สัมมสนญาณ

วันที่ 30 ตค. พ.ศ.2566

30-10-66_1br.png

๓. สัมมสนญาณ

                    สัมมสนญาณ คือปัญญาที่เห็นรูปนามเป็นไตรลักษณ์ ได้แก่ความรู้เห็นรูปนามเป็นอนิจจังไม่เที่ยง หรือเป็นทุกขัง ทนอยู่ไม่ได้ หรือเป็นอนัตตาบังคับบัญชาไม่ได้ เพราะรูปนามประชุมกันเกิดขึ้นแล้วดับไปอยู่เสมอ

                    ผู้ปฏิบัติที่ประสงค์บรรลุญาณขั้นนี้ ต้องทำความเพียรกำหนดพิจารณาสภาพธรรมที่เป็นหมวดเป็นกองก่อน ปฏิบัติจนวิปัสสนูปกิเลสอย่างใดอย่างหนึ่งเกิดขึ้น เช่นแสงสว่างเป็นต้น จึงจะเป็นญาณเริ่มต้นของวิปัสสนาญาณ เรียกว่ามัคคามัคคญาณทัสสนวิสุทธิ

                    การกำหนดรู้ มีทั้ง ๓ ขั้นตอน คือ

                    ๑. ญาตปริญญา กำหนดรู้ในสิ่งที่รู้ๆ กันอยู่แล้ว เช่นรู้ว่ารูป คือสิ่งที่มีลักษณะเสื่อม สั่นสลายไป ฯลฯ

                    ๒. ตีรณปริญญา กำหนดรู้ด้วยการไตร่ตรองใคร่ครวญ เช่นพิจารณายกเอาธรรม ทั้งหลายขึ้นสู่สามัญญลักษณ์

                    ๓. ปหานปริญญา กำหนดรู้ด้วยการละ เป็นปัญญาที่มีไตรลักษณ์เป็นอารมณ์ ละในความรู้ทีผิดต่าง ๆ


                   ญาณ ๒ ชนิดที่กล่าวมาแล้วตอนต้น คือ นามรูปปริจเฉทญาณ และปัจจยปริคคหญาณ เป็นภูมิของญาตปริญญา เพราะเป็นการให้รู้เฉพาะลักษณะของธรรมทั้งหลายเท่านั้น

                   ญาณที่ ๓-๔ สัมมสนญาณ และอุทยัพพยญาณ เป็นภูมิของตีรณปริญญา เพราะเป็นการแทงตลอดในสามัญญลักษณะโดยเฉพาะ

                   ญาณที่ ๕ ภังคญาณ เป็นต้นไปจนถึงญาณเบื้องสูงมรรคญาณ เป็นภูมิของปลานปริญญาเพราะเป็นระยะที่อยู่ในระหว่างการเกิดอนุปัสสนา ๗ อย่าง ที่จะทำให้บรรลุผลสำเร็จ คือ ละความหมายรู้ต่าง ๆ เช่นความหมายรู้ว่าเที่ยงเป็นต้น
                   อนุปัสสนา ๗ อย่าง คือ

                     ๑.เมื่อเห็นเนือง ๆ โดยความไม่เที่ยง ก็ละความหมายรู้ว่าเที่ยง

                     ๒. เมื่อเห็นเนือง ๆ โดยความเป็นทุกข์ ก็ละความหมายรู้ว่าเป็นสุข

                     ๓. เมื่อเห็นเนือง ๆ โดยความไม่มีอัตตา ก็ละความหมายรู้ว่ามีอัตตา

                     ๔. เมื่อเบื่อหน่าย ก็ละความเพลิดเพลินยินดี

                     ๕. เมื่อปราศจากความกำหนัด ก็ละราคะ

                     ๖.เมื่อดับ ก็ละเหตุที่เป็นแดนเกิด

                     ๗. เมื่อสลัดทิ้งไป ก็ละความยึดถือ

                   การจะบรรลุปริญญาขั้นสูงต้องผ่านมาจากปริญญาขั้นต้นก่อน เมื่อได้ญาตปริญญาแล้ว กำลังจะให้เกิดตีรณปริญญาต่อ เป็นมัคคามัคคญาณทัสสนวิสุทธิ์ ต้องทำความเพียรกำหนดรู้สภาพธรรมโดยความเป็นหมวดเป็นกอง

                   ธรรมที่เป็นหมวดเป็นกอง เป็นอดีต อนาคต ปัจจุบัน ภายใน ภายนอก หยาบ ละเอียดเลว ประณีต ไกล ใกล้ เหล่านี้ที่เกี่ยวข้องอยู่ใน ทวารและอารมณ์ ต้องนำมากำหนดพิจารณาให้เห็นความไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา ธรรมทั้งหมด มีอยู่ ๒๕ หมวด คือ

                         ๑.ขันธ์ ๕

                         ๒. ทวาร ๖

                         ๓. อารมณ์ ๖

                         ๔. วิญญาณ ๖

                         ๕. ผัสสะ ๖

                         ๖. เวทนา ๖

                         ๗. สัญญา ๖

                         ๘. เจตนา ๖

                         ๙. ตัณหา ๖

                         ๑๐. วิตก ๖

                         ๑๑. วิจาร ๖

                         ๑๒. ธาตุ ๖

                         ๑๓. กสิณ ๑๐

                         ๑๔. โกฏฐาส ๓๒

                         ๑๕. อายตนะ ๑๒

                         ๑๖. ธาตุ ๑๘

                         ๑๗. อินทรีย์ ๒๒

                         ๑๔. ธาตุ ๓ (กามธาตุ รูปธาตุ อรูปธาตุ)

                         ๑๙. ภพ ๓ (กามภพ รูปภพ อรูปภพ)

