บทที่ ๕ บทฝึกนิสัย

วันที่ 24 กค. พ.ศ.2567

 

2567_07_24_b.jpg

 

บทที่ ๕
บทฝึกนิสัย


ความหมายของนิสัย


         นิสัย คือ ความประพฤติเคยชิน อันเกิดจากการปฏิบัติซ้ำๆอาจเป็นการคิด พูด หรือทำซ้ำๆในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง หรือหลายๆเรื่องพร้อมๆกันจนกระทั่งติดหลังจากติดแล้วก็จะประพฤติปฏิบัติเช่นนั้นอีกเป็นประจำเหมือนเงาติดตามตัว
          ใครติดความประพฤติไม่ดี ก็ได้นิสัยไม่ดี
          ใครติดความประพฤติดี ก็ได้นิสัยดี
     หากใครไม่ได้ประพฤติเช่นนั้นอีกแล้วไม่หงุดหงิดแสดงว่าการประพฤติปฏิบัตินั้นๆยังไม่มากพอให้เกิดเป็นนิสัยเป็นเพียงความคุ้นเคยทั่วไป ไม่ช้าก็ลืม

 

 

2567_07_24_.JPG

2567_07_24_01.JPG

 

ตัวอย่างนิสัยดี - ไม่ดี


นิสัยดี                                                     

                                                
      - ชอบตื่นแต่เช้า


      - ขยันทําการงาน


      - รับผิดชอบการงาน


      - ชอบให้ทาน


       - ชอบรักษาศีล


       - ชอบจับถูก


       - ชอบพูดสุภาพ


       - ชอบอ่อนน้อมถ่อมตน


       - ชอบให้อภัย


นิสัยไม่ดี


        - ชอบตื่นสาย


        - เกียจคร้านทําการงาน


         - ชอบเกี่ยงงาน ทิ้งงาน


         - ชอบเอาเปรียบ


         - ชอบรังแกผู้อื่น


         - ชอบจับผิด


         - ชอบพูดคําหยาบ


         - ชอบรุนแรงหยาบกระด้าง


         - มักโกรธ เจ้าอารมณ์

 

         -ชอบยกย่องพระคุณท่าน ฯลฯ

         -ชอบลบหลู่พระคุณท่าน ฯลฯ



       นิสัยจึงทำหน้าที่เป็นเสมือนโปรแกรมหรือผังสําเร็จด้านความประพฤติ คอยกระตุ้นและควบคุมสัตว์โลกให้สร้างกรรมดีหรือกรรมชั่ว สร้างบุญหรือบาป ทำนองเดียวกันอีกในครั้งต่อๆไป


      นิสัยของผู้ใดจึงเป็นเสมือนโปรแกรมหรือผังสำเร็จด้านความประพฤติ ให้เกิดสมบัติหรือวิบัติประจำตัวของผู้นั้น กล่าวคือ นิสัยไม่ดีจะส่งผลให้รักการสร้างกรรมชั่ว แล้วออกผลเป็นวิบัติใหญ่ คือบาปความทุกข์ ความเสื่อม ส่วนนิสัยดีจะส่งผลให้รักการสร้างกรรมดี แล้วออกผลเป็นสมบัติใหญ่ คือ บุญ ความสุข ความเจริญไม่มีที่สิ้นสุด

 


สรุปความสัมพันธ์ระหว่างนิสัยกับความรู้


        ๑. ในกาลไหนๆนิสัยย่อมทำหน้าที่กำกับการใช้ความรู้ เพราะความรู้วิชาการไม่ว่าด้านใด ล้วนเป็นเพียงอุปกรณ์ให้นิสัยทั้งดีและไม่ดีนำไปใช้ทั้งสิ้น


         ๒. ผู้มีนิสัยไม่ดี ย่อมนำความรู้ไปใช้ให้เกิดโทษ ขณะที่ผู้มีนิสัยดีย่อมนำความรู้ไปใช้ให้เกิดประโยชน์ ทั้งแก่ตนเอง ครอบครัว สังคมประเทศชาติ และโลกได้ไม่มีที่สิ้นสุด

2567_07_24_02.JPG

 

ความยากในการแก้ไขนิสัย


        ๑. กว่าจะรู้ตัวว่าตนเองมีนิสัยไม่ดี............ก็แสนยาก


        ๒. กว่าจะหาใครเตือนให้รู้ว่าตนเองมีนิสัยไม่ดี...........ก็แสนยาก


        ๓. กว่าจะยอมรับคำเตือนว่าตนเองมีนิสัยไม่ดี...........ก็แสนยาก


        ๔. กว่าจะพบวิธีแก้นิสัยไม่ดี...........ก็แสนยาก


        ๕. กว่าจะมีกำลังใจแก้นิสัยไม่ดี...........ก็แสนยาก


        ๖. กว่าจะมีกำลังกายแก้นิสัยไม่ดี...........ก็แสนยาก


        ๗. กว่าโอกาสจะอำนวยให้แก้นิสัยไม่ดี...........ก็แสนยาก


        ๘. กว่าจะแก้นิสัยให้ดีได้แต่ละอย่าง.................ก็ใช้เวลานานมาก

 

๙. นิสัยไม่ดีที่ยังเหลืออีกไม่ว่าจะมากหรือน้อย จำต้องรอไว้แก้ต่อไปในภพชาติหน้า


        ด้วยเหตุนี้ หากจำต้องเสียอะไรไปบ้าง ก็ยอมเสียไปเถิด ไม่ว่าจะเป็นทรัพย์ บริวาร คู่ครอง หรือชื่อเสียง ฯลฯ เพราะสิ่งเหล่านี้หากยังไม่ตาย ย่อมหาใหม่ได้ แต่หากเสียนิสัย หรือติดนิสัยเสียๆเสียแล้ว แม้ชาติหน้าก็ยากจะแก้ไขให้หมดไปได้ เพราะฉะนั้นความสําเร็จในการจัดการศึกษาทั้งระดับบุคคล ระดับชาติ หรือแม้แต่ระดับโลก จึงอยู่ที่การพัฒนานิสัยทั้งสิ้น และไม่ว่าจะพัฒนานิสัยระดับไหน ธรรมแม่บทที่สมบูรณ์ที่สุดในการพัฒนานิสัยก็คือมรรคมีองค์ ๘ นั่นเอง


      ในชาตินี้ หากใครมีนิสัยดีๆติดตัวมามากก็นับว่าเป็นบุญกุศลข้ามชาติของผู้นั้น ส่วนนิสัยใหม่ก็จะเริ่มเกิดในทันทีที่คลอดจากครรภ์มารดา ไม่ว่าจะเป็นนิสัยดีมากหรือน้อย ล้วนเป็นผลจากการเลี้ยงดูปลูกฝัง อบรม สั่งสอนของพ่อแม่ ผู้ปกครอง ครู อาจารย์ และผู้ใกล้ชิดว่ามีความเข้มงวดกวดขัน และดูแลเอาใจใส่มากน้อยเพียงใดเป็นหลัก


ข้อเตือนใจในการสร้างนิสัย


        ถ้าเพียงสอนให้รู้ว่าสิ่งดีๆนั้น หากทำให้คุ้นเคยแล้ว ย่อมได้นิสัยดีๆ เกิดขึ้นใหม่แน่ แต่ถ้ายังไม่ได้ฝึกอบรมให้ผู้เรียนทำจนคุ้นจริงๆแล้วไม่ช้าสิ่งดีๆที่เกิดขึ้นใหม่นั้น ย่อมเลือนหายไป นิสัยไม่ดีตั้งแต่ไหนแต่ไรก็ยังคงมีอยู่เช่นเดิม ทั้งนี้เพราะการที่นิสัยดีงามทุกชนิดจะเกิดขึ้นใหม่ได้จำต้องปฏิบัติซ้ำๆให้คุ้นเคยจริงๆ ต้องใช้กำลังใจอย่างมหาศาลและต้องใช้เวลานานมาก เพื่อล้างนิสัยตรงกันข้ามซึ่งมีอยู่เดิมให้หมดสิ้นไป
แล้วนิสัยดีๆ ที่พึงปรารถนาจึงจะเกิดขึ้นมาแทนที่ได้อย่างสมบูรณ์

