วิธีเจริญมรณานุสสติ
เมื่ออยู่ในที่อันสมควรต่อการปฏิบัติและมนสิการด้วยอุบายต่าง ๆ เพื่อให้เกิดสติปัญญา และธรรมสังเวชขึ้นแล้ว จึงบริกรรมภาวนาด้วยภาษาบาลี หรือไทยว่า
มรณํ เม ภวิสฺสติ ชีวิตินฺทฺรียํ อุปจฺนิชฺชิสฺสติ
เราจะต้องตาย รูปชีวิต นามชีวิตจะต้องขาดจากกัน หรือ
มรณํ เม ธุวํ ชีวิตํ เม อธุวํ
ความตายเป็นของแน่ ความมีชีวิตอยู่เป็นของไม่แน่
ภาวนาอยู่ดังนี้เรื่อย ๆ ไป ถ้าเป็นผู้มีปัญญินทรีย์แก่กล้า จะข่มนิวรณธรรมต่าง ๆ เสียได้ มีมรณารมณ์ตั้งมั่น เข้าถึงอุปจารสมาธิโดยไม่ยาก นอกจากนั้นยังบังเกิดมรณสัญญาที่น่าปรารถนาถึง ๘ ประการ คือ เกิดความรู้สึกเกี่ยวกับความตายขึ้นมาว่า
๑. ชีวิตของเรานี้ จะมีอยู่ต่อไปได้อีกประมาณแค่วันหนึ่งกับคืนหนึ่ง คือ ๒๔ ชั่วโมงเท่านั้น
๒. ชีวิตของเรานี้จะมี อยู่ต่อไปได้อีกประมาณแค่วันหนึ่ง คือ ๑๒ ชั่วโมงเท่านั้น
๓. ชีวิตของเรานี้ จะมีอยู่ต่อไปได้อีกประมาณเพียงครึ่งวัน คือ 5 ชั่วโมงเท่านั้น
๔. ชีวิตของเรานี้ จะมีอยู่ต่อไปได้อีกชั่วเวลาเพียงกินข้าวอิ่มหนึ่งเท่านั้น
๕. ชีวิตของเรานี้ จะมีอยู่ต่อไปได้อีกชั่วครึ่งเวลากินข้าวอิ่มเท่านั้น
๖. ชีวิตของเรานี้ จะมีอยู่ต่อไปได้อีกชั่วเวลากินข้าวได้เพียง ๔ หรือ ๕ คำเท่านั้น
๗. ชีวิตของเรานี้ จะมีอยู่ต่อไปได้อีกชั่วเวลาเคี้ยวข้าวคำหนึ่งเท่านั้น
๘. ชีวิตของเรานี้ จะมีอยู่ต่อไปได้อีกชั่วระยะเวลาหายใจเข้าออกเท่านั้น
มรณสัญญาข้อ ๗ และ ๘ ทำให้มีสติเจริญดีเยี่ยม ถูกต้องตามพุทธประสงค์พระพุทธองค์ตรัสชมเชยไว้ ส่วนข้อที่ ๑-๖ สำหรับผู้คนในสมัยปัจจุบันนี้ ผู้ใดกระทำได้ก็นับว่าดีมากแล้ว
คาถาเกี่ยวกับความตายที่ควรทราบและจดจำไว้เตือนตนเอง
* (๑) น โข อหญฺเญเวโก มรณธมฺโม มรณํ อนติโต
อถ โข ยาวตา สตฺตานํ อาคติ คติ จุติ อุปปตฺติ
สพเพ สตตา มรณธมมา มรณ์ อนุตตา ฯ
ความตาย และการหนีความตายไม่พ้น ไม่ใช่มีแต่เราเพียงผู้เดียว แท้ที่จริงสัตว์ทั้งหลายที่มีสภาพเนื่องมาจากภพก่อนและเกิดขึ้นในภพนี้ แล้วย้ายจากภพนี้เกิดต่อไปในภาพใหม่ สัตว์ทั้งหลายเหล่านั้นย่อมมีความตาย และหนีไม่พ้นจากความตายด้วยกันทั้งสิ้น
** (๒) ยเมกรตฺติ ปฐมํ คพฺเภ วสติ มาณโว
อพฺกุฏฐิโตว โส ยาติ สคจฺนํ น นิวตฺตติ ฯ
ผู้ใดเกิดขึ้นในครรภ์มารดาครั้งแรกในคืนใดคืนหนึ่งนั้น ผู้นั้นย่อมบ่ายหน้าไปหาแต่ความตาย ผู้บ่ายหน้าไปหาความตายนี้ ไม่มีการกลับหลัง
*** (๓) ทหรา จ หิ วุทฺธา จ เย พาลา เย จ ปณฺฑิตา
อฑฺฒา เจว ทลิทฺทา จ สพฺเพ ปัจฺจุปรายนา
ผู้ที่ยังอยู่ในวัยหนุ่ม วัยสาวก็ดี วัยแก่ก็ดี ผู้ที่ไม่มีปัญญาความรู้ก็ดี ที่มีปัญญาความรู้ก็ดี ผู้ที่ร่ำรวยก็ดี ยากจนก็ดี ทั้งหมดนี้ย่อมมีความตายเป็นที่สุด
**** (๔) ผลานมิว ปกกานํ นิจจํ ปานโต ภยํ
เอวํ ซาตานมจฺจานํ นิจฺจํ มรณโต ภยํ ฯ
สัตว์ทั้งหลายที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมประสบกับภัย คือความตายอย่างแน่นอน เสมือนหนึ่งผลไม้ที่สุกงอมต้องหล่นลงอย่างแน่แท้
***** (๕) สายเมเก น ทิสฺสนฺติ ปาโต ทิฏฺฐา พหู ชนา
ปาโต เอเก น ทิสฺสนฺติ สายํ
ทิฏฐา พหุ ชนา ฯ
ชนทั้งหลายในยามเช้ายังเห็นกันอยู่ พอตกเวลาเย็นบางคนก็ไม่เห็นกัน ตายเสียแล้ว ชนทั้งหลายเมื่อตอนเย็นยังเห็นกันอยู่ พอถึงตอนเช้าบางคนก็ไม่เห็นกัน ตายเสียแล้ว
****** (๖) อุสฺสาโวว ติณคุคมฺหิ สุริยุคฺคมนํ ปติ
เอวมายุ มนุสฺสานํ มา มํ อมฺม นิวารย์ฯ
แม่จำ อายุของคนเรานี้น้อยเหลือเกิน เสมือนหนึ่งหยาดน้ำค้างที่ติดอยู่บนใบหญ้า เมื่อถูกแสงอาทิตย์เข้า ก็เหือดแห้งหายไปพลัน ดังนั้น แม่อย่าได้ขัดขวางการบวชของลูกเลย
สพฺเพ สตฺตา มรณา ธุวํ
สัพฺเพ สตฺตา มรณา นิจฺจํ
สัพฺเพ สตฺตา มริสฺสนฺติ มรนฺติ จ บริสุ จ
ตเถวาห์ มริสฺสามิ เอตฺกเม นตฺถิ สํสโย ฯ
สัตว์ทั้งหลายทั้งสิ้น มีความตายอย่างแน่นอน เป็นของเที่ยง สัตว์ทั้งหลายทั้งสิ้นจักตาย กำลังตาย และเคยตายมาแล้ว เราก็จักตายเช่นกัน อย่าได้สงสัยความตายนี้เลย
การที่การเจริญมรณานุสสติได้ผลอย่างมากเพียงอุปจารสมาธิ ไม่เข้าถึงอัปปนาเนื่องจาก มรณะ ความตายที่นำมาใช้เป็นอารมณ์กรรมฐานนั้นเป็นสภาวะที่ทำให้เกิดความสังเวช เมื่อใช้ระลึกถึงอารมณ์ดังนี้เนื่อง ๆ ทำให้เกิดความสะดุ้งกลัวขึ้นกับจิต จิตจึงไปไม่ถึงอัปปนา
แต่มีประโยชน์และอานิสงส์เกิดตามมามาก เช่น
- ทำให้ละความประมาทมัวเมาในชีวิตลง มองเห็นภัยในวัฏฏสงสาร
- ได้สัพพาเวสอนภิรตสัญญา มีความกระสันที่จะเลิกอยู่ในภพทั้งปวง
- ละความยินดีในชีวิต ไม่รักชีวิต
- ติเตียนการกระทำอันเป็นบาป
- ยินดีด้วยสัลเลข ความมักน้อย สันโดษ ไม่สั่งสมของบริโภค
- สันดานปราศจากความตระหนี่อันเป็นมลทิน ไม่รักใคร่หวงแหนในสมบัติทั้งปวง
- จิตจะคุ้นเคยใน อนิจจะสัญญา มองเห็นอนิจจังในรูปธรรม นามธรรมเป็นเหตุให้ได้ทุกขสัญญา อนัตตสัญญาตามมา เห็น พระไตรลักษณ์ชัดแจ้งในสันดาน
- เมื่อเห็นพระไตรลักษณ์แล้ว แม้ต้องตายย่อมไม่นึกหวาดกลัว สติไม่หลงเลอะเลือน
คนที่ไม่เจริญมรณานุสสติ เมื่อถึงเวลาใกล้ตายย่อมสะดุ้งตกใจกลัวตาย เหมือนถูกเสือร้ายตะครุบตัวไว้กำลังจะกัดกินเป็นอาหาร หรือเหมือนคนอยู่ในเงื้อมมือโจร หรือเพชฌฆาต หรือเหมือนคนอยู่ในมือยักษ์ หรือในปากอสรพิษ
การเจริญมรณานุสสติ เป็นปัจจัยให้สำเร็จ บรรลุมรรคผลนิพพาน ถ้าชาตินี้ยังไม่บรรลุ เมื่อตายลงย่อมมีสุคติเป็นที่ไป
กายคตาสติ
๙. กายคตาสติ คือการระลึกถึงส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย อันมีจำนวน ๓๒ อยู่เนืองๆ
คำว่า กายะ แปลว่า กอง หมายความว่ากองของหมวด ๓๒ มีผม ขน เล็บ ฟัน หนังเป็นต้น
กายคตาสติ หมายถึงสติที่เป็นไปโดยการนำเอากองแห่งหมวด ๓๒ มาเป็นอารมณ์ก็ได้
ในร่างกายของเรามีส่วนต่าง ๆ อยู่ ๓๒ คือ
ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง
เนื้อ เอ็น กระดูก เยื่อในกระดูก ม้าม
หัวใจ ตับ พังผืด ไต ปอด
ไส้ใหญ่ ไส้น้อย อาหารใหม่ อาหารเก่า สมอง
น้ำดี เสมหะ น้ำเหลือง เลือด เหงื่อ น้ำมันข้น
น้ำตา น้ำมันเหลว น้ำลาย น้ำมูก น้ำไขข้อ น้ำมูตร
กายคตาสตินี้มีประโยชน์มาก เพราะจะทำให้เกิดความสังเวชสลดใจ พ้นจากโยคะ
(เครื่องประกอบสัตว์ให้ติดอยู่ใน กามภพ ความเห็นผิด และความโง่หลง)
- ทำให้เกิดสติ และสัมปชัญญะเป็นพิเศษ
- ได้ปัจจะเวกขณะญาณ (ญาณที่เกิดแก่ผู้บรรลุมรรคผลแล้ว)
- มีความเป็นอยู่อย่างเป็นสุขแม้ในชีวิตปัจจุบัน
- ทำให้แจ้งไตรวิชา (วิชา ๓) และวิมุติผล กายคตาสตินี้เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า ทวัตติงสกายกรรมฐาน
วิธีปฏิบัติกายคตาสติ ผู้ปฏิบัติต้องทราบกิจเบื้องต้นให้ดีเสียก่อน มี ๒ ประการใหญ่ ๆ คือ
๑. ฉลาดในการศึกษา (อุคคหโกสกุล) ๗ อย่าง
๒. ฉลาดในการพิจารณา (มนสิการโกสกุล) ๑๐ อย่าง
๑. ฉลาดในการศึกษา คือต้องฉลาดในการพิจารณา โดย
- ใช้วาจา (วจสา)
- ใช้ใจ (มนสา)
- ความเป็นวรรณะคือสีต่าง ๆ (วณณโต)
- ความเป็นรูปร่างสัณฐาน (สณฺฐานโต)
- ที่เกิด (ทิสาโต) เช่นเกิดอยู่ส่วนบน ส่วนล่างของร่างกาย
- ที่ตั้ง (โอกาสโต) ว่าตั้งอยู่ส่วนใดของร่างกาย
- กําหนดขอบเขต (ปริจเฉทโต) เช่นกำาหนดว่าเส้นผมหยั่งลึกลงไปในศีรษะ ประมาณเท่าความยาวของเมล็ดข้าวเปลือก ในรูที่เส้นผมงอกขึ้นมานั้นมีเพียงรูละหนึ่งเส้น เขตปลายผมคือสุดความยาว
๒. ฉลาดในการพิจารณา คือพิจารณาไปโดย
- ตามลำดับ เรียงตามก่อนหลัง ไม่ข้ามไปข้ามมา หรือกระโดดข้ามหมวด (อนุปุพฺพโต)
