ตอนที่ ๓ กรรมที่ทำให้เลิกเกิด
๖. ปัญญาคืออะไร
ที่กล่าวมาทั้งหมดตั้งแต่ต้น เป็นการตอบคำถาม ดังนี้
คําถามทีหนึ่ง ทีถามไว้ว่า เราคือใคร
คำถามที่สอง ที่ถามว่า เราควรปฏิบัติตัวอย่างไร จึงจะได้สิ่งที่ดีที่สุดในการเกิดมาครั้งนี้
สําหรับผู้ไม่ปรารถนาเกิดต่อไปอีก ไม่ปรารถนาความมีตัวเรา จ่าต้องสร้างปัญญา
ขั้นสูงสุด ความปรารถนานั้นจึงจะสำเร็จ ดังนั้นคำถามที่สาม จึงควรมีว่า
ปัญญา คืออะไร จะทำให้เกิดขึ้นได้อย่างไร
ในการที่ต้องเกิดแล้วตาย ตายแล้วต้องเกิดอีกหมุนเวียนไปในภพภูมิต่าง ๆ อย่างไม่รู้จักจบสิ้น ตามอำนาจของกรรมที่ตนเองกระทำไว้นั้น นับเป็นวัฏฏทุกข์อันยาวนานไม่มีวันสิ้นสุด การกระทำให้เลิกเกิด ไม่มีใครทำให้กันได้ ตนเองจะต้องเป็นผู้กระทำให้ตนเอง สิ่งที่ต้องกระทำนั้นคือ การทำให้ตนเองเป็นผู้มีปัญญา เอาปัญญานั้นมาเป็นประดุจพาหนะพาตนเองไปให้พ้นจากการเวียนว่ายตายเกิด
ปัญญามีหลายระดับ ความฉลาดในการรู้วิชาทางโลกสำหรับทำมาหากิน ก็เรียกว่าปัญญาแต่ไม่ถือว่าเป็นปัญญาชั้นสูง เพราะยังไม่สามารถทำตนให้พ้นทุกข์ ปัญญาที่นับว่าสูงสุด คือปัญญาที่สามารถพาตนให้พ้นจากการเวียนว่ายในวัฏฏสงสาร
ปัญญา แปลว่า รู้ แต่เป็นการรู้ที่พิเศษกว่าปกติ คือรู้ตามความเป็นจริงโดยถ่องแท้ รู้ชอบ รู้ดี รู้พิเศษ
ความจริงธรรมชาติอีก ๒ อย่าง คือ สัญญา กับ วิญญาณ ก็เป็นธรรมชาติทำหน้าที่รู้เหมือนกัน แต่ไม่รู้แจ่มแจ้งเหมือนปัญญา พอเปรียบเทียบให้เห็นชัดได้ดังนี้
สัญญา เป็นการรู้ เพียงว่าสิ่งต่าง ๆ ที่เคยรู้จักแล้วนั้น คืออะไร เช่นรู้ว่าสิ่งนั้น สิ่งนี้ เขียว ขาว ดำ แดง กลม เหลี่ยม แบน ฯลฯ ส่วนที่จะรู้ถึง ไตรลักษณ์ รู้ไม่ถึง
วิญญาณ เป็นการ รู้ เกิดจาก สัญญา คือสามารรู้ได้ถึง ไตรลักษณ์ แต่รู้ไม่ถึงการทําให้ได้อริยมรรค อริยผล
ส่วนปัญญา รู้ตลอดมาถึงอริยมรรคอริยผล ให้สิ้นทุกข์สิ้นภัยในวัฏฏสงสาร เหมือนทารก เห็นเหรียญเงิน เด็กทารกเห็นเข้า รู้ว่าเป็นของสวยดีน่าเล่น คนทั่วไปเห็นเข้ารู้ว่าเป็นของมีค่า ใช้แลกเปลี่ยนซื้อหาสิ่งของได้ตามต้องการ แต่เมื่อช่างเงินเห็นจะรู้ละเอียดถี่ถ้วนว่าเป็นเนื้อเงินบริสุทธิ์เพียงใด ทำมาจากไหน ทำสมัยใด ฝีมือช่างเป็นอย่างไร ฯลฯ ความรู้ของเด็กทารกเปรียบได้กับความรู้ของสัญญา ความรู้ของคนทั่วไปเปรียบได้กับวิญญาณ ส่วนความรู้ของช่างเงินเปรียบได้กับปัญญา
