไม่ให้พบสิ่งยั่วยวนอารมณ์ต่าง ๆ จึงเป็นของจำเป็นยิ่ง เมื่อสำรวมระวังอยู่เสมอ กาย วาจา ใจก็บริสุทธิ์ เมื่อกาย วาจา ใจบริสุทธิ์ การประกอบกิจสิ่งใดย่อมได้รับผลดีเป็นพิเศษตามไปด้วย
 

        อย่างไรก็ดี ความสำรวมระวังนั้น มิใช่กระทำเพียงครั้งคราว ถ้าจะให้เกิดผลดีควรกระทำอยู่อย่างสม่ำเสมอ ให้จิตใจคุ้นเคยจนเสมือนเป็นความประพฤติอันเคยชินเป็นปกติ
 

        กุศลกรรมที่เรียกว่า กุศลกรรมบถ ๑๐ เป็นการเรียกโดยแยกตามทวาร
 

      ๒. กุศลกรรม ที่เรียกว่า ทาน ศีล ภาวนา เป็นการเรียกตามการแยกประเภทของการกระทํา
 

       ทาน       หมายถึง การบริจาควัตถุสิ่งของ หรือบริจาคความรู้สึกนึกคิด อันไม่สมควรบางประการต่อผู้อื่น

       ศีล         หมายถึง การรักษา กาย วาจา ให้เรียบร้อยเป็นปกติ
 

       ภาวนา    หมายถึง การอบรมจิตใจให้มี สมาธิ มีปัญญา
 

       ทาน ศีล ภาวนา เป็นกามาวจรกุศลกรรม จะครบองค์หรือไม่ครบองค์ก็ตามล้วนเป็นหนทาง (กมุมปก) ไปสู่สุคติ

ทาน
 

         คําว่า ทาน มีความหมาย ๒ ประการ คือ
 

         ๑. "ทียติ เอเตนาติ - ทานํ” ชนทั้งหลายจึงให้โดยเจตนานี้ ฉะนั้นเจตนาที่เป็นเหตุแห่งการให้ ชื่อว่า ทาน คำว่าทานในความหมายนัยแรก จึงหมายเอา ตัวเจตนา อันเป็นเหตุแห่งการให้ทานนั้นสำเร็จลง
 

         ๒. "ทาดพฺพนฺติ - ทานํ” สิ่งของอันใดที่ชนทั้งหลายจึงให้ ฉะนั้นสิ่งของอันนั้นชื่อว่า ทาน คำว่าทานในความหมายนัยที่สอง จึงหมายเอา วัตถุสิ่งของที่พึ่งให้
 

         ทานจึงมี ๒ อย่าง คือ เจตนาทาน และวัตถุทาน
 

         เจตนาทาน แบ่งตามกาลเวลาได้ ๓ ระยะ

         ระยะแรกก่อนให้ เรียก ปุพพเจตนา เป็นเจตนาที่เกิดขึ้นก่อนตั้งแต่ยังไม่ได้ให้เพียงเริ่มคิดจะทำบุญให้ทาน หรือตั้งแต่เริ่มทำการแสวงหาวัตถุสิ่งของที่จะใช้เป็นเทยยธรรม

 

         ระยะที่สองขณะกำลังให้ มุญจเจตนา เป็นเจตนาที่เกิดขึ้นขณะกำลังลงมือทำการบริจาคให้
 

        ระยะที่สามหลังจากการให้ อปรเจตนา เจตนาที่เกิดขึ้นหลังจากการให้ทานไปเสร็จเรียบร้อยแล้ว เช่นการตามนึกถึงด้วยความปลื้มปีติ อิ่มอกอิ่มใจ
 

        เจตนาทั้ง ๓ กาลนี้ หากมีโอกาสส่งผลขณะเวลาจิตจะปฏิสนธิในภพภูมิใหม่สามารถนำให้เกิดในกามสุคติภูมิ คือเป็นมนุษย์หรือเป็นเทวดาได้ ดังตัวอย่างเทพบุตรเทพธิดาบางองค์ ได้บังเกิดอยู่ในเทวภูมิ ด้วยผลบุญเพียงถวายดอกไม้ต่อพระขีณาสวเพียงดอกเดียว ไม่ต้องรู้จักกับทุคติภพเป็นเวลาตลอด ๘๐ โกฏิชาติ เพราะเวียนตายเวียนเกิดอยู่เพียงภพมนุษย์และเทวดาเท่านั้น
 

        (ผลจากกุศลกรรมที่ถวายดอกไม้ นำส่งให้ไปเกิดในสุคติภูมิ เฉพาะชาติที่สองที่ตายจากชาติที่ถวายดอกไม้เท่านั้น ส่วนกุศลกรรมที่ทำให้เกิดในสุคติภูมิในชาติถัด ๆ ไปเพราะผู้นั้นมีโอกาสกระทำกุศลกรรมเพิ่มเติมอยู่โดยสม่ำเสมอ)
 