- ไม่รีบร้อนนัก (นาติสีมโต)
- ไม่เฉื่อยช้านัก (นาติสนิกโต)
- บังคับจิตใจไม่ให้ไปคิดเรื่องอื่น (วิกเขปปปฏิพาหนโต)
- ก้าวล่วงบัญญัติเสีย เช่นไม่คำนึงถึงชื่อที่ตั้งขึ้นสำหรับเรียก (ปณฺณาติสมติกุกมโต)
- ทิ้งโกฏฐาสที่ไม่ปรากฏ โดยสี สัณฐาน ที่เกิด ที่ตั้ง ขอบเขต ตามลำดับ (อนุปุพฺพบุญจนโต)
- ใช้พิจารณาในโกฏฐาสอย่างใดอย่างหนึ่ง ให้เข้าถึงอัปปนา (อปปนาโต)
- พิจารณา ในพระสูตร ๓ อย่าง (ตโย จ สุตตันตา) มี อธิจิตตสูตรสติภาวสูตร โพชฌังคโกสัลลสูตร
เมื่อทราบกิจเบื้องต้นถี่ถ้วนถูกต้องแล้ว จึงพิจารณาดูรูปกายของตนเองตั้งแต่บนสุด คือเส้นผมลงไปจนถึงปลายเท้า แล้วย้อนพิจารณาตั้งแต่ปลายเท้าจนถึงเส้นผมทบไปทวนมา ให้เห็นว่ารูปกายนี้เต็มไปด้วยสิ่งโสโครกประการต่าง ๆ ต่อจากนั้นจึงท่องชื่อให้ขึ้นใจแล้วระลึกตามความหมายไปด้วย
ภาษาบาลีที่ใช้เรียกโกฏฐาสทั้ง ๓๒ คือ
หมวดที่ ๑. เกสา โลมา นขา ทันตา ตโจ
ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง
หมวดที่ ๒. มังสัง นหารุ อัฏฐิ อัฏฐิมิญชัง วักกัง
เนื้อ เอ็น กระดูก เยื่อในกระดูก ม้าม
หมวดที่ ๓. หายัง ยกนั่ง กิโลมกัง ปีหลัง ปัปผาสัง
หัวใจ ตับ พังผืด ไต ปอด
หมวดที่ ๔. อันตัง อันตคุณัง อุทริยัง กรีสั่ง มัตถลุงคั่ง
ไส้ใหญ่ ไส้น้อย อาหารใหม่ อาหารเก่า สมอง
หมวดที่ ๕. ปิตตัง เสมทั้ง ปุพโพ โลหิตัง เสโท เมโท
น้ำดี เสมหะ น้ำเหลือง เลือด เหงื่อ น้ำมันข้น
หมวดที่ ๖. อัสสุ วสา เขโฬ สังฆานิกา ลฬิกา มุตตัง
น้ำตา น้ำมันเหลว น้ำลาย น้ำมูก น้ำไขข้อ น้ำมูตร
การภาวนา หากใช้ภาษาบาลีต้องทราบความหมายในโกฏฐาสที่ออกชื่อไปด้วยหากไม่สะดวกในการจ่า จะว่าเป็นภาษาไทยให้เข้าใจพร้อมไปทีเดียวก็ได้ และเนื่องจากโกฏฐาสมีถึง ๓๒ อย่าง ไม่สะดวกที่จะท่องคราวเดียวติดต่อกัน จึงแบ่งออกเป็นหมวด ๆ รวม ๖ หมวด
ระยะที่หนึ่ง บริกรรมภาวนาในหมวดที่หนึ่งโดยอนุโลมคือว่าเรียงลำดับกันไป ๕ วัน และว่าโดยปฏิโลมคือทวนกลับจากท้ายมาต้นอีก ๕ วัน ต่อจากนั้นว่ารวมทั้งอนุโลม ปฏิโลม รวมกันตลอด ๕ วัน รวมระยะที่หนึ่งใช้เวลา ๑๕ วัน
ระยะทีสอง ใช้ภาวนาในหมวดที่สองในทำนองเดียวกัน ๑๕ วัน
ระยะที่สาม เอา ๒ หมวดมารวมกันอนุโลมก่อน ๕ วัน ปฏิโลม ๕ วัน ว่ารวมกันตลอดอีก ๕ วัน รวม ๑๕ วัน
ระยะที่สี่ ใช้ภาวนาในหมวดที่สามในทำนองเดียวกับระยะแรก เป็นเวลา ๑๕ วัน
ระยะที่ห้า เอา ๓ หมวดรวมกัน ในทำนองเดียวกับระยะที่สาม เป็นเวลา ๑๕ วัน
ระยะที่หก ใช้ภาวนาในหมวดที่สี่ ในทำนองเดียวกับระยะแรก เป็นเวลา ๑๕ วัน
ระยะที่เจ็ด เอา ๔ หมวดรวมกัน ในทำนองเดียวกับระยะที่ห้า เป็นเวลา ๑๕ วัน
ระยะที่แปด ใช้ภาวนาในหมวดที่ห้า ในทำนองเดียวกับระยะแรก เป็นเวลา ๑๕ วัน
ระยะที่เก้า เอา ๕ หมวดรวมกัน ในทำนองเดียวกับระยะที่เจ็ด เป็นเวลา ๑๕ วัน
ระยะที่สิบ ใช้ภาวนาในหมวดที่หก ในทำนองเดียวกับระยะแรก เป็นเวลา ๑๕ วัน
ระยะที่สิบเอ็ด เอา ๖ หมวดรวมกัน ในทำนองเดียวกับระยะที่เก้า เป็นเวลา ๑๕ วัน รวมเป็นเวลาทั้งสิ้น ๕ เดือน ๑๕ วัน
ผู้ที่มีบารมีแก่กล้า เป็นติก บุคคล เจริญกายคตาสติดังนี้จะใช้เวลาไม่ถึง ๕ เดือน ๑๕ วัน ก็จะสำเร็จเป็นปฐมฌานลาภิบุคคล บางคนเร็วมากไม่ทันต้องท่องบ่น เพียงฟังอาจารย์สั่งสอนโกฏฐาสก็ปรากฏเกิดขึ้นแก่ใจแล้ว พวกบารมีปานกลาง (มัชฌิมบุคคล)เกิดช้าไปบ้าง แต่เมื่อครบ ๕ เดือน ๑๕ วันก็สำเร็จ ส่วนพวกบารมีอ่อน (มันทบุคคล) อาจไม่มีฌานปรากฎ
หากมันทบุคคลผู้ใดยังไม่ท้อถอยหมดกำลังใจ ควรท่องบ่นปฏิบัติต่อไปอีก ๖ เดือน โดยกระทำเหมือนการเริ่มต้นใหม่
กายคตาสติน ในการปฏิบัติใหม่ ๆ เมื่อต้องท่องบ่นครั้งแรก จะต้องท่องบ่นโดยกำหนดเป็นอย่าง ๆ มี ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง ยังไม่ต้องพิจารณาเรื่องความเป็นสี เป็นปฏิกูล เป็นธาตุดิน น้ำ ฯลฯ แต่อย่างใด ทั้งนี้เพื่อป้องกันไม่ให้วัณณนิมิต ปฏิกูลนิมิตหรือธาตุนิมิตเกิด ทำให้เข้าใจผิดได้ เมื่อบริกรรมโดยความเป็นผม ขน เล็บ ฟัน หนัง แต่นิมิตเรื่อง สี ปฏิกูล ธาตุ เกิดขึ้นเอง แสดงว่าผู้ปฏิบัติเคยมีบารมีที่เกี่ยวกับการเจริญกสิณดังนั้นมาแต่ภพก่อน สมควรเจริญภาวนาโดยท่องบ่นพิจารณาโดยความเป็น สี ปฏิกูลหรือ ธาตุ ตามที่ปรากฏนั้นต่อไป จึงจะเหมาะสมถูกต้องกับจริตอัธยาศัยการที่เจริญกายคตาสติสามารถปรากฏได้ทั้ง วัณณนิมิต หรือปฏิกูลนิมิต หรือธาตุนิมิต เพราะโกฏฐาสทั้ง ๓๒ มีลักษณะทั้ง ๓ เป็นองค์ประกอบอยู่ด้วยกันทุกโกฏฐาสนิมิตทั้ง ๓ นี้ วัณณนิมิตและปฏิกูลนิมิตปรากฏได้ไม่ยาก สำหรับธาตุนิมิตนั้นทั้งปรากฏยากและรู้ได้ยาก
โดยหลักการปฏิบัติแล้ว ในอุคคหโกสัลละ ๒ อย่างนั้น ให้ยึดถือ ๒ ข้อแรก คือ วจสา (การพิจารณาโดยใช้วาจา) และมันสา การพิจารณาด้วยใจ เป็นหลักของการปฏิบัติส่วนที่เหลือ ๕ ข้อหลัง เป็นข้อปลีกย่อยของข้อ มนสา คือเมื่อใจพิจารณาโกฏฐาสอย่างใดอย่างหนึ่งตามวาจาที่ท่องบ่นอยู่ ในเวลานั้นการพิจารณาโดยความเป็นสี เป็นรูปร่างสัณฐานที่เกิด ที่ตั้ง และกำหนดขอบเขตก็มีพร้อมไปด้วย ยกตัวอย่างในการภาวนาหมวดแรกจะพิจารณาได้ดังนี้
๑. เกสา คือผม มีทั้งสีดำ แดง ขาว สัณฐานกลมยาว มีจำนวนประมาณ ๕ ล้านเส้น เกิดขึ้นอยู่เบื้องบนของร่างกาย ตั้งอยู่ในหนังอ่อนซึ่งห่อหุ้มกระโหลกศีรษะ บริเวณที่อยู่ของเส้นผม สุดลงแค่จดหมวกหูทั้งสองข้าง ด้านหน้าจดหน้าผาก ด้านหลังจดหลุมคอ ขอบเขตของเส้นผมตอนล่างสุดของผมแต่ละเส้น มีโคนหยั่งลงไปในหนังศีรษะลึกประมาณเท่าปลายเมล็ดข้าวเปลือก ตอนบนมีขอบเขตแค่อากาศ (หมายความว่าสุดสิ้นแค่ความยาวสั้นของเส้นผมของแต่ละคน) ขึ้นเป็นแต่ละเส้น ๆ ขึ้นติดกันสองเส้นไม่มีเส้นผมขึ้นอยู่ในที่เฉพาะดังที่กล่าวนี้ ไม่ขึ้นอยู่ในโกฏฐาสอื่นอีก
๒. โลมา คือขน มีสีดำบ้าง เหลืองบ้าง ไม่ดำล้วน มีจำนวนประมาณ ๔๐ ล้านเส้น แต่ละเส้นมีสัณฐานดังรากต้นตาล ปลายน้อมลง เกิดอยู่ทั้งส่วนบนและส่วนล่างของร่างกาย อยู่ตามผิวหนังทั่วตัว เว้นไว้แต่ที่เส้นผมเกิด ฝ่ามือ ฝ่าเท้า ขอบเขตตอนล่างกำหนดเอาแค่รากของขนที่แยงฝังอยู่ในหนังหุ้มร่าง ลึกประมาณเท่าไข่เหา ตอนบนกำหนดเอาอากาศ คือสุดเท่าความยาว ส่วนกว้างกำหนดด้วยส่วนของกันและกัน ไม่มีการขึ้นติดกันสองเส้น มีอยู่โดยเฉพาะในร่างกาย มิใช่อยู่ในโกฏฐาสอื่น ๆ
๓. นขา คือเล็บ มีสีขาว สัณฐานเหมือนเกล็ดปลา เกิดอยู่ทั้งสองส่วนคือที่มือและเท้า ตั้งอยู่ที่หลังปลายนิ้วมือ นิ้วเท้า ขอบเขตกำหนดด้วยเนื้อปลายนิ้วทั้ง ๓ ด้านภายในกำหนดด้วยเนื้อหลังนิ้ว ภายนอกและปลายกำหนดด้วยอากาศ ส่วนกว้างกำหนดด้วยส่วนของกันและกัน ไม่มีเล็บติดกัน ๒ อัน มีอยู่โดยเฉพาะในร่างกาย มิใช่โกฏฐาสอื่น ๆ
๔. ทันตา คือฟัน มีสีขาว จำนวน ๓๒ ซี่ บางคนมีเพียง ๒๘-๒๙ ซี่ มีสัณฐานต่าง ๆ คือตอนกลาง ๆ มีซี่ฟันเป็นระเบียบอยู่ ๔ ซี่ ฟันข้างล่างเหมือนเม็ดน้ำเต้าที่เสียบติดไว้เป็นลำดับบนก้อนดินเหนียว ฟันหน้า ๔ ทั้งบนล่างมีรากฟันซี่ละรากเดียว ทรวดทรงเหมือนดอกมะลิตูม ฟันกรามมีราก ๒ ง่ามปลายฟันก็มี ๒ ง่าม ทรวดทรงเหมือนไม้ค้าเกวียน ถัดกรามเข้าไปเป็นฟันกรามใน มีราก ๓ ง่าม ปลายฟันก็มี ๓ ง่าม ส่วนกรามในสุดมีราก ๔ ง่าม ปลายมี ๔ ง่าม มีลักษณะดังนี้ทั้งฟันล่างและบน เกิดอยู่ส่วนบนของร่างกาย ตั้งอยู่ที่กระดูกคางทั้งสอง ขอบเขตเบื้องต่ำกำหนดด้วยอากาศ ส่วนกว้างกำหนดด้วยส่วนของกันและกัน ฟันติดกันสองไม่มี มีอยู่โดยเฉพาะในร่างกาย มิใช่โกฏฐาสอื่น ๆ