 

 

2567_07_24_03.JPG

 

2567_07_24_04.JPG

 

 

พฤติกรรมที่กลายเป็นนิสัยของมนุษย์


          ได้กล่าวแล้วว่า นิสัยของคนเราเกิดขึ้นจากพฤติกรรมทางกาย วาจา ใจ ที่เกิดขึ้นซ้ำๆ กันอยู่เป็นอาจิณ เรื่องที่คนเรามีพฤติกรรมซ้ำๆกันอยู่เป็นอาจิณ ก็คือเรื่องการบริโภคปัจจัย ๔ นั่นเอง


       ดังนั้นถ้าพ่อแม่ผู้ปกครองหมั่นเอาใจใส่ เข้มงวดกวดขัน ปลูกฝังอบรมสั่งสอนเด็กๆในความรับผิดชอบของตน ให้เข้าใจเกี่ยวกับการบริโภคปัจจัย ๔ อย่างถูกต้องเหมาะสมแก่เพศภาวะของตน และประพฤติปฏิบัติเป็นประจำโดยไม่ขาดตกบกพร่องในที่สุดก็จะพัฒนาเป็นนิสัยที่ดีงามประจำตัวประจำใจของเด็กไปจนตลอดชีวิต ไม่เฉพาะแต่เรื่องการบริโภคปัจจัย ๔ เท่านั้น แต่ยังรวมไปถึงเรื่องศีลธรรมคุณธรรมและจริยธรรมต่างๆของคนดีที่โลกต้องการอีกด้วย

 
         อนึ่ง เกี่ยวกับเรื่องกฎ ระเบียบต่างๆ ความรู้พื้นฐานทางธรรมวัฒนธรรมทางจิตใจ ตลอดจนทัศนคติต่างๆที่ดีงาม ซึ่งคุณครูทั้งหลายพร่ำปลูกฝังอบรมสั่งสอนศิษย์ของตนตั้งแต่เยาว์วัยโดยทั่วไปก็จะประทับแน่นอยู่ในความทรงจำของบรรดาศิษย์อยู่เสมอและจะพัฒนาเป็นศีลธรรม คุณธรรม และจริยธรรมประจำใจของบรรดาศิษย์ไปตลอดชีวิต


       ในทางตรงข้าม ถ้าพ่อแม่ ผู้ปกครองและคุณครูทั้งหลาย ขาดความเอาใจใส่ พร่ำอบรมสั่งสอนเรื่องต่างๆดังกล่าวแก่ลูกหลานและบรรดาศิษย์ของตนตั้งแต่เยาว์วัยพวกเขาก็จะมีพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมติดนิสัยไปตลอดชีวิตจนยากที่จะแก้ไขแม้เมื่อพวกเขาเติบโตเป็นผู้ใหญ่ได้ศึกษาวิชาการทั้งทางโลกและทางธรรมจนรู้และเข้าใจว่าสิ่งใดดีหรือชั่วการกระทำใดเป็นบุญหรือบาปควรหรือไม่ควรอย่างชัดเจนแล้ว แต่ผู้คนส่วนใหญ่ก็ไม่สามารถแก้ไขนิสัยเลวๆที่ติดมาตั้งแต่เด็กๆได้ ดังมีตัวอย่างที่เห็นกันอยู่ทั่วไป ก็คือ นิสัยติดบุหรี่ของผู้คนในสังคม

 

การพัฒนานิสัยด้วย ๕ ห้องชีวิต

๑. ห้องนอน (ห้องมหาสิริมงคล)


           คำนิยามที่แท้จริง ห้องนอน คือ ห้องพัฒนานิสัยรักบุญกลัวบาป
           หลักธรรมประจําห้องนอน
สัมมาทิฐิและสัมมาสมาธิ
           หน้าที่หลักของห้องนอน


           ๑. ใช้ในการปลูกฝังความเข้าใจถูกเรื่องโลกและชีวิตให้เป็นสัมมาทิฐิบุคคล


           ๒. ใช้ในการฝึกสัมมาสมาธิให้ใจตั้งมั่นอยู่ในศูนย์กลางกายเป็นปกติเกิดกำลังใจในการทำความดียิ่ง ๆ ขึ้นไป


            หน้าที่หลัก ๒ ประการนี้เป็นพื้นฐานของการคิดดี พูดดี และทำดีตลอดทั้งวัน


ความรู้ที่ต้องมีเกี่ยวกับห้องนอน


         ๑. อากาศปลอดโปร่ง ตั้งอยู่ในทิศทางลมผ่านเข้าออกสะดวก


         ๒. ไม่แคบหรือกว้างเกินไป


         ๓. ตกแต่งด้วยวัสดุอุปกรณ์ที่ดูแลรักษาและทำความสะอาดง่าย


         ๔. ไม่นำโทรทัศน์ สัตว์เลี้ยง อาหาร เครื่องดื่มเข้าไปในห้องนอน


         ๕. ไม่ประดับตกแต่งด้วยภาพลามกอนาจาร และภาพอื่นๆ ที่ไม่สมควร


          ๖. หมั่นทำความสะอาดเสมอ ไม่ปล่อยให้มีฝุ่นละอองจับหรือหยากไย่เกาะ

 

ประโยชน์ของการใช้สอยห้องนอนอย่างถูกต้อง


๑. ทางใจ


             ๑.๑ เป็นที่กราบพระ สวดมนต์ และเจริญภาวนา


             ๑.๒ เป็นที่สำรวจตรวจสอบบุญ-บาปที่ตนได้ทำในแต่ละวัน


             ๑.๓ เป็นที่อบรมสั่งสอนและให้ความรู้แก่สมาชิกในครอบครัว


             ๑.๔ เป็นที่ปลูกฝังนิสัยรักศีลรักธรรมด้วยการเล่าธรรมก่อนนอน


             ๑.๕ เป็นที่วางแผนในการทำบุญกุศลและการทำงานในวันใหม่


             ๑.๖ เป็นที่กราบพระ สวดมนต์ สมาทานศีล และเจริญภาวนาหลังจากตื่นนอนแล้ว


๒. ทางกาย


      ชาวโลกใช้ห้องนอนเป็นที่พักผ่อนนอนหลับ และสร้างทายาทที่มีบุญมาเกิดเป็นมนุษย์


      ชาววัดใช้ห้องนอนเป็นที่พักผ่อน และบำเพ็ญเพียรภาวนา


๒. ห้องน้ำ (ห้องมหาพิจารณา)


คำนิยามที่แท้จริง ห้องน้ำ คือ ห้องพัฒนานิสัยพิจารณาสังขาร
หลักธรรมประจำห้องน้ำ สัมมาสังกัปปะ
หน้าที่หลักของห้องน้ำ


        ๑. พิจารณาความไม่งามของร่างกาย


        ๒. พิจารณาความเป็นรังแห่งโรคของร่างกาย

 
       ๓. พิจารณาความเสื่อมโทรมของร่างกายที่ดำเนินไปอย่างต่อเนื่องทั้งสามข้อนี้เป็นพื้นฐานของการคิดถูก คือ ไม่คิดหมกมุ่นในกามไม่คิดอาฆาตพยาบาท และไม่คิดเบียดเบียนรังแกใคร อันเป็นต้นทุนสำคัญของพลังความคิดสร้างสรรค์

 

