ธรรมชาติฝ่ายนามธรรม คือ จิตใจ
จิต เป็นธรรมชาติชนิดหนึ่ง เกิดขึ้นในสรรพสัตว์ มีลักษณะรู้อารมณ์ต่าง ๆ ทั้งทาง ตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจเอง เป็นสภาพรับอารมณ์อยู่เสมอ จิตเป็นตัวรู้ สิ่งที่จิตรู้ สิ่งนั้นเรียกว่า “อารมณ์” เมื่อมีอารมณ์ต่าง ๆ อยู่ในโลก จิตจึงรับเอาอารมณ์นั้น ๆ เมื่อรับมาแล้ว ก็ทำหน้าที่ รู้ เมื่อรู้แล้ว ก็ทำหน้าที่ จ๋า เมื่อจำแล้วก็ทำหน้าที่ คิด ต่อไป การงานของจิตจึง "รับ (เห็น) ว่า คิด รู้” ในอารมณ์ต่าง ๆ ที่มากระทบ ดังคำบาลีว่า
จิตเตติ จิตติ อารมณ์ วิชานาติ อตฺโถ ฯ
ธรรมชาติใดย่อมคิดในอารมณ์ ธรรมชาตินั้นชื่อว่าจิต
จิตมีชื่อเรียกกันอยู่ถึง ๑๐ ชื่อ แต่ละชื่อแสดงให้รู้ถึงความหมายของคําว่าจิตทั้งสิ้น
คือ
ยํ จิตฺตํ มโน หทยํ มานสํ ปณฺฑรํ มนายตนํ มนินฺทฺรียํ วิญฺญาณฺ วิญฺญาณกฺขนฺโธตชฺชา มโนวิญฺญาณธาตุ อิทํ จิตฺตํ ฯ หมายถึง
๑. ธรรมชาติใดย่อมคิด ชื่อว่า จิต
๒. ธรรมชาติใดย่อมน้อมไปหาอารมณ์ ชื่อ มโน
๓. ธรรมชาติที่รวบรวมอารมณ์ไว้ภายใน ชื่อ หทัย
๔. ธรรมชาติ คือ ฉันทะที่มีอยู่ในใจ ชื่อ มานัส
๕. ธรรมชาติที่ผ่องใส จึงได้ชื่อ ปัณฑระ
๖. มนะนั่นเองเป็นเครื่องเชื่อมเครื่องต่อ จึงได้ชื่อ มนายตนะ
๗. มนะเป็นธรรมชาติครอบครองความเป็นใหญ่ จึงได้ชื่อ มนินทรีย์
๘. ธรรมชาติใดรู้แจ้งอารมณ์ จึงได้ชื่อ วิญญาณ
๙. วิญญาณนั่นเองเป็นขันธ์ จึงได้ชื่อ วิญญาณขันธ์
๑๐. มนะ เป็นธาตุชนิดหนึ่งที่รู้แจ้งซึ่งอารมณ์ จึงชื่อว่า มโนวิญญาณธาตุ
โดยที่จิตเป็นปรมัตถธรรม คือความจริงแท้ จิตจึงมีลักษณะทั้งสองอย่าง คือสามัญญ และวิเสส
สามัญญลักษณะ ได้แก่ อนิจจลักษณะ ทุกขลักษณะ และอนัตตลักษณะ เรียกว่า ไตรลักษณ์ของจิต
อนิจจัง ได้แก่ความไม่เที่ยง ไม่มั่นคง ไม่ยั่งยืน ไม่ตั้งอยู่ได้ตลอดกาล
ทุกขัง คือการทนอยู่ไม่ได้ ต้องมีอาการเกิดแล้วดับ ดับแล้วเกิด อยู่ร่ำไป
อนัตตา เป็นสิ่งที่ไม่มีตัวตน จะบังคับบัญชาให้ยั่งยืน ทนอยู่ มิให้เกิดตับ ไม่ได้เลย
แต่เนื่องจากระยะเวลาการเกิดดับของจิตรวดเร็วมาก สืบต่อเนื่องกันอย่างรวดเร็วที่สุด เหลือที่จะประมาณ หรือเปรียบเทียบกับความเร็วของสิ่งใด ๆ ปุถุชนคนธรรมดาทั่วไปอย่างเรา จึงไม่สามารถมองเห็น เลยเข้าใจเอาว่าจิตไม่มีการเกิดดับ ยั่งยืนอยู่จนตลอดชีวิตจึงดับลง เหมือนที่เรามองไม่เห็นความเกิดดับของกระแสไฟฟ้าชนิดกระแสสลับที่อยู่ในหลอดไฟ ซึ่งไปกลับ ไปกลับอย่างรวดเร็วเกินการมองเห็นด้วยตา ก็เข้าใจเอาว่ากระแสไฟฟ้าอยู่คงที่ดังนั้น ไม่ได้ไหลไปไหน
ส่วนวิเสสลักษณะของจิต มีครบถ้วนทั้ง ๔ ประการ คือ
วิชานน ลกฺขณํ มีการรู้อารมณ์ เป็นลักษณะ
ปุพฺพงฺคม รสํ เป็นประธานในธรรมทั้งปวง เป็นกิจ
สนฺธาน ปจฺจุปฏฺฐานํ มีการเกิดขึ้นต่อเนื่องกันไม่ขาดสาย เป็นอาการปรากฏ
นามรูป ปทฏฺฺฐานํ มีนามรูปเป็นเหตุใกล้ให้เกิด
จิตเป็นธรรมชาติที่ทำความเป็นอยู่ของสัตว์ทั้งหลายให้วิจิตร ความวิจิตรนั้นเป็นไปถึง ๖ ประการ คือ
๑. วิจิตรในการกระทํา คือทำให้งดงาม แปลก น่าพิศวง พิลึกพิลั่น มหัศจรรย์เช่นสิ่งของต่าง ๆ ที่มนุษย์ประดิษฐ์ขึ้น มีทั้งที่งดงามแปลกตา ท่าประโยชน์ ได้โดยอัศจรรย์ตลอดจนน่าเกลียดน่ากลัวได้ทั้งสิ้น
๒. วิจิตรด้วยตนเอง คือแม้ตัวของจิตเองก็วิจิตรน่าแปลก น่าพิศวงด้วยประการต่าง ๆ นานา จิตดีก็มี ชั่วก็มี สงบก็มี ฟุ้งซ่านก็มี จิตเบาปัญญาก็มี จิตมีปัญญามากก็มี จิตมีความจำเลอะเลือนก็มี ที่มีความจำเป็นเลิศก็มี วิจิตรไปต่าง ๆ สุดพรรณนา
๓. วิจิตรในการสั่งสมกรรมและกิเลส จิตนั่นเองเป็นสิ่งแปลกประหลาดก่อกรรมทำเข็ญ เพราะมีคุณสมบัติพิเศษสามารถสะสมเอากรรม และกิเลสต่าง ๆ ที่ตนเองทำเก็บเอาไว้ ไม่ว่าจะเป็นเวลาเนิ่นนานเพียงใดเก็บไว้ได้หมดข้ามภพข้ามชาติ ที่แปลกเป็นพิเศษตรงที่ว่า ไม่สามารถเลือกเก็บได้ กรรมบางอย่างไม่ปรารถนาจะเก็บ กลับทิ้งไปไม่ได้ จิตสั่งสมไว้หมด
๔. วิจิตรในการรักษาไว้ซึ่งวิบากที่กรรมและกิเลสได้สั่งสม หมายความว่ากรรมทั้งหลายไม่ว่าจะเป็นกรรมดี หรือกรรมชั่ว ที่จิตเป็นตัวการก่อใหเกิดขึ้น กรรมนั้นไม่สูญหายไปไหนเลย ช้านานปานใดยังคงไม่เสื่อมสูญคลายจาง เมื่อได้ช่องสบโอกาสเหมาะเป็นต้องตามให้ผลจนได้
๕. วิจิตรในการสั่งสมสันดานของตนเอง หมายถึงการกระทำากรรมอย่างใดก็ตาม ถ้ากระทำอยู่บ่อย ๆ เป็นเนืองนิจ จะติดฝังเป็นสันดานอยู่ในจิตให้ชอบกระทำ ชอบประพฤติอย่างนั้นเรื่อย ๆ ไป
