พุทธอุทยานนานาชาติ จ.หนองคายINTERNATIONAL BUDDHIST PARK

วันที่ 26 ตค. พ.ศ.2548

                                           

     วันออกพรรษา เมื่อวันอังคารที่ ๑๘ ตุลาคม ๒๕๔๘ ที่ผ่านมา จังหวัดหนองคาย นอกจากคึกคักไปด้วยบรรยากาศของบั้งไฟพญานาคแล้ว เหตุการณ์หนึ่งที่สำคัญ คือ การสถานปนา พุทธอุทยานนานาชาติด้วยแนวคิดที่ว่า ประเทศไทยเป็นดินแดนแห่งพระพุทธศาสนา ล่าสุดได้รับการเสนอให้เป็น “ศูนย์กลางพุทธศาสนาโลก” จากมติที่ประชุมชาวพุทธนานาชาติ เนื่องในวันวิสาขบูชาโลกประจำปี พ.ศ.๒๕๔๘ ทำให้ประเทศไทยต้องมีบทบาทและกิจกรรมเพื่อแสดงความเป็นผู้นำทางด้านพระพุทธศาสนาระดับนานาชาติมากขึ้น

     โครงการพุทธอุทยานนานาชาติ อำเภอโพนพิสัย จังหวัดหนองคาย จึงได้บังเกิดขึ้น เพื่อ (๑) เป็นศูนย์รวมจิตใจของชาวพุทธทั่วโลก (๒) เป็นศูนย์กลางการศึกษาค้นคว้าและเผยแผ่พระพุทธศาสนา (๓) เป็นสถานที่ประชุมอบรมและฟังธรรมของพุทธศาสนิกชนทุกหมู่เหล่า (๔) เป็นศูนย์กลางของการปฏิบัติธรรมและประกอบกิจกรรมทางด้านพระพุทธศาสนา วัฒนธรรมประเพณีทั้งของประชาชนชาวไทยและในระดับนานาชาติ (๕) เป็นพุทธบูชาและเป็นพุทธานุสรณียสถานสืบสานตำนานบั้งไฟพญานาคให้ชาวโลกได้รับรู้ความจริง (๖) เป็นรมณียสถานอันสงบร่มรื่น เป็นที่พักผ่อนหย่อนใจของประชาชนทั่วไปผู้รับผิดชอบโครงการคือ มูลนิธิพุทธอุทยานนานาชาติ จดทะเบียนจัดตั้งเป็นมูลนิธิเมื่อวันที่ ๑๓ กันยายน ๒๕๔๘ โดยมี รมต.กระทรวงเเรงงาน ปี 2548 เป็นประธานมูลนิธิ ตั้งอยู่ เลขที่ ๖๕ หมู่ที่ ๑๓ ตำบลจุมพล อำเภอโพนพิสัย จังหวัดหนองคาย บนพื้นที่ ๓๐๐ ไร่ เลียบริมฝั่งแม่น้ำโขงและถนนทางหลวงแผ่นดินสายหนองคายบึงกาฬ ในเขตอำเภอโพนพิสัยติดกับห้วยน้ำเป เขตกิ่งอำเภอรัตนวาปี