๕. ตโจ คือ หนัง ได้แก่ผิวหนังที่ห่อหุ้มร่างกาย มีสีดำบ้าง คล้ำบ้าง เหลืองบ้างขาวบ้าง ส่วนที่เป็นหนังหนาจึงจะมีสีขาวอย่างเดียว หนังมีขนาดสัณฐานเท่าร่างกาย เกิดคลุมอยู่หมดทั้งส่วนบน ส่วนล่าง รัดรึงอยู่ไปทั่วทั้งตัว ขอบเขตเบื้องต่ำกำหนดด้วยพื้นที่ตั้งอยู่ เบื้องบนกำหนดด้วยอากาศมีอยู่โดยเฉพาะในร่างกาย มิใช่โกฏฐาสอื่น ๆ ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เหล่านี้ เมื่อว่าโดยสี สัณฐาน กลิ่น ที่อาศัยเกิด ที่ตั้ง ล้วนเป็นของน่าเกลียดทั้งสิ้น สังเกตได้เวลาของเหล่านี้บังเอิญหลุดออกจากที่ตั้งไปหล่นอยู่ในอาหาร แม้จะเป็นอาหารที่ดีวิเศษเพียงใดก็ดูเป็นอาหารนั้นสกปรกไปทันทีโกฏฐาสอื่น ๆ ก็ใช้พิจารณาในทำนองเดียวกัน
๖. พิจารณามังสัง เนื้อก้อนเนื้อในร่างกายของเราแยกเป็นประเภท ได้ ๙๐๐ ชิ้น มีสีแดงราวดอกทองกวาวหรือทองหลางป่า มีสัณฐานต่าง ๆ กันตามที่อยู่ เนื้อแข็งเหมือนใบตาลที่ยังม้วนห่ออยู่ หรือเหมือนดอกเกดตูม เนื้อขาเหมือนลูกศิลาที่ใช้บดของ เนื้อสะโพกเหมือนก้อนเส้า เนื้อหลังเหมือนเยื่อตาลสุก เนื้อสีข้างดังดินที่นำมาทาฝาฉางเก็บข้าวเปลือก เนื้อนมดังก้อนดินที่แขวนเอาไว้ เนื้อแขนดังหนูตัวใหญ่ที่ถูกถลกหนังตัดหัวตัดเท้าวางซ้อนกัน เนื้อก้นดังเนื้อตัวกบ เนื้อลิ้นดังกลีบดอกบัว เนื้อจมูกดังถุงที่วางคว่ำไว้ เนื้อขุมตาตั้งลูกมะเดื่อเกือบสุก เนื้อศีรษะมีสัณฐานดังดินที่เอามาทาบาง ๆ ใช้รมบาตรว่าโดยทิศ เนื้อมีอยู่ทั้งตอนบนตอนล่าง ว่าโดยที่ตั้ง เนื้อหุ้มกระดูกอยู่ทั้ง ๓๐๐ ท่อนผู้ปฏิบัติพึงพิจารณาให้เห็นปฏิกูลว่า แม้เนื้อกับกระดูกหุ้มติดกันอยู่ แต่ทั้งคู่ไม่รู้จักกัน เหมือนเอาดินทาฝาบ้าน ดินกับฝาก็ไม่รู้จักกัน เนื้อกับกระดูกก็เป็นสภาวะสูญเปล่าไม่ใช่สัตว์ บุคคล พิจารณาถึงขอบเขต เบื้องต่ำอยู่ที่พื้นของร่างกระดูก เบื้องบนหุ้มไว้ด้วยหนัง ทางขวางสิ้นสุดลงด้วยชิ้นเนื้อนั้นเอง
๗. พิจารณา นหารุ เส้นเอ็น มี ๔๐๐ เส้น มีสีขาว บางแห่งว่าสีน้ำผึ้ง มีสัณฐานต่าง ๆ เส้นใหญ่ เหมือนดอกคล้าตูม เส้นเล็กเหมือนเชือกที่ใช้ดักหมู เส้นที่เล็กกว่าลงไปเหมือนเชือกเส้นเล็ก ที่ขนาดเล็กกว่านั้นเหมือนสายพิณชาวสิงหฬ ที่เล็กลงไปที่สุดเหมือนเส้นด้าย เส้นที่หลังมือหลังเท้าเหมือนสัณฐานเท้าของนก เส้นที่บนศีรษะเหมือนผ้าทุกุลพัตรเนื้อห่างที่คนวางไว้บนศีรษะทารก เส้นในหลังใหญ่ประมาณเท่าเมล็ดในพุดทรา มีสีต่าง ๆ สีดำก็มี สัณฐานเหมือนแหและอวนที่พึ่งออกตากไว้กลางแดด เส้นทั้งหลายรัดรึงกระดูกไว้ทั้ง ๓๐๐ ท่อน เกี่ยวประสานกันไว้ทั่วกรัชกายเหมือนรูปหุ่นที่มีสายยนต์ขึงไว้ เส้นใหญ่แล่นออกไปตามชายโครงซ้าย ๕ เส้น ขวา ๕ เส้น สันหลังข้างซ้าย ๕ เส้น ข้างขวา ๕ เส้น เส้นใหญ่ทั้งสิ้นนี้ไปรวมกันอยู่ที่คอ และยังมีเส้นใหญ่แล่นไปตามแขนซ้ายขวาข้างละ ๑๐ เส้น (หน้าแขน ๕ เส้น หลังแขน ๕ เส้น) เท้าทั้งสองอีกข้างละ ๑๐ เส้น เส้นที่เล็กกว่านั้นเหมือนด้ายฟันก็มี เหมือนเถากระพังโหมก็มี เกี่ยวประสานกระดูกน้อย ๆ ให้ผูกติดอยู่กับเอ็นใหญ่ ว่าโดยที่ตั้ง เส้นเอ็นเหล่านี้อยู่ทั่วร่างกาย ถ้าว่าโดยขอบเขต เบื้องต่ำตั้งอยู่ที่กระดูก ๓๐๐ ท่อน เบื้องบนตั้งอยู่ในเนื้อ เบื้องขวางอยู่ที่เส้นเอ็นด้วยกัน ให้พิจารณาเป็นปฏิกูลว่า เส้นเอ็นกับกระดูกผูกพันกันอยู่ก็จริง แต่ไม่รู้จักกัน ธรรมเหล่านี้เป็นสภาวะสูญเปล่า ไม่ใช่สัตว์ บุคคล
๘. พิจารณากระดูก มีอยู่ประมาณ ๓๐๐ ท่อน คือ กระดูกมือ ๖๔ กระดูกเท้า ๖๔ กระดูกอ่อน ๖๔ ที่อยู่ในเนื้อ (มีอย่างละ ๖๔ ชิ้น) กระดูกเท้า ๒ ข้อเท้า ๒ แข้ง ๒ เข่า ๒ ขา ๒ สะโพก ๒ สะเอว ๒ สันหลัง ๑๘ ซี่โครง ๒๔ กระดูกอก ๑๔ หัวใจ ๑ รากขวัญ ๒ กระดูกใหญ่ ๒ แขน ๒ อก ๒ คอ ๗ คาง ๒ จมูก ๑ กระบอกตา ๒ หู ๒ หน้าผาก ๑ สมอง ๑ ศีรษะ ๙
กระดูกทั้งหมดมีสีขาว มีรูปร่างต่าง ๆ เช่นกระดูกปลายนิ้วเท้ามีปร่างเหมือนลูกบัว กลางนิ้วเท้าเหมือนเมล็ดขนุนหนัง ต้นข้อนิ้วเท้าเหมือนกลองเล็ก (กลองบันเฑาะ) กระดูกข้อเท้าเหมือนกองดอกคล้าที่ร่วงหล่น ส้นเท้าเหมือนหัวตาล ข้อเท้าเหมือนลูกสะบ้า ปลายแข็งเหนือส้นเหมือนหน่อเป้ง ลำแข้งคล้ายคันธนู หัวเข่าเหมือนฟองน้ำผุดกลมขึ้นเหมือนข้าง ๆ แหว่งไปเล็กน้อย ขาเหมือนด้ามขวานที่ถากไม่ดีนัก สะเอวเหมือนเตาเผาหม้อ สะโพกเหมือนพังพานงูที่วางคว่ำไว้ มีช่องน้อยใหญ่ ๗-๘ แห่ง ตรงกระดูกหลังเหมือนแผ่นดีบุกรูปร่างกลม ๆ เอามาซ้อน ๆ กัน ตรงรอยต่อมีเป็นตุ่ม ๆ โผล่ขึ้นมาเหมือนฟันเลื่อย ซี่โครงเหมือนเคียวยาว ๆ ทั้ง ๒๔ ปี ส่วนที่สั้นเหมือนเดียวตัดครึ่งเล่มกลางเล่มเรียงกันอยู่เป็นลำดับเหมือนปีกไก่ที่กางออก ส่วนอีก ๑๔ เหมือนเรือนคานหามปีกครุฑเก่า กระดูกหทัยเหมือนใบทับทิม กระดูกรากขวัญเหมือนด้ามมีดน้อย ๆ กระดูกไหล่เหมือนจอบชาวสิงหฬที่เกรียนไปข้างหนึ่ง แขนเหมือนด้ามแว่นเวียนเทียน ข้อมือเหมือนแผ่นดีบุก หลังมือเหมือนดอกคล้า ปลายนิ้วมือเหมือนลูกเกด ข้อกลางเหมือนเมล็ดในขนุนหนัง ต้นข้อของนิ้วมือเหมือนกลองบัณเฑาะ กระดูกคอ ๗ ข้อ เหมือน
หน่อไม้ไผ่ตัดให้กลม กระดูกคางล่างเหมือนดื่มของนายช่างทำทอง คางบนเหมือนมืดเกลาเปลือกอ้อย กระบอกตาและจมูกเหมือนลูกตาลที่ผ่านข้างบนแล้วควักเยื่อออกจนหมด หน้าผากเหมือนเปลือกสังข์ หมวกหูเหมือนฝักมีดโกน กระดูกศีรษะเหมือนเปลือกนํ้าเต้าเก่า
เรื่อง (โอกาส) ที่ตั้งของกระดูก กระโหลกศีรษะตั้งอยู่บนกระดูกคอ ๆ ตั้งอยู่บนกระดูกสันหลัง ๆ ตั้งอยู่บนกระดูกสะเอว ๆ ตั้งอยู่บนกระดูกขา ๆ ตั้งอยู่บนกระดูกแข้ง ๆ ตั้งอยู่บนกระดูกข้อเท้า ขอบเขตของกระดูกอยู่ที่ส่วนสุดของตน ของตน สามารถพิจารณาให้เห็นเป็นปฏิกูลได้เหมือนเกสา
๙. พิจารณาเยื่อในกระดูก ถ้ากระดูกใหญ่ เยื่อในกระดูกก็มีมาก กระดูกเล็กก็มีเยื่อในกระดูกน้อย มีสีขาว ภายในกระดูกใหญ่ ๆ เยื่อในกระดูกมีสัณฐานเหมือนยอดหวายใหญ่ที่เผาไฟให้ร้อนแล้วปอกเอาเปลือกออกเสีย ใส่ไว้ในปล้องอ้อหรือปล้องไม้ไผ่เล็ก ๆ เยื่อในกระดูกเกิดอยู่ในกระดูก แต่ของสองอย่างนี้แม้เกิดอยู่ด้วยกัน ก็ไม่รู้จักกัน เป็นสภาวะสูญเปล่า ขอบเขตของมันก็เกิดอยู่ในกระดูกนั่นเอง
๑๐. พิจารณาม้าม ข้ามเป็นอวัยวะมีสีแดงเหมือนเมล็ดในดอกทองหลาง มีสัณฐานเหมือนล้อที่เด็กทารกในชนบทใช้ลากเล่น บางทีก็ว่าเหมือนผลมะม่วง มีก้านสองอันออกจากขั้วเดียวกันอยู่ตอนบน ม้ามเป็นชิ้นเนื้อสองชิ้นประกบกันอยู่ มีขั้วต่ออยู่กับเส้นใหญ่ที่ออกมาจากคอหอย ตอนต้นเป็นเส้นเดียวแล้วแยกออกเป็นสอง หุ้มก้อนเนื้อหัวใจ หทัยมังสะไว้ ควรพิจารณาให้เห็นว่าม้ามกับเส้นใหญ่อยู่ด้วยกัน แต่ไม่รู้จักกันเลย เป็นสภาวะสูญเปล่าโดยแท้ ทั้งเป็นปฏิกูลอีกด้วย
๑๑. พิจารณาหัวใจ (หทัย) เป็นอวัยวะมีสีแดงเหมือนกลีบดอกบัว มีรูปร่างเหมือนดอกบัวที่ปอกเปลือกข้างนอกสีเขียว ๆ ออก แล้วจับวางคว่ำไว้ ข้างหนึ่งของหัวใจเป็นช่องเหมือนลูกบุนนาก ที่ตัดปลายออก ข้างนอกเรียบเกลี้ยง ข้างในเหมือนรังบวบขม ภายในมีช่องอยู่พอประมาณ ถ้าเป็นคนมีปัญญาเฉลียวฉลาด หัวใจเป็นรูปบัวแย้มเล็กน้อย แต่ถ้าเป็นคนปัญญาน้อย หรือไม่มีปัญญา รูปร่างจะเหมือนดอกบัวตูมปิดสนิทภายในหทัยวัตถุนั้นมีน้ำประมาณ ๑ ซองมือ เรียกว่าน้ำเลี้ยงหทัยเป็นที่อาศัยเกิดของมโนธาตุและมโนวิญญาณธาตุ
ถ้าเป็นคนราคจริต น้ำเลี้ยงหัวใจมีสีแดง
ถ้าเป็นคนโทสจริต น้ำเลี้ยงหัวใจมีสีดำ
ถ้าเป็นคนโมหจริต น้ำเลี้ยงหัวใจเป็นสีแดงจาง ๆ คล้ายน้ำล้างเนื้อ