ปัญญามีลักษณะ หน้าที่ ผลที่ได้รับ และสิ่งที่เกิดใกล้เคียงดังนี้
มีลักษณะ คือ ให้ตรัสรู้ คือรู้แจ้งในสภาวะปกติของรูปธรรมและนามธรรม ทั้งปวง
มีหน้าที่ คือ กำจัดโมหะ ความไม่รู้จักสภาวะปกติของรูปธรรมนามธรรมทั้งปวง
ทำให้เกิดผล คือ ไม่มีความโง่ความหลง สิ่งที่เกิดใกล้ คือ สมาธิ
โดยที่แท้แล้ว ปัญญา มีอยู่เพียงประการเดียวคือ ปัญญาที่รู้ชัด รู้แจ้ง ในสภาวะปกติของรูปธรรม นามธรรม อันเป็น อนิจจ์ ทุกข์ อนัตตา อยู่โดยปกติธรรมดา นี้เท่านั้น
แต่ถ้าจะแบ่งเป็นประเภท สามารถแบ่งออกเป็น ๒-๓-๔ ประเภทได้ดังนี้
แบ่ง ๒ ประเภท ได้ ๕ นัย คือ
นัยที่หนึ่ง โลกียปัญญา ปัญญาที่ประกอบด้วยโลกิยมรรค เช่นปัญญาในวิสุทธิ ๔ ประการ
โลกุตตรปัญญา ปัญญาที่ประกอบด้วยโลกุตตรมรรคทั้ง ๔ มีโสดาปัตติมรรคเป็นต้น
นัยที่สอง อาสวปัญญา ได้แก่ปัญญาที่บังเกิดขึ้นแล้วเป็นอารมณ์ให้อาสวะเกิด คือปัญญาที่เป็นโลกียะ
อนาสวปัญญา ปัญญาที่ไม่ได้บังเกิดเป็นอารมณ์ของอาสวะ คือ ปัญญาที่เป็นโลกุตตระ
นัยที่สาม นามววัตถาบันปัญญา ปัญญาที่เกิดจากวิปัสสนากำหนดรู้นามขันธ์ ๔ (เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ )
รูปววัตถานปูนปัญญา ปัญญาที่กำหนดหมายรู้ในรูปขันธ์
นัยที่สี่ โสมนัสสปัญญา ปัญญาที่เกิดดับพร้อมด้วยโสมนัส
อุเบกขาปัญญา ปัญญาที่เกิดดับพร้อมด้วยอุเบกขา
นัยที่ห้า ปัญญาที่เกิดอยู่ในทัสสนภูมิ คือปัญญาที่บังเกิดพร้อมโสดาปัตติมรรคจิต
ปัญญาที่เกิดในภาวนาภูมิ คือปัญญาที่บังเกิดขึ้นพร้อมด้วยโลกุตตรจิตชั้นสูงกว่าโสดาปัตติมรรค
แบ่ง ๓ ประเภท ได้ ๔ นัย คือ
นัยที่หนึ่ง จินตามยปัญญา บังเกิดขึ้นด้วยการคิด
สุตตามยปัญญา บังเกิดขึ้นด้วยการศึกษาเล่าเรียน
ภาวนามยปัญญา บังเกิดขึ้นด้วยการเจริญภาวนา ให้ได้ถึงขั้นฌาน
นัยที่สอง ปรตตารัมมณปัญญา ปัญญาที่อยู่ในระดับกามาวจร
มหัคคตารัมมณปัญญา ปัญญาที่อยู่ในระดับ รูปาวจรและอรูปาวจร
อัปปมาณารัมมณปัญญา ปัญญาในขั้นโลกุตตระ มีนิพพานเป็นอารมณ์