๖. วิจิตรด้วยการรับอารมณ์ต่าง ๆ คืออารมณ์จะมีมามากน้อยเพียงใด จิตไม่เคยอิ่มเคยพอ เคยขอหยุดรับ จะรับอารมณ์ ได้ต่าง ๆ นานาไม่มีจำกัด แต่มักชอบรับอารมณ์ที่ไม่เป็นประโยชน์ หรืออารมณ์ที่ไม่ดี ไม่มีคุณค่าได้ง่ายกว่าอารมณ์ฝ่ายดี จิตจึงเป็นสิ่งน่ากลัวที่ควรต้องระวังสังวร ดังมีคาถาพระบาลีว่า
ทูรงฺคมํ เอกจรํ อสริรํ คูหาสยํ
เย จิตฺตํ สญฺญเมสฺสนฺติ โมกฺขนฺติ มารพนฺธนา ฯ
ชนทั้งหลายใด จักระวังจิต ซึ่งไปไกล ไปเดี่ยว ไม่มีสรีระ (รูปร่าง) มีคูหาเป็นที่อาศัย ไว้ได้ ชนทั้งหลายนั้นจักพ้นจากเครื่องผูก (พันธนาการ) ของมาร
ที่เราต้องระวังสังวรจิตเป็นพิเศษ เพราะจิตเป็นหัวหน้าเป็นประธานในการกระทำกรรมทั้งปวง ถ้าปล่อยไปไม่ใช้สติคอยควบคุมดูแลแล้ว จิตจะสั่งสมแต่กรรมชั่ว อันนําผลร้ายมาให้
จิตฺเตน นียเต โลโก จิตฺเตน ปริกสฺสติ
จิตฺตสสฺ เอกธมฺมสฺส สพฺเพล วสมนฺวคู
กุศลจิตย่อมน่าสัตวโลกไปสู่สุคติภูมิ อกุศลจิตย่อมจุดคร่าสัตวโลกให้ไปสู่อบายภูมิ สัตว์ทั้งหลายย่อมมีปกติเป็นไปตามอำนาจแห่งจิต
สรุปแล้ว
จิตสามารถประกอบสิ่งต่าง ๆ ให้วิจิตรพิสดารก็ได้ ทำตนเองให้วิจิตรก็ได้สัตว์ทั้งหลายที่วิจิตรพิสดารได้ด้วยตนเอง เพราะกำเนิดวิจิตร กำเนิดวิจิตร เพราะ การกระท่าทางกาย วาจา ใจ วิจิตรการกระทําทางกาย วาจา ใจ วิจิตร เพราะ ตัณหา คือความพอใจอันวิจิตรตัณหา วิจิตร เพราะ สัญญา คือความจดจำเรื่องราวต่าง ๆ วิจิตรสัญญาวิจิตร ก็เพราะจิตวิจิตร
จิตที่มีสภาพดีงามเรียกว่ากุศลจิต ย่อมนำสัตว์โลกไปสู่สุคติภูมิ ส่วนอกุศลจิต
ย่อมฉุดคร่าสัตวโลกไปสู่อบายภูมิ สัตว์ทั้งหลายมีการกระทำทางกายและวาจาแม้การคิด
ทางใจ ก็ด้วยตกอยู่ภายใต้อำนาจของจิตทั้งสิ้น ธาตุลมที่เกิดจากจิตเป็นสมุฏฐาน ทำให้
ร่างกาย ยืน เดิน นั่ง นอน เคลื่อนไหว ท่าอาการได้ต่าง ๆ ก็เพราะอาศัยความประสงค์
ของจิต ร่างกายที่เคลื่อนไหวปรากฏอาการกิริยาทั้งหลาย เหมือนรูปหุ่นที่ถูกจิตเช็ดให้
เป็นไปดังนั้น
จิตจะมีอาการเกิดขึ้นและดับไป เกิดขึ้นและดับไปอยู่ตลอดเวลา การเกิดดับนั้น
เป็นไปอย่างรวดเร็วมาก เร็วจนยากที่จะหาสิ่งใดมาใช้อุปมาเปรียบเทียบได้
โดยปกติถ้ากล่าวตามสภาวะลักษณะของจิตแล้ว จิตมีเพียง ๑ เท่านั้น ที่กล่าวว่ามี
มากเพราะ
จิต เป็นธรรมชาติชนิดหนึ่งที่มีอยู่ในสรรพสัตว์มีลักษณะรู้อารมณ์ต่าง ๆ ได้
จริง แต่จิตจะไม่เกิดขึ้น มีอยู่ หรือดับไปตามลำพังเป็นอันขาด จะมีธรรมชาติอีกชนิด
หนึ่งมาเป็นส่วนประกอบ เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป ควบคู่พร้อมอยู่ด้วยเสมอ ธรรมชาติ
อันนั้นเราเรียกกันว่า "เจตสิก"
เจตสิก เกิดเองไม่ได้ ต้องอาศัยเกิดกับจิต โดยลักษณะเหมือนให้จิตเป็นผู้นำ
เป็นหัวหน้า เจตสิกเป็นผู้ตาม เจตสิกก็เป็นธรรมชาติที่รู้อารมณ์ได้ แต่ต้องรู้ตามจิต รู้
เองไม่ได้ ธรรมชาติของเจตสิกจึงย่อมเกิดในจิต หรือประกอบอยู่ในจิตเป็นนิตย์ แยก
จากกันไม่ได้ และเจตสิกนี้เองมิใช่มีเพียงหนึ่งแต่มีถึง ๕๒ ชนิด
ถ้าจะอุปมาเปรียบเทียบว่า จิตเหมือนน้ำ เจตสิกก็คือ สีต่าง ๆ ที่ใช้ผสมอยู่ในน้ำ
ทำให้น้ำมีสีต่าง ๆ กันออกไป จิตก็ทำนองเดียวกัน มีคุณสมบัติเพียงประการเดียว คือ
สามารถรู้อารมณ์ได้ แต่เจตสิก มีหลายชนิด มีทั้งฝ่ายดี ฝ่ายเลว และฝ่ายกลาง ๆ ไม่ดี
ไม่เลว เมื่อเจตสิกชนิดใดเกิดร่วมกับจิต ทำให้จิตดูเสมือนรู้อารมณ์ต่างกันออกไป ราว
กับว่ามีจิตหลายชนิด เหมือนน้ำมีหลายสี ดังนั้นในการศึกษาเรื่องจิต เพื่อให้เข้าใจได้โดย
ง่าย จึงมักจะแยกจิตออกเป็นประเภทต่าง ๆ ถึง ๘๙ หรือ ๑๒๑ ชนิด ตามแต่ประเภทต่าง ๆ
ของเจตสิกประกอบอยู่
เจตสิก เมื่อแยกเป็นอย่าง ๆ ไป มีจำนวนต่างกันอยู่ ๕๒ อย่าง เวลาเข้าประกอบ
กับจิต จะแยกเข้าเป็นพวก ๆ ไม่ใช่เข้าประกอบกันทีเดียวพร้อมกันทั้ง ๕๒ อย่าง เมื่อเข้า
ประกอบกับจิตแล้ว จะมีลักษณะดังนี้ คือ
๑. เกิดพร้อมกับจิต
๒. ดับพร้อมกับจิต
๓. มีอารมณ์เดียวกันกับจิต
๔. มีที่อาศัยเกิดอย่างเดียวกันกับจิต
๑. เกิดพร้อมกับจิต (เอกุปปาทะ) หมายความว่า เมื่อจิตเกิด เจตสิกก็เกิดขึ้นด้วยกันทันที จะว่าจิตเกิดก่อน เจตสิกเกิดตามทีหลัง หรือ เจตสิกเกิดก่อน จิตเกิดตามหลัง ไม่ได้
๒. ดับพร้อมกันกับจิต (เอกนิโรธะ) ในทำนองเดียวกันเมื่อจิตดับ เจตสิกก็ดับด้วยกัน ไม่มีก่อนหรือหลัง
๓. มีอารมณ์เดียวกันกับจิต (เอกาลัมพนะ) อารมณ์ที่เจตสิกรับอยู่ ต้องเป็นอารมณ์เดียวกันกับที่จิตรับ เช่น จิตรับอารมณ์เรื่อง สีขาว เจตสิกก็รับเรื่องสีขาวด้วย จิตรับอารมณ์เรื่อง สีดา เจตสิก สีดำด้วย ไม่มีแตกต่างกันแม้แต่น้อย