     การจัดแบ่งพื้นที่ เป็น ๒ โซน โดยมีถนนทางหลวงคั่นกลาง (๑) โซนชั้นนอก อยู่ติดถนนทางหลวงคนละฟากกับโซนชั้นใน ประกอบด้วยร้านค้า ร้านอาหาร และธุรกิจบริการต่างๆ, ห้องน้ำ, พื้นที่สำหรับจอดรถบัส ๒๐๐ คันและรถยนต์ส่วนตัวอีก ๑,๘๐๐ คัน (๒) โซนชั้นใน ด้านหนึ่งอยู่ติดถนนทางหลวงอีกด้านหนึ่งติดแม่น้ำโขง ประกอบด้วยพื้นที่ต่างๆ อาทิ งานประติมากรรมกลางแจ้ง บอกเรื่องราวพระพุทธศาสนาและพญานาค, อาคารอเนกประสงค์ มีทั้งห้องประชุม ห้องสมุด ห้องพิพิธภัณฑ์ ห้องประชาสัมพันธ์ และห้องทำงานของมูลนิธิฯ, สวนป่าแมกไม้นานาพันธุ์ ที่ปรากฏในพุทธประวัติ อาทิ ต้นโพธิ์ ต้นไทร ต้นหว้า ต้นเกต ต้นจิก ฯลฯ, แนวดงต้นสน ด้วยความหมายว่า “สน” คือ ความมุ่งมั่นจดจ่ออยู่ที่ใจ เพื่อให้เข้าถึงที่พึ่งที่ระลึกอันสูงสุดที่แท้จริง คือ พระรัตนตรัย ถัดไปเป็นพื้นสนามหญ้าริมฝั่งโขง ซึ่งเป็นพื้นที่โล่งกว้างสามารถรองรับสาธุชนมาทำกิจกรรมร่วมกันได้กว่า ๑๐๐,๐๐๐ คน สุดท้ายเป็นแนวเขื่อนขั้นบันไดชายฝั่งโขง เป็นจุดสำหรับชมปรากฏการณ์บั้งไฟพญานาครองรับคนได้ประมาณ ๓๐,๐๐๐ คนในวันงานสถาปนา เริ่มจาก ภาคเช้า ๖.๐๐-๗.๐๐ น. ตักบาตรพระภิกษุสงฆ์ ๒,๐๐๐ รูป ณ สะพานมิตรภาพไทย – ลาว โดยมี ฯพณฯ อุไรวรรณ เทียนทอง รมต.กระทรวงวัฒนธรรม เป็นประธานในพิธีตักบาตร ต่อมาเวลา ๗.๒๐ น. พิธีรับส่งมอบแรงงานลาว โดยมี  รมต.กระทรวงแรงงานเป็นประธานร่วมกับ รมต.กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม แห่ง สปป.ลาว และมีการปล่อยนกพิราบขาว ๑๑ คู่ จำนวน ๒๒ ตัว

         sp481026_3.jpgsp481026_2.jpg

     ภาคบ่าย เริ่มเวลา ๑๔.๐๐ น. เป็นพิธีสถาปนาพุทธอุทยานนานาชาติ  รมต.กระทรวงแรงงาน เป็นประธานในพิธี โดยมี ส.ส.ประสิทธิ์ จันทาทอง กล่าวรายงาน  รมต.กระทรวงแรงงาน ประธานกล่าวนำทอดผ้าป่าถวายต้นสน พระเดชพระคุณพระเทพมงคลรังสี ประธานสงฆ์นำนั่งสมาธิกลั่นแผ่นดิน จากนั้น รมต.กระทรวงเเรงงาน ปี 2548 ปลูกต้นศรีมหาโพธิ์ ฯพณฯ อุไรวรรณ เทียนทอง ปลูกต้นไทร ประชาชนทั้งหลายปลูกต้นสน ๒๐,๐๐๐ ต้น

๑๕.๓๐ น. พิธีเทเหล้าเผาบุหรี่ โดยมี นายดาบประดิษฐ์ จันทร์ดามี กล่าวรายงาน คุณลดาวัลลิ์ วงศ์ศรีวงศ์ ประธานคณะกรรมาธิการเด็ก เยาวชน สตรี และผู้สูงอายุ สภาผู้แทนราษฎร กล่าวเปิดงาน และนำประชาชน เท ทุบ เผา

                                            sp481026_4.jpg

     ภาคเย็นเป็น พิธีปล่อยโคมลอยและจุดประทีปถวายเป็นพุทธบูชา เริ่มเวลา ๑๗.๐๐ น. มีกิจกรรมสันทนาการ ร้องเพลง โบกธง และเป่าดวงแก้ว ๑๘.๐๐ น. รมต.กระทรวงเเรงงาน ปี 2548 ประธานนำกล่าวถวายประทีปเป็นพุทธบูชาและนำอธิษฐานจิต จากนั้นจึงร่วมใจกันจุดประทีป และปล่อยโคมลอยบูชาพระพุทธเจ้า ตลอดคืนสาธุชนได้สวดสรรเสริญคุณของพระรัตนตรัย และชมบั้งไฟพญานาคอย่างสงบเรียบร้อยสมกับเป็นชาวพุทธที่ดีโดยไม่มีอบายมุขมาเกี่ยวข้อง- วุฑฒิวงศ์ -

 ยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคล Total Execution Time: 0.083026949564616 Mins