                         ๒๐. ภาพ ๓ (สัญญาภพ อสัญญาภพ เนวสัญญานาสัญญาภาพ)

                         ๒๑. ภพ ๓ (เอกโวการภพ จตุโวการภพ ปัญจโวการภพ)

                         ๒๒. รูปฌาน ๔

                         ๒๓. อัปปมัญญา ๔

                         ๒๔. อรูปสมาบัติ ๔

                         ๒๕. ปฏิจจสมุปบาท ๑๒

                 การกำหนดพิจารณาในธรรมทั้ง ๒๕ หมวดนี้ มีขันธ์ ๕ เป็นต้น ด้วยสัมมสนญาณ มีดังนี้ เช่นตัวอย่างพิจารณา ขันธ์ ๕

                 รูปขันธ์ อย่างใดอย่างหนึ่งก็ตาม ทั้งที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน ทั้งภายในหรือภายนอก ทั้งหยาบหรือละเอียด ทั้งเลวหรือประณีต ทั้งอยู่ไกลหรือใกล้ กำหนดรู้รูปขันธ์นั้น ๆ โดยความไม่เที่ยงนี้เป็นสัมมสนญาณอย่างหนึ่ง (ถ้ากำหนดรู้โดยความเป็นทุกข์ ก็เป็นสัมมสนญาณอีกอย่างหนึ่ง ถ้ากำหนดรู้โดยความเป็นอนัตตาก็เป็นสัมมสนญาณอีกอย่างหนึ่ง)

                สรุปแล้ว รูปขันธ์ เป็นปัจจัยให้สัมมสนญาณเกิดขึ้น ๓ อย่าง ขันธ์ ๕ จึงเป็นปัจจัยให้สัมมสนญาณเกิดขึ้น ๑๕ อย่าง

                ทวาร ๖                        เป็นปัจจัยให้สัมมสนญาณเกิดขึ้น ๑๔ อย่าง
                สมาบัติ ๔                     เป็นปัจจัยให้สัมมสนญาณเกิด ๑๒ อย่าง
                ปฏิจจสมุปบาท ๑๒        เป็นปัจจัยให้สัมมสนญาณเกิด ๓๖ อย่าง ฯลฯ

                รวมในธรรม ๒๕ หมวดเป็นสัมมสนญาณ จำนวน ๖๐๓ อย่าง ถ้าแยกย่อยออกเป็นอดีต อนาคต ปัจจุบัน ภายใน ภายนอก หยาบ ละเอียด เลว ประณีต ไกล ใกล้ รวม ๑๑ อย่าง จะเป็นสัมมสนญาณทั้งสิ้น ๖,๖๓๓ ประเภท

                วิธีกำหนดรู้ธรรมโดยเฉพาะของสัมมสนญาณ ๑๑ ประเภท

                ๑.รูปใดที่เป็นอดีต รูปนั้นก็สิ้นไปแล้วในอดีต มิได้ดำรงมาถึงภพนี้ ด้วยเหตุนี้จึงเป็นของไม่เที่ยง
                ๒. รูปใดที่เป็นอนาคต ก็จักเกิดขึ้นในอนาคต แล้วจักดับไปในภพนั้นเอง ไม่ดับในภพอื่น จึงเป็นของไม่เที่ยง
                ๓.รูปใดเป็นปัจจุบัน ก็จะสิ้นไปในภพนี้เอง ไม่ดำรงไปถึงภพอื่น จึงเป็นของไม่เที่ยง
                ๔. รูปใดเป็นภายใน ก็สิ้นไปภายในนั้นเอง ไม่ดำรงอยู่ถึงภายนอก จึงเป็นของไม่เที่ยง มีความเสื่อม
                ๕. รูปใดเป็นไปภายนอก ก็เสื่อมสิ้นไปภายนอกนั่นเอง ไม่ดำรงอยู่ถึงภายใน จึงเป็นของไม่เที่ยง
                ๖. รูปใดที่เป็นรูปหยาบ ก็สิ้นไปในขณะที่เป็นรูปหยาบนั่นเอง ไม่ตั้งอยู่จนถึงเป็นรูปละเอียด จึงไม่เห็น
                ๗. ในทำนองเดียวกันทั้งใน รูปละเอียด เลว ประณีต ไกล ใกล้ จนครบ ๑๑

              นี่เป็นการกำหนดรู้ด้วยสัมมสนญาณ ที่เห็นความไม่เที่ยง มีความเสื่อมสิ้นไป ในทำนองเดียวกัน จะพิจารณากำหนดโดยความเป็นทุกข์ เพราะเป็นสิ่งที่น่าสะพึงกลัว เพราะมีภัยอยู่ประจัญหน้า สิ่งใดไม่เที่ยงสิ่งนั้นก็นำเอาความน่ากลัวมาให้ หรือจะพิจารณากำหนดรู้โดยความเป็นอนัตตา เพราะเป็นสิ่งที่ไม่มีแก่นสาร คือไม่มีอัตตา ไม่มีผู้อยู่คงที่ อยู่เป็นนิตย์ไม่มีผู้สร้าง ผู้เสวย หรือผู้มีอำนาจในตัวเอง ดังนี้ก็ได้

              รูปใดไม่เที่ยง รูปนั้นก็เป็นทุกข์ไม่สามารถห้ามความเบียดเบียนที่มาจากความเกิดดับได้ ถ้ารูปเป็นอัตตาแล้ว ก็ไม่ควรมีการอาพาธ

              สัมมสนญาณอีกประเภทหนึ่ง อาจใช้วิธีพิจารณากำหนดด้วยอาการ ๖ อย่าง คือ ใช้ปัญญาพิจาณาโดยย่นย่อ กำหนดรู้ว่า