๔. มีที่อาศัยเกิดอย่างเดียวกันกับจิต (เอกวัตถุกะ) เมื่อจิตอาศัยสิ่งใดเกิด เจตสิกย่อมอาศัยสิ่งนั้น เช่น จิตอาศัยตาเกิด เจตสิกก็อาศัตาเกิดด้วย จิตอาศัยหูหรือหัวใจเกิดเจตสิกก็อาศัยอย่างเดียวกัน
สำหรับลักษณะประการที่ ๔ นี้ สัตว์ที่เกิดในภูมิที่ไม่มีรูปขันธ์ มีแต่ขันธ์ ๕ อันเป็นนามธรรมฝ่ายจิตใจแล้ว เจตสิกก็ไม่ต้องอาศัยวัตถุคือ ตาหูจมูกลิ้นกาย แต่ประการใด คงอาศัยจิตเกิดเพียงอย่างเดียว
เจตสิก ๕๒ อย่างนี้ แบ่งออกเป็นพวกใหญ่ ๆ ได้ ๓ พวกคือ
๑. อัญญสมานเจตสิก คือ เจตสิกที่มีเสมอกันกับจิตพวกอื่น คือ เกิดหรือประกอบเข้าได้กับจิตทุกฝ่าย ทั้งฝ่ายดีและฝ่ายชั่ว มี ๓ อย่าง โดยแยกเป็น
๑.๑ สัพพจิตตสาธารณเจตสิก เจตสิกที่จำเป็นต้องเกิดขึ้นทั่วไปแก่จิตทุกชนิด มี ๗ อย่าง
๑.๑.๑ ผัสสะ ความกระทบอารมณ์ (ธรรมชาติที่กระทบอารมณ์)
๑.๑.๒ เวทนา ธรรมชาติที่เสวยอารมณ์ ว่าเป็นสุข เป็นทุกข์ หรือเฉย ๆ เป็นกลาง ไม่สุขไม่ทุกข์
๑๑.๓ สัญญา ธรรมชาติที่จ่าอารมณ์ได้
๑.๑.๔ เจตนา ธรรมชาติที่กระตุ้นเตือนและชักชวนธรรมที่เกิดร่วมกันในอารมณ์นั้น ๆ เพื่อให้ทำหน้าที่ของตน ๆ
๑.๑.๕ เอกัคคตา ธรรมชาติที่สงบและให้ธรรมที่เข้าประกอบอยู่ด้วยกัน ตั้งอยู่ในอารมณ์เดียว
๑.๑.๖ ชีวิตินทรีย์ ธรรมชาติที่รักษาธรรมที่เกิดประกอบอยู่ร่วมกันให้คงอยู่
๑.๑.๗ มนสิการ ธรรมชาติที่มุ่งและนำธรรมที่เกิดประกอบอยู่ด้วยกันเข้าสู่อารมณ์ คือ ความใส่ใจ ความกระทำอารมณ์ไว้ในใจ
๑.๒ ปกิณณกเจตสิก เจตสิกที่ประกอบได้กับจิตแบบเรี่ยราย คือประกอบกับจิตบางชนิดได้ บางชนิดไม่ได้ ไม่แน่นอน มี ๖ อย่าง คือ
๑.๒.๑ วิตก ธรรมชาติที่ตรึกหรือคิดในอารมณ์
๑.๒.๒ วิจาร ธรรมชาติที่มีการเคล้าคลึง (ตรอง) ในอารมณ์
๑.๒.๓ อธิโมกข์ ธรรมชาติที่ตัดสินอารมณ์ (ความปักใจในอารมณ์)
๑.๒.๔ วิริยะ ธรรมชาติที่มีความพยายามในอารมณ์
๑.๒.๕ ปีติ ธรรมชาติที่มีความชื่นชมยินดีในอารมณ์
๑.๒.๖ ฉันทะ ธรรมชาติที่ปรารถนาอารมณ์ (ความพอใจในอารมณ์)
คำว่าอารมณ์ หมายถึงสิ่งที่มาสัมผัสทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ทางใดทางหนึ่ง
อัญญสมานเจตสิกทั้ง ๑๓ นี้ มีสภาพร่วมประกอบในจิตได้ ทั้งจิตที่เป็น โลกียะโลกุตตระ โสภณะ อโสภณะ กุศล อกุศล ฯลฯ ตามสมควร ต่างกับเจตสิกอีก ๒ ประเภท
๒. อกุศลเจตสิก มี ๑๔ อย่าง เจตสิกประเภทนี้ประกอบหรือเกิดขึ้นได้เฉพาะในจิตที่เป็นอกุศลเท่านั้น มีดังนี้คือ โมจตุกเจตสิก ๔ โลติกเจตสิก ๓ โทจตุกเจตสิก ๔ ทุกเจตสิก ๒ และวิจิกิจฉาเจตสิก ๑
๒.๑ โมจตุกเจตสิก ๔ ได้แก่ เจตสิกที่ยกโมหเจตสิกเป็นประธาน ประกอบในอกุศลจิตได้ทั้งหมด
๒.๑.๑ โมหะ ธรรมชาติที่ปิดบังสภาพตามความเป็นจริงไว้ คือ ความหลง ความโง่
๒.๑.๒ อหิริกะ ธรรมชาติที่ไม่มีความละอายต่อทุจริต
๒.๑.๓ อโนตตัปปะ ธรรมชาติที่ไม่กลัวต่อทุจริต
๒.๑.๔ อุทธัจจะ ธรรมชาติที่ฟุ้งซ่าน คือรับอารมณ์ไม่มั่น
๒.๒ โลติกเจตสิก ๓ ได้แก่ เจตสิกที่ยกโลภเจตสิกเป็นประธาน
๒.๒.๑ โลภะ ธรรมชาติที่มีความต้องการและติดใจในกามคุณอารมณ์
๒.๒.๒ ทิฏฐิ ธรรมชาติที่มีความเห็นผิดในอารมณ์
๒.๒.๓ มานะ ธรรมชาติที่มีความเย่อหยิ่งถือตัว
๒.๓ โทจคุณเจตสิก ๔ เจตสิกที่ยกโทสเจตสิกเป็นประธาน
๒.๓.๑ โทสะ ธรรมชาติที่ประทุษร้ายในอารมณ์
๒.๓.๒ อิสสา ธรรมชาติที่มีความไม่พอใจในคุณสมบัติหรือความดีของผู้อื่น
๒.๓.๓ มัจฉริยะ ธรรมชาติที่มีความหวงแหนทรัพย์สมบัติหรือคุณความดีของตน
๒.๓.๔ กุกกุจจะ ธรรมชาติที่มีความรำคาญใจในทุจริตที่ได้ทำไปแล้วและในสุจริตที่ไม่ได้ทํา
๒.๔ ถีทุกเจตสิก ๒ เจตสิกที่เกิดขึ้นในจิตแล้วทำให้เซื่องซึมง่วงเหงา
๒.๔.๑ ถีนะ ธรรมชาติที่ทำให้เกิดความหดหู่ท้อแท้ ทำให้จิตท้อถอยในอารมณ์
๒.๔.๒ มิทธะ ธรรมชาติที่ทำให้เซื่องซึมในอารมณ์
๒.๕ วิจิกิจฉาเจตสิก คือธรรมชาติที่มีความสงสัย ไม่ตกลงตัดสินใจลงไปได้ เช่น วิพากษ์วิจารณ์ในคุณพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์
๓. โสภณเจตสิก ๒๕ เป็นเจตสึกที่ดีงาม ไม่มีโทษ ประกอบอยู่ในจิตที่เป็นฝ่ายกุศลเท่านั้น ในจํานวนโสภณเจตสิกทั้ง ๒๕ นั้น เป็นโสภณสาธารณเจตสิก คือประกอบได้ในจิตที่เป็นฝ่ายกุศลโดยทั่วไปทั้งหมด ๑๙ ส่วนที่เหลืออีก ๖ ประกอบได้ในกุศลจิตบางประเภท
โสภณสาธารณเจตสิก ๑๙ คือ
๓.๑ ศรัทธา ธรรมชาติที่มีความเชื่อและเลื่อมใสในพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ตามความเป็นจริง เชื่อในกรรมและผลของกรรม
