.....ค . ทัศนะ หรือแนวความคิดในพุทธธรรม หลักเกณฑ์ตัดสินความดีความชั่ว ทั้งตามแนวกรรมนิยามและสังคมนิยม ดังนี้
๑. ว่าด้วยคุณโทษต่อชีวิต หรือต่อจิตใจและบุคลิกภาพ คือสภาวะที่เกื้อกูลแก่ชีวิตจิตใจ หรือไม่เอื้อต่อคุณภาพของชีวิต ส่งเสริมหรือบั่นทอนสุขภาพและสมรรถภาพของจิต ทำให้กุศลกรรม หรืออกุศลธรรมทั้งหลายอื่นลดถอย หรือเจริญงอกงาม ช่วยสร้างบุคลิกภาพที่ดีงามหรือไม่
๒. ว่าด้วยคุณโทษต่อบุคคล คือเป็นการเบียดเบียนตนหรือไม่ ทำให้ตนเดือดร้อนหรือไม่ เป็นไปเพื่อทำลาย หรืออำนายประโยชน์ที่แท้จริงแก่ตน หรือไม่
๓. ว่าด้วยคุณโทษต่อสังคม คือเป็นการเบียดเบียนผู้อื่นหรือไม่ทำให้ผู้อื่นเดือดร้อน หรือเป็นไปเพื่อทำลายหรืออำนายประโยชน์สุขแก่ผู้อื่น และแก่ส่วนรวม
๔. ว่าด้วยมโนธรรม หรือโดยสำนึกที่เกิดขึ้นโดยธรรมชาติของความเป็นมนุษย์ คือพิจารณาเห็นด้วยความรู้สึกผิดชอบชั่วดีของตนเองว่า สิ่งนั้นเมื่อทำแล้ว ตนเองติเตียนหรือกล่าวโทษตนเองได้หรือไม่
๕. ว่าด้วยมาตรฐานทางสังคม เป็นบัญญัติทางศาสนา วัฒนธรรมประเพณี และสถาบันต่าง ๆ ทางสังคม เช่น กฎหมาย เป็นต้น ซึ่งขึ้นต่อการใคร่ครวญตรวจสอบกลั่นกรองของวิญญูทั้งหลาย ตามกาลสมัย ที่จะไม่ให้ถือกันไปโดยงมงายหรือผิดพลาดคลาดเคลื่อน ตลอดจนใคร่ครวญแล้วยอมรับ หรือไม่ของวิญญูชนเหล่านั้น ในแต่กรณี
๓. แรงจูงใจ หมายถึง แรงชักนำที่เร้าใจบุคคลให้กระทำการอย่างใดอย่างหนึ่ง เพื่อให้ได้ผลตามความต้องการ โดยให้เกิดการเสพของเมาเกิดขึ้นจากสาเหตุสำคัญ ๒ ประการคือ
มีเจตนา คือความจงใจหรือความพยายามเกิดขึ้นเป็นเหตุให้มีการดื่มกินน้ำเมา หรือของเมา อันเป็นไปทางกาย เพราะมีประสงค์กลืนกินเป็นเครื่องสนับสนุนส่งเสริมชักจูงหรือจูงใจ
ก ) องค์ประกอบ หรือปัจจัยภายใน คือตัวเราเองมีอำนาจกิเลสคือ โลภ โกรธ และหลง ตามธรรมดามนุษย์ปุถุชนทั่วไป ที่ย่อมมีเป็นปกติวิสัยเกิดขึ้นอยู่แล้ว โดยมีความพอใจชอบเป็นพื้นฐาน มีอวิชชามูลเหตุเป็นตัวนำแห่งปัญหาทั้งสิ้น อันเป็นปัจจัยภายใน
ข ) องค์ประกอบหรือปัจจัยภายนอก คือสิ่งแวดล้อมที่อยู่รอบตัวมนุษย์ที่เป็นธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมทางสังคมที่เกิดขึ้น นั้นคือ ค่านิยมทางสังคม สื่อสารมวลชน ทัศนคติอันเป็นสิ่งยั่วยวน หรือจูงใจให้อยากมีอยากเป็นเรียกว่า ตัณหาเป็นปัจจัยภายนอก
ความอยากที่เป็นตัณหาฝ่ายชั่วนี้เท่านั้น และจักได้แสดงเหตุแรงจูงใจภายนอกดังต่อไปนี้คือ ๑. ค่านิยม
๒ . สื่อมวลชนกับการโฆษณา
๓ . สิ่งแวดล้อมทางสังคม
ค่านิยมของสังคม หมายถึง แบบอย่างพฤติกรรมที่พึงปรารถนาโดยสังคมถือว่า มีคุณค่า แบบอย่างพฤติกรรมนี้จะเกี่ยวข้องกับวัตถุ หรือมิใช่วัตถุก็ได้ ค่านิยมในสังคมต่าง ๆ จะผิดแผกกันไปได้
คุณค่าจำแนกได้เป็น ๒ ประเภทตามชนิดของความต้องการคือ
๑ . คุณค่าแท้ หมายถึง ความหมาย คุณค่า หรือประโยชน์ของสิ่งทั้งหลาย ในแง่ที่สนองความต้องการของชีวิตโดยตรง หรือที่มนุษย์นำมาใช้แก้ปัญหาของตนเพื่อประโยชน์ของตนเองและผู้อื่น คุณค่านี้อาศัยปัญญาเป็นเครื่องตีค่า หรือวัดราคา เรียกว่า คุณค่าที่สนองปัญญาก็ได้ เช่น อาหารมีคุณค่าอยู่ที่ประโยชน์สำหรับการหล่อเลี้ยงร่างกาย ให้ดำรงชีวิตอยู่ได้ มีสุขภาพดี เป็นอยู่ผาสุก มีกำลังเกื้อกูลแก่การทำหน้าที่การงาน ความเป็นอยู่ การบำเพ็ญประโยชน์สุข เป็นต้น