นัยที่สาม อายโกศลปัญญา ปัญญาที่ฉลาดในความเจริญ
อปายโกสลปัญญา ปัญญาที่รู้ในความเสื่อม
อุปายโกสลปัญญา ปัญญาที่เป็นอุบายให้เกิดความสุขแก่ตนและผู้อื่น
นัยที่สี่ อัชฌัตตาภินิเวสปัญญา ปัญญาที่กำหนดหมายเอาขันธ์ ๕ ภายในกายของตนเป็นอารมณ์ แล้วปรารภรำพึงพิจารณาให้เห็นเป็น อนิจจํ ทุกขํ อนัตตา
พหิทธาภินิเวสปัญญา ปัญญาที่กำหนดหมายเอาขันธ์ ๕ ของผู้อื่น เป็นอารมณ์
อัชฌัตตพหิทธาภินิเวสปัญญา ปัญญาที่กำหนดหมายเอาขันธ์ ๕ ทั้งของตนและของผู้อื่นเป็นอารมณ์
แบ่ง ๔ ประเภท ได้ ๒ นัย
นัยที่หนึ่ง ทุกขสัจจญาณ ปัญญาอันปรารภเอาทุกขสัจจ์เป็นอารมณ์
ทุกขสมุทยญาณ ปัญญาที่ปรารภเอาตัณหาอันเป็นที่ก่อให้เกิดทุกข์ มาเป็นอารมณ์
ทุกขนิโรธญาณ ปัญญาที่ปรารภเอาพระนิพพานเป็นอารมณ์
ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาญาณ ปัญญาที่ปรารภเอาข้อปฏิบัติที่ให้ถึงพระนิพพานมาเป็นอารมณ์
นัยที่สอง คือจตุปฏิสัมภิทาญาณ ๔ ได้แก่
อัตถปฏิสัมภิทาญาณ ปัญญารู้แจ้งในผล
ธัมมปฏิสัมภิทาญาณ ปัญญารู้แจ้งในเหตุ
นิรุตติปฏิสัมภิทาญาณ ปัญญาแตกฉานในภาษา
ปฏิภาณปฏิสัมภิทาญาณ ปัญญาแตกฉานในไหวพริบปฏิภาณ
การทำให้เกิดปัญญา คือต้องเจริญวิปัสสนาภาวนา
ในการเจริญวิปัสสนากรรมฐาน ผู้ปฏิบัติควรรู้ใน
๑. ธรรม ๖ หมวด
๒. วิปัสสนาภูมิ ๖ ภูมิ
ถ้าเข้าใจแจ่มแจ้งถ่องแท้ ลงมือปฏิบัติเพียงอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่นในธรรม ๖ หมวด ปฏิบัติเพียงหมวดเดียว หรือในวิปัสสนาภูมิ ๖ ปฏิบัติเพียงภูมิเดียว ก็สามารถสำเร็จผลตามต้องการได้เหมือนสมถกรรมฐานซึ่งมีอยู่ถึง ๔๐ วิธี เมื่อลงมือปฏิบัติจริง ผู้ปฏิบัติย่อมเลือกใช้เพียงวิธีเดียวที่ถูกกับจริตอัธยาศัยของตน มิใช่ลงมือกระทำพร้อมกันทั้ง ๔๐ วิธี วิปัสสนากรรมฐานก็มีให้เลือกปฏิบัติได้ตามความถนัด ความพอใจของผู้ปฏิบัติในทํานองเดียวกัน
ผลขั้นสูงสุดที่ได้จากการเจริญสมถภาวนา คือได้ ฌาน และอภิญญา
ส่วนผลขั้นสูงสุดของการเจริญวิปัสสนาภาวนา คือได้ มรรค ผล และนิพพาน
๑. ธรรม ๖ หมวดที่ควรรู้ ได้แก่ วิสุทธิ ๗ ลักษณะ ๓ อนุปัสสนา ๓ วิปัสสนาญาณ ๑๐ วิโมกข์ ๓ และวิโมกขมุข ๓
