พระมหากษัตริย์ของประชาชนชาวไทย

วันที่ 03 ธค. พ.ศ.2548

 

         

           หากนับย้อนเวลาไปในอดีต ประเทศไทยมีประวัติความเป็นมาที่น่าภาคภูมิใจนานกว่า 700 ปี ตลอดระยะเวลาอันยาวนานนั้น ประวัติศาสตร์ได้จารึกไว้ว่า ประเทศไทยมีพระมหากษัตริย์ที่ ทรงปกครองประเทศมาตั้งแต่ครั้งกรุงสุโขทัยเป็นราชธานี ตลอดมาถึง กรุงศรีอยุธยา กรุงธนบุรี และปัจจุบันคือ กรุงเทพมหานคร ซึ่งพระมหากษัตริย์ในราชจักรีวงศ์ทุกพระองค์ ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณต่อพสกนิกรไทย โดยเฉพาะพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพล อดุลยเดช ตั้งแต่เสด็จขึ้นเถลิงถวัลยราชสมบัติ เมื่อวันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2489 และทรงดำรงพระราชอิสริยยศเป็นพระมหากษัตริย์ รัชกาลที่ 9 แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์ เรื่อยมาจนปัจจุบัน นับได้ 52 ปีแล้ว พระองค์ท่านทรงมีพระราชกรณียกิจนานัปการ เพื่อประโยชน์สุขแก่ประเทศชาติ และประชาชนชาวไทยเสมอมา

ไม่เพียง แต่องค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเท่านั้น สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ และ พระบรมราชวงศ์ทุกพระองค์ ต่างทรงมุ่งมั่นที่จะพัฒนาและช่วยเหลือพสกนิกร โดยไม่จำกัด เชื้อชาติ ศาสนา และชั้นวรรณะ จนก่อให้เกิดโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ กระจายอยู่ ทั่วทุกภูมิภาคของประเทศ ประมาณถึง 1,000 โครงการ ซึ่งล้วนแล้วแต่ยังประโยชน์สุข และ ความเจริญก้าวหน้าแก่อาณาประ

พระราชประวัติพระมหากษัตริย์แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์
(ย่อความจาก “พระราชประวัติพระมหากษัตริย์แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์”
โดย ม.ร.ว. แสงสูรย์ ลดาวัลย์)