๒ . คุณค่ารอง คุณค่าเทียม หรือคุณค่าพอกเสริม หมายถึง ความหมาย คุณค่าหรือประโยชน์ของสิ่งทั้งหลายที่พอกพูนอยู่ในสิ่งนั้น เพื่อปรนเปรอการเสพเสวยเวทนา หรือเพื่อเสริมราคาเสริมขยายความมั่นคงยิ่งใหญ่ของตนที่ยึดถือไว้ คุณค่านี้อาศัยตัณหาเป็นเครื่องตีค่าหรือวัดราคา เรียกว่า คุณค่าสนองตัณหา เช่น อาหารมีคุณค่าอยู่ที่ความเอร็ดอร่อยเสริมความสนุกสนาน เป็นเครื่องแสดงฐานะความโก้หรูหรา เป็นต้น จากเหตุผล ๒ ประการที่กล่าวมาก จึงทำให้มองเห็นคุณค่าแท้และคุณค่าเทียมได้เด่นชัดมากขึ้น
ค่านิยมแบ่งออกเป็น ๒ ประการ
๑. ค่านิยมที่เป็นเป้าหมายของชีวิต คือ ค่านิยมที่เป็นอุดมคติที่ต้องการให้ยึดเป็นหลัก ตามลำดับความสำคัญ เช่น การช่วยเหลือโดยไม่หวังผลตอบแทน การมีมิตรที่ดี การมีหลักธรรมทางศาสนาเป็นที่พึ่ง
๒. ค่านิยมที่เป็นวิถีปฏิบัติ คือ ค่านิยมรองมีมากมาย เพื่อนำไปสู่ค่านิยมหลักด้วยเหตุผลต่าง ๆ เช่น เพ่อความอยู่รอดของตนเองโดยไม่คำนึงถึงส่วนรวม เป็นต้น
ในการดื่นสุรา นักสังคมวิทยาอธิบายไว้ว่า
๑. ดื่มเล็กน้อยเพื่อวัตถุประสงค์บางอย่าง เช่น เพื่อให้กินข้าวได้ เพื่อผ่อนคลายความป่วยไข้ ช่วยแก้หนาว เพื่อเข้าสังคม เพื่อแสดงว่า โตแล้วไม่ใช่เด็ก หรือการแสดงความเป็นลูกผู้ชาย ผ่อนคลายความเหน็ดเหนื่อย ดื่มเพื่อสร้างจิตนาการ เช่น นักเขียน นักดนตรี หรือดื่มเพื่อย้อมใจให้กล้า เป็นต้น
๒. ดื่มจนครองสติไม่ได้ ดื่มจนมึนเมา อาจจะเป็นเพราะเพื่อคะยั้นคะยอ หรือถูกเหตุการณ์บางอย่างบังคับ ซึ่งจะพบเหตุได้เสมอในงานต่าง ๆ ซึ่งอาจทำให้บุคคลนั้น มีพฤติกรรมเปลี่ยนจากปกติธรรมดา
๓. ดื่นจนติดเป็นนิสัยเลิกไม่ได้ จนมีอาการต่าง ๆ และกลายเป็นโรคพิษสุราเรื้อรัง บุคลิกภาพบกพร่อง มีอารมณ์ไม่ปกติ ประกอบการงานไม่ได้จนกลายเป็นภาระแก่สังคม และที่สุดศาลก็มีสิทธิสั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถ เป็นต้น
พึงวิเคราะห์ค่านิยม ทั้งที่พึงประสงค์และควรแก้ไข อาจแบ่งตามความนิยมที่ทุกคนยอมรับและพึงเปลี่ยนแปลงแก้ไขได้
นอกจากนี้ ค่านิยมที่ไม่พึงประสงค์ที่เป็นพฤติกรรมของสังคม จึงสะท้อนท่าทีความรู้สึกนึกคิด ความรู้ที่แสดงออกทางสื่อมวลชน กับการโฆษณา ซึ่งเป็นผลกระทบที่เกิดจากแรงจูงใจสู่สังคม
การโฆษณาชวนเชื่อ คือการดำเนินการเพื่อส่งเสริม หรือปรุงแต่งทัศนคติทางอารมณ์ของบุคคล หรือกลุ่มบุคคล จึงเป็นการกระทำเพื่อมุ่งผลในการจูงใจให้คนมีความเชื่อและคล้อยตามในสิ่งที่ต้องการ และก่อให้เกิดอิทธิพลเหนือความคิดและการกระทำ เปลี่ยนหรือเร้าอารมณ์ให้หวั่นไหวจนบังเกิดความคล้อยตาม หรือยอมตามเพื่อให้บรรลุผลดังกล่าว จึงมีวิธีการต่าง ๆ ที่นำมาใช้ในการโฆษณาชวนเชื่อ เช่น การเรียกร้องความสนใจ การอำพรางความจริง การก่อให้เกิดความวิตกกังวล เป็นต้นอ้างอิง สำรวย ญาณสํวโร, ( พินดอน) พระมหา, การศึกษาเรื่องผลกระทบจากการล่วงละเมิดศีลข้อที่ ๕ ที่มีต่อสังคมไทย , วิทยานิพนธ์ พุทธศาสตรมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๔๒.
สุมินต์ตรา