๒. วิปัสสนาภูมิ ๖ ภูมิ ได้แก่ ขันธ์ ๕ อายตนะ ๑๒ ธาตุ ๑๘ อินทรีย์ ๒๒ อริยสัจ ๔ ปฏิจจสมุปบาท ๑๒
๖.๑ ธรรม ๖ หมวด
๑.๑ วิสุทธิ ๗ ได้แก่
๑.๑๑ สีลวิสุทธิ ความบริสุทธิ์แห่งศีล
๑.๑.๒ จิตตวิสุทธิ ความบริสุทธิ์แห่งจิต
๑.๑.๓ ทิฏฐิวิสุทธิ ความบริสุทธิ์แห่งความเห็น
๑.๑.๔ กังขาวิตรณวิสุทธิ ความบริสุทธิ์ของญาณที่ข้ามพ้นจากความสงสัย
๑.๑.๕ มัคคามัคคญาณทัสสนวิสุทธิ์ ความบริสุทธิ์ในการเห็นแจ้งของญาณว่าเป็นมัคคปฏิปทาหรือไม่
๑.๑.๖ ปฏิปทาญาณทัสสนวิสุทธิ ความบริสุทธิ์ในการเห็นแจ้งของญาณอันเป็นเครื่องดำเนินไปสู่มัคคปฏิปทา
๑.๑.๗ ญาณทัสสนวิสุทธิ์ ความบริสุทธิ์ในการเห็นแจ้งแทงตลอดของญาณ
๑.๒ ลักษณะ ๓ ได้แก่
๑.๒.๑ อนิจจลักษณะ ลักษณะที่ไม่เที่ยง
๑.๒.๒ ทุกขลักษณะ ลักษณะที่เป็นทุกข์
๑.๒.๓ อนัตตลักษณะ ลักษณะที่เป็นอนัตตา
๑.๓ อนุปัสสนา ๓ ได้แก่
๑.๓.๑ อนิจจานุปัสสนา การพิจารณาเนือง ๆ โดยความไม่เที่ยง
๑.๓.๒ ทุกขานุปัสสนา การพิจารณาเนือง ๆ โดยความเป็นทุกข์
๑.๓.๓ อนัตตานุปัสสนา การพิจารณาเนือง ๆ โดยความเป็นอนัตต
๑.๔ วิปัสสนาญาณ ๑๐ ได้แก่
๑.๔.๑ สัมมสนญาณ ปัญญาที่พิจารณาในลักษณะทั้ง ๓ ของรูปนาม
๑.๔.๒ อุทยัพพยญาณ ปัญญาที่เห็นในการเกิดขึ้นและดับไปของรูปนาม
๑.๔ ๓ ภังคญาณ ปัญญาเห็นความดับไปของรูปนาม
๑.๔.๔ ภยญาณ ปัญญาเห็นเป็นภัยที่น่ากลัวของรูปนาม
๑.๔.๕ อาทีนวญาณ ปัญญาเห็นโทษของรูปนาม
๑.๔.๖ นิพพิทาญาณ ปัญญาเกิดความเบื่อหน่ายในรูปนาม
๑.๔.๗ มุญจิตุกัมยตาญาณ ปัญญาอยากหนีให้พ้นจากรูปนาม
๑.๔.๘ ปฏิสังขาญาณ ปัญญาพิจารณารูปนามอย่างกว้างขวาง
๑.๔.๙ สังขารุเปกขาญาณ ปัญญาวางเฉยในรูปนาม
๑.๔.๑๐ อนุโลมญาณ ปัญญาถึงพร้อมด้วยกำลัง เพื่อให้มัคคญาณเกิด ไม่ขัดกันกับอุทยัพพยญาณ และสังขารุเปกขาญาณ
๑.๕ วิโมกข์ ๓ ได้แก่
๑.๕.๑ สุญญตวิโมกข์ คือ หลุดพ้นด้วยความเป็นของสูญ
๑.๕.๒ อนิมิตตวิโมกข์ หลุดพ้นด้วยการไม่มีนิมิตเครื่องหมาย
๑.๕.๓ อัปปณิหิตวิโมกข์ หลุดพ้นด้วยไม่เป็นที่ตั้งแห่งตัณหา
๑.๖ วิโมกขมุข ๓ ได้แก่
๑.๖.๑ สุญญตานุปัสสนา หลุดพ้นด้วยการพิจารณาเห็นว่าเป็นของสูญ
๑.๖.๒ อนิมิตตานุปัสสนา หลุดพ้นด้วยการพิจารณาเห็นว่าไม่มีนิมิต
