ศึกษาวิชชาธรรมกายให้ดี ต้องไม่มีความกังวล

วันที่ 16 สค. พ.ศ.2566

16-8-66-B3.jpg
ศึกษาวิชชาธรรมกายให้ดี ต้องไม่มีความกังวล
                       ให้ลูกเตรียมสุขภาพร่างกายให้แข็งแรงและก็เตรียมใจให้ปลอดกังวล ปลอดโรค และก็มุ่งมั่นที่จะศึกษาวิชชาธรรมกายให้เต็มที่ เราต้องเตรียมร่างกายให้แข็งแรงเพราะว่า “การปฏิบัติธรรมนี้อาศัยร่างกายที่แข็งแรง” ถ้าไม่แข็งแรงแล้วสู้ไม่ไหว ทั้ง ๆ ที่นั่งอยู่เฉย ๆ อย่างนี้ไม่ได้ออกแรงแบกหามอะไร เราต้องแข็งแรงเพราะว่า “โรคที่จะเกิดขึ้นกับนักปฏิบัติธรรมมักจะเป็นโรคเส้นกับโรคท้องอืด” เป็นหลัก นอกนั้นก็โรคอื่น ๆ ตามมาสารพัด ร่างกายแข็งแรงจึงจะสู้กับสิ่งเหล่านี้ได้


                     การมุ่งเข้าไปหาที่สุดแห่งธรรมต้องไปแบบวิ่ง ๔ คูณ ๑๐๐ อย่างนั้น วิ่งผลัดส่งกันต่อ ๆ กันไปเรื่อยเลย หมุนเวียนตลอด ๒๔ ชั่วโมง จนกว่าจะถึงที่หมายและร่างกายต้องแข็งแรง ห้ามเจ็บ ห้ามป่วย ห้ามไข้ ถ้าห้ามไม่ได้ก็ควรทำให้ร่างกายแข็งแรง อยู่ดี ดูแลรักษาสรีรยนต์สมบัติของพระศาสนาไว้ให้ดี


                     ทําใจให้ปลอดกังวล การจะศึกษาวิชาธรรมกายให้ดีต้องไม่มีกังวลอะไรเลย ปลิโพธ ความกังวลใจทุกชนิดเลยที่เป็นเครื่องเหนี่ยวรั้งใจไม่ให้หยุด ไม่ให้นิ่ง ไม่ให้ดิ่งเข้ากลางได้ ตั้งแต่ความกังวลใจเรื่องภายนอกจนกระทั่งถึงเรื่องภายในของเราจะต้องไม่มีและจะต้องไม่มีความหวังในทางโลกด้วย คือ ไม่หวังอะไรเลยในทางโลก มุ่งไปที่สุดแห่งธรรมอย่างเดียว ไม่มีอะไรเหนี่ยวรั้ง จึงจะศึกษาวิชชาธรรมกายได้


                        ต้องไม่มีความหวังอะไร ไม่หวังร่ำรวยไม่หวังลาภยศสรรเสริญไม่หวังให้คนชื่นชม ยกย่อง พะเน้าพะนออะไรต่าง ๆ ไม่กังวลทั้งสิ้น แค่มีที่อยู่อาศัยให้เรานอนกันแดด กันฝน กันลม ป้องกันสัตว์ แมลง อะไรต่าง ๆ แค่นั้นเอง อาหารก็มีไปแค่มื้อ ๆ พอกันตายเพื่อให้มีกำลังสำหรับประพฤติปฏิบัติธรรม ยารักษาโรคก็เพื่อประดับประคองสรีรยนต์นี้ไป ตลอดทั้งวันทั้งคืนให้มีจิตที่ผ่องใสบริสุทธิ์หยุดนิ่งอยู่ภายในตลอด ๒๔ ชั่วโมง

 

คุณครูไม่ใหญ่

จากหนังสือ ง่ายที่สุดคือหยุดได้ เล่มที่ ๖

 ยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคล Total Execution Time: 0.075570368766785 Mins