บทที่ ๕ ปรารถนาความเพียร

วันที่ 04 ตค. พ.ศ.2567

 

2567_10_04_b.jpg

 

บทที่ ๕

ปรารถนาความเพียร

 

2567_10_04.jpg



ความหมายของผู้มีความเพียรใน "เสนาสนสูตร"

    "พระสัมมาสัมพุทธเจ้า" ตรัสถึงคุณสมบัติข้อที่ ๔ ของ "ภิกษุ" ผู้เหมาะแก่การ "บรรลุธรรม" ไว้ใน "เสนาสนสูตร" ว่า

   "ผู้มีความเพียร" คือ ผู้ที่ละ "อกุศลธรรม" เพื่อให้ "กุศลธรรม" เกิด มีความเข้มแข็ง มีความบากบั่น มั่นคง ไม่ทอดธุระใน "กุศลธรรม" ทั้งหลาย

 

ลักษณะบุคคลผู้มีความเพียร

    คนที่มี "ความเพียร จำเป็นต้องมี ความทรหดอดทน" ต้องถูกฝึกวินัยมาเป็นอย่างดี ถ้ารับผิดชอบงานใดมา หากไม่เสร็จไม่เรียบร้อยก็ยังไม่ยอมเลิก เป็นคนเอาการเอางานรับผิดชอบเต็มที่



ประเภทของความเพียร

     ความเพียรแบ่งออกเป็น ๔ อย่าง คือ

       ๑. สังวรปธาน เพียรระวังไม่ให้บาปเกิดขึ้นในสันดาน

       ๒. ปหานปธาน เพียรละบาปที่เกิดขึ้นแล้ว

       ๓. ภาวนาปธาน เพียรให้กุศลเกิดขึ้นในสันดาน

       ๔. อนุรักขนาปธาน เพียรรักษากุศลที่เกิดขึ้นแล้วไม่ให้เสื่อม

       ความเพียร ๔ อย่างนี้ เป็นความเพียรชอบ ควรประกอบให้มีในตน



การปรารภความเพียรเพื่อบรรลุธรรม

มีข้อความกล่าวใน "ทุติยทสพลสูตร" ดังนี้



"ทุติยทสพลสูตร"

 

         "ภิกษุ" ทั้งหลาย ธรรมที่เรากล่าวไว้ดีแล้ว เป็นธรรมเข้าใจง่าย เปิดเผย ประกาศไว้แล้ว เป็นดุจผ้าผืนเก่าที่ตัดไว้แล้วอย่างนี้ กุลบุตรผู้บวชด้วยศรัทธา สมควรแท้ เพื่อปรารภความเพียรในธรรมที่เรากล่าวไว้ดีแล้ว เป็นธรรมเข้าใจง่าย

       เปิดเผย ประกาศไว้แล้ว เป็นดุจผืนผ้าเก่าที่ตัดไว้แล้วอย่างนี้ว่า 'เนื้อและเลือดในร่างกายจงเหือดแห้งไป จะเหลืออยู่แต่ หนัง เอ็น กระดูกก็ตามที ผลใดพึงบรรลุได้ด้วยเรี่ยวแรงของบุรุษ ด้วยความเพียรของบุรุษด้วยความบากบั่นของบุรุษ (ถ้า) ไม่บรรลุผลนั้น ก็จักไม่หยุดความเพียรของบุรุษ'

      บุคคล "ผู้เกียจคร้าน" เกลื่อนกล่นไปด้วยบาปอกุศลธรรมทั้งหลาย ย่อมอยู่เป็นทุกข์และทำประโยชน์ของตนที่ยิ่งใหญ่ให้เสื่อมเสียไป ส่วนบุคคลผู้ปรารภความเพียร ผู้สงัดจากบาปอกุศลทั้งหลายย่อมอยู่เป็นสุข และทำประโยชน์ที่ยิ่งใหญ่ของตนให้บริบูรณ์ได้ การบรรลุธรรมที่เลิศด้วยธรรมอันเลว หามีไม่

       แต่การ "บรรลุธรรม" ที่เลิศด้วยธรรมอันเลิศ ย่อมมีได้ "พรหมจรรย์" นี้ ผ่องใสและน่าดื่ม "พระศาสดา" ก็ยังอยู่เฉพาะหน้า เพราะเหตุนั้น เธอทั้งหลายจงปรารภความเพียร เพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อ "บรรลุธรรม" ที่ยังไม่บรรลุ เพื่อทำให้แจ้ง "ธรรม" ที่ยังไม่ทำให้แจ้ง โดยตั้งใจว่า "บรรพชา" ของเราทั้งหลายนี้เป็นของไม่ต่ำทราม ไม่เป็นหมัน มีผล มีกำไร จักมีแก่เราทั้งหลาย เราทั้งหลาย บริโภค "จีวร บิณฑบาตร เสนาสนะและคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร" ของชนเหล่าใด สักการะของชนเหล่านั้น จักมีผลมาก มีอานิสงส์มาก เพราะเราทั้งหลายเธอทั้งหลายพึงสำเหนียกดังพรรณนา มาฉะนี้แล