              ๑.รูปทั้งที่เป็นอดีต อนาคต ปัจจุบัน ชื่อว่า ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา
              ๒. รูปทั้งหมดในกาลทั้ง ๓ เป็นของถูกปัจจัยปรุงแต่งขึ้น อาศัยปัจจัยจึงเกิดขึ้น และเสื่อมไปเป็นธรรมดา
              ๓. เพราะชาติเป็นปัจจัย จึงมีชรา และมรณะ ถ้าไม่มีชาติก็ไม่มีชราและมรณะ
              ๔. ทั้งในอดีตกาล อนาคตกาล เพราะชาติเป็นปัจจัย จึงมีชรามรณะ ไม่มีชาติก็ไม่มีชรามรณะ
              ๕. เพราะภพเป็นปัจจัย จึงมีชาติ ฯลฯ เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย จึงมีสังขารทั้งหลาย เมื่อไม่มีอวิชชาก็ไม่มีสังขาร
              ๖. ปัญญาในการย่นย่อ กำหนดรู้ว่า ทั้งในอดีตกาล อนาคตกาล เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย จึงมีสังขารทั้งหลาย เมื่อไม่มีอวิชชา ก็ไม่มีสังขารทั้งหลาย

              ธรรมทั้งหลายที่เป็นอารมณ์ของสัมมสนญาณเหล่านี้ โลกิยธรรมเป็นธรรมที่ปรากฏชัด และกำหนดรู้ได้ง่าย ยกเว้นโลกุตตรธรรม

              เพื่อให้สัมมสนญาณ มีความมั่นคงควรกำหนดรู้ขันธ์ ๕ โดยอาการ ๔๐ คือ ให้กำหนดรู้ขันธ์ ๕ โดยความ

               ๑. อนิจจโต ไม่เที่ยง ทุกขันธ์ ไม่คงที่อยู่ตลอดไป มีเบื้องต้นเบื้องปลาย
               ๒. ทุกข์โต เป็นทุกข์ มีการถูกเบียดเบียนบีบคั้นด้วยความเกิด ความดับ
               ๓.โรคโต เป็นโรค เป็นที่อาศัยเกิดของโรค ต้องคอยเยียวยารักษา
               ๔. คัณฑโต เป็นเหมือนหัวฝี มีความทุกข์เสียดแทง มีสิ่งสกปรกคือกิเลสไหลออกมีการกลัดหนอง สุกแก่แล้วแตกสลาย คือเกิด แก่ และแตกดับไป
               ๕. สัลลโต เป็นเหมือนถูกลูกศรเสียบ ทำให้เกิดการบีบคั้น เหมือนมีสิ่งที่มแทงอยู่ภายใน ถอนออกยาก
               ๖. อมโต เป็นของชั่วร้าย ควรตำหนิติเตียน นำความเสื่อมเสียมาให้ เป็นที่ตั้งของความชั่วร้าย
               ๗. อาพาธโต เป็นของป่วยไข้ ไม่ทำให้เกิดเสรีภาพ เป็นต้นเหตุของความเจ็บป่วย
               ๔. ปรโต เป็นปรปักษ์ เพราะไม่มีอำนาจบังคับบัญชา และบังคับบัญชาไม่ได้
               ๙.ปโลกโต เป็นของแตกทำลาย เพราะแตกทำลายไปด้วยพยาธิ ชรา และมรณะ
               ๑๐. อีติโต เป็นของหายนะ นำความพินาศมากมายมาให้
               ๑๑.อุปัททวโต เป็นอุปัทวะ นำสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์มาให้ โดยไม่มีทางรู้ได้ ทำให้เกิดอุปัทวันตราย
               ๑๒. ภยโต เป็นของมีภัย เป็นที่เกิดของภัยทุกประการ เป็นปฏิปักษ์ต่อการดับทุกข์อันเป็นความอบอุ่นใจสูงสุด
               ๑๓.อุปสัคคโต เป็นอุปสรรค มีสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์ มีโทษตามมา ไม่มีความอดกลั้นเหมือนเป็นอุปสรรค
               ๑๔. จุลโต เป็นของหวั่นไหว เพราะหวั่นไหวด้วยพยาธิ ชรา และมรณะ โลกธรรมทั้งหลาย
               ๑๕. ปภังคุโต เป็นของผุพัง มีปกติต้องผุพังด้วยสภาพของตัวมันเอง และการกระทำของสิ่งอื่น
               ๑๖.อัทธุวโต เป็นของไม่ยั่งยืน มีปกติร่วงหล่นไปในที่ตั้งทุกแห่ง ไม่มีความมั่นคง
               ๑๗. อตาโต ไม่เป็นที่ต้านทาน ไม่ได้ความปลอดภัยเท่าที่ควร
               ๑๘. อเลนโต ไม่เป็นที่หลบลี้ ไม่เป็นที่สมควรหลบลี้
               ๑๙. อสรณโต ไม่เป็นที่พึ่ง ไม่ใช่ที่ปลอดภัยสําหรับพักอาศัย
               ๒๐. ตาโต เป็นของเปล่า ว่างเปล่าจากความยั่งยืน ความงาม ความสุข ความมีอัตตาตามที่ต้องการ
               ๒๑. ตุจนโต เป็นของว่าง เป็นของเล็กน้อย ไม่มีราคาค่างวด
               ๒๒. สุญญโต เป็นของสูญ ปราศจากอัตตา ผู้อยู่ประจำ ผู้เป็นเจ้าของ ผู้สร้าง ผู้เสวนะและบงการ
               ๒๓. อนัตตโต ไม่มีอัตตา คือไม่มีเจ้าของด้วยตนเองเป็นต้น
               ๒๔. อาทีนวโต เป็นโทษ เพราะต้องเป็นทุกข์ด้วยความเป็นไปต่าง ๆ ในภพที่อยู่ในสังสารวัฏฏ
               ๒๕. วิปริณามธัมมโต มีความแปรปรวนอยู่เป็นธรรมดา มีปรกติแปรปรวนอยู่ด้วยชรา และมรณะ
               ๒๖. อสารกโต ไม่มีสาระ เพราะมีความอ่อนแอ และหักง่ายเหมือนไม้ผุ
               ๒๗. อมมูลโต เป็นต้นเหตุแห่งความชั่วร้าย เป็นสาเหตุของความชั่วร้ายด้วยนานัปการ
               ๒๘. วธกโต เป็นผู้ฆ่า เป็นผู้ฆ่าที่ทำให้วางใจ เหมือนศัตรูผู้มีหน้าเป็นมิตร
               ๒๔. วิภวโต ปราศจากความเจริญ ทำให้เกิดความไม่เจริญ
               ๓๐. สาสวโต มีอาสวะ เพราะเป็นหนทางไปสู่อาสวะ
               ๓๑. สังขาโต เป็นของถูกปรุงแต่งไว้ เพราะเป็นสิ่งที่เหตุและปัจจัยปรุงแต่งขึ้น
               ๓๒. มารามิสโต เป็นเหยื่อล่อของมาร เพราะเป็นเหยื่อล่อของมัจจุมาร และกิเลสมาร
               ๓๓. ชาติธัมมโต มีความเกิดเป็นธรรมดา เป็นของปกติที่ต้องมีการเกิด
               ๓๔. ชราธัมมโต มีความแก่เป็นธรรมดา มีความแก่เป็นปรกติ
               ๓๕. พยาธิธัมมโต มีความเจ็บไข้เป็นธรรมดา เป็นปรกติ
               ๓๖. มรณธัมมโต มีความตายเป็นธรรมดา เป็นปรกติ
               ๓๗. โสกธัมมโต มีความโศกเป็นธรรมดา เพราะเป็นเหตุแห่งความโศกเศร้า
               ๓๘. ปริเทวธัมมโต มีความคร่ำครวญเป็นธรรมดา เพราะเป็นเหตุแห่งความคร่ำครวญ
               ๓๙. อุปายาสธัมมโต มีความคับแค้นใจเป็นธรรมดา เพราะเป็นเหตุแห่งความคับแค้นใจ
               ๔๐. สังกิเลสิกธัมมโต มีความเศร้าหมองเป็นธรรมดา เพราะเป็นธรรมที่เป็นอารมณ์ของกิเลส ตัณหาและทุจริตทั้งหลาย