ความรู้ที่ต้องมีเกี่ยวกับห้องน้ำ


        ๑. ขนาดของห้องไม่ควรเล็ก หรือใหญ่โตเกินความจําเป็น


        ๒. เน้นการแต่งห้องน้ำให้ปลอดภัย ทำความสะอาดง่ายและสะดวกต่อการดูแลรักษา


        ๓. มีอุปกรณ์ที่จำเป็นครบถ้วน มีคุณภาพดี อายุการใช้งานนาน


        ๔. มีอุปกรณ์ที่จำเป็นสำหรับเด็กและคนแก่ พร้อมทั้งคำแนะนำวิธีใช้อุปกรณ์สมัยใหม่ ติดไว้ในห้องน้ำด้วย


        ๕. หมั่นสังเกตสุขภาพจากสิ่งปฏิกูลที่ขับถ่ายออกจากร่างกาย


         ๖. จัดตารางเวลาให้สมาชิกในบ้านช่วยกันดูแลรักษาและทำความสะอาดห้องน้ำ ห้ามเกี่ยงกันเด็ดขาด


         ๗. รู้จักใช้น้ำอย่างประหยัด


         ๘. จัดหาสิ่งของเครื่องใช้ประจำห้องน้ำ สำรองไว้ไม่ให้ขาด


         ๙. มีมารยาทในการใช้ห้องน้ำร่วมกัน ทั้งมีความเคารพเกรงใจผู้อยู่ร่วมบ้านในเรื่องการใช้ห้องน้ำและเรื่องอื่นๆ


ประโยชน์ของการใช้ห้องน้ำอย่างถูกต้อง


๑. ทางใจ


           ๑.๑ ใจไม่หมกมุ่นในสิ่งลามกอนาจาร เพราะได้พิจารณาเห็นโทษและความไม่งามของร่างกายตามความเป็นจริง


           ๑.๒ ใจไม่คิดอาฆาตเคียดแค้น เพราะได้พิจารณาเห็นถึงความเป็นรังแห่งโรคของร่างกาย และความไม่จีรังยั่งยืนของชีวิต


           ๑.๓ ใจไม่คิดเบียดเบียนรังแกใคร เพราะได้พิจารณาเห็นถึงความเป็นเพื่อนร่วมทุกข์ เกิด แก่ เจ็บ ตาย ของคนทั้งโลก


           ๑.๔ ใจมีความคิดสร้างสรรค์อย่างสงบเย็นตลอดเวลา

 

๒. ทางกาย


            ๒.๑ รู้เท่าทันสุขภาพร่างกายในแต่ละวัน และแต่ละวัยของตน หมั่นหาความรู้และดูแลตนเองได้อย่างถูกต้องเหมาะสม


            ๒.๒ ดูแลรักษาความสะอาดของร่างกาย เสื้อผ้า และเครื่องนุ่งห่ม ให้ถูกสุขอนามัย จะได้ไม่เกิดโรค


            ๒.๓ พิจารณาสีและลักษณะของอุจจาระและปัสสาวะที่ขับถ่ายออกจากร่างกายในแต่ละวัน เพื่อจะได้รู้ว่า สุขภาพภายในเป็นปกติหรือไม่ อย่างไร


๓. ห้องอาหาร (ห้องมหาประมาณ)
             คำนิยามที่แท้จริง ห้องอาหาร คือ ห้องพัฒนานิสัยรู้ประมาณ
ในการพูดและการใช้ทรัพย์
             หลักธรรมประจำห้องครัว สัมมาวาจาและสัมมากัมมันตะ
             หน้าที่หลักของห้องอาหาร


             ๑. เป็นที่ประชุมสมาชิกทุกคนในบ้านอย่างพร้อมหน้ากันทุกวัน


             ๒. ใช้ปลูกฝังสัมมาวาจาและสัมมากัมมันตะให้แก่สมาชิกทุกคนในบ้าน


         หากสมาชิกในครอบครัวรับประทานอาหาร ไม่พร้อมหน้ากันจะเกิดปัญหาน้อยเนื้อต่ำใจ และปัญหาความแตกแยก ขณะเดียวกันหากสมาชิกขาดสัมมาวาจา จะเกิดปัญหาการกระทบกระทั่งบานปลายตามมา


ความรู้ที่ต้องมีเกี่ยวกับห้องอาหาร


              ๑. ห้องอาหาร คือ ห้องที่สมาชิกทั้งบ้านใช้รับประทานอาหารร่วมกัน จึงต้องรักษาความสะอาดให้ดี ไม่ใช้เป็นที่เก็บอาหาร

 

              ๒. ห้องครัว คือ ห้องสำหรับปรุงอาหารและเก็บอาหารทุกประเภทต้องรักษาความสะอาด และจัดให้เป็นระเบียบ มิฉะนั้น จะกลายเป็นที่อยู่ของมด หนู และแมลงต่างๆ


             ๓. ห้องรับแขก คือ ห้องที่ใช้ต้อนรับแขกที่มาเยี่ยมเยียน พูดจา สนทนากัน จึงเป็นเสมือนหน้าตาของบ้าน ไม่ควรปล่อยรกรุงรัง ต้องจัดให้เป็นระเบียบและทำความสะอาดอยู่เสมอ


              ๔. บ้านใดที่ใช้ห้องรับแขกเป็นห้องอาหารด้วย ควรใช้เครื่องเรือนแบ่งพื้นที่ทั้งสองห้องให้ชัดเจน


         ๕. ควรจัดชุดเก้าอี้รับแขกไว้ตรงประตูทางเข้า และจัดโต๊ะรับประทานอาหารไว้ใกล้ห้องครัว อีกทั้งควรตกแต่งห้องให้มีบรรยากาศเย็นตา


               ๖. ควรจัดเตรียมอุปกรณ์เครื่องใช้ของห้องครัว ห้องอาหารห้องรับแขกให้พร้อม สะอาด และมีครบตามจำนวนสมาชิกในครอบครัว


               ๗. ควรจัดเตรียมวัตถุดิบและเครื่องปรุงให้ครบ ตามความจำเป็นและเพียงพอกับคนในบ้าน


               ๘. ควรฝึกอบรมสมาชิกในบ้านให้รู้จักช่วยกันทำครัวตั้งแต่เยาว์วัยเพื่อฝึกฝนคุณธรรมต่าง ๆ เช่น ความอดทน ความมีวินัย ฯลฯ


             ๙. ควรฝึกสมาชิกในบ้านให้รู้จักวิธีถนอมอาหาร ตามหลักโภชนาการ เพื่อประหยัดค่าใช้จ่าย

 

ประโยชน์การใช้ห้องอาหารอย่างถูกต้อง


๑. ทางใจ


          ๑.๑ ประมาณในการรับประทานอาหาร คือ ระลึกอยู่เสมอว่าเรารับประทานอาหารเพื่อให้ชีวิตดำรงอยู่ได้ และจะนำเรี่ยวแรงไปทำความดีให้ยิ่งๆขึ้น

 

            ๑.๒ รู้จักประมาณในการใช้ทรัพย์ คือรู้จักบริหารรายจ่ายให้น้อยกว่ารายได้เพื่อจะได้มีทรัพย์เหลือเก็บไว้ใช้ในคราวจำเป็น และใช้บริจาคสร้างบุญกุศล อันเป็นหนทางไปสู่สุคติในสัมปรายภพ


             ๑.๓ รู้จักประมาณในวาจา คือ การใช้คำพูดที่นุ่มนวล มีเหตุผลมีประโยชน์ เหมาะแก่กาลเทศะในสถานการณ์ต่าง ๆ