       เรื่องเจตนาทั้ง ๓ กาลนี้ ผู้กระทำมิใช่มีพร้อมกันทีเดียวทั้ง ๓ บางครั้งมีเพียงอย่างเดียว บางครั้งจึงมีอย่างอื่นรวมอยู่ บางทีไม่มีเลยทั้ง ๓ อย่าง เช่นการที่ต้องกระทำทานโดยถูกบังคับเป็นต้น
 

        ในเจตนาทั้ง ๓ ถ้าจะกล่าวถึงเรื่องการเกิดว่ายากหรือง่ายแล้ว มุญจเจตนาเกิดได้ง่าย อปรเจตนาเกิดได้ยาก การกระทำทานใด ๆ ถ้ามีเจตนาไม่ครบทั้ง ๓ กาลแล้ว จะได้รับผลไม่ไพบูลย์ การได้เกิดเป็นมนุษย์เทวดานั้น มีความแตกต่างกันอยู่แล้ว แต่ในความเป็นมนุษย์หรือเทวดาด้วยกัน ยังมีความแตกต่างปลีกย่อยผิดกันไปอีกมากมายหลายชนิด เช่น ต่างกันด้วยรูปร่างกาย สมบัติต่างๆ ตลอดจนเหล่าบริวาร ที่เป็นไปดังนี้ล้วนแล้วแต่เนื่องจากเจตนาทั้ง ๓ กาล ของการประกอบกุศลกรรม ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการให้ทาน รักษาศีล เจริญภาวนา มีไม่เท่ากัน ผู้มีเจตนาครบทั้ง ๓ กาลย่อมสมบูรณ์กว่า ดังพระพุทธองค์ตรัสไว้ใน ฉฬังคุตตรพระบาลีว่า
 

        "ปุพฺเพว สุมโน ทานา ททํ จิตฺตํ ปสาทเย
        ทตฺวา อตฺตมโน โหติ เอสา ปุญฺญสฺส สมฺปทา ฯ"

 

        แปลความว่า จงมีความยินดีก่อนที่จะทำ จงยังความเลื่อมใสในขณะที่กำลังทำเมื่อทำเสร็จแล้ว จงยังความปลื้มใจให้เกิดขึ้น ความเป็นไปแห่งใจที่มีอาการทั้ง ๓ ดังนี้เป็นการทําบุญที่สมบูรณ์อย่างสูงสุด คือให้สําเร็จความปรารถนาของตนได้
 

        ส่วนวัตถุทาน ถือเอาความจำเป็นในการครองชีวิตของมนุษย์เป็นสิ่งสำคัญ คือปัจจัย ๔ มี

       ๑. เสื้อผ้าเครื่องนุ่งห่ม
     

      ๒. อาหาร ของกินเครื่องบริโภค
 

      ๓. ที่อยู่อาศัย บ้านเรือน ที่พักพิง

      ๔. เภสัช ยารักษาโรค

 

         วัตถุทานที่มีอานิสงส์มาก คือ วัตถุนั้นเป็นของบริสุทธิ์ ได้มาโดยชอบธรรม และเป็นของอันสมควรให้
 

        วัตถุทานแบ่งออกเป็นหลายหมวดหมู่ บางที่แบ่งเป็น ๒, ๓, ๔ และ ๕
 

        ก. แบ่งเป็น ๒ อย่าง นัยที่หนึ่ง ได้แก่
 

        ๑. อามิสทาน การให้วัตถุปัจจัยสิ่งของต่าง ๆ
 

        ๒. ธรรมทาน การให้ธรรมะเป็นทาน เช่นการแสดงธรรมเทศนา การสั่งสอนการสร้าง และแจกหนังสือธรรมะต่าง ๆ
 

       ในทาน ๒ อย่างนี้ ธรรมทานเป็นทานประณีตกว่าอามิสทาน ดังมีพระบาลีว่า "สพฺพทานํ ธมฺมทานํ ชินาติ" แปลว่า ธรรมทานย่อมชนะทานทั้งหมด
 

       ผลจากการให้อามิสทาน จะทำให้มีทรัพย์สมบัติวัตถุสิ่งของบริบูรณ์ ส่วนการให้ธรรมทานทําให้มีปัญญาดี
 

       การแบ่งทานออกเป็น ๒ อย่าง นัยที่สอง ได้แก่
 

       ๑. สาหัตถิกทาน การทําทานด้วยตนเอง
 

       ๒. อาณัตติกทาน ใช้ให้ผู้อื่นทำแทน

 ยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคล Total Execution Time: 0.081191953023275 Mins