๓.๒ สติ ธรรมชาติที่มีความระลึกในอารมณ์ที่เกี่ยวด้วยกุศลธรรม มีคุณพระรัตนตรัย เป็นต้น
๓.๓ หิริ ธรรมชาติที่มีความเกลียด และละอายต่อการงานอันทุจริต
๓.๔ โอตตัปปะ ธรรมชาติที่สะดุ้งกลัวต่อการงานอันทุจริต
๓.๕ อโลภะ ธรรมชาติที่ไม่อยากได้ และไม่ติดอยู่ในกามคุณอารมณ์
๓.๖ อโทสะ ธรรมชาติที่ไม่ประทุษร้ายในอารมณ์
๓.๗ ตัตรมัชฌัตตตา ธรรมชาติที่ทำให้จิตสม่ำเสมอในกิจของตน ๆ ไม่ให้มีการยิ่งหย่อน
๓.๔ กายปัสสิทธิ ธรรมชาติที่เป็นความสงบของขันธ์ ๓ ที่เป็นฝ่ายเจตสิก (คือ เวทนา สัญญา สังขาร) ในการงานอันเป็นกุศล
๓.๙ จิตตปัสสัทธิ ธรรมชาติที่เป็นความสงบของจิตใจในการงานอันเป็นกุศล
๓.๑๐ กายลหุตา ธรรมชาติที่เป็นความเบาของเจตสิกขันธ์ ๓ ในการงานอันเป็นกุศล
๓.๑๑ จิตตลหุตา ธรรมชาติที่เป็นความเบาของจิตในการงานอันเป็นกุศล
๓.๑๒ กายมุทุตา ธรรมชาติที่เป็นความอ่อนของเจตสิกขันธ์ ๓ ในการงานอันเป็นกุศล
๓.๑๓ จิตตมุทุตา ธรรมชาติที่เป็นความอ่อนของจิตในการงานอันเป็นกุศล
๓.๑๔ กายกัมมัญญตา ธรรมชาติที่เป็นความควรของเจตสิกขันธ์ ๓ ในการงานอันเป็นกุศล
๓.๑๕ จิตตกัมมัญญตา ธรรมชาติที่เป็นความควรของจิตในการงานอันเป็นกุศล
๓.๑๖ กายปาคุญญตา ธรรมชาติที่เป็นความคล่องแคล่วของเจตสิกขันธ์ในการงานอันเป็นกุศล
๓.๑๗ จิตตปาคุญญตา ธรรมชาติที่เป็นความคล่องแคล่วของจิตในการงานอันเป็นกุศล
๓.๑๘ กายุชุกตา ธรรมชาติที่เป็นความซื่อตรงของเจตสิกขันธ์ ๓ ในการงานอันเป็นกุศล
๓.๑๙ จิตตุชุกตา ธรรมชาติที่เป็นความซื่อตรงของจิตในการงานอันเป็นกุศล
โสภณเจตสิกที่เหลือ คือ วิรตีเจตสิก ๓ อัปปมัญญาเจตสิก ๒ และปัญญินทรีย์เจตสิก ๑
วีรติเจตสิก ๓ ได้แก่ เจตสิกที่มีเจตนาเว้นจากทุจริตเป็นประธาน ประกอบด้วย
๓.๒๐ สัมมาวาจา การกล่าววาจาที่เว้นจากวจีทุจริต (ปด ส่อเสียด หยาบ เพ้อเจ้อ)
๓.๒๑ สัมมากัมมันตะ การกระทำที่เว้นจากกายทุจริต ๓ (ฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ประพฤติผิดในกาม)
๓.๒๒ สัมมาอาชีวะ การประกอบอาชีพที่เว้นจากวจีทุจริต ๔ กายทุจริต ๓อัปปมัญญาเจตสิก ๒ เป็นเจตสิกที่เกิดขึ้น เพราะอาศัยสัตว์ที่ได้รับความทุกข์หรือสัตว์ที่มีความสุขอยู่ รวมแล้ว คือ สัตว์ทั่วไปไม่จำกัด ได้แก่
๓.๒๓ กรุณา ธรรมชาติที่มีความสงสารต่อทุกข์ตสัตว์ คือผู้ที่ได้รับความล่าบากอยู่หรือจะได้รับความลำบากในกาลข้างหน้า
๒.๒๔ มุทิตา ธรรมชาติที่มีความยินดีต่อสุขิตสัตว์ คือผู้ที่กำลังได้รับความสุขหรือผู้ที่จะได้รับความสุขในกาลข้างหน้า
ปัญญินทรีย์เจตสิก เป็นเจตสิกที่มีหน้าที่ปกครองในการรู้สิ่งต่าง ๆ โดยทั่วไปตามความเป็นจริง
๒.๒๕ ปัญญา ธรรมชาติที่รู้สภาพธรรมโดยทั่วไปตามความเป็นจริง
เจตสิกทั้ง ๕๒ อย่างนี้ เมื่อเกิดร่วมกับจิต ย่อมทำให้คุณสมบัติของจิตแตกต่างกันออกไป มีประการต่าง ๆ เช่น ถ้าจิตขณะนั้นเกิดขึ้นพร้อมกับอกุศลเจตสิกก็จะกลายเป็นอกุศลจิต ถ้าเกิดพร้อมกับโสภณเจตสิกก็จะกลายเป็นกุศลจิตไป ส่วนจำนวนที่เจตสิกจะเข้าเกิดร่วมในจิตมีอัตราไม่เท่ากัน จิตบางชนิดมีเจตสิกเกิดร่วมด้วยถึง ๓๘ แต่บางชนิดมีเพียง ๗ เท่านั้น
จิต เมื่อเกิดร่วมกับเจตสิกต่าง ๆ ชนิด ทำให้เกิดเป็นจิตประเภทต่าง ๆ ได้ดังนี้
๑. อกุศลจิต ๑๒ อย่าง
๒. อเหตุกจิต ๑๘ อย่าง
๓. กามาวจรโสภณจิต ๒๔ อย่าง
๔. รูปาวจรจิต ๑๕ อย่าง
๕. อรูปาวจรจิต ๑๒ อย่าง
๖. โลกุตตรจิต ๔๐ อย่าง
รวม ๑๒๑ อย่าง
อกุศลจิต ๑๒ อย่าง
อกุศลจิต หมายถึงจิตที่มีโทษ ให้ผลตรงกันข้ามกับกุศลจิต เป็นจิตที่ประกอบด้วยอกุศลเจตสิก แยกออกเป็น โลภมูลจิต ๘ โทสมูลจิต ๒ โมหมูลจิต ๒
โลภมูลจิต หมายถึงจิตที่เกิดขึ้น โดยมีโลภเจตสิกเป็นมูล (รากฐาน) เป็นประธานมี ๘ อย่าง คือ
๑. จิตที่เกิดขึ้น พร้อมด้วยความโลภ ไม่มีการถูกชักชวน มีความยินดี ประกอบด้วยความเห็นผิด มีเจตสิกประกอบ ๑๙ อย่าง คือ อัญญสมานา ๑๓ โมจตุกะ ๔ โลภะ ทิฏฐิ
๒. จิตที่เกิดขึ้น พร้อมด้วยความโลภ มีการถูกชักชวน มีความยินดี ประกอบด้วยความเห็นผิด มีเจตสิกประกอบ ๒๑ อย่าง คือ อัญญสมานา ๑๓ โมจตุกะ ๔ โลภะทิฏฐิ ถีทุกะ ๒
๓. จิตที่เกิดขึ้น พร้อมด้วยความโลภ ไม่มีการถูกชักชวน มีความยินดี ไม่ประกอบด้วยความเห็นผิด มีเจตสิกประกอบ ๑๙ อย่างคือ อัญญสมานา ๑๓ โมจตุกะ ๔ โลภะ มานะ
๔. จิตที่เกิดขึ้น พร้อมด้วยความโลภ มีการถูกชักชวน มีความยินดี ไม่ประกอบด้วยความเห็นผิด มีเจตสิกประกอบ ๒๑ อย่างคือ อัญญสมานา ๑๓ โมจตุกะ ๔ โลภะ มานะทกะ ๒