 
๒. ทางกาย


             ๒.๑ ใช้เป็นห้องสำหรับประกอบอาหาร


             ๒.๒ ใช้เป็นที่ประชุมสมาชิกพร้อมหน้ากัน


              ๒.๓ ใช้เป็นที่รับประทานอาหาร


              ๒.๔ ใช้เป็นที่เก็บอาหาร


              ๒.๕ ใช้เป็นที่ต้อนรับแขก


๔. ห้องแต่งตัว (ห้องมหาสติ)


           คำนิยามที่แท้จริง ห้องแต่งตัว คือ ห้องพัฒนานิสัยตัดใจและใฝ่บุญ
           หลักธรรมประจําห้องแต่งตัว สัมมาสติ
           หน้าที่หลักของห้องแต่งตัว


            ๑. ใช้ปลูกฝังสัมมาสติ คือ ฝึกประคองรักษาใจให้ผ่องใสเป็นปกติไม่ปล่อยใจไปตามอำนาจกิเลส


            ๒. ฝึกให้มีความระมัดระวังตนในทุก ๆ เรื่อง ไม่ประมาทเผอเรอมีความตื่นตัวตลอดเวลา


            ๓. ฝึกตัดใจไม่คิดหมกมุ่นในกามราคะตามแฟชั่นหรือกระแสสังคม


            ๔. ฝึกใช้เหตุผลตักเตือนใจของตนให้เป็นสัมมาทิฐิและสัมมาสังกัปปะ ไม่ให้เกิดความลำเอียง และสูญเสียศีลธรรมประจำใจ

 

ความรู้ประจำห้องแต่งตัว


            ๑. แต่งตัวเพื่อปกปิดอวัยวะที่ก่อให้เกิดความละอายและเป็นที่อุจาดตา


            ๒. แต่งตัวเพื่อป้องกันอันตรายจากความร้อน ความหนาว สัตว์และแมลง


            ๓. แต่งตัวให้เหมาะกับกาลเทศะและสถานที่ ไม่เป็นไปเพื่อเปิดโอกาสให้โจรผู้ร้ายปล้นจี้ หรือฉุดคร่าไปทำร้ายทางเพศ


            ๔. ใช้เครื่องแต่งตัวที่เหมาะสมกับฐานะ ไม่ตกเป็นทาสของเสื้อผ้าสิ่งของ หรือเครื่องตกแต่งตามกระแสสังคม


            ๕. ไม่สนับสนุนให้เด็กหมกมุ่นในกามราคะด้วยการแต่งหน้าก่อนวัยอันควร อันจะนำไปสู่ปัญหามากมายในภายหลัง


ประโยชน์ของการใช้ห้องแต่งตัวอย่างถูกต้อง


๑. ทางใจ


             ๑.๑ ตัดใจไม่ลุ่มหลงในลาภ ยศ สรรเสริญ สุข


             ๑.๒ ตัดใจไม่มัวเมาในความหนุ่มสาว ในความไม่มีโรค ในความมีอายุยืน


             ๑.๓ ตัดใจไม่ฟุ้งเฟ้อ สุรุ่ยสุร่าย


             ๑.๔ ตัดใจสร้างบุญกุศลเป็นประจำ เช่น การทำทาน การรักษาศีล การเจริญภาวนา เป็นต้น


              ๑.๕ ไม่ตกเป็นทาสของอบายมุข


๒. ทางกาย


              ๒.๑ รู้จักให้เกียรติและเคารพสถานที่


              ๒.๒ รู้จักมารยาทในการเข้าสังคม


              ๒.๓ รู้จักการวางตัวได้อย่างเหมาะสมตามภาวะและฐานะที่ตนเป็น


              ๒.๔ มีความตื่นตัวและกระตือรือร้นในการคิดดี พูดดี และทําดีอยู่เสมอ


๕. ห้องทํางาน (ห้องมหาสมบัติ)


              คํานิยามที่แท้จริง ห้องทํางาน คือ ห้องพัฒนานิสัยใฝ่ความสําเร็จ
              หลักธรรมประจำห้องทำงาน สัมมาอาชีวะและสัมมาวายามะ
              หน้าที่หลักของห้องทํางาน


              ๑. ใช้ปลูกฝังสัมมาอาชีวะ ไม่หารายได้จากการทำผิดศีล ผิดธรรมผิดกฎหมาย หรือผิดจารีตประเพณี


              ๒. ใช้ปลูกฝังวินัยประจำห้องทำงาน 5 ประการ


                   ๒.๑ มีสัมมาวาจา ใช้คำพูดได้อย่างเหมาะสม


                   ๒.๒ มีความเคารพในบุคคล สถานที่ และเหตุการณ์


                   ๒.๓ มีมารยาทดี เหมาะแก่บุคคลและกาลเทศะ


                   ๒.๔ มีความรับผิดชอบทั้งส่วนตัวและส่วนรวม


                   ๒.๕ เคร่งครัดต่อระเบียบวินัยในการทำงาน


                   ๒.๖ เอาใจใส่ดูแลอุปกรณ์ต่าง ๆ ให้พร้อมใช้งานอยู่เสมอ


ความรู้ที่ต้องมีเกี่ยวกับห้องทำงาน


                  ๑. เลือกประกอบอาชีพที่ไม่ผิดศีลธรรม ไม่ผิดกฎหมาย ไม่เกี่ยวข้องกับอบายมุข ไม่ก่อให้เกิดมิจฉาทิฐิ


                  ๒. ทำเลที่ประกอบอาชีพต้องสอดคล้องกับชุมชนและสิ่งแวดล้อมเพื่อความเหมาะสมในการทำงาน และเพื่อความสําเร็จในอาชีพ

 

                  ๓. ห้องทำงานต้องเหมาะสมกับจำนวนบุคลากร และชนิดของงาน


                  ๔. การตกแต่งต้องสะดวกในการทำงาน สะอาด ถูกสุขอนามัยมีความปลอดภัย ไม่มีภาพลามกอนาจาร


                  ๕. อุปกรณ์เครื่องใช้ในแต่ละห้องต้องเพียงพอทั้งคุณภาพและปริมาณ จัดเก็บเป็นระบบ เพื่อให้เกิดความคล่องตัว


                  ๖. ใช้อุปกรณ์อย่างถูกวิธี และหมั่นดูแลรักษา เพื่อจะได้มีอุปกรณ์สําหรับใช้งานได้นานๆ หากเกิดการชำรุดเสียหายต้องรีบซ่อมแซม


                   ๗. มีกุศโลบายในการสนับสนุนคนดี แก้ไขคนโง่ คัดออกคนพาล


ประโยชน์ของการใช้ห้องทํางานอย่างถูกต้อง


๑. ทางใจ


                     ๑.๑ ใช้สติปัญญาในการประกอบอาชีพให้ประสบผลสำเร็จด้วยดีตามเป้าหมาย


                     ๑.๒ มีโอกาสเพิ่มบุญกุศลให้ตนเองเป็นนิจ


                      ๑.๓ แสวงหาความรู้เพิ่มพูนปัญญาทั้งทางโลกและทางธรรมเพื่อจะได้ไม่ต้องก่อเวรภัยกับใครทั้งสิ้น


๒. ทางกาย


                       ๒.๑ ใช้เพิ่มปัญญาในการประกอบสัมมาอาชีพ


                       ๒.๒ ใช้พัฒนาความชำนาญในการทำงาน


                       ๒.๓ ใช้ฝึกนิสัยวิริยะอุตสาหะในการทำงาน


                       ๒.๔ ใช้เพิ่มพูนทรัพย์อันเป็นทางมาแห่งมหาสมบัติ

 

 

กระบวนการเนรมิตนิสัยจาก ๕ ห้องชีวิต ในบุคคลทั่วไป

กระบวนการเนรมิตนิสัยจากห้องมหาสิริมงคล (ห้องนอน) ในบุคคลทั่วไป

 

 

