ความเสี่ยงในการตีความพุทธศาสนสุภาษิต
สำหรับการตีความพุทธศาสนสุภาษิตโดยเฉพาะสุภาษิตที่เป็นพระพุทธพจน์คือที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ย่อมมีความเสี่ยงอย่างสูงยิ่งเพราะเป็นการอาจเอื้อมก้าวล่วงไปถึงพระปัญญาระดับพระโพธิญาณและพระประสงค์ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ท่านเปรียบไว้เหมือนกระต่ายน้อยผู้มีเท้าอันสั้น ไหนเลยจะสามารถหยั่งเท้าลงถึงก้นมหาสมุทรที่ลาดลึกตามลำดับได้ แค่หยั่งเท้าพอให้สัมผัสน้ำริมตลิ่งก็ยากอยู่แล้ว
แต่ถึงกระนั้นก็ตาม ความจำเป็นที่จะต้องตีความพระพุทธพจน์ย่อมมีอยู่แน่แท้ เพราะพระพุทธพจน์นั้นอมความหมายไว้หลากหลาย บางบทบางข้อมีความลุ่มลึกที่หยั่งทราบได้ยากเย็นนักหนา ลำพังสติปัญญาแห่งคนสามัญไม่อาจจะทาบถึงได้แม้เพียงจึงแม้แค่เข้าใจ จำต้องอาศัยผู้รู้ช่วยอนุเคราะห์อธิบายไขความให้ฟังจะพอมองเห็นสาระแห่งข้อธรรมนำให้เกิดศรัทธาและความชุ่มชื่นใจว่าได้สัมผัสธรรมรสบทแห่งธรรมขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าจะเพียงแค่น้อยนิดก็เป็นวาสนาหาที่สุดมิได้แล้ว
หากท่านผู้รู้กล่าวแต่คำที่เป็นพระพุทธพจน์ล้วนๆ มิได้อธิบายไขความให้กระจ่าง ก็คงได้ฟังแต่เพียงพระพุทธพจน์ที่เป็นภาษามคธแท้หาได้เข้าใจความหมายอันใดไม่ หรือจะได้ก็แต่เพียงธัมมัสสวนมัยบุญหาได้สติปัญญาอันใดไม่อนึ่ง ด้วยเหตุผลความจำเป็นต่างๆ ที่ต้องตีความดังแสดงมาในตอนต้น แม้จะเป็นความเสี่ยงก็จำต้องทำ เพื่อความดำรงมั่นคงอยู่และเพื่อแพร่หลายขยายตัวแห่งพระสัทธรรมหาไม่แล้วพระสัทธรรมก็จะเป็นเหมือนรัตนชาติที่ฝังตัวอยู่ตามภูผาหิน ไม่ทอประกายออกมาให้ชาวโลกเห็น ต่อเมื่อมีช่างผู้เชี่ยวชาญเรื่องรัตนชาติไปค้นหาจนพบเข้าแล้วนำมาเจียระไนให้มีรูปทรงแปลกๆ แตกต่างกันไปตามลักษณะแห่งรัตนชาตินั้นๆ
ความสวยงามและประกายแห่งรัตนชาตินั้นๆ จึงเจิดจ้าอวดรูปลักษณ์ประจักษ์สายตาของผู้ชมได้ตลอดกาลพระสัทธรรมอันเป็นคำสุภาษิตทั้งปวงก็เช่นกัน จำต้องอาศัยผู้รู้ที่กล้าเสี่ยงเจาะลึกไขความและรายละเอียดที่ซ่อนอยู่ภายในออกมาให้ชาวโลกได้ทราบและให้มองเห็นคุณค่าที่มีอยู่ ผลเช่นนี้ย่อมคุ้มต่อการเสี่ยงอยู่เหมือนกันความเสี่ยงที่สำคัญที่สุดของการตีความอีกอย่างหนึ่งคือเสี่ยงต่ออบาย ในกรณีที่พระพุทธพจน์และจับใส่พระโอษฐ์ กล่าวคือในกรณีที่ตีความโดยอัตโนมัติ โดยยึดถือความคิดเห็นส่วนตัวเป็นหลัก ตีความไปตามใจชอบ ด้วยความมักง่าย ปราศจากกฎเกณฑ์ปราศจากความรู้ความเข้าใจในการตีความ ถือหลักให้เป็นที่ถูกใจผู้ฟังผู้อ่านเข้าว่า หรืออ้างผิดๆ ถูกๆ ด้วยความพาชื่อว่าข้อความนี้พระพุทธเจ้าตรัสไว้โดยมิได้สืบค้นให้ถ่องแท้ว่าเป็นพระพุทธพจน์จริงหรือไม่
ทำให้เกิดความเข้าใจผิดว่านั่นเป็นพระพุทธพจน์แท้ เป็นข้อความที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้จริงเช่นนี้แหละที่เรียกว่าคู่พระพุทธพจน์และจับใส่พระโอษฐ์ ท่านว่าย่อมมีโทษหนักถึงตกอบายกันทีเดียวในกรณีเช่นนี้แม้จะต้องเสี่ยงก็ควรจะเสี่ยงให้น้อยที่สุดเพื่อเปลื้องตัวจากอบาย คือควรตีความด้วยสติ ด้วยความไม่ประมาทด้วยความรอบคอบรอบด้าน หลีกเลี่ยงการตีความตามอัตโนมัติการตีความด้วยความมักง่ายเข้าใจผิด การตีความแบบว่าสืบๆ กันมาพระฎีกาจารย์ ท่านทำให้ดูเป็นตัวอย่างไว้แล้ว เดินตามรอยท่านหรือการตีความด้วยไม่รู้ประจักษ์โดยไม่สืบค้นให้ถ่องแท้วิธีที่ดีที่สุดคือศึกษาหาแนววิธีการตีความตามที่บุรพาจารย์เช่นพระอรรถกถาจารย์แล้วตีความด้วยความรอบคอบ คิดให้ถ้วนถี่ และตีความให้สมบูรณ์ตามแนววิธี เมื่อได้ดังนี้ ความผิดพลาดบกพร่องย่อมเกิดน้อยที่สุดแม้จะเกิดขึ้นก็เกิดเพราะความรู้ไม่เท่าถึงซึ่งก็เป็นปกติธรรมดา จะมีผู้ใดเล่าที่จะสามารถตีความได้เท่าถึงพระปัญญาระดับพระโพธิญาณของพระพุทธเจ้า ขอให้ตีความอย่างมีสติ รอบคอบ ตีความไปตามหลักเกณฑ์ โดยมีเจตนาที่บริสุทธิ์เป็นที่ตั้ง ก็ย่อมจะปลีกตัวจากอบายในเพราะเรื่องนี้ได้แน่นอน