๕. จิตที่เกิดขึ้น พร้อมด้วยความโลภ ไม่มีการถูกชักชวน รู้สึกเฉย ๆ ประกอบด้วยความเห็นผิด มีเจตสิกประกอบ ๑๘ อย่างคือ อัญญสมานา ๑๒ (เว้นปีติ) โมจตุกะ๔ โลภะ ทิฏฐิ
๖. จิตที่เกิดขึ้น พร้อมด้วยความโลภ มีการถูกชักชวน รู้สึกเฉย ๆ ประกอบด้วยความเห็นผิด มีเจตสิกประกอบ ๒๐ คือ อัญญสมาน ๑๒ (เว้นปีติ) โมจตุกะ ๔ โลภะ ทิฏฐิ ถีทุกะ ๒
๗. จิตที่เกิดขึ้น พร้อมด้วยความโลภ ไม่มีการถูกชักชวน รู้สึกเฉย ๆ ไม่ประกอบด้วยความเห็นผิด มีเจตสิกประกอบ ๑๘ อย่างคือ อัญญสมานา ๑๒ (เว้นปีติ) โมจตุกะโลภะ มานะ
๘. จิตที่เกิดขึ้น พร้อมด้วยความโลภ มีการถูกชักชวน รู้สึกเฉย ๆ ไม่ประกอบด้วยความเห็นผิด มีเจตสิกประกอบ ๒๐ คือ อัญสมานา ๑๒ (เว้นปีติ) โมจตุกะ ๔ โลภะมานะ ถีทุกะ ๒
โทสมูลจิต ๒ หมายถึงจิตที่เกิดขึ้น โดยมีโทสเจตสิกเป็นมูลเป็นประธาน มี ๒ อย่างคือ
๑. จิตที่เกิดขึ้น พร้อมด้วยความโกรธ ไม่มีการถูกชักชวน มีความเสียใจ มีเจตสิกประกอบ ๒๐ อย่างคือ อัญญสมานา ๑๒ (เว้นปีติ) โมจตุกะ ๔ โทจตุกะ ๔
๒. จิตที่เกิดขึ้นพร้อมด้วยความโกรธ มีการถูกชักชวน และมีความเสียใจ มีเจตสิกประกอบ ๒๒ อย่างคือ อัญญสมานา ๑๒ (เว้นปีติ) โมจตุกะ ๔ โทจตุกะ ๔ ทุกะ ๒
โมหมูลจิต หมายถึงจิตที่เกิดขึ้น โดยมีโมหเจตสิกเป็นมูล เป็นประธาน มี ๒ อย่างคือ
๑. จิตที่เกิดขึ้น พร้อมด้วยความโง่หลง ไม่รู้ตามความเป็นจริง รู้สึกเฉย ๆ ประกอบด้วยความสงสัย
มีเจตสิกประกอบ ๑๕ อย่างคือ อัญญสมานา ๑๐ (เว้นอธิโมกข์ ปีติ ฉันทะ) โมจตุกะ ๔ วิจิกิจฉา
๒. จิตที่เกิดขึ้น พร้อมด้วยความโง่หลง ไม่รู้ตามความเป็นจริง รู้สึกเฉย ๆ ประกอบด้วยฟุ้งซ่าน มีเจตสิกประกอบ ๑๕ อย่างคือ อัญญสมานา ๑๑ (เว้นปีติ ฉันทะ) โมจตุกะ ๔
อเหตุกจิต ๑๘ อย่าง
อเหตุกจิต หมายถึงจิตที่ไม่มีสาเหตุ ๖ ประการมาประกอบ คือไม่มี โลภะ โทสะ โมหะ และอโลภะ อโทสะ อโมหะ อันเป็นเจตสิกประกอบอยู่ในจิตเหล่านี้ นอกจากนั้นแล้ว ไม่ว่าจะเป็นจิตฝ่ายอกุศล หรือ กุศล ล้วนมีเหตุทั้ง ๖ ประกอบอยู่ด้วย บางครั้ง ประกอบเพียงอย่างเดียว บางทีก็เกินกว่านั้น แล้วแต่ประเภทของจิตที่เกิด อเหตุกจิตมี๑๘ อย่าง แยกออกเป็น
อกุศลวิปากจิต ๗
อเหตุกกุศลวิปากจิต ๘
และอเหตุกกิริยาจิต ๓
อกุศลวิปากจิต ๗ คือจิตที่เป็นผล (วิบาก) มาจากอกุศลกรรม ๑๒ ประการ ท่าให้มี การเห็น การได้ยิน ได้กลิ่น ลิ้มรส และสัมผัส ที่ไม่ดีเป็นต้น มี ๗ อย่าง
๑. จิตที่เกิดขึ้น เพราะอาศัยจักขุวัตถุ (ประสาททางตา) เห็นรูปารมณ์ (สี) ที่ไม่ดีพร้อมด้วยความรู้สึก เฉย ๆ มีเจตสิกประกอบ ๗ อย่าง คือ สัพพจิตตสาธารณเจตสิก ๗ ซึ่งสามารถเกิดขึ้นกับจิตทุกชนิด ได้แก่ ผัสสะ เวทนา สัญญา เจตนา เอกัคคตา ชีวิตินทรีย์และมนสิการ
๒. จิตที่เกิดขึ้น เพราะอาศัยโสตวัตถุ (ประสาททางหู) ได้ยินเสียงที่ไม่ดี พร้อมด้วยความรู้สึกเฉย ๆ มีเจตสิกประกอบ ๗ อย่าง คือสัพพจิตตสาธารณเจตสิก ๗
๓. จิตที่เกิดขึ้น เพราะอาศัยมานวัตถุ (ประสาททางจมูก) ได้กลิ่นที่ไม่ดี พร้อมด้วยความรู้สึกเฉย ๆ มีเจตสิกที่ประกอบ ๗ อย่างคือ สัพพจิตตสาธารณเจตสิก
๔. จิตที่เกิดขึ้น เพราะอาศัยชั่วหาวัตถุ (ประสาททางลิ้น) รู้รสที่ไม่ดี พร้อมด้วยความรู้สึกเฉย ๆ มีเจตสิกที่ประกอบ ๗ อย่าง คือ สัพพจิตตสาธารณเจตสิก ๗
๕. จิตที่เกิดขึ้น เพราะอาศัยกายวัตถุ (ประสาททางผิวกาย) รู้สึกโผฏฐัพพารมณ์ (เย็น ร้อน อ่อน แข็ง) ที่ไม่ดี พร้อมด้วยความรู้สึกเฉย ๆ มีเจตสิกที่ประกอบคือสัพพจิตตสาธารณเจตสิก ๗
๖. จิตที่เกิดขึ้น เพื่อรับปัญจารมณ์ (อารมณ์ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย) ที่ไม่ดีพร้อมด้วยความรู้สึกเฉย ๆ มีเจตสิกประกอบ ๑๐ อย่างคือ อัญญสมานา ๑๐ (เว้นวีริยะ ปีติ ฉันทะ)
๗. จิตที่เกิดขึ้น เพื่อไต่สวนปัญจารมณ์ที่ไม่ดี พร้อมด้วยความรู้สึกเฉย ๆ มีเจตสิกที่ประกอบ ๑๐ อย่าง คือ อัญญสมานา ๑๐ (เว้นวีริยะ ปิติ ฉันทะ)
อเหตุกกุศลวิปากจิต ๘ คือจิตที่เป็นผลมาจากมหากุศลกรรม ๘ ประการ ทำให้มีการเห็น การได้ยิน ได้กลิ่น รู้รส และกระทบสัมผัสที่ดี แต่เกิดขึ้นโดยไม่มีต้นเหตุทั้ง ๖ ประการดังที่กล่าวมาแล้ว ได้แก่ จิตที่เกิดขึ้นทั้ง ๗ อย่าง เหมือนอกุศลวิปากจิตข้างต้นต่างกันแต่เป็นฝ่ายดี ส่วนเจตสิกที่ประกอบก็มีจำนวนเท่ากันและเป็นอย่างเดียวกัน มีเพิ่มพิเศษ เป็นจิตอีกชนิดหนึ่งที่ประกอบด้วยความยินดี คือ
จิตที่เกิดขึ้น เพื่อไต่สวนปัญจารมณ์ที่ดี พร้อมด้วยความดีใจ