หลักธรรมแม่บท วัตถุประสงค์ กระบวนการเนรมิตนิสัย การประเมิน
งานที่ต้องทำ เจตนาของงานที่ต้องปลูกฝัง

๑. สัมมาทิฐิ

 

๒. สัมมาสมาธิ

 

๓. สัมมาวายามะ

๑. ปลูกนิสัยความเคารพพระรัตนตรัย บิดา-มารดา

 

๒. ปลูกนิสัยความมีวินัย เรื่อง

 

       - การแสดงความเคารพ

 

       - ความสะอาด

 

       - ความเป็นระเบียบ

 

       - ความตรงต่อเวลา

 

๓. ปลูกนิสัยความอดทนต่อการกระทบกระทั่ง

งานทางใจ

 

๑. กราบไหว้พระ

 

๒. สวดมนต์

 

๓. สมาทานศีล

 

๔. นั่งสมาธิ

 

๕. แผ่เมตตา

 

๖. เล่าธรรมก่อนนอน

 

๗. หลับในอู่ทะเลบุญ

 

 

งานรักษาห้องนอน

 

๑. จัด พับ เก็บ เครื่องนอนให้เป็นระเบียบ

๑. แสดงความเคารพต่อพระรัตนตรัย

 

๒. ระลึกถึงพระธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธองค์

 

๓. ทำความสะอาดกาย วาจา

 

๔. ทำความสะอาดใจ

 

๕. ให้อภัยต่อกัน

 

๖. จำแนก ดี-ชั่ว ถูก-ผิด ควร-ไม่ควร บุญ-บาป

 

๗. หลับอย่างมีสติ

 

๑. วินัยความเป็นระเบียบ

ระดับผลผลิต (Output)

 

๑. ความสม่ำเสมอในการปฏิบัติงาน

 

๒. ความตั้งใจปฏิบัติ

 

๓. ความสะอาด ความเป็นระเบียบของผลงาน

 

๔. การตรงต่อเวลา

 

 

กระบวนการเนรมิตนิสัยจากห้องมหาสิริมงคล (ห้องนอน) ในบุคคลทั่วไป

 

หลักธรรมแม่บท วัตถุประสงค์ กระบวนการเนรมิตนิสัย การประเมิน
งานที่ต้องทำ เจตนาของงานที่ต้องปลูกฝัง
   

๒. ปัด กวาด เช็ด ถูห้องนอน

 

๓. ซัก ตาก ผึ่ง เครื่องนอน

 

๔. ซ่อมแซมอุปกรณ์

 

๕. ใช้พลังงานอย่างประหยัด

 

 

งานฝึกมารยาทในห้องนอน

 

๑. ฝึกความเกรงใจเพื่อนร่วมห้อง

 

๒. มารยาทการใช้ของร่วมกัน

 

๓. การตรงต่อเวลา

๒.และ ๓. วินัยความสะอาด

 

 

๔.และ ๕. วินัยการดูแลบำรุงรักษาสิ่งของ อุปกรณ์

 

 

๑.และ ๒. อดทนต่อการกระทบกระทั่ง

 

 

๓. วินัยการตรงต่อเวลา

 

ระดับผลลัพธ์ (Outcome)

 

๑. มีตถาคตโพธิศรัทธา

 

๒. มีกัมมสัทธา

 

๓. รักบุญ กลัวบาป

 

๔. มีเป้าหมายชีวิตถูกต้องทั้ง ๓ ระดับ

 

      - ชาตินี้

 

      - ชาติหน้า

 

      - ชาติสุดท้าย

 

๕. มีวินิจฉัยถูกต้อง

 

 

กระบวนการเนรมิตนิสัยจากห้องมหาพิจารณา (ห้องน้ำ) ในบุคคลทั่วไป

 

หลักธรรมแม่บท วัตถุประสงค์ กระบวนการเนรมิตนิสัย การประเมิน
งานที่ต้องทำ เจตนาของงานที่ต้องปลูกฝัง

๑. สัมมาสังกัปปะ

 

๒. สัมมาวายามะ

๑. ปลูกนิสัยมีความเคารพคุณค่ากายเนื้อของตนซึ๋งได้มาโดยยาก

 

๒. ปลูกนิสัยมีความกตัญญูรู้คุณประโยชน์ของกายเนื้อ ซึ่งต้องอาศัยใช้สร้างความดีทุกชนิดตลอดชีวิต

 

๓. ปลูกนิสัยความมีวินัย เรื่อง

 

งานทางใจ

 

๑. พิจารณาอาหารเก่า

 

๒. พิจารณาความไม่งามของกาย

 

๓. พิจารณาความเป็นรังของโรค

 

๔. พิจารณาความเสื่อมโทรมของกาย

๑. การตรวจสุขภาพชั้นต้นของตน

 

๒. คลายจากกามราคะ

 

๓. คลายความพยาบาทเพราะเห็นว่าทุกคนมีทุกข์จากโรคภัยในกายตนเองอยู่แล้ว

 

๔. ไม่คิดเบียดเบียนรังแกเพราะทุกคนล้วนก้าวสู่ความเสื่อม และความตาย

 

ระดับผลผลิต (Output)

 

๑. ความสม่ำเสมอในการปฏิบัติงาน

 

๒. ความตั้งใจปฏิบัติ

 

๓. การให้เหตุผล

 

๔. ความสะอาดเป็นระเบียบของผลงาน

 

 

กระบวนการเนรมิตนิสัยจากห้องมหาพิจารณา (ห้องน้ำ) ในบุคคลทั่วไป

 

หลักธรรมแม่บท วัตถุประสงค์ กระบวนการเนรมิตนิสัย การประเมิน
งานที่ต้องทำ เจตนาของงานที่ต้องปลูกฝัง
 

       - ความสะอาด

       - ความเป็นระเบียบ

       - ความตรงต่อเวลา

 

๔. ปลูกนิสัยความอดทนต่อการกระทบกระทั่ง


๕. ฝึกมารยาทการใช้ห้องน้ำเพื่อปลูกนิสัยความเคารพสถานที่ และบุคคล

 

งานทางกาย


๑. อาบน้ำถูกวิธี


๒. ถ่ายทุกข์ให้ถูกวิธี


๓. ฝึกมารยาทการใช้ห้องน้ำ


๔. ทำความสะอาดห้องน้ำ


๕. การหา จัดเก็บ สำรองของใช้ในห้องน้ำ


๖. การซ่อมแซมอุปกรณ์


๗. การใช้น้ำ ไฟ แก๊ส อย่างประหยัด

๑. วินัยการรักษาความสะอาดกาย


๒. วินัยการรักษาสุขภาพ


๓. มีความอดทนต่อการกระทบกระทั่ง คิดถึงใจเขาใจเรา


๔. วินัยความสะอาด


๕. วินัยความเป็นระเบียบ


๖. และ ๗. วินัยการใช้การดูแลบำรุงรักษา ซ่อมแซมสิ่งของ

ระดับผลลัพธ์ (Outcome)


๑. มีสัมมาสังกัปปะ คือ คิดถูก คิดดี คิดเป็นระบบ คิดได้-คิดเสีย
คิดรอบคอบ คิดละเอียดลออ คิดความควร-ไม่ควรคิดสร้างสรรค์
ต่าง ๆ ฯลฯ

๒. ดูแลสุขภาพเป็น

 

 

กระบวนการเนรมิตนิสัยจากห้องมหาประมาณ (ห้องอาหาร) ในบุคคลทั่วไป

 

หลักธรรมแม่บท วัตถุประสงค์ กระบวนการเนรมิตนิสัย การประเมิน
งานที่ต้องทำ เจตนาของงานที่ต้องปลูกฝัง

