บทส่งท้ายวิธีเทศนา
ภาษาไทย นอกจากจะเป็นเครื่องมือสื่อสารในฐานะที่เป็นภาษาเหมือนอย่างภาษาทั่วไปในโลกแล้ว ยังเป็นศิลปะ เป็นวัฒนธรรม และเป็นเอกลักษณ์ของชาติด้วย เพราะภาษาไทยมีรูปอักษรเป็นของตัวเองที่รักษาสืบทอดกันมาจนเป็นมรดกของชาติ เป็นที่ภาคภูมิใจของคนไทยทั้งชาติ และเป็นที่ยอมรับกันในโลกว่ามีเอกลักษณ์เฉพาะตัว ภาษาไทยมีความพิเศษกว่าภาษาอื่นหลายประการ คือมีพยัญชนะ มีสระ มีวรรณยุกต์มีเสียงสูงต่ำ มีคำผสม มีคำราชาศัพท์ใช้โดยเฉพาะ เป็นต้น
แต่ภาษาไทยก็มักจะเป็นยาขมสำหรับคนไทยมาโดยตลอด กล่าวคือคนไทยพูดภาษาไทยได้ แต่พอถึงคราวอ่านถึงคราวเขียนกลับอ่านและเขียนไม่ค่อยทั้งนี้เพราะความมีความเป็นที่หลากหลายของภาษาไทยเอง แต่ความหลากหลายนั้นเองที่เป็นเสน่ห์ของภาษาไทย เป็นที่ท้าทายของนักภาษาศาสตร์ และเป็นที่ชื่นชอบของนักวรรณศิลป์ทั้งหลาย เพราะภาษาไทยมีถ้อยคำมากมายสำหรับเลือกใช้ในการถ่ายทอดให้ตรงกับจินตนาการความคิด ความประสงค์ผ่านบทประพันธ์ของตนจนกลายเป็นวรรณคดีอันล้ำค่ามาแต่บรรพกาลตราบเท่าทุกวันนี้การเรียนรู้ภาษาไทยในทุกแง่มุมจึงเป็นความจำเป็นสำหรับคนไทยมิใช่เพียงเพื่อพอสื่อสารกันได้เท่านั้น หากแต่เพื่ออนุรักษ์มรดกอันล้ำค่าทางศิลปวัฒนธรรมของชาตินี้ไว้ด้วย จึงขอกล่าวย้ำอีกครั้งว่า การรู้ภาษาไทยนั้นมิใช่เพียงรู้แค่พอพูดได้ อ่านออก และเขียนเป็นเท่านั้น หากต้องอยู่ในระดับพูดถูก อ่านถูก และเขียนถูก กล่าวคือต้องใช้ถูกด้วย จึงจะชอบด้วยประการทั้งปวง
การเทศน์เป็นการถ่ายทอดบทธรรมผ่านกระบวนการพูด การอ่านและการเขียนโดยอาศัยภาษาไทยเป็นเครื่องมือ การใช้ภาษาไทยในการเทศน์จึงต้องพิถีพิถันใช้ให้ถูกเป็นเบื้องต้น ไม่ว่าจะพูด อ่าน หรือเขียนหากถูกต้องตามที่ควรจะเป็นแล้วย่อมได้คะแนนนิยม ได้รับคำชมจากผู้รู้ว่าใช้ภาษาได้ดี หากเนื้อหาสาระของบทเทศน์ถูกต้องและดีด้วยแล้ว ย่อมได้รับยกย่องว่าเทศน์ดี คือดีทั้งสำเนียงภาษาและสำนวนภาษา ดีทั้งเนื้อหาสาระตรงกันข้าม หากไม่พิถีพิถัน ใช้ภาษาผิดบ้างถูกบ้างอย่างไรไม่คำนึงนัก เทศน์พอให้ผ่านไปพอเป็นพิธีหรือเป็นกิริยาบุญ ส่วนผู้ฟังจะได้ประโยชน์อย่างไรหรือไม่ จะเป็นแบบอย่างที่ไม่ถูกต้องแก่ผู้อื่นอย่างไรหรือไม่ก็ไม่คำนึงถึง เช่นนี้เท่ากับมีส่วนช่วยให้การเทศน์ด้วยความสำคัญลงไปในทัศนะของชาวบ้าน อันเป็นเหตุให้ผู้ฟังเบื่อที่จะฟังเทศน์กัน โดยเฉพาะในหมู่ผู้รู้ทั้งหลาย เพราะฟังไปเกิดอุกศลจิตไป คือจิตคิดไปว่าท่านใช้ภาษาไม่ถูก อ่านไม่ถูก ออกเสียงไม่ถูก จิตเลยเศร้าหมองแทนที่จะผ่องใสเมื่อได้ฟังธรรม
ทำให้ไม่ได้อานิสงส์จากการฟัง ดังนั้นจึงคิดว่าสู้ไม่ฟังเสียดีกว่า ไม่เกิดอกุศลทางใจด้วยอนึ่ง การใช้ภาษาผิดนั้นส่วนหนึ่งเพราะเข้าใจผิดโดยยึดถือความรู้ความเข้าใจเดิมหรือถือตามของเดิม โดยเฉพาะคำที่มาจากบาลีสันสกฤตเคยออกเสียงอย่างไร เคยเขียนอย่างไร ก็ยึดถือไปตามนั้น โดยมิได้เฉลียวใจว่าเมื่อนำมาใช้ในภาษาไทยแล้วได้ถูกปรับเปลี่ยนรูปไปตามหลักภาษาและความนิยมของไทย หรือรู้อยู่แต่ไม่ยอมรับความเปลี่ยนแปลงนั้น ยังคงอ่านออกเสียงและเขียนเหมือนเดิม เช่นคำเดิมว่า ศุภ อ่านว่า สุพะ กำหนดให้อ่านใหม่ว่า สุขพะ แต่ยังคงอ่าน สุพะ เหมือนเดิม คำเติมว่า เจตนา กำหนดให้อ่านว่า เจตตะนา แต่ยังคงอ่าน เจ-ตะ-นาเหมือนเดิม คำเดิมว่า ทิฏฐิ กำหนดเขียนใหม่ว่า ทิฐิ แต่ยังคงใช้ ทิฏฐิตามเดิม คำเดิมว่า จิตต กำหนดใช้ใหม่ว่า จิต แต่ยังคงใช้ว่า จิตต์ หรือ จิตร เป็นต้น เมื่อเป็นดังนี้ย่อมทำให้เกิดความลักลั่นสับสน ทำให้เกิดความสงสัยแก่ผู้ฟังและผู้อ่านว่าคำไหนถูกต้องหรือไม่ถูกต้อง บางกรณีกลายเป็นตัวอย่างที่ไม่ถูกต้องแก่คนรุ่นหลังไปโดยไม่รู้ตัว เพราะผู้ที่ใช้ไม่ถูกตามกฎเกณฑ์ที่วางกันไว้นั้นเป็นผู้ใหญ่มีชื่อเสียง เป็นที่ยอมรับของคนหมู่มาก นับเป็นอันตรายต่อภาษาไทยอยู่ไม่น้อย
เพราะฉะนั้น ภาษาเทศน์กับภาษาไทยจำต้องอิงอาศัยกัน ต้องควบคู่กันไป เป็นอุปการะแก่กันไปโดยตลอดสาย รู้ภาษาไทยที่ย่อมเป็นนักเทศน์ที่ครอบด้านได้ภาษาเป็นสื่อรู้แต่ข้อธรรมแต่ไม่รู้วิธีการถ่ายทอดธรรมโดยใช้ก็ไม่อาจอธิบายให้รู้และเข้าใจธรรมตามที่ต้องการได้ แต่ถ้ารู้ภาษาไทยดี แม้ข้อธรรมจะลึกซึ้งหรือมีเงื่อนปมต้องอธิบายขยายความมากอย่างไร ก็จะสามารถอธิบายให้เห็นแจ้งและคลี่คลายเงื่อนปมนั้นๆได้โดยอาศัยภาษาเข้าช่วย ภาษาเทศน์กับภาษาไทยแยกกันไม่ออกดังนี้แล