ถ้าเป็นคนศรัทธาจริต น้ำเลี้ยงหัวใจจะผ่องใสบริสุทธิ์ดุจสีดอกกรรณิการ์
ถ้าเป็นคนพุทธจริต (มีปัญญา) น้ำเลี้ยงหัวใจบริสุทธิ์สะอาดดุจแก้วมณีโชติที่ชำระล้างไว้ดีแล้ว ดวงหทัยนี้ตั้งอยู่ใน (ทิศ) ตอนบนของร่างกาย เกิดในท่ามกลาง ตรงระหว่างนมทั้งสองข้าง แต่อยู่ภายในร่างกายเข้าไป แม้นมทั้งสองข้างกับหัวใจจะเกิดอยู่ใกล้กัน ก็ไม่รู้จักกัน เป็นสภาวะสูญเปล่า เป็นปฏิกูล
๑๒. พิจารณาก้อนเนื้อที่เรียกว่า ตับ มีสีแดงอ่อนไม่แดงจัด เหมือนกลีบนอกของดอกบัวที่ชื่อกุมุท รูปร่างของตับเป็นชิ้น ข้างต้นอันเดียวข้างปลาย ๒ แฉก ลักษณะเหมือนดอกทองหลาง ถ้าคนโง่เขลาจะมีตับใหญ่อันเดียวตลอด ตอนปลายไม่มีแฉก ถ้าเป็นคนฉลาดมีปัญญา จะมีตับขนาดเล็ก ปลายแยกออกเป็น ๒-๓ แฉก ตับอยู่ตอนบนของร่างกาย ทางสีข้างด้านขวา ภายในนมเข้าไป ตับอยู่ใกล้สีข้างแต่ก็ไม่รู้จักกัน เป็นสิ่งปฏิกูลน่าเกลียด เป็นสภาวะสูญเปล่าไม่ใช่สัตว์บุคคล
๑๓. พิจารณาพังผืด พังผืดมี ๒ ประการ ล้วนแต่มีสีขาว อย่างหนึ่งหุ้มอยู่รอบหัวใจและม้าม เรียกว่า ปฏิจฉันนะกิโลมกะ อีกอย่างหุ้มเนื้ออยู่ภายในหนังเรียกว่า อัปปฏิจฉันนะกิโลมกะ พิจารณาให้เห็นเป็นสิ่งปฏิกูล เป็นสภาวะสูญเปล่า
๑๔. พิจารณาไต มีความยาวประมาณ ๗ นิ้ว มีสีเขียวคล้ำ รูปร่างเหมือนลิ้นลูกโคดำ เกิดในทิศเบื้องบนคืออยู่ตอนบนของร่างกาย แนบติดอยู่ทางเบื้องบนของพื้นท้องอยู่ข้างซ้ายของหัวใจ ไต ตับ พื้นท้อง อยู่ด้วยกันแต่ก็ไม่รู้จักกัน เป็นสิ่งปฏิกูล พิจารณาแล้วย่อมเป็นสภาวะสูญเปล่า
๑๕. พิจารณาปอด เป็นชิ้นเนื้อเล็ก ๆ เหมือนฟองน้ำเนื้อละเอียดมาก ๓๒ ชิ้น ติดกันอยู่ มีสีแดงเหมือนสีมะเดื่อสุก มีรูปร่างเหมือนชั้นขนมที่ตัดเป็นเสี้ยวหนา หรือเหมือนกระเบื้องมุงหลังคาที่เป็นเกล็ดดื่ม ถ้าหากอดอาหาร ไฟธาตุจะเผาเนื้อปอดเที่ยวเนื้อปอดนั้นไม่มีรสชาติ ปอดตั้งอยู่ในร่างกายตอนบน อยู่ระหว่างนมทั้ง ๒ ข้าง ห้อยลงมาปิดตับและหัวใจ เป็นสิ่งปฏิกูล
๑๖. พิจารณาไส้ใหญ่ ไส้ใหญ่ของชายยาวประมาณ ๓๒ ศอก ของหญิง ๒๘ ศอกขดเป็นวง ๆ จํานวน ๒๑ ขด สีขาวเหมือนสีปูนที่ทำมาจากศิลาแลง รูปร่างของไส้เหมือนซากงูตายที่ตัดหัวออกทิ้งแล้ว เอาไปขุดไว้ในรางโลหิต เป็นสิ่งปฏิกูล
๑๗. พิจารณาไส้น้อย มีสีเหมือนรากบัว รูปร่างก็เช่นเดียวกับรากบัวคดไปคดมา มีอยู่ทั้งตอนบนและตอนล่างของร่างกาย ขูดรัดรึงไส้ใหญ่ไว้ด้วยกัน เป็นปฏิกูลน่าเกลียด
๑๘. พิจารณาอาหารใหม่ ที่อยู่ในกระเพาะอันป้องพอง ภายนอกดูเกลี้ยงเกลาแต่ผนังภายในกระเพาะกลับขรุขระ ในกระเพาะมีหมู่พยาธิอยู่ถึง ๓๒ จำพวก ถ้ายังไม่มีอาหารตกลงไปเป็นเวลานานพยาธิจะพากันหิวก็พากันกัดไส้ในพุง ให้รู้สึกเจ็บปวดในท้องไม่สบาย พออาหารตกลงไปมันก็พากันแหงนคอยกิน อาหารคำแรก ๆ พวกพยาธิจะพากันแย่งกินหมด ในกระเพาะเปรียบได้กับบ่อน้ำครำอันสกปรก เต็มไปด้วยอุจจาระปัสสาวะ เสมหะ น้ำลาย เนื้อ หนัง กระดูก เอ็น แหลกเป็นชิ้นน้อยใหญ่หมักหมมอยู่ เมื่อไฟธาตุเข้าท่าการย่อยก็ขึ้นเป็นฟองปุด ๆ มีสีเขียวคล้ำต่าง ๆ มีกลิ่นเหม็นน่ารังเกียจอาหารที่ถูกบดถูกเคี้ยวด้วยฟัน ผสมกับน้ำลายปนกับน้ำดี เสมหะ ไม่ผิดกันกับอาเจียนของสุนัข ยังเป็นฟองฟอด มีหมู่หนอนยั้วเยี้ยเต็มไปหมด อาหารทั้งหมดที่กินเข้าไปนั้นเหล่าหนอนพยาธิกันเสีย ๑ ส่วน ไฟธาตุไหม้ไปเสีย ๑ ส่วน ไปหล่อเลี้ยงร่างกาย ๑ ส่วน เป็นน้ำปัสสาวะไป ๑ ส่วน เป็นอาหารเก่าไป ๑ ส่วน ส่วนที่ไปเลี้ยงร่างกาย เลี้ยงเสร็จแล้วก็ไหลออกมาเป็นขี้หู ขี้ตา ขี้มูก ขี้ฟัน ฯลฯ ตามทวารทั้ง ๙ ล้วนแต่น่าเกลียดชังยิ่งนัก ทั้งยังเป็นปฏิกูลทุกประการ
๑๙. พิจารณาอาหารเก่า ซึ่งเป็นอาหารที่ไฟธาตุเผาย่อยอยู่ มีสีต่าง ๆ ตามที่บริโภคเข้าไป ส่วนรูปร่างสัณฐานเป็นไปตามที่มันถูกบรรจุอยู่ ถ้าอยู่ในกระเพาะ รูปร่างก็เหมือนกระเพาะ ถ้าไปค้างอยู่ที่ลำไส้ ก็มีรูปร่างเหมือนลำไส้ ตั้งอยู่ตรงที่สุดลำไส้ใหญ่ระหว่างท้องตอนล่างและกระดูกข้างหลังที่เป็นหนาม อาหารที่ถูกกินเข้าไป เมื่อตกลงสู่กระเพาะอาหารใหม่ ไฟธาตุก็ย่อยให้แหลกละเอียดเหมือนบดด้วยแผ่นหิน แล้วอาหารนั้นก็ไหลเลื่อนไปตามช่องของไส้ใหญ่ ไปรวมเป็นก้อนอยู่ในกระเพาะอาหารเก่า เหมือนดินเหลืองที่ใส่ไว้ในปล้องไม้สูง ๘ นิ้ว เป็นสิ่งปฏิกูลอยู่ดังเดิม
๒๐. พิจารณาสมอง มันสมองที่อยู่ภายในหัวกระโหลกศีรษะนั้น มีสีขาวเหมือนสีดอกเห็ด แต่ก็ไม่ขาวเท่านมข้น สีพอ ๆ กับสีนมสด รูปร่างเหมือนหัวกระโหลกที่บรรจุอยู่ส่วนบนของร่างกาย แบ่งออกเป็นสี่ส่วน เหมือนก้อนแป้ง ๔ ก้อนที่วางรวมกันไว้ มีจำนวนเท่าความโตของหัวกระโหลกคงเป็นสิ่งปฏิกูลเหมือนสิ่งอื่น
๒๑. พิจารณาน้ำดี ที่มี ๒ อย่าง ดีที่อยู่ในฝัก และที่ไม่มีฝัก ดีที่อยู่ในฝัก มีสีเหมือนสีน้ำมันผลมะซางขึ้น ส่วนน้ำดีที่ไม่อยู่ในฝักมีสีเหมือนสีดอกพิกุลแห้ง น้ำที่มีรูปร่างแล้วแต่แหล่งที่อยู่ ดีที่อยู่ในฝักอยู่ท่อนบนของร่างกาย ส่วนที่ไม่อยู่ในฝักมีอยู่ทั้งตอนบนและล่าง ซึมซาบอยู่ทั่วสรรพางค์กาย ฝึกที่มีสัณฐานเหมือนฝักบวบขมใหญ่แอบอยู่กับเนื้อตับ ตั้งอยู่ระหว่างปอด น้ำดีถ้ากำเริบไม่ปกติ เจ้าตัวก็จะเป็นบ้า มีสัญญาวิปลาส ปราศจากหิริโอตตัปปะ เราจึงมีสำนวนพูดกันว่า บ้าดีเดือด ดีก็เป็นสิ่งปฏิกูลเหมือนสิ่งอื่น
๒๒. พิจารณาเสมหะ เสมหะในร่างกายของคนเรามีจำนวนมากประมาณเต็มบาตรใบหนึ่ง มีสีขาวเหมือนน้ำใบแตงหนู มีรูปร่างสัณฐานตามที่อยู่ มีอยู่ตอนบนของร่างกาย คือตั้งแต่ท้องขึ้นไป ที่ตั้ง อยู่ในบริเวณพื้นท้อง เมื่อกินอาหารลงไป อาหารตกลงถูกเสมหะที่ในลำคอ เสมหะขาดออกเป็นช่องให้อาหารผ่าน เมื่อผ่านไปแล้วก็กลับปิดติดกันดังเก่า เสมหะจึงมีหน้าที่ปิดสิ่งสกปรกมิให้ส่งกลิ่นขึ้นมาจากในท้อง ถ้าเสมหะมีจำนวนน้อยก็จะปิดกลิ่นไม่หมด มีกลิ่นเหม็นฟุ้งออกมาทางปากด้วยธาตุลมมีพัดขึ้นเบื้องบน(อุทธังคมาวาตะ) เสมหะเป็นสิ่งปฏิกูลน่ารังเกียจ
๒๓. พิจารณาน้ำเหลือง หรือน้ำหนอง น้ำเหลืองในร่างกายที่ยังมีชีวิตอยู่มีสีเหลือง ส่วนน้ำเหลืองในซากศพมีสีเหมือนน้ำข้าวข้น ๆ ที่บูด มีสัณฐานรูปร่างตามแหล่งที่เกิด อยู่ทั้งตอนบนและตอนล่างของร่างกาย ที่อยู่ไม่แน่นอน ไม่ได้อยู่เป็นประจำในที่ใด แต่จะเกิดมีขึ้นตรงร่างกายที่เป็นบาดแผล เช่นถูกอาวุธ ถูกไฟ ตรงไหนมีเลือดไปคั่งอยู่ น้ำเหลืองก็จะเกิดที่นั่น เป็นปฏิกูลน่าเกลียดชัง
๒๔. พิจารณาเลือด เลือดมี ๒ ชนิด เลือดข้น (สันนิจิตโลหิต) เลือดเหลว (สังสรนะโลหิต) เลือดขั้นมีสีแดงสดดังน้ำครั่งข้น ๆ เกิดอยู่ตอนบนของร่างกาย มีปริมาณเต็มบาตรใบหนึ่งท่วมตั้งแต่เนื้อตับส่วนล่างไปจนถึงหัวใจ ปอด ม้าม ไหลซึมชุ่มไปทีละน้อย ๆ ทั่วไปในอวัยวะเหล่านั้น ถ้าเลือดข้น คือสันนิจิตโลหิตไม่ชุ่มอาบไปทั่วหัวใจ ตับปอดและม้ามแล้ว จะเกิดกระหายนํ้ามากผิดปกติ ส่วนเลือดเหลว (สังสรนะโลหิต) ไหลไปตามกระแสเส้นโลหิตทั้งหมดในอวัยวะทั้งปวงของร่างกาย ดุจน้ำที่ซึมซับอยู่ในทรายเว้นไว้แต่ผิวหนังที่หนากระด้างแห้ง ผม ขน เล็บ และฟัน ถ้าตรงส่วนใดเกิด บาดแผลเนื้อหนังเปิดออก เลือดเหลวก็จะไหลออกจากที่นั้น โลหิตเป็นปฏิกูลทั้งสองชนิด
๒๕. พิจารณาเหงื่อ เป็นธาตุน้ำ (อาโป) ที่ไหลออกตามขุมขน มีสีใส ๆ เหมือนน้ำมัน มีรูปร่างสัณฐานที่อยู่ เกิดทั้งตอนบนและล่างของร่างกาย เหงื่อไม่ได้เกิดมีอยู่เป็นประจำเหมือนเลือด แต่จะเกิดมีขึ้นเมื่อร่างกายร้อนด้วยอากาศ ไฟ หรือแดด หรือธาตุใดธาตุหนึ่งในร่างกายผิดปกติ เกิดขึ้นแล้วก็ไหลออกมาทางขุมขนชุมผม มีขนาดกำหนดด้วยจำนวนเหงื่อเอง เป็นของปฏิกูลเหมือนสิ่งอื่น