มีเจตสิกประกอบ ๑๑ อย่าง คืออัญญสมานา ๑๐ (เว้น วิริยะ ฉันทะ)
อเหตุกกิริยาจิต ๓ คือจิตที่เกิดขึ้นโดยลำพัง ไม่ได้อาศัยกรรมแต่อย่างใด และ ไม่เป็นบุญเป็นบาป ทั้งเป็นอเหตุกะ คือไม่มีเหตุทั้ง ๖ มาประกอบ มีอยู่ ๓ อย่าง คือ
๑. จิตที่พิจารณาอารมณ์ทางปัญจทวารคือ ทางตา หู จมูก ลิ้น ทย ทั้งที่ดีและไม่ดีมีเจตสิกประกอบ ๑๐ อย่าง คือ อัญญสมานา ๑๐ (เว้น วิริย์ ปีติ ฉันทะ)
๒. จิตที่พิจารณาอารมณ์ทางใจ ทั้งที่ดี และไม่ดี มีเจตสิกประกอบ ๑๑ อย่าง คือ อัญญสมานา (เว้นปีติ ฉันทะ)
๓. จิตที่ให้เกิดการยิ้มของพระอรหันต์ เกิดพร้อมด้วยความดีใจ มีอัญญสมานาเจตสิก ๑๒ (เว้นฉันทะ) ประกอบ
กามาวจรโสภณจิต ๒๔
โสภณจิต หมายความถึง จิตที่เกิดพร้อมกันกับโสภณเจตสิก
โสภณ แปลว่า งาม
กามะ หมายถึงธรรมชาติที่ต้องการกามอารมณ์ ได้แก่กิเลสกามหรือกามตัณหา
อวจร แปลว่า แดน บริเวณ เขต วิสัย
กามาวจรจิต หมายถึง จิตที่ท่องเที่ยวในกามภูมิ ๑๑ คือ อบายภูมิ ๔ มนุสสภูมิและเทวภูมิ ๖
กามาวจรโสภณจิต จึงหมายถึง จิตที่ดีงามแต่ยังปรารถนาในกามตัณหา ย่อมท่องเที่ยวเกิดอยู่ ในภูมิเป็นที่เกิดของกิเลสกาม และวัตถุกาม เช่นมนุสสภูมิและเทวภูมิเป็นต้น
กามาวจรโสภณจิต มี ๒๔ อย่าง แบ่งเป็น
มหากุศลจิต ๘
มหาวิปากจิต ๘
มหากิริยาจิต ๘
มหากุศลจิต ๘ คือจิตที่ไม่มีโทษ ให้ผลเป็นความสุข สามารถให้ผลเกิดขึ้นมากกว่าเหตุที่ตนทำ (กุศล แปลว่า สิ่งที่ดี สิ่งที่ชอบ บุญ ฉลาด มหา แปลว่ายิ่งใหญ่) เมื่อให้ผลเกิดขึ้นมากกว่าตน จึงใช้คำว่า “มหา” ร่วมอยู่ จิตชนิดนี้มี ๘ อย่าง คือ
๑. จิตที่เกิดขึ้นด้วยมหากุศล เกิดเองไม่ถูกใครชักชวน มีความดีใจ ประกอบด้วยปัญญา มีเจตสิกประกอบ ๓๘ อย่าง คือ อัญญสมานเจตสิก ๑๓ โสภณเจตสิก ๒๕
๒. จิตที่เกิดขึ้นด้วยมหากุศล มีการถูกชักชวน พร้อมด้วยความดีใจ ประกอบด้วยปัญญา มีเจตสิกประกอบ จำนวน ๓๘ อย่างเท่ากัน
๓. จิตที่เกิดขึ้นด้วยมหากุศล เกิดเองไม่ถูกชักชวน มีความดีใจ แต่ไม่ประกอบด้วยปัญญา มีเจตสิกประกอบ ๓๗ อย่าง คือ อัญญสมานเจตสิก ๑๓ โสภณเจตสิก ๒๔ (เว้นปัญญา)
๔. จิตที่เกิดขึ้นด้วยมหากุศล มีการถูกชักชวน มีความดีใจ แต่ไม่ประกอบด้วยปัญญา มีเจตสิกประกอบ จํานวน ๓๗ อย่างเช่นกัน (ขาดปัญญาเจตสิก)
๕. จิตที่เกิดขึ้นด้วยมหากุศล เหมือนข้อ ๑. แต่ไม่ดีใจคือรู้สึกเฉย ๆ เจตสิกที่ประกอบจึงเหลือ ๓๗ (เพราะต้องเว้น ปีติ)
๖-๔. เป็นในทำนองเดียวกัน คือมีความรู้สึกเฉย ๆ จึงต้องเว้น ปีติเจตสิกด้วยทุกข้อ
มหาวิปากจิต ๘ คือจิตที่เป็นผลของมหากุศล ดังนั้นจึงมีลักษณะต่าง ๆ เช่นเดียวกับมหากุศลจิต ยกเว้นโสภณเจตสิกที่เข้าประกอบนั้น ไม่มีวีรติเจตสิก ๓ และอัปปมัญญาเจตสิก ๒ ร่วมอยู่ด้วย เจตสิกที่เข้าประกอบในมหาวิปากจิต ที่มีจำนวนมากที่สุดจึงมีเพียง ๓๓ (เว้นวิรตี ๓ อัปปมัญญา ๒)
มหากิริยาจิต ๘ คือ จิตที่เป็นมหากุศลจิตนั้นเอง แต่เกิดขึ้นในสันดานของพระอรหันต์ ซึ่งท่านเป็นผู้สิ้นอาสวกิเลสทั้งปวง ดังนั้นท่านจึงไม่จำต้องมีวิรตีเจตสิกมาประกอบร่วมในจิต เพราะเป็นสิ่งที่เว้นขาดจากขันธสันดานอยู่โดยเรียบร้อยแล้ว
เจตสิกที่เข้าประกอบในจิตของท่าน คือในมหากิริยาจิตนี้ มีจำนวนมากเต็มที่ จึงมีจำนวนเพียง ๓๕ (เว้นวิรตีเจตสิก ๓)
เมื่อกล่าวดังนี้ จึงเห็นได้ว่า คนในโลกนี้ผู้ปรารถนามุ่งมั่นในการประกอบคุณงามความดีต่าง ๆ ส่วนมากแล้ว กระทำด้วยจิตใจที่อยู่ในระดับมหากุศลจิตนี้ด้วยกันอยู่ทั้งสิ้นด้วยยังมุ่งหวังในลาภ ยศ สรรเสริญ และความสุขต่าง ๆ อันเป็นกามสุข หรือโลกียสุข ซึ่งย่อมเป็นเหตุให้ต้องเกิดวนเวียนอยู่ในกามภูมิ แม้การประกอบกุศลกรรมนั้นจะเป็นมหากุศล ก็จะเกิดได้เพียงกามสุคติภูมิ ๗ มีมนุสสภูมิ และเทวภูมิ ๖ ชั้น ยังไม่สามารถพ้นจากการเวียนว่ายตายเกิดแต่ประการใด
รูปาวจรจิต ๑๕
รูปาวจรจิต เป็นจิตที่เกิดขึ้นจากการบำเพ็ญสมาธิถึงขั้นได้ฌาน โดยใช้วัตถุรูป เช่น องค์กสิณต่าง ๆ เป็นอารมณ์กรรมฐาน
คําว่า "ฌาน" คือการเพ่งอารมณ์ จนใจแน่วแน่เป็นอัปปนาสมาธิ จิตตั้งมั่นสนิทมีภาวะสงบประณีต
ฌานในรูปาวจรจิตมีเป็นลำดับขั้นอยู่ ๕ ขั้น คือ
๑. ปฐมฌาน มีองค์ธรรมหลักประกอบรวมอยู่ในจิต ๕ ประการ คือวิตก การยกจิตขึ้นสู่อารมณ์ การตรึก การปักจิต การคิด เป็นห่วงกังวล
วิจาร การครอง การพิจารณาอารมณ์ การเคล้าคลึงอารมณ์ (อุปมาเหมือนทําขนมด้วยแป้ง การตรึกเหมือนหยิบแป้ง การครองเหมือน การนวด)ปีติ ความอิ่มใจ ความดื่มในใจเอิบอาบไปทั่วสรรพางค์กายสุข ความสบายทั้งกายและใจเอกัคคตา ความมีจิตแน่วแน่อยู่ในอารณ์อันเดียว