               การเจริญวิปัสสนาให้ได้วิปัสสนาญาณสูงขึ้น ต้องทำอินทรีย์ ๕ ให้แก่กล้าด้วยวิธีการ ๙ ประการ

               ๑.พยายามกำหนดรู้ให้ชัดถึงความดับไปของสังขารทั้งหลาย (นามและรูป) ที่ได้เกิดขึ้นแล้ว
               ๒. ในขณะที่เห็นความดับไปของสังขารทั้งหลาย ควรพยายามให้มีสติพร้อม
               ๓. พยายามให้วิปัสสนาญาณนั้น ๆ เกิดต่อเนื่องกันไป
               ๔. พยายามให้วิปัสสนาญาณนั้น ๆ ดำเนินไปด้วยความสะดวกสบาย
               ๕. พยายามให้วิปัสสนาญาณนั้น ๆ กำหนดนิมิตของสมาธิ
               ๖. พยายามให้วิปัสสนาญาณนั้น ๆ ดำเนินไปโดยความเหมาะสมของโพชฌงค์ ๗
               ๗. พยายามไม่อาลัยในร่างกายและชีวิต
               ๔. พยายามไม่อาลัยในร่างกายและชีวิตด้วยวิธีข่มไว้ เช่นข่มทุกขเวทนาที่เกิดขึ้น
               ๙. พยายามไม่อาลัยในร่างกายและชีวิตด้วยการไม่ละเลิก หรือหยุดพักเสียในระหว่างกลางคัน และพึงหลีกเลี่ยงอสัปปายะ คือสิ่งที่ไม่เป็นที่สบาย ๆ อย่าง แล้วเสพสิ่งที่สบาย สัปปายะ ๗ อย่าง


วิธีกำหนดรู้รูปในสัมมสนญาณ


               ตามธรรมดารูปเกิดจากเหตุ ๔ อย่าง คือ กรรม จิต อุตุ และอาหาร รูปร่างของสัตว์ทั้งหลายมาจากกรรมก่อนเป็นสิ่งแรก

               ๑. การจำแนกรูปที่เกิดจากกรรม กรรมได้แก่เจตนาเจตสิกที่ประกอบอยู่ในโลกียกุศลจิต ๑๓ (เว้นอรูป ๔) และอกุศลจิต ๑๒ รูปต่าง ๆ ที่มีกรรมเป็นปัจจัยให้เกิด หรือเรียกว่ามีกรรมเป็นสมุฏฐานมีอยู่ด้วยกัน ๑๘ รูป (รูปทั้งหมดมี ๒๘ รูป)ได้แก่ ปสาทรูป๕ ภาวรูป ๒ หทยรูป ๑ ชีวิตรูป ๑ อวินิพโภครูป ๘ และ ปริจเฉทรูป ๑ ถ้าจะเรียกเป็นรูปกลาป ก็แยกได้เป็น ๙ ประเภท
               ๒. การจำแนกรูปที่เกิดจากจิตรูปที่มีจิตเป็นปัจจัย หรือมีจิตเป็นสมุฏฐาน มี ๑๕ คือ
               สัททรูป ๑ วิญญัติรูป ๒ วิการรูป ๓ อวินิพโภครูป ๘ ปริจเฉทรูป ๑