๒๖. พิจารณาน้ำมันข้น มีสีเหมือนแท่งขมิ้นที่ผ่าออก สำหรับคนอ้วน มันข้นที่อยู่ระหว่างหนังและเนื้อมีรูปร่างเหมือนผ้าทุกุลพัสตร์ เหลืองเหมือนสีขมิ้น ส่วนคนผอมมันข้นที่ติดอยู่กับเนื้อแข็ง เนื้อขา เนื้อหลังตรงกระดูกหนามหลัง และเนื้อก้อนที่หน้าอก มีรูปร่างสัณฐานเหมือนท่อนผ้าทุกุลพัสตร์ที่พับเป็น ๒-๓ ชั้นวางเอาไว้ มันขึ้นเกิดขึ้นทั้งตอนบนและตอนล่างของร่างกาย ส่วนที่อยู่นั้นเกิดอยู่ทั่วไปในสรรพางค์กายเฉพาะคนผอมมักมีอยู่ที่เนื้อแข็ง เนื้อขา ส่วนขอบเขต เบื้องต่ำตั้งแต่เนื้อขึ้นไป เบื้องบนตั้งแต่หลังลงมา เบื้องขวางกำหนดเอาตัวมันขึ้นนั้นเอง มันข้นคงเป็นสิ่งปฏิกูล
๒๗. พิจารณาน้ำตา อันเป็นอาโปธาตุ (ธาตุน้ำ) ที่ไหลออกมาจากดวงตา มีสีเหมือนน้ำมันงาใส ๆ มีสัณฐานตามที่อยู่ เกิดขึ้นที่ท่อนกายตอนบน น้ำตามีอยู่ในเบ้าตาทั้งสองข้าง แต่มิใช่มีอยู่เป็นประจำ แต่จะมีเกิดขึ้นเมื่อ ดีใจ อดนอน หรือเสียใจ ร้องไห้มิฉะนั้นก็กินอาหารเผ็ดจัด ร้อนจัด หรือมีขี้ผงปลิวเข้าตา ควันไฟรมเอา ปอกเปลือกหัวหอมออกนั่น ฯลฯ นํ้าตาก็เป็นสิ่งปฏิกูล
๒๘. พิจารณาน้ำมันเหลว มีสีเหมือนน้ำมันมะพร้าว หรือน้ำมันงา เกิดอยู่ทั้งตอนบน และตอนล่างของร่างกาย โดยปกติแล้วมันเหลวอยู่ที่ฝ่ามือฝ่าเท้า หลังมือหลังเท้า ภายในช่องจมูก และที่หน้าผาก จงอยบ่า เป็นส่วนใหญ่ สำหรับในที่อื่น ๆ ไม่มีอยู่เป็นประจำเหมือนที่ที่กล่าวนั้น เมื่อใดเกิดอาการร้อนด้วยไฟ ด้วยแดด หรือออกกำลังหรือร้อนด้วยธาตุกำเริบ จึงจะมีมันเหลวไหลออก เป็นปฏิกูล
๒๙. พิจารณาน้ำลาย อันเป็นอาโปธาตุที่ผสมด้วยฟอง อยู่ในปากของสัตว์ทั้งปวงมีสีขาว เกิดอยู่เบื้องบนของร่างกาย คืออยู่ที่ในปาก ไหลออกจากกระพุ้งแก้มทั้งสองข้างอยู่เหนือลิ้น แต่ไม่ได้มีอยู่ประจำเป็นนิจ เมื่อเห็นอาหารที่ชอบใจ หรือนึกถึงอาหารที่ชอบใจอันเคยรับประทาน มีความอยากกิน น้ำลายจึงไหลออก หรือมิฉะนั้นก็เอาอาหารที่ร้อน ที่เผ็ด ที่เปรี้ยว ที่เค็มใส่เข้าไปในปาก น้ำลายจะไหลออกจากกระพุ้งแก้ม มากองอยู่บนลิ้น น้ำลายที่อยู่ตรงโคนลิ้นเป็นน้ำลายข้น ส่วนที่อยู่ตรงปลายลิ้นเป็นน้ำลายเหลวเมื่อใดที่เอาของกินไปใส่เข้าไว้ในปาก น้ำลายก็จะไหลออกมาเอิบอาบเข้าไปจนทั่วของนั้น ๆ ไม่รู้จักหมด เหมือนบ่อทรายที่มีน้ำไหลซึมออกมาตลอดเวลา น้ำลายก็เป็นปฏิกูล
๓๐. พิจารณาน้ำมูก อันเป็นของสกปรกที่ไหลออกมาจากสมอง มีสีเหมือนเยื่อของเต้าตาลอ่อน มีสัณฐานเหมือนที่อยู่ของตน เกิดอยู่ที่ร่างกายตอนบน ตั้งอยู่เต็มช่องจมูกแต่มิใช่อยู่เป็นประจำ เมื่อใดร้องไห้ หรือกินอาหารเผ็ดร้อนจัด หรือธาตุพิการกำเริบเป็นหวัด ไอ มันสมองก็กลายเป็นเสมหะเน่าไหลออกมาจากภายในศีรษะ ลงมาตามช่องเบื้องบนเพดาน ลงมาที่ช่องจมูก บางทีก็ไหลล้นออกจากช่องจมูก เมื่อพิจารณาน้ำมูกที่ในช่องจมูกก็จะเห็นเป็นปฏิกูลอย่างยิ่ง
๓๑. พิจารณาน้ำไขข้อ ไขข้อนั้นอันที่จริงคือมันที่อยู่ตรงรอยต่อต่าง ๆ ของร่างกาย ไขข้อมีสีเหมือนยางกรรณิการ์ มีรูปร่างตามที่อยู่ของตน อยู่ทั้งตอนบนและล่างของร่างกาย ตามข้อต่อซึ่งมีอยู่ ๑๘๐ แห่ง เหมือนของพอกทารอยต่อของกระดูก ถ้าผู้ใดมีไขข้อน้อย จะลุกนั่งถอยหน้าถอยหลัง คู่เข้าเหยียดออก กระดูกที่ข้อต่อจะเสียดสีกันมีเสียงดัง ถ้าให้เดินไปไกล ๆ วาโยธาตุก็จะกำเริบ วิกลวิการเจ็บเนื้อเจ็บตัว ปวดเมื่อย ถ้าเป็นคนมีไขข้อมาก จะไม่มีอาการดังกล่าว น้ำไขข้อก็เป็นของปฏิกูล
๓๒. พิจารณาน้ำมูตร คือน้ำปัสสาวะ อันมีสีเหมือนน้ำล้างถั่วราชมาศ อยู่ในกระเพาะปัสสาวะ มีรูปร่างเหมือนน้ำที่ใส่ไว้ในรูปกระออมคว่ำ ตั้งอยู่ท่อนล่างของร่างกายใต้ท้องลงไป น้ำปัสสาวะเกิดอยู่ในกระเพาะปัสสาวะ เวลาเข้าสู่กระเพาะไม่มีทางไหลเข้าไป แต่ใช้วิธีซึมซาบเข้าไป ส่วนทางไหลออกมีให้เห็นอยู่ น้ำมูตรคือปัสสาวะนี้ ความจริง คืออาหารที่กินเข้าไป เมื่อถูกไฟธาตุทำลายให้แหลกละเอียดแล้ว ก็ซึมกรองเข้าในกระเพาะปัสสาวะ พอเต็มกระเพาะก็บันดาลให้เจ็บปวดใคร่จะถ่ายทิ้ง ต้องขวนขวายระบายออกน้ำปัสสาวะเป็นของปฏิกูลน่าเกลียด
การพิจารณาอาการทั้ง ๓๒ ดังกล่าวมา โดยใช้กล่าวบริกรรมชื่อ และใช้ใจพิจารณาดู สี รูปร่างสัณฐาน ที่เกิด (บน-ล่าง) ที่ตั้งขอบเขต ต้องพิจารณาเรียงตามลำดับก่อนหลังไม่กลับไปกลับมา หากไม่สะดวกที่จะใช้ภาษาบาลี ควรใช้ภาษาไทยเพราะเป็นภาษาที่ตนเคยชิน เพียงเอ่ยชื่อขึ้นในใจก็สามารถทราบความหมายได้ทันที โกฏฐาสสามารถปรากฏได้เร็วกว่าภาษาที่มิใช่ของตน เพราะใจจะต้องมัวกังวลแปลให้รู้ความหมายเสียก่อน จึงจะพิจารณาได้ถูก ทำให้เสียเวลา และจิตไม่เป็นสมาธิ การบริกรรมใช้ว่าเป็นทีละหมวด ๆ เช่นหมวดที่หนึ่ง ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เป็นต้น ดังวิธีการที่กล่าวไว้แล้วข้างต้นอย่างละ ๕ วัน เวลาบริกรรมแต่ละครั้งคงใช้ใจพิจารณาโดยอุคคหโกสัลละที่ได้กล่าวมาแล้ว
การพิจารณาโดยอุคคหโกสัลละ ๗ ประการดังนี้ จะมีประโยชน์ต่อผู้ปฏิบัติมากเมื่อปฏิบัติบังเกิดผล จะทำให้ความสำคัญผิดที่เห็นเป็นคนนั้น คนนี้ เป็นหญิง เป็นชายสวยงามหรือน่าเกลียด ฯลฯ เหล่านี้หายไป มีแต่นิมิตทางสี ปฏิกูล หรือธาตุปรากฏแยกให้ดูเป็นส่วน ๆ อุปมาดังตุ๊กตาเสือที่นายช่างประดิษฐ์ไว้ ราวกับเสื้อจริง ๆ เคลื่อนไหวทำกิริยาอาการต่าง ๆ ได้ เด็กเห็นเข้าย่อมไม่กล้าจับต้องเพราะความกลัว แต่เมื่อนายช่างถอดส่วนต่าง ๆ แยกออกเป็นชิ้น ๆ แล้ว เด็กก็หายกลัวเข้าไปหยิบถือเล่นได้ ผู้ปฏิบัติที่ได้รับผลย่อมสามารถพิจารณาแยกส่วนของโกฏฐาสได้ดังนี้เช่นกัน จะทำให้เกิดความรู้สึกว่า เมื่อเห็นคนสัตว์ต่าง ๆ แล้ว ไม่มีความคิดว่าเป็นคนนี้ สัตว์นั้น เห็นแต่เป็นโกฏฐาสกองรวมกันอยู่ สิ่งที่เห็น ไม่ใช่คนหรือสัตว์อันใด แม้แต่เวลาบริโภคอาหารก็รู้สึกเหมือนตักอาหารใส่ลงในโกฏฐาสเท่านั้น ความยึดถือในตัวตนจะหมดไป เมื่อพิจารณานิมิตต่อไปเรื่อย ๆ ฌาน มรรคผลย่อมเกิด
สำหรับการพิจารณาในมนสิการโกสัลละ อีก ๑๐ ข้อ หลังจากอุคคหโกสัลละ ทั้ง ๗ ผู้ปฏิบัติไม่จำต้องท่องบ่นด้วยวาจาอีกต่อไป คงใช้พิจารณาโกฏฐาสด้วยใจ คือ
๑. อนุปุพฺพโต พิจารณาตามลำดับ เริ่มแต่ สี สัณฐาน ที่ตั้ง ที่เกิด ขอบเขต อย่าให้ลักลั่นสลับไขว้เขว
๒. นาติสึฆโต พิจารณาอย่างไม่รีบร้อน เพราะถ้าเร็วนัก สี สัณฐาน ฯลฯ ของโกฏฐาสจะไม่เกิด
๓. นาติสณิกโต พิจารณาอย่าให้เฉื่อยช้านัก ถ้าช้ามากไป สี สัณฐาน หรืออื่น ๆ อาจปรากฏให้เห็นเป็นของสวยงามไปได้ ทำให้กรรมฐานไม่ถึงที่สุด ไปไม่ถึงฌาน มรรค ผล นิพพานนั่นเอง
๔. วิกฺเขปฺปปฏิพาหนโต พิจารณาโดยไม่ยอมให้จิตฟุ้งไปที่อื่น การเจริญกรรมฐานเปรียบเหมือนคนที่เดินไปใกล้เหว ทางเดินนั้นแคบมีระยะแค่ก้าวได้ทีละรอยเท้าเดียวจะต้องเดินด้วยความระมัดระวังเป็นที่สุดเพื่อไม่ให้พลาดตกลงไป ผู้ปฏิบัติจึงต้องระวังจิตมิให้ฟุ้งซ่าน เหมือนระวังการก้าวเดินริมเหวดังที่เปรียบเทียบนั้น ให้จิตตั้งมั่นอยู่แต่ในอารมณ์กรรมฐานเพียงประการเดียว