๑. สัมมาวาจา

๒. สัมมากัมมันตะ

๓. สัมมาวายามะ

๑. ปลูกนิสัยมีความเคารพในการปฏิสันถาร ด้วยการให้เกียรติแขกที่มาเยือนอย่างเหมาะสม


๒. เคารพในบุญ ด้วยการประมาณการใช้ทรัพย์


๓. ปลูกนิสัยมีความเคารพตามอาวุโสการแสดงความคิดเห็น และสติปัญญาของผู้อื่น

งานทางใจ


๑. ประมาณการรับประทานอาหาร


๒. ประมาณการใช้ทรัพย์


๓. ประมาณวาจา พูดเป็นฟังเป็น นิ่งเป็น ให้เหตุผลเป็น ชี้คุณโทษเป็น และพูดหักล้างสิ่งไม่ถูกต้องเป็นด้วยการใช้วาจานุ่มนวลไม่ก่อศัตรู

๑. ชีวิตนี้กินเพื่ออยู่เพื่อสร้างความดี ไม่ใช่อยู่เพื่อกิน


๒. สมบัติได้มาด้วยบุญ ข้าวของเครื่องใช้อาหาร ฯลฯต้องซื้อหาด้วยความรอบคอบใช้ให้คุ้มค่า


๓. ห้องครัวเป็นห้องกระทบกระทั่งกันง่ายต้องใช้คำพูดยกใจ เพราะความหิวความเหนื่อย ความเร่งรีบ
ความคุ้นในรสและประเภทอาหารต่างกันเป็นห้องเดียวในบ้านที่สมาชิกใน

ระดับผลผลิต (Output)


๑. ความสม่ำเสมอ
ในการปฏิบัติงาน


๒. ความตั้งใจทำงาน


๓. ความสะอาด ความ
เป็นระเบียบ


๔. ความมีเหตุผล


๕. การพูดให้กำลังใจ

 

 

กระบวนการเนรมิตนิสัยจากห้องมหาประมาณ (ห้องอาหาร) ในบุคคลทั่วไป

 

หลักธรรมแม่บท วัตถุประสงค์ กระบวนการเนรมิตนิสัย การประเมิน
งานที่ต้องทำ เจตนาของงานที่ต้องปลูกฝัง
 

ด้วยการรูประมาณวาจา ทั้งในการแสดงมารยาทความคิดเห็น
การให้สติ การตักเตือน และการให้กำลังใจซึ่งกันและกัน

 

งานทางกาย


๑. การจัดซื้อ จัดหา จัดเก็บ


๒. การประกอบอาหารการปรุงอาหาร ไม่ฆ่าสัตว์ ไม่ใช้สุรา เพื่อปรุงอาหาร ไม่ฆ่าสัตว์-แมลงที่มารบกวน


๓. มารยาทการรับประทาน
อาหาร


๔. มารยาทการพูดใน
ห้องอาหาร

ครอบครัวอยู่พร้อมหน้าและบางโอกาสก็มีแขกมาร่วมด้วยทั้งรู้-ไม่รู้ล่วงหน้า


๑. การจัดสรรงบประมาณ


๒. การรู้ประมาณการผลิต


๓. ถนอมและให้กำลังใจ


๔. ถนอมและให้กำลังใจ

 

 

 

กระบวนการเนรมิตนิสัยจากห้องมหาประมาณ (ห้องอาหาร) ในบุคคลทั่วไป

 

หลักธรรมแม่บท วัตถุประสงค์ กระบวนการเนรมิตนิสัย การประเมิน
งานที่ต้องทำ เจตนาของงานที่ต้องปลูกฝัง
   

๕. การรักษาความสะอาด


        - ปัดกวาด เช็ด ถู เทขยะ


        - การเก็บรักษาอาหาร


        - การล้าง เก็บรักษาจาน ชาม ช้อน ส้อม และอุปกรณ์ในกาประกอบอาหาร


        - ฯลฯ

๕. - วินัยความสะอาดป้องกันสัตว์ เช่น มดแมลง นก หนู แมลงสาป มากินอาหารในบ้าน


- เป็นที่มาของความละเอียดลออ รอบคอบ ประหยัด การรู้ใจ การแก้ปัญหาเฉพาะหน้าการคิดถึงใจเขาใจเราการหักห้ามใจ

ระดับผลลัพธ์ (Outcome)


๑. มีความเคารพในการปฏิสันถาร


๒. เคารพในบุญ


๓. วินัยควาสะอาด
ความเป็นระเบียบ


๔. อดทนต่อการกระทบกระทั่ง


๕. ชื่อตรง


๖. ไม่โอ้อวด ไม่มี
มารยา


๗. รักษาทรัพย์ได้


๔. ครองใจคนเป็น

 

 

กระบวนการเนรมิตนิสัยจากห้องมหาสติ (ห้องแต่งตัว) ในบุคคลทั่วไป

 

หลักธรรมแม่บท วัตถุประสงค์ กระบวนการเนรมิตนิสัย การประเมิน
งานที่ต้องทำ เจตนาของงานที่ต้องปลูกฝัง

๑. สัมมาสติ

๒. สัมมากัมมันตะ

๓. สัมมาวายามะ

๑. ปลูกนิสัยความเคารพในความไม่ประมาท


     - ในวัย


     - ในการเก็บรักษา


     - ในการใช้ให้


เหมาะสมกับ สถานที่ บุคคล เพื่อไม่เป็นที่ล่อตาล่อใจ
- ในการไปในที่ล่อแหลมอันตราย

งานทางใจ


๑. พิจารณาความจำเป็นก่อนซื้อ


๒. พิจารณวัตถุประสงค์แท้จริงของการใช้ปัจจัย ๔ ทรัพย์ เครื่อง-ประดับ ยศ ตำแหน่งก่อนอุปโภคและบริโภค


๓. พิจารณาการใช้ เก็บรักษา เสื้อผ้า ของใช้เครื่องแต่งตัว เครื่อง-ประดับ

๑. ชีวิตเป็นขอน้อย ไม่ควรเสียเวลากับเรื่องแต่งตัวควรใช้เวลาไปสร้างความดี


๒. และ ๓. ชีวิตนี้ต้องไม่เป็นทาสปัจจัย ๔ เสื้อผ้าอาภรณ์เครื่องประดับ สิ่งฟุ่มเฟือย

ระดับผลผลิต (Output)


๑. ความสม่ำเสมอในการปฏิบัติงาน


๒. ความตั้งใจปฏิบัติงาน


๓. ความมีเหตุผลในการซื้อ หา ใช้ เก็บสิ่งของ


๕. ความสะอาด เป็น
ระเบียบของผลงาน

 

 

กระบวนการเนรมิตนิสัยจากห้องมหาสติ (ห้องแต่งตัว) ในบุคคลทั่วไป

 

หลักธรรมแม่บท วัตถุประสงค์ กระบวนการเนรมิตนิสัย การประเมิน
งานที่ต้องทำ เจตนาของงานที่ต้องปลูกฝัง
 

๒. ปลูกนิสัยความมีวินัย


- ความเป็นระเบียบ


- ความสะอาด


- การใช้เงิน


๓. ปลูกนิสัยความอดทนต่อความเย้ายวน


งานทางกาย


๑. การเลือกซื้อ เครื่อง-นุ่งห่ม เครื่องประดับ


๒. การแต่งกายให้ถูกต้อง


๓. การใช้ เก็บ รักษา

๑. ไม่มัวเมา ไม่ฟุ้งเฟ้อ มีความสันโดษ มีสติพิจารณาความควร-ไม่ควร เหมาะไม่เหมาะ


๒. ไม่ลุ่มหลง มีสติ ระมัด ระวังตน ไม่แต่งตัวล่อตา ล่อใจพวกมิจฉาชีพ


๓. วินัยความสะอาด ความเป็นระเบียบ

ระดับผลลัพธ์ (Outcome)