               และยังแยกย่อยละเอียดลงไปจนถึงจิตประเภทต่าง ๆ ที่ทำให้เกิด จิตตชรูปสามัญจิตตชรูปที่ทำให้เกิดการหัวเราะ การร้องไห้ อิริยาบถน้อย อิริยาบถใหญ่ การพูด ฯลฯ
               ๓.การจำแนกรูปที่เกิดจากอาหารอาหาร คือโอชารูปที่อยู่ในอาหารอันเป็นคำ ๆ ที่รับประทานกัน รูปที่มีอาหารเป็นปัจจัย หรือเป็นสมุฏฐาน มีอยู่ ๑๒ คือ วิการรูป ๓ อวินิพโภครูป ๘ และปริจเฉทรูป ๑
               ๔. การจำแนกรูปที่เกิดจากอุตุ
               อุต คือ ความเย็น และความร้อน รูปที่มีอุตเป็นสมุฏฐานมี ๑๓ คือ วิการรูป ๓ สัททรูปอวินิพโภครูป ๘ ปริจเฉทรูป ๑
               นอกจากนี้ยังสามารถกำหนดรู้รูปธรรมเพื่อให้เห็นพระไตรลักษณ์ ได้อีก ๒ ทาง คือโดยพิจารณา

                  ๑. ความยึดถือและการปล่อยวาง
                  ๒.ความแตกดับของรูปที่เติบโตขึ้นตามวัย
                  ๓.รูปที่เกิดขึ้นจากอาหาร
                  ๔.รูปที่เกิดขึ้นจากฤดู
                  ๕.รูปที่เกิดขึ้นจากกรรม
                  ๖. รูปที่มีจิตเป็นสมุฏฐาน
                  ๗. รูปธรรมดา

              ๑.โดยพิจารณาความยึดถือและการปล่อยวาง โดยให้เห็นพระไตรลักษณ์ในสังขารทั้งหลาย สังขารทั้งหลายไม่เที่ยงเพราะ

                  ก. มีการเกิดขึ้นและความเสื่อมไป
                  ข. มีความปรวนแปร
                  ค. มีความเป็นชั่วขณะ
                  ง. มีความขัดแย้งกับความเที่ยง
                  สังขารทั้งปวงเป็นทุกข์เพราะ
                  ก. ถูกเบียดเบียนอยู่เนือง ๆ
                  ข. เป็นทุกข์
                  ค. ทนได้ยาก
                  ง. เป็นที่ตั้งแห่งทุกข์
                  จ. ขัดกับความสุข
                  ฉ. เหตุที่ใครๆ ไม่มีอำนาจ ๓ อย่าง คือ ไม่สามารถบังคับว่า สังขารที่เกิดขึ้นแล้วจงตั้งอยู่ ที่ตั้งอยู่แล้ว จงอย่าแก่ชรา ที่ชราแล้ว จงอย่าแตกดับ ดังนี้ ทำไม่ได้
                  สังขารทั้งปวงเป็นอนัตตาเพราะ
                  ก. เป็นของว่างเปล่า
                  ข. ไม่มีเจ้าของ
                  ค. ไม่เป็นไปตามอำนาจ
                  ง. ปฏิเสธอัตตา


             ๒. โดยพิจารณาความแตกดับของรูปที่เติบโตขึ้นตามวัย คือ

                  - จำแนก ๑๐๐ ปีออกเป็น ๓ วัย วัยละ ๓๓ ปี
                  - จำแนก ๑๐๐ ปีออกเป็น ๑๐ ระยะ เด็กอ่อน เล่น ผิวพรรณ กำลัง ปัญญาเสื่อม โค้ง งอ หลงลืม และนอน
                  - จำแนก ๑๐๐ ปีออกเป็น ๒๐ ระยะ
                  - จำแนก ๑๐๐ ปี ออกเป็น ๒๕ ๓๓ ๕๐ และ ๑๐๐ ระยะ
                  - จำแนก ๑ ปี ออกเป็น ๓ ฤดู ฤดูวัสสานะ ฤดูเหมันต์ และ ฤดูคิมหันต์
                  - จำแนก ๑ ปี ออกเป็น 3 ฤดู ฝน สารท (ใบไม้ร่วง) หนาว สิสระ (เย็น) วัสสันต์(ใบไม้ผลิ) และฤดูร้อน
                  - จำแนก ๑ เดือนออกเป็น ๒ ปักษ์ ขึ้น และ แรม
                  - จําแนก ๑ วันเป็นกลางคืนและกลางวัน
                  - จำแนก ๑ วันเป็น ๖ ส่วน เช้า กลางวัน เย็น ปฐมยาม มัชฌิมยาม ปัจฉิมยาม
                  - จำแนกโดยอาการ ๖ การเดินไปข้างหน้า ถอยกลับ แลดู เหลียวดู คู่เข้า เหยียดออก
                  - จําแนกการก้าวเท้าเป็น ๖ ระยะ ยก ย่าง ย้าย ลง เหยียบ กด

              การพิจารณารูปก็ให้เห็นว่ารูปที่ตั้งอยู่ในเวลาใดก็ดับไปในเวลานั้น มิได้ดับในเวลาอื่น เพราะฉะนั้นรูปจึงเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา

             ๓.โดยพิจารณารูปที่เกิดจากอาหาร
             รูปที่เป็นไปในเวลาที่หิวโหย ซูบซีด อิดโรย ผิวพรรณเศร้าหมอง ยังไม่ทันอิ่มเอิบก็ดับเสีย ในเวลานั้น แม้รูปที่ตั้งขึ้นในเวลาอิ่มก็ดับเสียก่อนถึงเวลาหิว จึงเป็น อนิจจัง ทุกขังอนัตตา