            ทรงพระราชสมภพที่โรงพยาบาลเมานท์ ออเบิร์น เมืองบอสตัน รัฐแมสซาชูเสทท์ ประเทศสหรัฐ อเมริกา เมื่อวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2470 ทรงเป็นพระโอรสองค์ที่ 3 ของสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร์ อดุลยเดชวิกรมบรมราชชนก และสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี เป็นพระอนุชาของ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอเจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา และ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล พระองค์ทรงศึกษาวิชาสามัญชั้นต้นที่โรงเรียนมาแตร์เดอี แล้วเสด็จไปประทับและศึกษาต่อที่เมืองโลซานน์ ประเทศสวิสเซอร์ แลนด์ ในปี พ.ศ. 2481 พระองค์ได้โดยเสด็จพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว อานันทมหิดลนิวัติประเทศไทย ประมาณ 2 เดือน ก็เสด็จกลับสวิสเซอร์แลนด์ จนภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ใน พ.ศ. 2488 จึง ตามเสด็จพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว อานันทมหิดล กลับประเทศไทยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว อานันทมหิดล เสด็จสวรรคต เมื่อวันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2489 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภูมิพลอดุลยเดช เสด็จขึ้นครองราชสมบัติสืบต่อ จากนั้นทรงเสด็จกลับไปสวิสเซอร์แลนด์ เพื่อทรงศึกษาต่อ และเสด็จกลับประเทศไทย พ.ศ. 2493 ทรงประกอบพระราชพิธีราชาภิเษกสมรสกับสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิตติ์ พระบรมราชินีนาถ เมื่อวันที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2493 และทรง ประกอบพระราชพิธีบรมราชาภิเษก เมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2493 จากนั้นทรงเสด็จไปสวิสเซอร์แลนด์ เพื่อทรงศึกษาต่อ และเสด็จกลับ พ.ศ. 2494 ทรงมีพระราชโอรสและพระราชธิดา 4 พระองค์ คือ สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชสยาม มกุฎราชกุมาร สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี และสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬา ภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารีพระราชกรณียกิจที่สำคัญแม้ว่าบทบาทของพระมหากษัตริย์หลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 จะลดลงเป็นพระมหากษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญ พระองค์ยังคงพยายามปฏิบัติพระราชภารกิจเพื่อก่อให้เกิดประโยชน์ใน ด้านต่างๆ คือ ทางด้านเศรษฐกิจ ทรงพยายามช่วยเหลือ โดยการส่งเสริมอาชีพ เช่น การทำฟาร์มโคนม พระราช ทานความคิดในการประดิษฐ์เครื่องยนต์กลไก ส่งเสริมการเลี้ยงไหม การประมง ป่าไม้ โครงการ เกษตรหลวงที่ดอยอ่างขางจังหวัดเชียงใหม่ เพื่อชักชวนให้ชาวเขาเลิกปลูกฝิ่น มาปลูกพืชผลและดอกไม้ ที่จะเป็นประโยชน์กว่า โครงการเกษตรกรรมที่หุบกระพง ประจวบคีรีขันธ์ทางด้านสังคม เสด็จพระราชดำเนินไปเยี่ยมราษฎรจังหวัดต่างๆ อย่างทั่วถึง ทรงก่อตั้งมูลนิธิราชประชานุเคราะห์ เพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัย มูลนิธิราชประชาสมาสัย เพื่อช่วยเหลือผู้ป่วยโรคเรื้อน ทรง ตั้งหน่วยแพทย์พระราชทาน มูลนิธิพัฒนาอนามัย มูลนิธิวิจัยประสาทวิทยา ฯลฯด้านขนบธรรมเนียมประเพณี ทรงฟื้นฟูสืบทอดประเพณีหลายอย่างเพื่อเป็นขวัญ เช่น พระราชพิธี จรดพระนังคัลแรกนาขวัญ พระราชพิธีถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยา เป็นต้น
ด้านศาสนา ทรงออกผนวชตามพระราชประเพณี เมื่อ พ.ศ. 2495 ทรงอุปถัมภ์การทำนุบำรุง ศาสนาทุกด้าน เช่น การสร้างวัด สร้างพระพุทธรูป ประกอบพิธีทางศาสนา เช่น การทอดกฐิน ผ้าป่า และการบำเพ็ญกุศลต่างๆ นอกจากนี้ยังทรงเป็นองค์อุปถัมภ์ทุกๆ ศาสนาที่ประชาชนนับถือ ด้านการเมืองการปกครอง เนื่องจากฐานะของพระองค์เป็นพระมหากษัตริย์ภายใตัรัฐธรรมนูญ จึงไม่มีบทบาทโดยตรงทางการเมือง แต่ในทางปฏิบัติทรงเป็นประมุข ทรงเป็นผู้พระราชทานรัฐธรรมนูญ ซึ่งเป็นแบบอย่างในการปกครอง ทรงเป็นศูนย์รวมทางจิตใจของประชาชน เวลาที่เกิดวิกฤตการณ์หรือ ความไม่มั่นใจในชาติ ดังเมื่อเกิดเหตุการณ์ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2516 ยามที่เดือดร้อนที่สุด ประชาชนก็ไปขอ รับพระราชทานความร่มเย็นจากพระองค์ พระองค์ยังทรงเป็นที่พึ่งทางใจของประชาชนชาวไทยเสมอมา

 

 

 ยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคล Total Execution Time: 0.099929400285085 Mins