๕. ปณฺณตฺติสมติกฺกมโต พิจารณาโดยก้าวล่วงบัญญัติเสีย คือในระยะแรกการพิจารณาต้องอาศัยนามบัญญัติ ได้แก่ถ้อยคำเรียกชื่อดังนั้นดังนี้ เช่นเรียก ผม ขน เล็บ ฯลฯ และอาศัยสัณฐานบัญญัติ ว่ามีลักษณะกลม ยาว หรืออื่น ๆ เพื่อให้ปฏิกูลนิมิตเกิด เมื่อเกิดแล้วก็ไม่จําเป็นต้องพิจารณาโดยใช้บัญญัติเหล่านั้นอีก ก้าวล่วงคือทิ้งบัญญัติเสียเหมือนการปรารถนาค้นหาบ่อน้ำเพื่อใช้บริโภค เมื่อพบใหม่ ๆ ต้องทำเครื่องหมายตามทางเดินไว้ให้จำได้ จะได้กลับมาตักน้ำได้ง่ายไม่ต้องค้นหา ครั้นเดินไปมาจนชำนาญทางดีแล้ว เครื่องหมายนั้นย่อมไม่มีประโยชน์แต่อย่างใดต่อไปอีก ไม่จำต้องสนใจ
๖. อนุปุพฺพมุญจนโต การพิจารณาโดยทิ้งโกฏฐาสที่ไม่ปรากฏ สี สัณฐาน ที่เกิด ที่ตั้ง ขอบเขต หมายความว่า เมื่อผู้ปฏิบัติพิจารณาตั้งแต่เกลาเรื่อยไปจนถึง มุตติ เป็นอนุโลม และพิจารณาตั้งแต่ มุตต์ ย้อนขึ้นมาจนถึง เกสา ครบ ๓๒ เป็นปฏิโลมอยู่นั้น จึงสังเกตดูว่าโกฏฐาสอันใดไม่ปรากฏ หรือปรากฏไม่ชัดเจน ให้ละการพิจารณาในโกฏฐาสนั้น ๆ เสีย พิจารณาเฉพาะที่ปรากฏชัดที่เหลืออยู่ต่อไป แล้วสังเกตเปรียบเทียบดูใหม่เลือกไว้แต่ที่ปรากฏชัดกว่า ดังนี้เรื่อยไปจนกระทั่งเหลือเพียง ๒ โกฏฐาส ในจำนวน ๒ นี้ยังต้องทิ้งเสียอีก ๑ ให้เหลือเพียงโกฏฐาสเดียว ไม่ใช่ถือเอามาพิจารณาทั้ง ๓๒ ดังตอนต้น มีผู้เปรียบเทียบไว้ว่าเหมือนนายพรานต้องการจับลิงที่อาศัยอยู่ที่ต้นตาลถึง ๓๒ ต้นไล่จากต้นหนึ่งก็จะหนีไปต้นหนึ่ง กลับไปกลับมาอยู่ดังนี้ จนในที่สุดลิงหมดแรงเกาะนิ่งอยู่ที่ต้นใดต้นหนึ่งเพียงต้นเดียว ไม่หนีไปที่ต้นไหนอีก จิตของผู้ปฏิบัติย่อมเป็นเช่นเดียวกัน เปรียบได้กับสิ่งนั้น
๗. อปฺปนาโต เมื่อผู้ปฏิบัติคัดเลือกได้โกฏฐาสที่ปรากฏชัดที่สุดไว้ได้หนึ่งอย่างแล้ว ต่อจากนั้นให้พิจารณาเรื่อยไปจนถึงได้ฌาน โดยไม่ต้องหวนไปสนใจพิจารณาโกฏฐาสที่ทิ้งไปแล้วนั้นอีกเลย แต่ในระยะต้นต้องพิจารณาทั้ง ๓๒ เพื่อปฐมฌานอาจเกิดขึ้นได้หรือหากฌานไม่เกิด ก็ใช้คัดเลือกโกฏฐาสเพื่อให้ได้โกฏฐาสที่เหมาะที่สุดกับอัธยาศัยของตนตามข้อ ๖
๘. การพิจารณาในพระสูตร ๓ อย่าง ตโย จ สุตฺตนฺตา คือ อธิจิตตสูตร สีติภาวสูตรและโพชฌงค์ โกสัลลสูตร อย่างที่หนึ่ง อธิจิตตสูตร ในการปฏิบัติจะมีนิมิต ๓ ประการ เกิดขึ้นคือ
สมาธินิมิต จิตใจเข้าสู่ความสงบ
ปัคคหนิมิต จิตใจเกิดความพยายาม
อุเบกขานิมิต ความวางเฉย
นิมิตคือเครื่องหมาย ๓ อย่างนี้เกิดขึ้น
เมื่อเกิดขึ้นแล้วทั้ง ๓ นิมิต ข้อที่ต้องกระทำต่อไป คือต้องให้นิมิตนั้นมีสภาวะสม่ำเสมอกัน ไม่ให้อย่างใดมากเกินไป อย่างใดน้อยเกินไป การประคับประคองให้นิมิตมีความสม่ำเสมอกันได้นี้เองเรียกว่าทำให้สมาธิมีกำลัง และเข้าสู่ขั้น อธิจิต
หากปล่อยให้ไม่เสมอกันจะบังเกิดโทษดังนี้
สมาธินิมิตมีมาก ทำให้เกิดโกสัชชะ ความเกียจคร้านขึ้น
ถ้า ปัคคหนิมิตมีมาก ทำให้ความฟุ้งซ่านเกิดขึ้น
ถ้า อุเบกขานิมิตมีมาก การปฏิบัติจะได้ผลไม่ถึงขั้นได้ฌาน มรรค ผล
ดังนั้นผู้ปฏิบัติต้องไม่ใฝ่ใจในนิมิตใดนิมิตหนึ่งให้มากไป แต่ควรให้เสมอกัน เปรียบเหมือนนายช่างทำทองย่อมรู้จักใช้ความแรงของไฟ ตามเวลาอันควร พรมน้ำตามเวลาที่ควรหยุดพักตามที่ควร เมื่อทำให้พอดี ทองย่อมอ่อน ควรแก่การที่จะประดิษฐ์ตกแต่งให้เป็นรูปร่างต่าง ๆ เนื้อทองมีความผุดผ่องสวยงามสุกปลั่ง หากนายช่างทำไม่พอดีก็จะเกิดผลเสียหายไปเสีย เช่น ไฟแรงเกินไป เนื้อทองไหม้ละลาย หากพรมน้ำให้เย็นไป ทองก็ไม่สุกปลั่ง ไม่อ่อน ทำเครื่องประดับไม่ได้สักอย่าง
๙. พิจารณาตามหลัก *******สติภาวสูตร คือต้องปฏิบัติตามข้อธรรม ๖ ประการ คือ
- ข่มจิตในคราวที่ควรข่ม เมื่อมีความเพียรมากเกินไป จ่าต้องลดลง
- ประคองจิตในคราวที่ควรประคอง เมื่อจิตง่วงเหงา ท้อถอย หดหู่ ต้องปลอบโยน
- ปลอบจิตในคราวที่ควรปลอบ เมื่อจิตไม่ยินดีในการงาน ต้องปลอบด้วยการพิจารณาธรรมสังเวช เกิด แก่ เจ็บ ตาย ที่ผู้ปฏิบัติจะต้องประสบเป็นต้น
- พักผ่อนจิตในยามที่ควรพักผ่อน เพื่อให้จิตดำเนินอยู่ในอารมณ์กรรมฐานด้วยดี ไม่ฟุ้งซ่าน ท้อถอย
- มีจิตน้อมไปใน มรรค ผล
- มีความยินดีในพระนิพพาน
๑๐. พิจารณาตามหลัก โพชฌงคโกสัลลสูตร
โพชฌงค์ มี ๗ ประการ เป็นหลักธรรมที่เป็นเหตุให้รู้อริยสัจ ๔ ได้แก่
สติสัมโพชฌงค์ ความระลึกได้
ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ การพิจารณาค้นคว้าในธรรมทั้งภายใน (นาม) และภายนอก (รูป)
วิริยสัมโพชฌงค์ ความเพียร
ปีติสัมโพชฌงค์ ความอิ่มใจ
ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ ความสงบกายสงบใจ
สมาธิสัมโพชฌงค์ ความตั้งมั่นในอารมณ์
อุเบกขาสัมโพชฌงค์ การทำให้ธรรมที่เกิดพร้อมกัน (สัมปยุตตธรรม) มีความสม่ำเสมอ ในหน้าที่ของตน ๆ
การปฏิบัติตามหลักโพชฌงคโกสัลลสูตร คือ
คราวใดจิตใจมีการง่วงเหงา ท้อถอย คราวนั้นต้องอบรมด้วย ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์
วีริยสัมโพชฌงค์ และ ปีติสัมโพชฌงค์ ทั้ง ๓ อย่างนี้ ให้แก่กล้ายิ่งขึ้น
คราวใดจิตมีความเพียรมากจนฟุ้งซ่าน คราวนั้นต้องอบรมปัสสัทธิสัมโพชฌงค์
สมาธิสัมโพชฌงค์ อุเบกขาสัมโพชฌงค์ ทั้ง ๓ อย่างนี้ ให้แก่กล้ายิ่งขึ้น
ในบรรดากรรมฐาน ๔๐ นี้ การเจริญกายคตาสติ นับว่าเป็นการปฏิบัติที่ค่อนข้างยากลำบาก ต้องปฏิบัติตามนัยอุคคหโกสัลละ ๗ ก่อนเพื่อให้นิมิตทั้ง ๓ ประการเกิด ถ้าไม่เป็นผลสำเร็จต้องพิจารณาตามนัยมนสิการโกสัลละ ๑๐ ต่อไป แม้จะยากลำบากเพียงใดผู้ปฏิบัติไม่ควรท้อถอย เพราะเป็นการปฏิบัติที่สามารถทำให้บรรลุมรรค ผล นิพพานได้พระพุทธองค์ตรัสแสดงอานิสงส์ไว้เป็นอันมากว่า ผู้ใดเจริญกายคตาสติย่อมทำให้
- กุศลธรรมอย่างใดอย่างหนึ่งที่เกี่ยวด้วยการเกิดความรู้แจ้ง จะเกิดขึ้นกับผู้ปฏิบัติ
- เกิดความสังเวชอันใหญ่หลวง
- เกษมจากโยคะ (หลุดพ้นจากเครื่องประกอบสัตว์ให้ติดอยู่ในภพทั้ง ๓)
- มีสติสัมปชัญญะเกิดขึ้นมาก แรงกล้า
- ได้ญาณทัสสนะ
- อยู่เป็นสุขในปัจจุบัน เป็นประโยชน์ใหญ่ยิ่งในภพปัจจุบัน
- กาย ใจ วิตก วิจารสงบ
- ละอกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้วได้ อกุศลธรรมใหม่ไม่บังเกิด
- กุศลธรรมที่ยังไม่เกิดย่อมเกิดขึ้น ที่เกิดอยู่แล้วย่อมไพบูลย์ยิ่งขึ้น
- วิชชาเกิดขึ้น ละอวิชชาเสียได้
- ถอนอนุสัย ละสังโยชน์ ละอัสมิมานะ เสียได้
- ปัญญาแตกฉาน
- สามารถแทงตลอดธาตุมากหลาย
- สามารถทำให้แจ้งซึ่ง โสดาปัตติผล สกทาคามิผล อนาคามิผล และอรหัตตผล
- เป็นผู้มีปัญญามาก ไพบูลย์ ลึกซึ้ง กว้างขวาง ว่องไว คม แล่น สามารถชำแรกกิเลส
- ได้ชื่อว่าบริโภคอมตะ
ในเรื่องกายคตาสติมีในพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับหลวงเล่ม ๑๔ หน้า ๑๗๘-๑๙๐ กล่าวเรื่อง กายคตสติสูตร ไว้ว่า นอกจากจะพิจารณาอาการทั้ง ๓๒ ดังกล่าว ยังสามารถใช้สติพิจารณากำหนดรู้ในอาการต่าง ๆ ของกาย เพื่อทำใจให้สงบลง เป็นธรรมเอกอุดขึ้น คือ
- กำหนดรู้ความยาวสั้นของลมหายใจ
- กำหนดรู้อิริยาบถใหญ่ (ยืน เดิน นั่ง นอน) ว่ากำลังทรงกายอยู่ในอาการใด
- กำหนดรู้อิริยาบถย่อย เช่น การก้าวไป ถอยกลับ แลดู เหลียวดู งอแขน อาบน้ำ กิน ดื่ม เคี้ยว ฯลฯ
- พิจารณาศพประเภทต่าง ๆ เปรียบเทียบกับร่างกายตน
- ในปฐมฌาน พิจารณา ปีติ และสุข ที่เกิดขึ้นทุกส่วนในร่างกาย เนื่องจากการได้อยู่วิเวก
- ในทุติยฌาน พิจารณา ปีติ และสุข เช่นเดียวกัน
- ในตติยฌาน พิจารณา สุขอันปราศจากปีติที่เกิดขึ้นในร่างกาย
- ในจตุตถฌาน พิจารณาอุเบกขา ที่เกิดขึ้นในร่างกายด้วยสติบริสุทธิ์
๑๐. อานาปานัสสติ
อานาปานัสสติ หมายความว่า การระลึกอยู่ในลมหายใจเข้าออก
อานาปานัสสติ มาจากคำว่า อานะ รวมกับ ปานะ รวมกับ สติ
อานะ แปลว่าหายใจเข้า
ปานะ หรือ อปานะ แปลว่า หายใจออก