๒. ทุติยฌาณ มีองค์ธรรมประกอบ ๔ เว้น วิตก
๓. ตติยฌาน มีองค์ธรรมประกอบ ๓ เว้นทั้ง วิตก และวิจาร
๔. จตุตถฌาน มีองค์ธรรมประกอบ ๒ เว้น วิตก วิจาร และปีติ
๕. ปัญจมฌาน มีองค์ธรรมประกอบ ๒ เว้น วิตก ปีติ สุข มีอุเบกขาและเอกัคคตาแทน
อุเบกขา ความวางใจเป็นกลาง ไม่ยินดียินร้าย ความรู้สึกเฉยๆ ไม่มีสุขมีทุกข์
รูปาวจรจิต แบ่งออกเป็นประเภทได้ ๓ ประเภท มี กุศล ๕ วิบาก ๕ และกริยา ๕ รวม ๑๕ การที่รูปาวจรกุศลจิต รูปาวจรวิปากจิต และรูปาวจรกิริยาจิต แบ่งออกอย่างละ ๕ นั้นแบ่งตามองค์ฌาน
เจตนาในการท่าสมาธิจิตจนกระทั่งได้ฌาน นับตั้งแต่ปฐมฌานรูปาวจรกุศลจิตเป็นต้นไปจนถึงปัญจมฌานรูปาวจรกุศลจิต เป็นเจตนาที่ไม่มีกามตัณหา คือความปรารถนาในอารมณ์ที่น่าใคร่ ได้แก่กามคุณ ๕ รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส ดังนั้นจิตชนิดนี้จึงไม่มีการส่งผลให้บุคคลผู้บรรลุฌานดังกล่าว ได้บังเกิดในกามภูมิอีก แต่จะกลับส่งผลให้ไปบังเกิดในรูปภูมิ จึงเรียกจิตเหล่านี้ว่า รูปาวจรจิต
ส่วนลำดับขั้นของฌานที่แตกต่าง สูงกว่ากันตั้งแต่ขั้นที่หนึ่งถึงขั้นที่ห้านั้น เป็นด้วยสภาพของจิตที่ละเอียด ประณีตสูงกว่ากันยิ่งขึ้น เช่นทูตยฌานจิต พิจารณาเห็นวิตกในปฐมฌานจิตเป็นของมีสภาพหยาบ อยู่ใกล้กับนิวรณ์ทำให้องค์ฌานอ่อนมีกำลังไม่เข้มแข็งสมาธิมีกำลังน้อย ทั้งเสี่ยงต่อการที่นิวรณ์เก่าที่ดับไปแล้วจะกลับเกิดได้ใหม่ ทำให้ปฐมฌานเสื่อมสูญได้ จึงเบื่อหน่ายจิตในระดับปฐมฌาน เลิกเพ่งบริกรรมนิมิตในปฐมฌานหันมาเพ่งปฏิภาคนิมิตแทน จนบังเกิดทุติยฌานจิตขึ้น ดังนี้เป็นต้น
ในรูปาวจรจิต มีเจตสิกที่เกิดขึ้นร่วมในจิตด้วยเหมือนกับในมหากุศลจิต แต่เว้นวีรติเจตสิก ๓ ออกเสีย เพราะการท่าฌานอาศัยบริกัมมสมาธิ อาศัยอุปจารสมาธิที่เกิดจากการบริกัมมภาวนา และอาศัยอุปจารภาวนา ล้วนแต่มีกรรมฐานเป็นอารมณ์ทั้งสิ้นมิใช่อาศัยการเว้นจากทุจริตทั้ง ๓ นั้น ดังนั้น ปฐมฌานกุศลจิตจึงมีเจตสิกเกิดร่วมด้วยจํานวน ๓๕ คือ อัญญสมานเจตสิก ๑๓ โสภณเจตสิก ๒๒ (เว้นวีรติเจตสิก) สำหรับทุติยฌานคงลดวิตกเจตสิกลงจึงเหลือ ๓๔ ตติยฌานลดทั้งวิตกเจตสิกและวิจารเจตสิก จึงมี๓๓ จตุตถฌานมีเจตสิก ๓๒ ลดปีติเจตสิก ส่วนปัญจมฌานเหลือเพียง ๓๐ เพราะลดอีก ๒ คือ อัปปมัญญาเจตสิก ๒ เนื่องจากองค์ฌานของปัญจมฌานนี้มีเพียง อุเบกขา และเอกัคคตา จิตที่มีอุเบกขาเป็นอารมณ์ย่อมไม่ยินดียินร้ายในทุกข์สุขของใคร ๆ ดังนั้นจิตในระดับนี้จึงไม่มีอัปปมัญญาเจตสิกเกิดร่วมด้วย
อรูปาวจรจิต ๑๒
อรูปาวจรจิต คือจิตที่เกิดขึ้น เพื่อท่องเที่ยวอยู่ในภูมิอันเป็นที่เกิดแห่งความพอใจในอรูปฌาน และ อรูปภพ
อรูปฌาน คือฌานที่เกิดขึ้นด้วยการกำหนดอรูปธรรมเป็นอารมณ์ มี ๔ ชั้น คือ
๑. อากาสานัญจายตนะ กำหนดที่ว่างหาที่สุดมิได้ เช่น ความว่างเมื่อเลิกจากอารมณ์ของกสิณในรูปาวจรจิตแล้ว เอามาเป็นอารมณ์ (ความว่างของอากาส)
๒. วิญญานัญจายตนะ กำหนดวิญญาณหาที่สุดมิได้เป็นอารมณ์
๓. อากิญจัญญายตนะ กำหนดภาวะที่ไม่มีอะไร ๆ เลย เป็นอารมณ์
๔. เนวสัญญานาสัญญายตนะ กำหนดภาวะ มีสัญญาก็ไม่ใช่ ไม่มีสัญญาก็ไม่ใช่ เป็นอารมณ์
จิตที่สามารถก้าหนดได้อรูปฌาน ตายแล้วย่อมบังเกิดเป็นอรูปพรหม ในอรูปพรหมภูมิ
อรูปาวจรจิต แยกเป็นอรูปาวจรฌานกุศล วิบาก และกิริยา เช่นเดียวกัน ต่างแบ่งออกไปตามลำาดับขององค์ฌานดังกล่าวแล้ว อย่างละ ๔ อรูปาวจรจิตจึงมี ๑๒
เจตสิกที่เกิดขึ้นกับอรูปาวจรจิตมีอยู่จำนวน ๓๐ เท่ากันกับ ปัญจมฌานในรูปาวจรจิต คือ อัญญสมานเจตสิก ๑๐ (เว้นวิตก วิจาร ปีติ) โสภณเจตสิก ๒๐ (เว้นวิรตี ๓ อัปปมัญญา ๒)
รูปาวจรจิตและอรูปาวจรจิตรวมทั้งสิ้นจำนวน ๒๗ นี้เรียกว่าเป็น มหัคคจิตเพราะจิตเหล่านี้เป็นจิตที่มีอำนาจฌานเป็นอารมณ์ ข่มกิเลสลงไว้ได้ชั่วคราว จึงถือว่าเป็นจิตที่เข้าถึงความเป็นใหญ่ และประเสริฐ (มหา แปลว่า ใหญ่ อัคคี อัคร แปลว่า ล้ำเลิศยอด ประเสริฐ สูงสุด)
แต่อย่างไรก็ดี มหัคคตจิต ก็ยังรวมอยู่ในโลกียจิต เพราะยังเป็นจิตที่เกิดได้อยู่ในโลกทั้ง ๓ คือ กามโลก ๑๑ (อบายภูมิ ๔ มนุสสภูมิ ๑ เทวภูมิ ๖) รูปโลก ๑๖ (อรูปพรหมภูมิ ๑๖) อรูปโลก ๔ (อรูปพรหมภูมิ ๔) หมุนเวียนตายเวียนเกิดอยู่อย่างมิรู้จบสิ้นทั้งภูมิสูงและต่ำ ตามแต่กุศลกรรมและอกุศลกรรมที่ตนประกอบไว้ ภูมิทั้ง ๓๑ เป็นโลกียภูมิจิตที่ต้องท่องเที่ยวเกิดอยู่ในโลกียภูมิ เรียกว่า โลกียจิต
โลกุตตรจิต ๔๐