๑. มีความเคารพในความไม่ประมาท


๒. มีวินัยความสะอาดความเป็นระเบียบ


๓. อดทนต่อความเย้ายวน

 

 

กระบวนการเนรมิตนิสัยจากห้องมหาสมบัติ (ห้องทำงาน) ในบุคคลทั่วไป

 

หลักธรรมแม่บท วัตถุประสงค์ กระบวนการเนรมิตนิสัย การประเมิน
งานที่ต้องทำ เจตนาของงานที่ต้องปลูกฝัง

๑. สัมมาอาชีวะ

๒. สัมมาวายามะ

๑. ปลูกนิสัยความเคารพในความรู้บุคคล สถานที่ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของตนและผู้อื่น


๒. ปลูกนิสัยความมีวินัย


     - ความสะอาด


     - ความเป็นระเบียบ


     - การตรงต่อเวลา


๓. ปลูกนิสัยความอดทนต่อ

 

งานทางใจ


๑. ใช้สติปัญญาประกอบอาชีพ


๒. ทำบุญเป็นนิจ


๓. แสวงหาความรู้ทั้ง
ทางโลกและทางธรรม
เป็นนิจ


๔. สร้างเครือข่ายคนดี

 


งานทางกาย


๑. การคัดเลือกบุคคล
ร่วมงาน

๑. เพิ่มพูนปัญญา


๒. ความสำเร็จ ความเจริญทุกอย่างเกิดจากบุญ จึงต้องสร้างบุญใหม่เป็นนิจไม่ใช้แต่บุญเก่า


๓. ทันโลก ทันคน ทันกิเลส


๔. ได้คนดีมาร่วมงาน เป็นแหล่งความรู้ที่ถูกต้องเป็นกัลยาณมิตร


๑. เลือกคนนิสัยดีมาร่วมงาน

ระดับผลผลิต (Output)


๑. ความสม่ำเสมอในการปฏิบัติงาน


๒. ความตั้งใปฏิบัติ


๓. การมีเหตุ-ผล
ถูกต้อง


๔. ความสะอาดเป็น
ระเบียบ

 

 

กระบวนการเนรมิตนิสัยจากห้องมหาสมบัติ (ห้องทำงาน) ในบุคคลทั่วไป

 

หลักธรรมแม่บท วัตถุประสงค์ กระบวนการเนรมิตนิสัย การประเมิน
งานที่ต้องทำ เจตนาของงานที่ต้องปลูกฝัง
 

- ความลำาบากตรากตรำ


- การกระทบกระทั่ง


- ความยั่วเย้าเย้ายวน

๒. การทำงานเป็นทีม


๓. การใช้คำพูด


๔. ฝึกมารยาทการทำงาน


     - การเข้าพบผู้บังคับบัญชา


     - การฟัง, การประชุมฯลฯ


๕. การใช้ จัด เก็บอุปกรณ์


๖. การรักษาความสะอาดความเป็นระเบียบ


๗. การตรงต่อเวลา

๒. สร้างพลังความสามัคคี


๓. ให้กำลังใจซึ่งกันและกัน


๔. เป็นการให้เกียรติต่อกัน


๕. วินัยการใช้ของให้คุ้มค่า


๖. ความสะอาด เป็นระเบียบเป็นทางมาแห่งปัญญา


๗. คุณค่าของเวลา

ระดับผลลัพธ์ (Outcome)


๑. นิสัยเคารพ วินัยอดทนในการประกอบสัมมาอาชีพ


๒. มีปัญญาเพิ่มพูน


๓. มีเครือข่ายคนดี


๔. มีทรัพย์เพิ่ม


๕. มีบุญกุศลเพิ่ม

 

 

ศีลธรรมพื้นฐานที่ได้จาก ๕ ห้องชีวิต (ห้องนอน)

 

 

นิสัยรักวินัย

ซึ่งนำไปสู่การมีศีล

นิสัยรักการจับถูก

ซึ่งนำไปสู่การมีความเคารพ

นิสัยไม่เอาแต่ใจ

ซึ๋งนำไปสู่การมีความอดทน

ห้องนอน

ห้องมหาสิริมงคล

- ตื่นแล้วเก็บที่นอนทันที


- ทําความสะอาดห้องสม่ำเสมอ


- นอนหลับหัวค่ำและตื่นนอนแต่เช้ามืด


- นอนหลับและตื่นนอนตรงเวลา


- จัดเก็บของภายในห้องให้เป็นระเบียบ เรียบร้อย

- สวดมนต์ ไหว้พระ นั่งสมาธิก่อนนอน


- จับดีคุณพ่อคุณแม่และคนในครอบครัว


- กราบเท้าพ่อแม่ก่อนเข้านอน


- ลุก เดิน นั่ง นอน เปิด/ปิดประตูให้เงียบที่สุด

- ตื่นนอนตั้งแต่เช้าตรู่


- ไม่นอนอ่านหนังสือ


- การจับ หยิบ ยก วางสิ่งของให้เบาๆ


- ไม่รับประทานอาหารในห้องนอน

 

งานทางใจ


๑. กราบไหว้พระ


๒. สวดมนต์


๓. สมาทานศีล


๔. นั่งสมาธิ

๕. แผ่เมตตา


๖. เล่าธรรมก่อนนอน


๗. หลับในอู่ทะเลบุญ

 

 

ศีลธรรมพื้นฐานที่ได้จาก ๕ ห้องชีวิต (ห้องน้ำ)

 

นิสัยรักวินัย

ซึ่งนำไปสู่การมีศีล

นิสัยรักการจับถูก

ซึ่งนำไปสู่การมีความเคารพ

นิสัยไม่เอาแต่ใจ

ซึ๋งนำไปสู่การมีความอดทน

ห้องน้ำ

ห้องมหาพิจารณา

- ใช้น้ำ-ไฟฟ้าอย่างประหยัด


- รักษาห้องน้ำให้สะอาดอยู่
เสมอ


- ขับถ่ายเป็นเวลา


- ใช้ขันเสร็จคว่ำขันเสมอ


- เปิดน้ำใส่ถังไว้ให้มีใช้เสมอ


- ปิดก๊อกน้ำาให้สนิททุกครั้ง

- ใช้ห้องน้ำอย่างมีสติ


- เคารพและเกรงใจผู้อื่น(ล้างห้องน้ำให้สะอาด
เช็ดห้องน้ำให้แห้ง)


- เก็บอุปกรณ์ต่าง ๆ เช่น แปรงสีฟันยาสีฟัน สบู่ฯลฯ ในที่เก็บเสมอ

- การขยันทำความสะอาดทุกซอกทุกมุม


- ขยันทำความสะอาดทุกวันไม่เกี่ยงงอนคนอื่น


- รอคอยด้วยใจสงบ


- ไม่ทำตามใจตนเอง รู้จัก
เกรงใจผู้อื่น

งานทางใจ


๑. พิจารณาอาหารเก่า


๒. พิจารณาความไม่งามของกาย


๓. พิจารณาความเป็นรังของโรค


๔. พิจารณาความเสื่อมโทรมของกาย

 

 

ศีลธรรมพื้นฐานที่ได้จาก ๕ ห้องชีวิต (ห้องอาหาร)

 