๑.๖.๓ อัปปณิหิตานุปัสสนา หลุดพ้นด้วยการพิจารณาเห็นว่าไม่เป็นที่ตั้งแห่งตัณหา
สำหรับหมวดธรรมข้อ ๑.๑ วิสุทธิ ๗ ๑.๒ ลักษณะ ๓ ๑.๓ อนุปัสสนา ๓ และ ๑.๔ วิปัสสนาญาณ ๑๐ จะกล่าวพร้อมไปกับเรื่องในตอนต่อไป ในตอนนี้จะกล่าวเฉพาะ ๑.๕ วิโมกข์ ๓ และ ๑.๖ วิโมกขมุข ๓ ก่อน
๑.๕ วิโมกข์ ๓ ปฏิปักขิโต วิโมกข์ตีติ วโมกโข ฯ สภาวะใดข้ามพ้นจากกิเลสโดยความเป็นปฏิปักษ์ สภาวะนั้นชื่อว่า วิโมกข์
๑.๕.๑ สุญญตวิโมกข์ เป็นอริยมรรคที่เกิดขึ้นเพราะกำหนดเห็นชัดเจนใน อนัตตา
๑.๕.๒ อนิมิตตวิโมกข์ เป็นอริยมรรคที่เกิดโดยการกำหนดเห็นชัดเจนในอนิจจัง
๑.๕.๓ อัปปณิหิตวิโมกข์ เป็นอริยมรรคที่เกิดโดยการกำหนดเห็นชัดเจนในทุกขัง
ความจริงวิโมกข์คือชื่อของอริยมรรคทั้ง ๔ อย่าง แต่เรียกชื่อตามพระไตรลักษณ์ ผู้ที่หลุดพ้นด้วยอนัตตา ได้ชื่อว่าสุญญตวิโมกข์ คือเข้าสู่มรรคด้วยอนัตตลักษณะ มักได้แก่ ผู้ปฏิบัติที่มีปัญญินทรีย์แก่กล้า มีปัญญาเป็นบุพพาธิการเคยสร้างสมอบรมมาแต่ชาติปางก่อน เป็นกำลังแรงส่งผลให้ในขณะปฏิบัติวิปัสสนาภาวนาเห็นชัดเจนในอนัตตลักษณะมากกว่าลักษณะอีก ๒ อย่างของพระไตรลักษณ์
ส่วนผู้มีสัททินทรีย์แก่กล้า มีศรัทธาเป็นบุพพาธิการสูง ได้สร้างสมมาแต่ชาติก่อนเวลาปฏิบัติเจริญวิปัสสนาภาวนา แม้จะเห็นไตรลักษณะทั้ง ๓ ประการ แต่จะเห็นอนิจจลักษณะชัดเจนที่สุด ทำให้เห็นรูปนามไม่เที่ยงแล้วจึงเข้าสู่มรรค อย่างนี้เรียกว่าหลุดพ้นด้วยการพิจารณาอนิจจังเป็น อนิมิตตวิโมกข์
ส่วนผู้มีสมาธินทรีย์แก่กล้า มีสมาธิเป็นปุพพาธิการ ในขณะปฏิบัติวิปัสสนาอยู่ย่อมเห็นแจ้งชัดในทุกขลักษณะมากที่สุด จึงหลุดพ้นเข้าสู่มรรคด้วยทุกขัง เรียกอัปปณิหิตวิโมกข์
๑.๖ วิโมกขมุข ๓ วิโมกข์ แปลว่า การข้ามพ้นจากกิเลส คำว่า มุข แปลว่า ประตู หรือ ปาก อนุปัสสนา ๓ เรียกว่าเป็น วิโมกขมุข เพราะเป็นประตูเข้าสู่อริยมรรค ได้แก่
สุญญตานุปัสสนา
อนิมิตตานุปัสสนา
และ อัปปณิหิตานุปัสสนา
๑.๖.๑ สุญญตานุปัสสนา หมายถึงในขณะที่ วุฏฐานคามินีวิปัสสนากำลังดำเนินไปอยู่นั้น รูปนามที่กำหนดมีอาการสุขุมละเอียดเป็นอย่างยิ่ง คือค่อยน้อยลง ๆ เหมือนเส้นด้ายที่ขาดจากเส้นใหญ่กลายเป็นเส้นเล็ก ขาดเล็กลง ๆ จนขาดดับไป ลักษณะอาการ ดังนี้เรียกสุญญตวิโมกขมุข เข้าสู่มรรคด้วยอนัตตา
