.....ปัญหาการปกครอง ผลกระทบโดยตรง คือเป็นการทำลายชื่อเสียงของประเทศชาติว่าเป็นเมืองพระพุทธศาสนา แต่เป็นแหล่งที่เกิดแห่งอาชญากรรมการฆ่ากัน การปล้นชิง วิ่งราว การฉ้อโกง เป็นต้น มากที่สุดประเทศหนึ่ง
ทั้งนี้ หลักศีลธรรมและหลักกฎหมาย จักเป็นสิ่งที่จะสามารถขจัดปัญหาความยุ่งยากในสังคมให้หมดไป และทำให้ภาวะของสังคมที่ขาดระเบียบกฎกติกา ไร้วินัย ความวุ่นวายสับสนที่เกิดขึ้น ย่อมหมดสิ้นไปด้วย ความมั่งมีความอยู่ดีมีสุข ความมั่นคง และความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจก็ดี ทางวัฒนธรรมประเพณีก็ดี ย่อมเกิดขึ้น ปัญหาทั้งหลายในสังคม ที่ยังไม่เกิดขึ้น ก็จักหมดสิ้นไป ตรงกันข้าม หากไร้หลักศีลธรรมและหลักกฎหมาย ปริมาณความรุนแรงก็จักเพิ่มมากขึ้นตามลำดับ
ปัญหาการสูญเสียทรัพยากรบุคคล คุณภาพของคนในสังคมด้อยลง จึงเป็นที่รวมแห่งปัญหาทั้งปวง
ปัญหาทั้งหลายที่เกิดขึ้นอยู่ในสังคมไทยยุคปัจจุบัน เนื่องมาจากผลกระทบที่มีต้นเค้ามาจากความประพฤติผิดศีลธรรมจริยธรรมของสังคมเป็นประการสำคัญ ดังจะเห็นว่าจะมีความพยายามจะสร้างกลไก เพื่อเป็นการควบคุมการเสพสุราเมรัยและของเมาขึ้น ไม่ว่าจะเป็นในรูปแบบของกฎหมายควบคุมการผลิต การจัดจำหน่าย การโฆษณา และกรรมวิธีที่ดี ๆ อื่นอีกมาก และในการวิจัยปัญหาสุขภาพกายและจิตนี้ ผลกระทบแก่ผู้เสพที่ได้รับ ในอนาคตข้างหน้า อย่างน้อยก็เกิดเป็นมนุษย์ก็มีส่วนแห่งความเป็นบ้า และอย่างหนักย่อมถึง คือไปสู่อบายทุคติวินิบาตนรก
สาเหตุแห่งปัญหาเหล่านี้ ย่อมส่งผลกระทบเป็นวงกว้าง ซึ่งเป็นปัญหาของสังคม เช่น ปัญหาสุขภาพกายและจิต ปัญหาการศึกษา ครอบครัว เศรษฐกิจ ปัญหาสังคมโดยรวมอื่น ๆ เช่น ปัญหาการปกครอง อาชญากรรม การสูญเสียทรัพยากรบุคคล และปัญหายาเสพย์ติด ถือว่าเป็นปัญหาที่มีการระบาดรวดเร็วรุนแรงมากที่สุดในบรรดาปัญหาทั้งหลายปัจจุบัน ดังปรากฏเป็นผลกระทบในสังคมปัจจุบัน
ปัญหาความทุกข์เดือดร้อนในสังคมนั้น จักหมดสิ้นไปด้วย ความสุขสงบร่มเย็นก็เกิดมีได้ เพราะมีกติกาเป็นกรอบแห่งสังคม ได้แก่ มีศีลธรรมเป็นที่ตั้ง คือ การสร้างความเป็นระเบียบเรียบร้อยของสังคมในแนวทางปฏิบัติ คือการทำให้ประชาชนมีระเบียบมีกติการ่วมกัน จนกลายเป็นกติกาของสังคม หมายถึงการมีบูรณาการแห่งชีวิตที่สมบูรณ์ เพราะมีศีลเป็นที่พึ่ง โดยเฉพาะศีล ๕ ที่เป็นพื้นฐานของสังคม เป็นบัญญัติของสังคม ในฐานะที่เป็นระงับภัยและเวร และในฐานะที่เป็นยอดมหาทาน คือชั้นยอด เป็นที่เกิดขึ้นแห่งการพัฒนาด้านจิตใจเป็นสิ่งแรก แล้วจึงนำไปสู่บ่อเกิดแห่งคุณงามความดี