นิสัยรักวินัย

ซึ่งนำไปสู่การมีศีล

นิสัยรักการจับถูก

ซึ่งนำไปสู่การมีความเคารพ

นิสัยไม่เอาแต่ใจ

ซึ๋งนำไปสู่การมีความอดทน

ห้องอาหาร

ห้องมหาประมาณ

- รับประทานอาหารตรงเวลา


- รักษาความสะอาดภาชนะ
ต่างๆ


- ไม่พูดคุยกันขณะรับประทานอาหาร


- มารยาทการรับประทานอาหาร


- เตรียมอาหารให้สมกับวัย


- รับประทานอาหารให้หมด
จาน


- พิจารณาอาหารก่อนรับประทาน


- ให้เกียรติผู้อื่น


- มีมารยาทในการพูด ไม่ใช้นิสัยหยาบคาย


- ให้ผู้มีอายุมากกว่าตักอาหารก่อนเสมอ


- ความเอื้อเฟื้อ


- บริการตักข้าว น้ำ


- รับประทานให้หมด ไม่ทิ้งขว้าง

- รู้จักการรอคอยและแบ่งปัน


- ไม่บ่นในรสอาหาร ไม่
ตามใจปาก


- ประมาณในการรับประทานมักน้อย


- ไม่เคี้ยวอาหารเสียงดัง


- เคี้ยวอาหารให้ละเอียด
ก่อนกลืน


- รับประทานพร้อมกัน

 

งานทางใจ


๑. ประมาณการรับประทานอาหาร


๒. ประมาณการใช้ทรัพย์


๓. ประมาณวาจา พูดเป็นฟังเป็น นิ่งเป็น ให้เหตุผลเป็น ชี้คุณ-โทษเป็น และพูดหักล้าง ไม่ถูกต้องเป็น ด้วยการใช้วาจานุ่มนวล ไม่ก่อศัตรู

 

 

ศีลธรรมพื้นฐานที่ได้จาก ๕ ห้องชีวิต (ห้องแต่งตัว)

 

นิสัยรักวินัย

ซึ่งนำไปสู่การมีศีล

นิสัยรักการจับถูก

ซึ่งนำไปสู่การมีความเคารพ

นิสัยไม่เอาแต่ใจ

ซึ๋งนำไปสู่การมีความอดทน

ห้องแต่งตัว

ห้องมหาสติ

- ความสะอาด


- จัดเสื้อผ้าให้เป็น

ระเบียบหาง่าย


- ความประหยัด
- ประมาณตน

- พิจารณาให้เหมาะกับตนเอง/วงศ์ตระกูล


- แบ่งเวลาให้กัน ประหยัดการใช้เวลา


- เคารพสถานที่ในโอกาสต่าง ๆ แต่งให้ถูกกาลเทศะ


- ไม่หยิบของผู้อื่นมาใช้โดยไม่ได้รับอนุญาต


- ซักเสื้อผ้าให้พ่อ-แม่


- เลือกสวมใส่เสื้อผ้าให้ถูกกาลเทศะ

- อดทนต่อการยั่วยุของ
แฟชั่น และอำนาจกิเลส


- รู้จักการประมาณ, พอเพียง


- ลดความฟุ่มเฟือย


- การทําความสะอาด


- มีความขยันเก็บรักษาให้เป็นระเบียบ


- อดทนอยู่ในระเบียบวินัย
การแต่งกายที่เป็นระเบียบ
เรียบร้อยและสะอาด

 

งานทางใจ


๑. พิจารณาความจำเป็นก่อนซื้อ


๒. พิจารณาวัตถุประสงค์แท้จริงของการใช้ปัจจัย


๓. พิจารณาการใช้ เก็บรักษาเสื้อผ้า ของใช้เครื่องแต่งตัวเครื่องประดับ

 

๔. ทรัพย์ เครื่องประดับกายของเรา ยศ ตำแหน่งก่อนบริโภค

 

 

ศีลธรรมพื้นฐานที่ได้จาก ๕ ห้องชีวิต (ห้องทำงาน)

 

นิสัยรักวินัย

ซึ่งนำไปสู่การมีศีล

นิสัยรักการจับถูก

ซึ่งนำไปสู่การมีความเคารพ

นิสัยไม่เอาแต่ใจ

ซึ๋งนำไปสู่การมีความอดทน

ห้องทำงาน

ห้องมหาสมบัติ

- แต่งกายสะอาด เป็นระเบียบเรียบร้อยเหมาะสมกับงานที่ทํา


- มาเข้าทำงานตรงเวลาจัดของบนโต๊ะทำงานให้เป็นระเบียบเรียบร้อย


- การวางแผนการทำงาน


- ทำความสะอาดเครื่องมือทํางานก่อนเก็บ


- จัดเก็บอุปกรณ์และเครื่องมือให้เป็นระเบียบเรียบร้อย

- ให้เกียรติซึ่งกันและกัน


- ต้องเคารพในสิทธิ์ของใช้ของเพื่อนๆ


- รู้จักทักทาย ไหว้เคารพครูอาจารย์


- รู้จักทักทาย ไหว้เคารพรุ่นพี่ และผู้มีอาวุโสกว่า


- รู้จักการแสดงความคิดเห็น

- มีความตั้งใจทำงานให้สำเร็จ


- อดทนต่อการอยู่ร่วมกันกับคนหมู่มาก


- อดทนต่อกฎระเบียบของโรงเรียน


- อดทนต่อคำพูดของผู้อื่น


- อดทนต่อการกระทำของผู้อื่น


- อดทนต่อสภาแวดล้อมอดทนต่อระเบียบวินัย

งานทางใจ


๑. ใช้สติปัญญาในการประกอบอาชีพ


๒. ทำบุญเป็นนิจ


๓. แสวงหาความรู้ทั้งทางโลกและทางธรรมเป็นนิจ


๔. สร้างเครือข่ายคนดี

 

บูรณาการ ๕ ห้องชีวิตกับทิศเบื้องหน้า


        ถึงแม้ครูบาอาจารย์ตามโรงเรียนต่าง ๆ จะมีหน้าที่รับผิดชอบในด้านการสอนหลักธรรม ตลอดจนหลักการปฏิบัติใน ๕ ห้องชีวิตก็ตามแต่บรรดาพ่อแม่ผู้ปกครองทั้งหลาย ก็มีหน้าที่ให้การสนับสนุนการทำหน้าที่ด้านการสอนของครูให้เกิดประสิทธิผลอย่างแท้จริงด้วย
       ดังนั้นในเมื่อแต่ละบ้านต่างก็มี ๕ ห้องชีวิตครบทุกห้อง พ่อแม่ผู้ปกครองทั้งหลาย นอกจากจะต้องช่วยตอกย้ำคำสั่งสอนที่ลูกได้รับมาจากครูแล้ว ยังจะต้องประพฤติปฏิบัติตนให้ลูกๆ เห็นเป็นแบบอย่างอีกด้วย โดยให้ลูกๆ ทุกคนเข้ามาร่วมทำกิจกรรม ๕ ห้องชีวิตกับตนทุกวัน
         อนึ่ง เพื่อเป็นการแสดงความกตัญญูต่อทิศเบื้องหน้า คือผู้บังเกิดเกล้าของตน ซึ่งอาศัยอยู่ร่วมชายคาเดียวกัน พ่อแม่ก็พึงชักชวนลูกๆ เข้ามาร่วมทำกิจกรรมในลักษณะบูรณาการ ๕ ห้องชีวิตกับทิศเบื้องหน้าของตนในแต่ละวันๆ เช่น จัดที่นอนให้ท่าน (ปู่-ย่า-ตา-ยาย ขอหลานๆ)ดูแลความสะอาดห้องน้ำให้ท่านเตรียมอาหารที่เหมาะสมกับวัยของท่านจัดหาเครื่องนุ่งห่มที่เหมาะสมตามฤดูกาลไว้ให้ท่านตลอดจนช่วยดูแลธุระการงานของท่าน เป็นต้น
       การปฏิบัติกิจกรรมแบบบูรณาการ ๕ ห้องชีวิตกับทิศเบื้องหน้าย่อมจะเป็นอีกแนวทางหนึ่ง ที่จะช่วยพัฒนานิสัย ๓ ให้แก่ลูกๆในครอบครัวได้เป็นอย่างดี

2567_07_24_01-1.JPG

 ยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคล Total Execution Time: 0.037114679813385 Mins