๑.๖.๒ อนิมิตตานุปัสสนา หมายถึงในขณะ วุฏฐานคามินีวิปัสสนากำลังดำเนินไปนั้น รูปนามมีอาการสุขุมละเอียดอย่างยิ่ง แล้วค่อย ๆ น้อยลง ๆ ในที่สุดดับไป ลักษณะอาการอย่างนี้ชื่อ อนิมิตตวิโมกขมุข หลุดพ้นด้วยอนิจจัง หรือเข้าสู่มรรคด้วยอนิจจัง
๑.๖.๓ อัปปณิหิตานุปัสสนา หมายถึง ในขณะที่ วุฏฐานคามินีวิปัสสนา กำลังดำเนินไปอยู่นั้น รูปนามมีอาการสุขุมละเอียดอย่างยิ่งแล้วลดลง น้อยลง ๆ ในที่สุดก็ดับไป ลักษณะอาการอย่างนี้ชื่อว่า อัปปณิหิตวิโมกขมุข หลุดพ้นด้วยทุกขัง หรือเข้าสู่มรรคด้วยทุกข์
๖.๒ วิปัสสนาภูมิ ๖ ภูมิ การเจริญวิปัสสนาภาวนา
การเจริญวิปัสสนาเพื่อให้เกิดปัญญา จิตหลุดพ้นเข้าสู่มรรคนั้น ทำได้ ๒ วิธี
ประการที่หนึ่ง เจริญสมถภาวนาขั้นสูงเป็นบาทเบื้องต้น แล้วจึงเจริญวิปัสสนาภาวนาต่อจนบรรลุผล
ประการที่สอง เจริญวิปัสสนาภาวนาโดยอาศัยสมถภาวนาเบื้องต้นเป็นบาท
โดยปกติ การเจริญวิปัสสนา ต้องปฏิบัติจิตให้ถึงระดับ "เห็นแจ้ง" โดยถ่องแท้เสียก่อน ถ้าเรียกทางภาคปฏิบัติเรียกว่า "ได้ดวงตาเห็นธรรม” แล้วนำจิตที่บริสุทธิ์ในขั้นนั้นมาเจริญวิปัสสนา ให้เกิด วิปัสสนาญาณ
การปฏิบัติให้จิต “เห็นแจ้ง” ที่ใช้กันอยู่ส่วนมากใช้การบำเพ็ญสมถกรรมฐานต่อจากนั้น จึงเจริญวิปัสสนาต่อ
การทํากิจการงานใด ๆ ก็ตาม ต้องมีส่วนประกอบดังนี้ คือ
ผู้ทำงาน
สถานทํางาน
การลงมือทํางาน
และผลที่ได้รับจากงานนั้น ๆ
ทำนองเดียวกัน การเจริญวิปัสสนาภาวนาเปรียบเทียบได้เหมือนการทำงานเหล่านั้น คือ
ผู้ทำงาน คือ ใจของผู้ปฏิบัติ
สถานที่ทำงาน คือ วิปัสสนาภูมิ กล่าวโดยย่อมี ๒ ได้แก่รูปและนาม กล่าวโดยละเอียดมี ๖ คือ ขันธ์ อายตนะ ธาตุ อินทรีย์ อริยสัจ และปฏิจจสมุปบาท ซึ่งได้กล่าวไว้แล้วในตอนต้น
การลงมือทำงาน คือการใช้ใจพิจารณาให้เห็นไตรลักษณ์ในวิปัสสนาภูมินั้น
ผลจากทานพิจารณา คือได้ปัญญาเรียกว่า วิปัสสนาญาณเกิดขึ้นเป็นหนทางบรรลุมรรค ผล นิพพาน
วิปัสสนาญาณ กล่าวโดยย่อ คือ สิกขา ๓
กล่าวโดยปานกลางคือ วิสุทธิ์ ๗
กล่าวโดยละเอียด คือ โพธิปักขิยธรรม ๓๗