สติ แปลว่า ความระลึก
โดยปกติทั่ว ๆ ไป อันเป็นธรรมดาของคนหรือสัตว์ที่มีลมหายใจ จะต้องหายใจเข้าก่อน แล้ว จึงหายใจออกทีหลัง ยกเว้นทารกที่เพิ่งออกจากครรภ์มารดา จะหายใจเป็นครั้งแรกด้วยการหายใจออกก่อนแล้วจึงหายใจเข้า เพราะขณะเมื่ออยู่ในครรภ์มิได้หายใจเอง แต่อาศัยมีลมหายใจของมารดาช่วยเหลืออยู่
คำอานาปานะ ยังเรียกได้อีกชื่อหนึ่งว่า อัสสาสะปัสสาสะ (คำว่า ฮา รวมกับ สาสะ อัสสาสะ คำว่า ปะ รวมกับ สาส - ปัสสาสะ อา แปลว่า ก่อน สาสะ แปลว่า สูดลมหายใจ ปะ หรือ ปัจฉา แปลว่าหลัง อัสสาสะ จึงแปลว่า การสูดลมหายใจก่อน ปัสสาสะ การระบายลมหายใจหลัง คือ ลมหายใจเข้าออก)
วิธีเจริญอานาปานัสสติที่วางเป็นหลักปฏิบัติโดยตรง เหมือนแสดงหลักเกณฑ์ไว้มีว่า
๑. โส สโต ว อสฺสสติ สโต ว ปสฺสสติ
ผู้ปฏิบัติจึงนั่งคู่บัลลังก์ ตั้งกายให้ตรง ดำรงสติมั่นเฉพาะหน้ากับอารมณ์กรรมฐาน ณ สถานที่เงียบสงัด ย่อมตั้งสติ ทำความรู้สึกตัว แล้วจึงหายใจเข้า และหายใจออก
๒. ทีฆํ วา อสฺสสนฺโต ทีฆํ อสฺสสามีติ ปชานาติ
ทีฆํ วา ปสฺสสนฺโต ทีฆํ ปสฺสสามีติ ปชานาติ
เมื่อหายใจเข้ายาว และหายใจออกยาว ก็รู้ว่า หายใจเข้ายาว และหายใจออกยาว
๓. รสฺสํ วา อสฺสสนฺโต รสฺสํ อสฺสสามีติ ปชานาติ
รสฺสํ วา ปสฺสสนฺโต รสฺสํ ปสฺสสามีติ ปชานาติ
เมื่อหายใจเข้าสั้น และหายใจออกสั้น ก็รู้ว่าหายใจเข้าสั้นและหายใจออกสั้น
๔. สพฺพกาย ปฏิสํเวที อสฺสสิสฺสามีติ สิกฺขติ
สพฺพกาย ปฏิสํเวที ปสฺสสิสฺสามีติ สิกฺขิต
ย่อมสำเนียกว่า เราจะหายใจเข้า และหายใจออก ก็ต้องรู้โดยแจ้งชัด ต้นลม กลางลม ปลายลม
๕. ปสฺสมฺภยํ กายสงฺขารํ อสฺสสิสฺสามีติ สิกฺขติ
ปสฺสมฺภยํ กายสงฺขารํ ปสฺสสิสฺสามีติ สิกฺขติ
ย่อมสำเหนียกว่า เราจะทำลมเข้า และลมออกที่หยาบให้ละเอียด แล้วจึงหายใจเข้าและหายใจออก
ในข้อที่ ๑. เป็นหลักการปฏิบัติโดยแท้จริง ส่วนข้ออื่น ๆ เป็นข้อเพิ่มเติมให้สมาธิแก่กล้า
ตามนัยข้อที่หนึ่ง การตั้งสติรู้สึกตัว คือการตั้งใจคอยกำหนดรู้ลมหายใจที่กระทบปลายจมูกหรือริมฝีปากบน ทั้งตอนหายใจเข้าและออก การกระทบของลมจะปรากฏชัดตรงส่วนใด แต่ละคนจะรู้สึกไม่เหมือนกัน คนมีจมูกสั้นจะรู้ว่าลมหายใจปรากฎกระทบชัดที่ริมฝีปากบน ส่วนคนมีจมูกยาวจะรู้สึกกระทบชัดที่โครงจมูก
การกำหนดให้รู้ในลมหายใจเข้าออกอยู่เสมอ เพื่อให้จิตสงบนิ่งอยู่ในอารมณ์เดียวคือ เรื่องลมหายใจเข้าออก จิตจะได้เกิดสมาธิ ไม่ซัดส่ายไปในเรื่องอื่น ๆ เพราะโดยธรรมชาติของจิตที่มิได้รับการฝึกอบรมแล้ว ย่อมไม่เคยยอมอยู่นิ่งเลย ชอบฟุ้งซ่านไปในอารมณ์ต่าง ๆ ไม่มีที่สิ้นสุด เหมือนสัตว์พยศย่อมดิ้นรนกวัดแกว่งตลอดเวลา การฝึกจิตคือการเอาสติ เป็นต่างเชือก เอาอารมณ์กรรมฐานอย่างใดอย่างหนึ่งเป็นดังเสาอันมั่นคง เอาสติ (เชือก) ผูกจิต (สัตว์ตัวพยศ) ไว้ที่อารมณ์กรรมฐาน (เสา) ฝึกฝนไปดังนี้อยู่เรื่อยไป สัตว์พยศนั้นย่อมต้องเชื่องจนใช้งานได้เข้าวันหนึ่งแน่นอน
โดยเฉพาะอารมณ์กรรมฐานที่ใช้ลมหายใจนี้ เป็นกรรมฐานที่สะดวกสบายกว่ากรรมฐานอื่น ๆ เป็นของหาได้ง่าย มีอยู่ประจำตัวเราทุกคนอยู่แล้ว ไม่ต้องยุ่งยากจัดสร้างจัดทำ หรือแสวงหา ลมหายใจนั้นไม่มีแก่บุคลเพียง ๔ จำพวกเท่านั้น คือ ทารกที่อยู่ในครรภ์มารดา คนดำน้ำ คนสลบ คนตาย ผู้เข้าปัญจมฌาน รูปาวจรพรหม อรูปาวจรพรหม และผู้ที่เข้านิโรธสมาบัติ นอกนั้นแล้วทุกคนต้องมี
อย่างไรก็ตามแม้จะดูเหมือนปฏิบัติได้สะดวก แต่เมื่อลงมือกระทำจริงๆ ผู้ปฏิบัติจำนวนไม่น้อยที่ไม่สามารถผูกจิตไว้กับอารมณ์ได้นาน เพราะสภาวะของจิตมีลักษณะว่องไวรวดเร็วอย่างไม่มีที่เปรียบ หากเผลอสติเพียงเล็กน้อย จิตจะหนีไปคิดฟังเรื่องอื่นรับอารมณ์อื่นที่พึงพอใจทันที จึงได้มีการวางขั้นตอนให้ละเอียดถี่ถ้วนเพิ่มเติมขึ้นอีก ๔ นัย คือ
(๑.) คณนานัย การนับลมหายใจเข้าออกเป็นหมวดๆ รวม ๖ หมวด ตั้งแต่หมวดละ ๕ (ปัญจกะ) จนถึงหมวดละ ๑๐ (ทสกะ)
(๒.) อนุพันธนานัย การกำหนดตามรู้ลมเข้าและลมออกทุก ๆ ขณะ โดยไม่พลั้งเผลอ ทุกระยะที่หายใจเข้าออก
(๓.) ผุสนานัย ในขณะที่กำหนดตามคุณนานัยและอนุพันธนานัยอยู่นั้นจะต้องกำหนดรู้การกระทบของลมพร้อมไปด้วยหมายความว่าผุสนานัยนี้เข้าอยู่ในคุณนานัย และอนุพันธนานัยทั้งสองนั้นเอง ไม่แยกเฉพาะ
(๔.) รูปนามัย หมายถึงในขณะเมื่อกำหนดรู้ตามข้อ ๒ ข้อ ๓ ได้ผลดีจนปฏิภาคนิมิตเกิด จึงเอาจิตกับสติเข้าไปตั้งมั่นจดจ่ออยู่ในปฏิภาคนิมิตอย่างเดียว ตลอดจนกระทั่งรูปฌานเกิด เรียกว่า ฐปนานัย
คณนานัย แบ่งเป็น ๒ อย่าง
ก. ธัญญมามกคุณนานัย เป็นการนับลมหายใจเข้าออกอย่างช้า ๆ ดุจคนดวงข้าวเปลือก การนับช้า ๆ หมายความว่านับแต่ลมหายใจเข้าหรือออกที่รู้สึกชัดเจนทางใจเท่านั้น ส่วนที่ไม่ชัดให้ทิ้งไปเสียไม่ต้องนับ ผู้ปฏิบัติแบบนี้ต้องหายใจเข้าออกช้า ๆ เพื่อจะได้กำหนดรู้ทันและนับถูก
ข. โคปาลูกคุณนานัย เป็นการนับลมหายใจเข้าออกเร็ว เหมือนคนเลี้ยงโครีบนับโคที่เบียดกันออกจากที่แคบ การนับวิธีนี้หมายถึงเมื่อนับตามวิธีที่ ๑ คือนับช้าอยู่ก่อนเรื่อย ๆ นั้น จะเกิดความรู้สึกชัดเจนทางใจขึ้นทุกขณะการหายใจเข้าออก เนื่องจากมีสมาธิดี การหายใจเข้าออกจะเปลี่ยนเป็นเร็วขึ้นได้เอง การกำหนดนับจึงจำต้องเร็วตามไปด้วยจึงต้องใช้วิธีที่ ๒
วิธีเจริญอานาปานัสสติกรรมฐาน
เมื่อได้อยู่ในที่อันเหมาะสมเงียบสงัดอันสมควรแล้ว นั่งคู่บัลลังก์ตั้งกายตรงดำรงสติมั่นอยู่ในอารมณ์กรรมฐาน คือลมหายใจเข้าออก
ธัญญมามกคุณนานัย (มีหมวด ๕ จนถึงหมวด ๑๐)
หมวด ๕ (ปัญจกะ) เข้านับว่า ๑ เข้านับว่า ๒...เรื่อยไปจนถึง เข้านับว่า ๕ จึงต่อหมวด ๖
หมวด ๖ (ฉักกะ) ออกนับว่า ๑ ออกนับว่า ๒...เรื่อยไปจนถึง เข้านับว่า ๖ จึงต่อหมวด ๗
หมวด ๗ (สัตตกะ) ออกนับว่า ๑ ออกนับว่า ๒...เรื่อยไปจนถึง ออกนับว่า ๗ จึงต่อหมวด ๘
หมวด ๘ (อัฏฐกะ) เข้านับว่า ๑ ออกนับว่า ๒...เรื่อยไปจนถึง ออกนับว่า ๘ จึงต่อหมวด ๙
หมวด ๙ (นวกะ) เข้านับว่า ๑ ออกนับว่า ๒...เรื่อยไปจนถึง เข้านับว่า ๙ จึงต่อหมวด ๑๐
หมวด ๑๐ (ทสกะ) ออกนับว่า ๑ เข้านับว่า ๒...เรื่อยไปจนถึง เข้านับว่า ๑๐ เป็นอันจบรอบทีหนึ่ง ๑
เสร็จแล้วเวียนตั้งต้นใหม่ตั้งแต่หมวดต้นจนจบ ไปมาอยู่ดังนี้ จนการนับชัดเจนทุกขณะ (ไม่มีการเว้นลมเข้าออกที่ไม่ชัด) ตามลำดับทั้ง ๖ หมวด
อนึ่งการนับลมที่ขึ้นต้นใหม่ของหมวดต่าง ๆ ว่า “หนึ่ง” ยกเว้นหมวดปัญจกะ หมวดแรกเสียจะนับลมเข้าหรือออกเป็นหนึ่ง อย่างใดก็ได้ ขอให้รู้สึกชัดเจนทางใจเท่านั้นเป็นใช้ได้ แต่ตามตัวอย่างแสดงไว้ติดต่อกันเพื่อความสะดวกและเข้าใจได้ง่าย
ในการนับแบบโคปาลกคณนานัย ต่างกับแบบธัญญมามกคณนานัย นอกจากเรื่องความเร็วของการนับแล้ว จะต้องนับตามลำดับลมเข้าออกทุกขณะ ทั้งให้ถูกตรงกับลำดับเลขในหมวด ไม่ลักลั่นเพราะการปฏิบัติแบบนี้ผ่านแบบธัญญมามกคุณนานัยมาเป็นอย่างดีแล้ว สติในสมาธิย่อมดีขึ้น จึงต้องพยายามนับให้ถูกต้องตามลำดับของลมและของเลขทั้งไม่ใช่นับด้วยปากแต่กําหนดนับด้วยใจ
การนับสองแบบนี้เป็นข้อย่อยของนัยที่ ๑ คุณนานัย ต่อไปถึงนัยที่ ๒ อนุพันธนานัย ที่อยู่ในขั้นผุสนา (กำหนดตามรู้ลมเข้าออกได้ทุกขณะโดยไม่พลั้งเผลอ และกำหนดรู้การกระทบของลมพร้อมไปด้วย)
คือ เมื่อได้กําหนดนับตามโคปาลูกคุณนานัยเรื่อยมาจนชัดเจนดีแล้ว ต่อไปให้หยุดนับตั้งใจกำหนดไว้อยู่ที่ปลายจมูก ทำการกำหนดรู้ลมเข้าออกทุกขณะอยู่ตรงที่นั้นเรียกว่าอนุพันธนานัยที่อยู่ในขั้นสนา