             ๔.โดยพิจารณารูปที่เกิดจากอุตุ
             รูปที่เป็นไปในเวลาร้อนก็ดับเสียก่อนถึงเวลาเย็น รูปที่เป็นไปในเวลาเย็นก็ดับเสียก่อนร้อน

             ๕. โดยพิจารณารูปที่เกิดจากกรรม
             เช่นรูปที่เป็นไปในจักขุทวาร ยังไม่ทันถึงโสตทวารก็ดับไปเสียก่อนแล้วเป็นต้น

             ๖. โดยพิจารณารูปที่เกิดจากจิต
             เช่นรูปที่เป็นไปในเวลาโสมนัสก็ดับเสียก่อนถึงเวลาโทมนัส รูปที่เป็นไปในเวลาโทมนัสก็ดับเสียก่อนถึงโสมนัส ดังนั้นแม้รูปเกิดจากจิตก็เป็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา

                  ชีวิต อตฺตภาโว จ        สุขทุกขา จ เวลา
                  เอกจิตตสมายุตฺตา      ลหุโส วตฺตเต ขโณ ฯ

             ชีวิต อัตภาพ สุข และทุกข์ แต่ละอย่างนี้ มีอยู่ชั่วขณะจิตหนึ่งเท่านั้น ซึ่งผ่านไปอย่างรวดเร็ว

                  จุลลาสีติสหสฺสาน       กปป์ ติฏฐนฺติ เย มีรู
                  น เทวว เตปิ ติฏฐนฺติ    ทวีห์ จิตฺเตหิ สโมหิตาฯ

             เทวดาทั้งหลายเหล่าใด แม้ตั้งอยู่ตลอด ๘๔,๐๐๐ กัป ก็หาตั้งอยู่ด้วยจิต สองขณะไม่

                 เย นิรุทธา มรนตสส       ติฏฐิมานสส วา อีธ
                 สพเพว สทิสา ขนฺธา      คตา อปปฏิสนธิกา ฯ

             ขันธ์ทั้งหลายของสัตว์ที่ตายไปแล้วก็ดี หรือขันธ์ทั้งหลายของสัตว์ที่กำลังเป็นไปอยู่ก็ดี ขันธ์ทั้งหลายเหล่านั้น ย่อมมีการดับไป ไม่มีการติดต่อกัน เป็นไปชั่วขณะจิตหนึ่ง ๆ

                 อนนตรา จ เย ภคคา      เย จ ภคคา อนาคต
                 ตทนฺตรา นิรุทธาน         เวสม์ นตฺถิ ลกฺขเณฯ

             สังขารทั้งหลายที่แตกดับไปแล้วในอดีตก็ดี สังขารทั้งหลายที่จักแตกดับในอนาคตก็ดี หรือสังขารทั้งหลายที่กำลังแตกดับอยู่ หามีความแตกต่างกันในลักษณะไม่ คือตั้งอยู่ชั่วขณะจิตหนึ่ง ๆ

                อนิพพุตเตน น ชาโต      ปจจุปปนเนน ชีวติ
                จิตตภงคา มโต โลโก     ปญฺญตติ ปรมตถิยา ฯ

             เพราะจิตไม่เกิด สัตว์โลกชื่อว่ายังไม่เกิด เพราะจิตยังเกิดอยู่สัตว์โลกชื่อว่ามีชีวิตอยู่เพราะจิตแตกดับ สัตว์โลกชื่อว่า ตาย นี้เป็นบัญญัติเนื่องด้วยปรมัตถ์

                อนิธาน ตา ภคคา            ปุญฺโช นตฺถิ อนาคเต
                นิพพุตตา เยปิ ติฏฐนต์     อารคเค สาสปูปมา ฯ

             สังขารทั้งหลายที่แตกดับไปแล้ว มิได้หายไปสู่ที่เก็บใด ๆ สังขารในอนาคตก็มิได้มีที่เก็บเตรียมไว้ อีกทั้งสังขารทั้งหลายที่เกิดมาแล้วในปัจจุบัน ก็ตั้งอยู่ชั่วขณะ เหมือนเมล็ดพันธุ์ผักกาดบนปลายเหล็กแหลม

                นิพพุตตานญา ธมมาน.      ภงฺโค เนส ปรกฺขโต
                ปโลกธมฺมา ติฏฐนติ          โปราเณหิ อมิสสิตาฯ

            เมื่อสังขารทั้งหลายเกิดขึ้นมา ความแตกดับก็ห้อมล้อมอยู่แล้ว สังขารธรรมทั้งหลายมีความแตกสลายไปเป็นธรรมดา ตั้งอยู่เป็นปัจจุบัน ก็หาสัมพันธ์ปะปนกับสังขารในอดีตไม่
               อทสสนโต อายนฺติ            ภคคา คจฺฉนฺตยทสฺสน
               วิชชุปปาเทว อากาเส         อุปปชชนติ วยนฺติ จฯ

            เมื่อสังขารธรรมมาจากที่ไม่มีใครเห็น เมื่อแตกดับแล้วก็ไปสู่ความไม่เห็น เกิดขึ้นและดับไป เหมือนสายฟ้าแลบเกิดขึ้นและดับไปในอากาศ

            ๗.โดยพิจารณารูปธรรมดา
            รูปธรรมดาคือรูปที่ไม่เนื่องด้วยอินทรีย์ เป็นรูปภายนอก เช่น โลหะต่าง ๆ แก้วมณีแผ่นดิน ภูเขา ต้นไม้ เถาวัลย์ ฯลฯ รูปธรรมดาก็นำมาพิจารณากำหนดรู้ได้ เช่นรูปจากใบไม้อ่อน ว่า