      "ภิกษุ" ทั้งหลาย บุคคลผู้พิจารณาเห็นประโยชน์ของตนสมควรแท้ เพื่อที่จะทำกิจของตนให้ถึงพร้อมด้วยความไม่ประมาท หรือว่าบุคคลผู้พิจารณาเห็นประโยชน์ของผู้อื่นสมควรแท้ เพื่อจะทำกิจของผู้อื่นให้ถึงพร้อมด้วยความไม่ประมาท หรือ บุคคลผู้พิจารณาเห็นประโยชน์ทั้ง ๒ ฝ่ายสมควรแท้ที่จะทำกิจของทั้ง ๒ ฝ่ายให้ถึงพร้อมด้วยความไม่ประมาท



ระดับของความเพียรที่ทำให้บรรลุธรรม

         มีเรื่องราวปรากฏถึงความเพียรใน "ฆฏสูตร" ดังนี้



"ฆฏสูตร"



ข้าพเจ้าได้สดับมา ดังนี้

         สมัยหนึ่ง
พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ "พระเชตวันอารามของอนาถบิณฑิกเศรษฐี" "เขตกรุงสาวัตถี" สมัยนั้น ท่าน "พระสารีบุตร และ พระมหาโมคัลลานะ" อยู่ในวิหารหลังเดียวกันใน "พระเวฬุวัน" สถานที่ให้เหยื่อ "กระแต" "เขตกรุงราชคฤห์" ครั้นใน เวลาเย็น ท่าน "พระสารีบุตร" ออกจาก ที่หลีกเร้นเข้าไปหา ท่าน "พระมหาโมคคัลลานะ" ถึงที่อยู่ ได้สนทนาปราศรัยเป็นที่บันเทิงใจ พอเป็นที่ระลึกถึงกันกับ ท่าน "พระมหาโมคคัลลานะ" แล้ว นั่ง ณ ที่สมควร ได้กล่าวกับท่านพระมหาโมคคัลลานะ ดังนี้ว่า

        “ท่านโมคคัลลานะ "อินทรีย์" ของท่านผ่องใสยิ่งนัก ผิวหน้าของท่านบริสุทธิ์ผุดผ่อง ชะรอยวันนี้ท่านจะอยู่ด้วยวิหารธรรมอันละเอียด”

        “ท่านผู้มีอายุ วันนี้ผมอยู่ด้วยวิหารธรรมอันหยาบแต่ผมได้มีการสนทนาธรรม”

        “ท่านได้สนทนากับใคร”

        “ผมได้สนทนาธรรมกับพระผู้มีพระภาค”

       “เดี๋ยวนี้ พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ "พระเชตวันอาราม ของ อนาถบิณฑิกเศรษฐี" "เขต กรุงสาวัตถี" ไกลนัก ท่านไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคด้วยฤทธิ์หรือ หรือว่าพระองค์เสด็จมาหาท่านด้วยฤทธิ์”

       “ผมไม่ได้ไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคด้วยฤทธิ์ แม้พระองค์ก็ไม่ได้เสด็จมาหาผมด้วยฤทธิ์ แต่ผมมี "ตาทิพย์ และ หูทิพย์" อันหมดจดเท่าพระผู้มีพระภาค แม้พระผู้มีพระภาค ก็ทรงมี "ทิพพจักขุ และ ทิพพโสตธาตุ" อันหมดจดเท่าผม”

         “ท่านได้ "สนทนาธรรม กับ พระผู้มีพระภาค" ว่าอย่างไร”

         “ผมได้ทูลถาม "พระผู้มีพระภาค" ดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ที่พระองค์ตรัสว่า “ผู้ปรารภความเพียร ผู้ปรารภความเพียร” ด้วยเหตุ เท่าไรหนอ "ภิกษุ" จึง ชื่อว่า เป็นผู้ปรารภความเพียร” เมื่อผมทูลถามอย่างนี้ แม้ "พระผู้มีพระภาค" ได้ตรัสกับผมว่า

         “โมคคัลลานะ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ปรารภ ความเพียร อยู่ด้วย "ตั้งสัตยาธิษฐาน" ว่า “เนื้อ และ เลือด ในร่างกายจงเหือดแห้งไป จะเหลืออยู่แต่ "หนัง เอ็น กระดูก" ก็ตามทีเถิด ผลอันใด พึงบรรลุได้ด้วยเรี่ยวแรงของ "บุรุษ" ด้วยความเพียรของ "บุรุษ" ด้วยความบากบั่นของ "บุรุษ" (ถ้า) ไม่บรรลุผลนั้นแล้ว ก็จักไม่หยุดความเพียร "ภิกษุ" ชื่อว่า เป็นผู้ปรารภความเพียร เป็นอย่างนี้” “ผมได้ "สนทนาธรรม กับ พระผู้มีพระภาค" อย่างนี้



คุณสมบัติผู้บำเพ็ญเพียร


"โพธิราชกุมารสูตร"



              เมื่อ "พระผู้มีพระภาคเจ้า" ตรัสอย่างนี้แล้ว "โพธิราชกุมาร" ได้ทูลถาม "พระผู้มีพระภาคเจ้า" ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อ "ภิกษุ" ได้ "พระตถาคต" เป็นผู้แนะนำ โดยกาลนานเพียงไรหนอ จึงทำให้ "แจ้ง" ซึ่งที่สุด "พรหมจรรย์" อันไม่มี "ธรรม" อื่นยิ่งไปกว่าที่ "กุลบุตร" ทั้งหลาย ผู้ออกจาก "เรือนบวช เป็น บรรพชิต" โดยชอบต้องการ ด้วย "ปัญญา" อันยิ่งเอง ในปัจจุบัน แล้วเข้าถึงอยู่ได้

 ยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคล Total Execution Time: 0.024908717473348 Mins