ผลกระทบด้านภูมิธรรม เป็นโทษทางธรรมทีให้ผลในชาติหน้า กรรมที่ให้ผลในชาติต่อ ๆ ไป ผู้เสพสุราเมรัยและของเมาเป็นนิตย์ ย่อมมีนรกภูมิ เปรตภูมิ และเดรัจฉานภูมิเป็นที่หวังได้ โทษอย่างเบาที่สุด แม้เมื่อได้กลับมาเกิดเป็นมนุษย์ ก็กลายเป็นคนบ้าอีก เป็นผลกระทบส่งไปถึงในชาติหน้า
พุทธวิธีการแก้ไขปัญหาตามหลักพุทธธรรม วิถีชีวิตที่ดีจึงเป็นแนวทางเพื่อถึงนิพพาน แต่วิถีชีวิตที่สวนทางนิพพาน จึงเป็นชีวิตที่ประกอบด้วยปัญหาเป็นชีวิตที่ไม่ดี ความดับแห่งปัญหาจึงเป็นหลักการตัดสินความดีและความชั่ว โดยเฉพาะการงดเว้นจากเจตนาเป็นเครื่องงดเว้นจากการเสพสุราเมรัยและของเมา อันศีลข้อที่ ๕ ซึ่งเป็นหนทางดำเนินสู่ความหมดทุกข์นั่นเอง
หลักเกณฑ์ในการแก้ไขปัญหาเรื่องสุราเมรัยและของเมา มูลเหตุ
๑. องค์ประกอบภายนอกได้แก่ สิ่งแวดล้อมทางสังคมคือ ความมีกัลยาณมิตร
๒. องค์ประกอบภายใน กระบวนการคิดหรือวิธีการคิดพิจารณาอย่างรอบคอบ หมายถึง โยนิโสมนสิการ การคิดเป็น ทำให้และการมีวิธีคิดเป็น ซึ่งถือว่ามีความสำคัญและจำเป็นอย่างยิ่ง
คือแก้ไขปัญหาส่วนภายใน คือปรับที่โยนิโสมนสิการ แก้ที่กิเลส ๓ กอง คือ ความอยากมีและอยากเป็น ความโลภ แก้ที่ความผูกโกรธ ความพยาบาท ความอาฆาตเป็นความโกรธ และแก้ที่ความประมาทพลั้งพลาด ความไม่รู้จริง เป็นความหลง โดยมีฉันทะ ความพอใจชอบใจเป็นพื้นฐานมีอวิชชามูลเหตุแห่งปัญหาทั้งสิ้นแล้ว สร้างภูมิคุ้มกันจิตด้วยอุบายสงบใจ และอุบายเรืองปัญญา ฝึกอบรมภาวนาเป็นยารักษาจิตคุ้มครองใจ
แก้ที่สิ่งแวดล้อมทั้งหลายที่แวดล้อมตัวเราอยู่ โดยที่เราเป็นศูนย์กลางมีกัลยาณมิตรเป็นเครื่องนำทาง และเป็นเครื่องชี้หนทางสามารถดำเนินชีวิตอยู่ได้
ดังนั้น จึงทำให้ทราบถึงศีลข้อที่ ๕ นี้ว่า ความไม่ประมาท คือการไม่อยู่ปราศจากสติ บรรดากุศลธรรมทั้งหลาย มีความไม่ประมาทเป็นมูล เรียกว่า เป็นยอดของกุศลธรรมทั้งหลาย ฉะนั้น ความไม่ประมาท จึงเป็นแนวทางการดำเนินชีวิตที่ดีทางสังคมและเศรษฐกิจตามหลักพุทธธรรมที่ว่า ละชั่วทางกาย วาจาและใจ ตลอดถึงละความเห็นผิดแล้วปฏิบัติดีทางกาย วาจาและใจตลอดถึงทำความเห็นให้ถูก เพราะบรรดาคุณความดีทั้งหลาย ย่อมเกิดขึ้นเพราะมีความไม่ประมาทเป็นมูล
หมายเหตุ ขอบเขตการวิจัย ในงานชิ้นนี้ได้แก่
๑. เอกสารขั้นปฐมภูมิ ได้แก่ พระไตรปิฎกทั้ง ๔๕ เล่ม และอรรถกถาทั้งหมด
๒. ชั้นทุติยภูมิ ได้แก่ ตำรา หนังสือ งานค้นคว้าวิจัย และวารสารประกอบที่เกี่ยวข้องทั้งโดยตรงและโดยอ้อม
๓. บทสัมภาษณ์ การสนทนาแสดงความคิดเห็น
อ้างอิง สำรวย ญาณสํวโร, ( พินดอน) พระมหา, การศึกษาเรื่องผลกระทบจากการล่วงละเมิดศีลข้อที่ ๕ ที่มีต่อสังคมไทย , วิทยานิพนธ์ พุทธศาสตรมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๔๒.
สุมินต์ตรา