โลกุตตร มาจากคำว่า โลก รวมกับคำว่า อุตตร ซึ่งเป็นคำเดียวกับคำว่า อุดร แปลว่า ฝ่ายเหนือ
โลกุตตรจิต จึงหมายถึงจิตที่อยู่เหนือโลก ตรงข้ามกับ โลกียจิต อันเป็นจิตที่ข้องอยู่ในโลก
โลกในที่นี้ หมายถึงโลกทั้ง ๓ คือ กามโลก รูปโลก อรูปโลก คือภูมิทั้ง ๓๑ นั่นเอง
โลกุตตรจิต จึงหมายถึงจิตที่พ้นจากการเวียนว่ายตายเกิด
ที่แบ่งโลกุตตรจิตออกเป็น ๔๐ นั้น จำแนกตามองค์ฌานที่ประกอบอยู่ในจิต มีอยู่ ๕ คือ ปฐมฌาน ทุติยฌาน ตติยฌาน จตุตถฌาน และปัญจมฌานนี่
และแบ่งตามลำดับขั้นของคุณธรรมที่บรรลุอีก ๔ คือ โสดาบัน สกิทาคามี อนาคามีและอรหัตต์ รวมทั้งแบ่งเป็นประเภท โลกุตตรกุศลจิต (มรรค) และโลกุตตรวิปากจิต (ผล) ๒ ฝ่าย ฝ่ายละ ๒๐ รวมเป็นโลกุตตรจิต ๔๐
ในโลกุตตรจิต ไม่มีโลกุตตรกิริยาจิต เนื่องจากโลกุตตรจิตเป็นจิตที่พ้นจากการเกิดในโลกียภูมิใด ๆ อีก เป็นจิตที่มีนิพพานเป็นอารมณ์อย่างเดียว
โลกุตตรจิต เจตสิกที่เกิดร่วมด้วยอย่างมากที่สุด จำนวน ๓๖ คือ อัญญสมานเจตสิก ๑๓ โสภณเจตสิก ๒๓ เว้นอัปปมัญญาเจตสิก ๒ สำหรับในปฐมฌานโลกุตตรกุศล (มรรค) จิต
ส่วนในทุติยฌาน มี ๓๕ ในตติยฌานมี ๓๔ ในจตุตถฌานและปัญจมฌานมี ๓๓ ลดไปตามองค์ฌาน
โลกุตตรจิตจะเกิดได้ ต้องมีนิพพานเป็นอารมณ์ ส่วนอัปปมัญญาเจตสิก คือ ความกรุณา และมุทิตานั้น เป็นเรื่องของความสงสารและการยินดีต่อสัตว์ทั้งหลาย ที่กำลังได้รับความทุกข์และความสุข ดังนั้นการที่จิตจะมีอัปปมัญญาได้จึงต้องมีสัตวบัญญัติเป็นอารมณ์ ไม่เกี่ยวกับเรื่องนิพพาน โลกุตตรจิตจึงเว้นอัปปมัญญาเจตสิก
ที่กล่าวเรื่องจิตมาแล้วทั้งหมดนี้ เพื่อจำแนกแจกแจงให้เห็นถึงธรรมชาติที่เป็นส่วนประกอบต่าง ๆ ซึ่งอันที่จริงแล้ว จิตแต่ละชนิดที่เกิดขึ้นก็คือ ความแตกต่างในอัตราส่วนผสมของธรรมชาติที่เราสมมติตั้งชื่อ เรียกว่าเจตสิกนั่นเอง เป็นฝ่ายปรุงแต่งให้จิตที่เกิดขึ้นแต่ละครั้งมีคุณโทษแตกต่างกันออกไป แต่การเข้าผสม และการเกิดขึ้น ดับไปของจิต ในแต่ละครั้ง ๆ นั้น รวดเร็วอย่างที่สุด ไม่มีความเร็วของสิ่งใดมาเปรียบเทียบได้ดังนั้นคนธรรมดาทั่วไปทุกคน จึงไม่สามารถมีปัญญาแยกแยะความเป็นจริงดังกล่าวนี้ให้แจ่มชัด ด้วยอ่านาจพุทธญาณของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า จึงสามารถทราบและสั่งสอนให้เวไนยสัตว์รู้และเห็น ทั้งด้วยทางสุตมยปัญญาและภาวนามยปัญญาดังนี้
การกล่าวถึงเรื่องรูปร่างกาย และเรื่องธรรมชาติฝ่ายจิตใจ องค์ประกอบทั้งสองนี้เป็นอุปกรณ์ของคนของสัตว์ที่เห็นกันอยู่ ซึ่งที่แท้แล้วเป็นเพียงความหมุนเวียนเปลี่ยนแปลงไปของธรรมชาติล้วน ๆ มิได้ให้คุณให้โทษต่อสิ่งใด ต่อผู้ใด
แต่ที่เป็นเรื่องให้เหล่าปวงสรรพสัตว์ต้องเป็นทุกข์กันมีรู้จักจบสิ้นนั้น เป็นด้วยองค์ประกอบอันสำคัญยิ่ง คือความยึดมั่นถือมั่นด้วยอำนาจของกิเลส ซึ่งแบ่งออกเป็นประเภทใหญ่ ๓ คือ โลภะ โทสะ และโมหะ อันเป็นธรรมชาติของอกุศลเจตสิกนั่นเอง
ความยึดมั่นด้วยอำนาจกิเลส เป็นเหตุให้เกิดความทุกข์ทั้งมวล เมื่อใดก็ตามที่ผู้ใดเกิดปัญญาคมกล้า สามารถทำลายความยึดมั่นถือมั่นลงได้ เมื่อนั้นความทุกข์ย่อมสูญสิ้นไป
ความยึดมั่นถือมั่นดังกล่าวเรียกว่า อุปาทาน
อุปาทาน มาจากคำว่า อุปะ รวมกับคำว่า อาทานะ
อุปะ แปลว่า มั่น อาทานะ แปลว่า ยึด
อุปาทาน จึงหมายถึง การยึดมั่นในอารมณ์ เป็นการยึดมั่นที่เหนียวแน่นมาก เสมือนหนึ่งที่จับกบได้ จะกัดไว้แน่นไม่ยอมปล่อย อุปาทานคือ โลภะ และทิฏฐิ อันเป็นอกุศลเจตสิกที่เกิดขึ้นพร้อมกับจิต ก็มีสภาพยึดมั่นในอารมณ์อย่างเหนียวแน่น ไม่ยอมปล่อยเช่นเดียวกัน อุปาทานมี ๔ อย่าง
๑. กามุปาทาน ธรรมชาติที่ทำให้จิตยึดมั่นในกามคุณอารมณ์ ธรรมที่เป็นต้นเหตุคือ โลภะเจตสิกอันเป็นเจตสิกที่ประกอบอยู่ในจิตที่มีความโลภเกิดขึ้นทั้ง ๘ ชนิด
๒. ทิฏฐุปาทาน ธรรมชาติที่ทำให้จิตยึดมั่นในความเห็นผิด ธรรมที่เป็นต้นเหตุ คือ ทิฏฐิเจตสิก ที่ประกอบอยู่ในจิตที่มีความโลภชนิดประกอบด้วยความเห็นผิด ๔ ชนิด
๓. สีลัพพตุปาทาน ธรรมชาติที่ทำให้จิตยึดมั่นในการปฏิบัติผิด ๆ ธรรมที่เป็นเหตุคือ ทิฏฐิเจตสิก
๔. อัตตวาทุปาทาน ธรรมชาติที่ทำให้จิตยึดมั่นในรูปนาม ขันธ์ ๕ ว่าเป็นตัวเป็นตน ธรรมที่เป็นต้นเหตุคือ ทิฏฐิเจตสิก
ในข้อ ๔ อัตวาทุปาทาน นี่เองที่ทำให้สัตว์ต้องเวียนว่ายตายเกิดกันอยู่โดยมีสิ้นสุดภพชาติ
• เลิกเมาหลงรูปรสกลิ่นเสียง เพียงอุปาทานกิเลสมีวิเศษศรี
พญามารร้ายไม่อาจย่ำยี พ้นฤทธิ์ฝืนรกหมกไหม้ใจ •