อนึ่งเมื่อถึงอนุพันธนานัยดังนี้ ผู้ปฏิบัติต้องรู้ตามหลักข้อ ๒ ถึงข้อ ๕ ที่พระพุทธองค์ทรงวางไว้ดังที่กล่าวมาแล้วคือ
ข้อ ๒,๓ ถ้าลมเข้า ลมออก ยาว ก็รู้ว่า ลมหายใจเข้ายาว ลมหายใจออกยาว
ถ้าลมเข้า ลมออก สั้น ก็รู้ว่า ลมหายใจเข้าสั้น ลมหายใจออกสั้น
ทั้งนี้เพราะการหายใจของคนเราแต่ละคนไม่เหมือนกัน บางคนยาวเหมือนของงู วัว ช้าง บางคนสั้นเหมือน สุนัข แมว นก แม้ในคนเดียวกันต่างเวลาหรือภาวะลมหายใจก็เปลี่ยนไปเช่นเวลาเหนื่อย เวลาไม่สบาย ลมหายใจมักจะสั้นและเร็ว ถ้ากำลังคิดสิ่งใดหรืออ่านหนังสือเพลินอยู่ลมหายใจจะยาว
ตามข้อ ๔ เมื่อกำหนดรู้ลมเข้าออกยาวสั้นได้ชัดเจนดีแล้ว ต้องกำหนดรู้ต้น กลางปลายของลม คือ
หายใจเข้า รู้ที่ ปลายจมูกเป็นต้นลม ตรงหัวใจเป็นกลางลม ตรงสะดือเป็นปลายลม
หายใจออก รู้ที่ สะดือเป็นต้นลม หัวใจเป็นกลางลม ปลายจมูกเป็นปลายลม
การกำหนดรู้ต้น กลาง ปลาย ของลมนี้ ต้องตั้งจิตไว้ตรงปลายจมูกที่ลมกระทบเท่านั้นไม่ใช่ส่งใจวิ่งไปตามลม
ตามข้อ ๕ ต้องทำลมเข้า ลมออกที่หยาบให้ละเอียด หมายถึง
ในขณะเมื่อปฏิบัติตามหลักข้อ ๒-๓-๔ อยู่นั้น ลมหายใจจะละเอียดขึ้น ๆ ผู้ปฏิบัติที่มีสติ สมาธิ ปัญญาดีจะยังคงมีความรู้สึกในความติดต่อของลมหายใจเข้าออกอยู่ไม่ว่าลมนั้นจะละเอียดลงเพียงใด ส่วนผู้มีสติ สมาธิ ปัญญาน้อย อาจรู้สึกเหมือนตนเองไม่มีลมหายใจ หากเป็นดังนี้ไม่ควรวิตกกังวล ตั้งสติให้มั่นไว้ที่ปลายจมูก ไม่ต้องตกใจไม่ช้าความรู้สึกว่ามีลมเข้าออกจะกลับมาดังเดิม ข้อสำคัญคือ ไม่ต้องทำลมให้หยาบเข้า (คือหายใจให้แรงๆ) ปล่อยให้ละเอียดอยู่ตามสภาพที่เป็นเอง ส่วนผู้ที่มีความรู้สึกว่าลมเข้าออกของตนละเอียดแล้วก็ไม่ต้องกลั้นลมหายใจนั้นไว้ เพราะการกลั้นลมจะเป็นการทำให้ลมหยาบขึ้น ไม่ต้องสนใจสร้างลม ให้เอาใจใส่อยู่แต่การตั้งสติไว้ที่ปลายจมูกประการเดียว ลมเข้าออกจะละเอียดได้เอง
เมื่อปฏิบัติได้เป็นอย่างดีตามขั้นตอนมาตามลำดับ ตั้งแต่คุณนานัย อนุพันธนานัย ผุสนานัย ความกระวนกระวายทางกายสงบ สามารถดับลมเข้าออกอย่างหยาบลง ลมละเอียดมากขึ้น ๆ เรื่อย ๆ ทั้งกายทั้งจิตจะกลายเป็นธรรมชาติอ่อนเบา มีอาการเหมือนลอยขึ้นราวจะปลิวลิ่วไปในอากาศ อาการดังนี้เกิดขึ้นได้แก่ผู้ปฏิบัติบางคน ซึ่งเป็นเรื่องปกติธรรมดา ไม่ต้องตื่นเต้นตกใจ แล้วจะหายไปเอง
ต่อจากนั้นจะถึงอนุพันธนานัยที่เข้าถึงขั้นนัยที่ ๔ ฐปนานัย คือ
การเจริญอานาปานัสสติกรรมฐาน เมื่อปฏิบัติได้ถูกต้องดีแล้ว จะมีผลสำเร็จเบื้องต้นเกิดขึ้น เริ่มแต่มีนิมิต ๓ อย่างคือ บริกรรมนิมิต อุคคหนิมิต และปฏิภาคนิมิต
ลมหายใจเข้าออกที่ปรากฏให้รู้ทุกขณะ เป็นบริกรรมนิมิต
ลมหายใจเข้าออกปรากฏให้เห็นทางใจเหมือน สายน้ำ เปลวควัน ปุยสำลี ไม้ค้ำพวงดอกไม้ ดอกบัว ล้อรถ ลมที่ต้านมา เหล่านี้ เรียกว่าเกิดอุคคหนิมิต
ลมเข้าออกปรากฏเหมือนดวงจันทร์ ดวงอาทิตย์ พวงแก้วมณี พวงแก้วมุกดาเหล่านี้เรียกว่า เกิดปฏิภาคนิมิต
เมื่อใดที่ผู้ปฏิบัติกระทำได้จนเกิดปฏิภาคนิมิต เมื่อนั้นไม่ต้องกำหนดรู้ลมที่ปลายจมูกอีกต่อไป ให้เปลี่ยนใจเอาสติมากำหนดรู้อยู่ที่ปฏิภาคนิมิต ตอนนี้เรียกว่าเป็นระยะอนุพันธนานัยที่เข้าถึงรูปนานัย
การตั้งใจกำหนดลมเข้าออกโดยมีการบริกรรมนิมิตหรืออุคคหนิมิตอย่างหนึ่งอย่างใดเป็นอารมณ์เรียกว่าการปฏิบัติขั้น บริกรรมภาวนาสมาธิ
การกำหนดลมเข้าออกที่มีปฏิภาคนิมิตเป็นอารมณ์แล้ว เรียกว่าเป็นขั้นอุปจารภาวนาสมาธิ เป็นสมาธิที่อยู่ในขั้นมหากุศล นิวรณ์ต่าง ๆ สงบเงียบ เรียกว่า ได้อุปจารฌาน
การตั้งใจกำหนดลมเข้าออก ที่มีปฏิภาคนิมิตที่เข้าถึงรูปฌานแล้วเป็นอารมณ์เรียกว่าเป็นขั้น อัปปนาภาวนาสมาธิ เป็นสมาธิที่อยู่ในชั้น มหัคคตกุศล นิวรณ์ต่าง ๆ ถูกประหาณเป็นวิกขัมภนปลาน ถูกทำลายลงชั่วคราว เรียกว่าได้อัปปนาฌาน
สำหรับการปฏิบัติโดยวิธีอานาปานัสสติกรรมฐานดังกล่าวมานี้ มีข้อควรทราบว่าในการปฏิบัติตอนแรก ที่ให้เริ่มนับอย่างน้อยที่สุดต้องเริ่มด้วยหมวด ๕ (ปัญจกะ) และจบท้ายไม่เกินหมวด ๑๐ (ทสกะ) นั้น เพราะถ้าหากใช้นับน้อยลงกว่าจำนวนห้า จำนวนเลขที่ใช้นับจะน้อยไปจิตจะดิ้นรนไปรับอารมณ์อื่นได้ง่าย ถ้านับเป็นจำนวนสิบ จำนวนเลขที่ใช้นับก็จะมากเกินไป จิตจะพะวักพะวงกังวลไม่เป็นอันกำหนดอารมณ์ในกรรมฐานห่วงอยู่แต่เรื่องการนับมากเกินไป
จำนวนที่เหมาะสมที่สุดจึงควรเริ่มต้นที่หมวดปัญจกะ และจบเพียงแค่หมวด ทสกะนับว่าพอดี เป็นกลาง ๆ ส่วนการนับหากไม่ใช่นับเรียง ๑-๒-๓-๔-๕ ฯลฯ จะนับเป็นคู่ ๆ ก็ได้คือ
หมวดปัญจกะ ลมเข้า-ออก นับ ๑-๑/๒-๒/๓-๓/๔-๔/๕-๕
หมวดฉักกะ ลมเข้า-ออก ๑-๑/๒-๒/๓-๓/๔-๔/๕-๕/๖-๖ ฯลฯ เรื่อยไปจนถึงหมวด ทสกะ (๑๐)
อานิสงส์ของการเจริญอานาปานัสสตินี้มีมาก นอกจากสามารถได้ถึงรูปฌานแล้วยังเป็นบาทคือเบื้องต้นของการสำเร็จ มรรค ผล อีกด้วย ทั้งยังสามารถป้องกันมิให้มิจฉาวิตกต่าง ๆ เกิด ผู้ที่สำเร็จอรหัตตผลโดยอาศัยการเจริญอานาปานัสสติเป็นบาทเบื้องต้น ย่อมสามารถกำหนดรู้อายุสังขารของตนว่าจะอยู่ได้นานเท่าใด รู้กาลเวลาที่จะปรินิพพานด้วย
ลมหายใจเข้าออกนี้สิ้นสุดลงใน ๓ ประการ คือ
๑. สัตว์ที่ได้ไปเกิดในรูปภพ อรูปภพ
๒. ผู้ที่ได้ฌาน ขั้นรูปปัญจมฌานหรือ อรูปฌาน
๓. ลมที่ดับลงพร้อมจุติจิต (คือพร้อมกับความตาย)
การเจริญภาวนาแบบ พุทธานุสสติ ธัมมานุสสติ สังฆานุสติ สีลานุสสติ จาคานุสสติ เทวตานุสสติ อุปสมานุสติ มรณานุสสติ รวม ๔ อย่างนี้ มีอารมณ์ที่กำหนดละเอียดลึกซึ้ง คือเอาความหมายในคุณธรรมในคุณสมบัติของสิ่งนั้น ๆ มาเป็นอารมณ์ ซึ่งสภาวะเหล่านั้นเป็นสภาวะจริงแท้ เรียกว่าปรมัตถ์ เป็นของรู้ได้ยาก เห็นได้ยาก นิมิตที่จะปรากฏก็บังเกิดได้ยาก ดังนั้นผู้ต้องการปฏิบัติจึงจำต้องใช้วิธีพิจารณาอยู่เสมอ ๆ ให้ติดต่อกันกระท่าบ่อย ๆ กระทำเนือง ๆ
ดังนั้นชื่อกรรมฐานทั้ง 4 ชนิดเหล่านี้จึงมิได้ใช้แต่เพียงคำว่า “สติ” เพียงคำเดียว แต่ใช้อนุสสติ ต่อท้ายชื่อ คำว่า อนุ แปลว่า บ่อย ๆ หรือ เสมอ ๆ หรือ เนื่อง ๆ หรือติดต่อกัน
อนุ รวมกับ สติ เป็นอนุสสติ แปลว่าระลึกถึงบ่อย ๆ ระลึกถึงเสมอ ๆ หรือระลึกติดต่อกัน
ส่วนการเจริญภาวนาแบบกายคตาสติ และอานาปานัสสติกรรมฐาน สิ่งที่นำมาเป็นอารมณ์คือส่วนต่าง ๆ ในร่างกายก็ดี ลมหายใจก็ดี เป็นของที่มองเห็น หรือรู้ได้โดยง่าย การบริกรรมภาวนาใช้เรียกชื่อสิ่งเหล่านั้นตามที่บัญญัติแต่งตั้งไว้ จึงเป็นกรรมฐานชนิดมี บัญญัติเป็นอารมณ์ ไม่ใช่ปรมัตถ์ เหมือนกรรมฐาน ๔ อย่างข้างต้น การใช้สติในการกำหนดรู้ไม่ลึกซึ้งมากก็สามารถกำหนดนิมิตได้ จึงไม่จำเป็นต้องใช้คำว่า “อนุ” เข้าประกอบ ใช้แต่เพียงคำว่า "สติ" คำเดียวก็เพียงพอ
เชิงอรรถ
* ในอภิณหสูตร ปัญจังคุตตรพระบาลี อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต ทุติยปัณณาสก นิวรณวัตร อภิณหปัจจเวธีตัดพฐานสูตร หน้า ๖๕
** ในอโยมรชาดก พระบาลี ขุททกนิกาย ชาดกพระบาลี วิสตินิปาต อโยฆรชาดก หน้า ๓๕๓
*** ในมหาทศรถชาดก พระบาลี ขุททกนิกาย ชาดก เอทสกนิปาต ทสรถชาดก หน้า ๒๓๗
**** ขุททกนิกาย สุตตนิบาต สัลลสูตร เล่ม ๒๕ หน้า ๔๔๘ - ๔๘ - ปาโต
***** ในเตมิยชาดก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๒ หน้า ๑๕๔ มหานิบาต มุดปักชาดก
****** ในยุชฌจยชาดก. ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๑ หน้า ๒๓๖ เอกาทสกนิปาต ยุธัจ ชาดก
******* สีติ แปลว่าความเย็น ความเยือกเย็นอย่างยอดเยี่ยมคือพระนิพพาน