            “รูปที่เป็นไปในกาลสีแดงอ่อน ยังไม่ทันถึงสีแดงเข้ม ก็ดับไปเสียแล้ว รูปที่เป็นไปในกาลสีแดงเข้ม ยังไม่ทันถึงสีแดงนวล ก็ดับไปเสียแล้ว”
            พิจารณาเรื่อยไปจาก แดงนวล สีใบไม้อ่อน ใบไม้แก่ ใบไม้เขียว ใบไม้เขียวแก่ เหลืองหลุดจากขั้ว ล้วนแต่ดับไปก่อนถึงอย่างใหม่ทั้งสิ้น รูปเหล่านี้จึงเป็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา


วิธีกำหนดรู้นาม


             การกำหนดรู้นาม ย่อมสามารถทำให้เห็นการเกิดของนาม การกำหนดรู้นาม คือรู้การทำงานของโลกียจิตทั้ง ๘๑ ชนิด โดยเริ่มต้นแต่การกำหนดรู้ปฏิสนธิจิตทั้ง ๑๙ อย่างก่อน คือ อุเบกขาสันติรณ อกุศลวิบาก ๑ อุเบกขาสันติรณกุศลวิบาก ๑ กามาวจรวิบาก 4 รูปาวจรวิบาก ๔ อรูปวิบาก ๔

            อำนาจแห่งกรรมในอดีตภพส่งผลให้เกิดปฏิสนธิจิต ปฏิสนธิจิตเปลี่ยนสภาพเป็นภวังคจิต ภวังคจิตเปลี่ยนสภาพเป็นจุติในเมื่อหมดอายุ

            แต่ในขณะที่อยู่ในระหว่างเวลาปฏิสนธิจิต กับจุติจิต ความเป็นอยู่ตอนนั้นเรียกว่าปวัตติกาล ในปวัตติกาลการทำงานของจิตซึ่งเป็นนามธรรมเกิดขึ้นดังนี้ เช่น นามที่เกิดขึ้นทางตา จะเริ่มขึ้นตั้งแต่

            เมื่อรูปารมณ์คือ สีต่าง ๆ ปรากฏขึ้น ก็จะกระทบกับจักขุปสาท ถ้าขณะนั้นมีแสงสว่าง และมนสิการอยู่พร้อมด้วยกันแล้ว ก็จะเกิดภวังคจิตที่เรียกว่า อดีตภวังค์ ภวังคจลนะ (หวั่นไหว) ภวังคุปัจเฉทะ (การตัดกระแสภวังค)

            ต่อจากนั้นจักขุวิญญาณจิตที่เป็นอกุศลวิบากหรือกุศลวิปาก ก็เกิดขึ้นรับรู้รูปารมณ์พอรับรู้แล้ว ก็ส่งไปให้จิตที่ทำหน้าที่สัมปฏิจฉนรับอารมณ์ทางตา แล้วส่งต่อไปให้สันตีรณจิตทำหน้าที่ไต่สวนพิจารณารูปารมณ์นั้น ๆ จากนั้นโวฏฐัพพนจิตก็เกิดขึ้นตัดสินรูปารมณ์ แล้วจึงถึงชวนจิตทำหน้าที่เสพอารมณ์ และท้ายที่สุดตทารมณ์จิตชนิดใดชนิดหนึ่งจึงรับหน้าที่มาจากชวนจิต การเกิดของนามเป็นดังนี้

            แม้ในทวารอื่น ๆ เช่น ทางหู จมูก ลิ้น กาย ใจ ก็เป็นไปในทำนองเดียวกัน
            ถ้าไม่กำหนดรู้การทำงานตามหน้าที่ของจิตดังข้างต้น จะกำหนดรู้นามธรรมให้เห็นพระไตรลักษณ์ โดยวิธีอื่น ๆ ได้อีก ๒ อย่าง คือ กำหนดรู้นามธรรมโดยความ
                      ๑. กลาปโต                 เป็นกลุ่ม
                      ๒. ยมกโต                   เป็นคู่
                      ๓. ขณิกโต                  เป็นไปโดยขณะจิต
                      ๔. ปฏิปาฏิโต              เป็นไปโดยลำดับ
                      ๕. ทิฏฐิอุคฆาฏนโต     เพิกทิฏฐิ
                      ๖. มานสมุคฆาฏนโต    เพิกมานะ
                      ๗. นิกันติปริยาทานโต  สิ้นไปแห่งความใคร่


             ๑. กลางโต กำหนดรู้ธรรมโดยความเป็นกลุ่ม คือ พิจารณาว่า ในขณะที่ใช้จิตพิจารณารูปสัตตกะที่กล่าวมาแล้วว่าเป็น อนิจจัง ทุกขัง และอนัตตาอยู่นั้น แม้จิตที่กำลังพิจารณาก็ตกอยู่ในความไม่เที่ยงเป็นทุกข์ เป็นอนัตตา เช่นเดียวกัน

             ๒. ยมกโต กำหนดรู้นามธรรมโดยความเป็นคู่ กำหนดรู้ในจิตด้วยจิตอีกชนิดหนึ่งว่าแม้แต่จิตที่กำหนดรู้ในสภาพไตรลักษณ์ก็มีสภาพไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตาเช่นเดียวก้น

             ๓. ขณิกโต กำหนดรู้นามธรรมโดยความเป็นไปของจิตทีละขณะๆ ใช้จิตขณะที่หนึ่งพิจารณารู้รูปธรรมที่อยู่ระหว่างการยึดถือและการปล่อยวาง แล้วเอาจิตขณะที่สองพิจารณาขณะที่หนึ่ง เอาขณะที่สามพิจารณาขณะที่สอง ดังนี้เรื่อย ๆ ไป จนถึงขณะที่ 5 ให้เห็นว่าแม้จิตขณะที่ ๑,๒,๓,๔ ก็เป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา

             ๔. ปฏิปาฏิโต กำหนดรู้นามธรรมโดยความเป็นไปตามลำดับ เหมือนข้อ ๓ แต่ใช้กำหนดถึงขณะจิตที่ ๑๐

             ๕. - ๗. การกำหนดรู้นามธรรมโดยการเพิกทิฏฐิ มานะ และความใคร่ โดยการพิจารณาดังนี้

             เมื่อผู้ปฏิบัติกำหนดเห็นอยู่ซึ่งรูปธรรมและอรูปธรรม ก็จะไม่เห็นว่าสิ่งใดเป็นสัตว์บุคคล เป็นอันเล็กสัตตสัญญาไปได้ เมื่อกำหนดรู้สังขารทั้งหลายด้วยจิตที่เพิกสัตตสัญญาได้ดังนี้ทิฏฐิก็ไม่เกิดเป็นอันเพิกทิฏฐิได้แล้ว

             เมื่อกำหนดรู้สังขารทั้งหลายด้วยจิตที่เพิกทิฏฐิได้ มานะก็ไม่เกิด เมื่อมานะไม่เกิดตัณหาก็ไม่เกิด เป็นอันว่านิกันติ (ความใคร่ก็สิ้นไป)

             เมื่อใดผู้ปฏิบัติพิจารณาว่าตนเองเป็นสังขารธรรมอย่างหนึ่ง เอาสังขารพิจารณาสังขารดังนี้เรียกว่าเพิกทิฏฐิ แต่ถ้ามี “ข้าพเจ้า” ขึ้นมาเมื่อใด เรียกว่าไม่ได้เพิกทิฏฐิ เมื่อทิฏฐิอยู่มานะ ตัณหาก็ติดตามมา เมื่อเพิกทิฏฐิเสียแล้ว มานะ ตัณหาก็พลอยถูกเพิกไปด้วย

             เมื่อเห็นอยู่ว่าสังขารทั้งหลายมีสภาพ เป็นอนัตตา ชื่อว่า เพิกทิฏฐิ

             เมื่อเห็นอยู่ว่าสังขารทั้งหลายมีสภาพ ไม่เที่ยง ชื่อว่า เลิกมานะ

             เมื่อเห็นอยู่ว่าสังขารทั้งหลายมีสภาพ เป็นทุกข์ ชื่อว่า มีการสิ้นไป แห่งความใคร่

             สรุป การพิจารณาโดยย่อของสัมมสนญาณมีลักษณะ ๔ อย่าง คือ

            ๑. กลาปสัมมสนะ คือ การพิจารณารูปนามที่เป็นอดีต อนาคต ปัจจุบัน ภายนอกภายใน หยาบ ละเอียด เลว ประณีต ไกล ใกล้ ทั้งหมดนี้ เป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เพราะหมดสิ้นไปถ่ายเดียวไม่มีกลับ ทนอยู่ไม่ได้ เป็นของน่ากลัว และไม่มีแก่นสาร ไม่อยู่ในอำนาจบังคับบัญชาของใครทั้งสิ้น

            ๒. อัทธานสัมมสนะ การพิจารณารูปนามที่เกิดดับ ล่วงลับไปเป็นเวลานาน เช่นรูปนามในอดีตไม่กลับมาเป็นรูปนามปัจจุบัน ในปัจจุบันไม่ไปเป็นอนาคต ภายในไม่ไปเป็นภายนอก เกิดที่ใดดับที่นั้นไม่ไปเป็นที่อื่น แต่มีเหตุปัจจัยสืบต่อกันอยู่ ปัจจุบันดี อนาคตก็ดี
ปัจจุบันชั่ว อนาคตก็ชั่ว เหมือนดวงตราที่ประทับไว้บนเอกสาร ดวงตราจริงๆ มิได้อยู่ที่กระดาษ

           ๓. สันตติสัมมสนะ พิจารณาเห็นความสืบต่อของรูปนาม รูปร้อนดับไป รูปเย็นเกิดรูปเย็นดับไป รูปร้อนเกิด หมุนเวียนเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ รูปนามจึงเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตาจริง ๆ

           ๔. ขณสัมมสนะ การพิจารณาเห็นความเป็นไปของรูปนามชั่วขณะหนึ่ง ๆ คือพิจารณาเห็นความเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป ของรูปนาม ซึ่งเรียกว่า อุปปาทะ ฐิติ ภังคะ จะยืน เดิน นั่งนอน ก็มีรูปนามเกิดดับอยู่เรื่อยไปตลอดวันตลอดคืน ดังนั้นรูปนาม จึงเป็นอนิจจัง ทุกขังอนัตตา

           การเห็นรูปนามถ้าเห็นรูปใหม่เกิดขึ้นเสียก่อนรูปเก่าจึงดับ เช่นพิจารณาอิริยาบถนั่งจะเห็นว่านั่งดับไปเมื่อเปลี่ยนเป็นอิริยาบถอื่นแล้วดังนี้ เรียกว่าปัญญาในญาณยังอ่อนอยู่

           ญาณทั้ง ๓ คือ นามรูปปริเฉทญาณ นามรูปปัจจยปริคคหญาณ และสัมมสนญาณล้วนเป็นญาณที่อาศัยสุตมยปัญญาและจินตามยปัญญา สำหรับสัมมสนญาณว่าโดยวิสุทธิจัดเข้าในมัคคามัคคญาณทัสสนวิสุทธิได้ เป็นญาณที่ ๑ ในวิปัสสนาญาณ ๑๐ เป็นญาณที่ ๓ ในวิปัสสนาญาณ ๑๖

 

 ยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคล Total Execution Time: 0.035004516442617 Mins