พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช

วันที่ 23 มค. พ.ศ.2549

 

       วันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2489 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล รัชกาลที่ 8 เสด็จสวรรคต เดิมทีพระองค์ทรงตั้งพระราชหฤทัยไว้ว่าจะครองราชสมบัติเพียงชั่วระยะเวลาจัดงานพระบรมศพพระบรมเชษฐาให้สมพระเกียรติ เพราะขณะนั้นพระเจ้าอยู่หัวมีพระชนมพรรษา 18 พรรษาเศษ ไม่เคยเตรียมพระองค์เพื่อดำรงตำแหน่งพระมหากษัตริย์มาก่อนเลย แต่ด้วยความจงรักภักดีของเหล่าอาณาประชาราษฎร์ที่มีต่อพระองค์อย่างแน่นแฟ้น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช จึงเสด็จขึ้นครองราชสมบัติสืบราชสันตติวงศ์นับแต่วันนั้นเป็นต้นมา แต่เนื่องจากยังมีพระราชกิจด้านการศึกษา จึงเสด็จกลับไปยังประเทศสวิตเซอร์แลนด์ อีกครั้งหนึ่ง เพื่อทรงศึกษาต่อ และทรงเลือกศึกษาวิชากฎหมายและรัฐศาสตร์ แทนวิชาวิทยาศาสตร์ ที่ทรงศึกษาอยู่เดิม

 

      เหตุการณ์หนึ่งที่เกิดขึ้นในวันเสด็จพระราชดำเนินกลับประเทศสวิตเซอร์แลนด์ เพื่อทรงศึกษาวิชาการเพิ่มเติม เมื่อกลางเดือนสิงหาคม พ.ศ.2489 ระหว่างประทับรถพระที่นั่งไปสู่สนามบินดอนเมือง พระองค์ทรงได้ยินราษฎรคนหนึ่งตะโกนลั่นว่า
"ในหลวง อย่าทิ้งประชาชน" พระองค์ทรงนึกตอบบุคคลผู้นั้นในพระราชหฤทัยว่า"ถ้าประชาชนไม่ทิ้งข้าพเจ้า แล้วข้าพเจ้าจะทิ้งประชาชนได้อย่างไร"

 

 

     เหตุการณ์หนึ่งที่เกิดขึ้นในวันเสด็จพระราชดำเนินกลับประเทศสวิตเซอร์แลนด์ เพื่อทรงศึกษาวิชาการเพิ่มเติม เมื่อกลางเดือนสิงหาคม พ.ศ.2489 ระหว่างประทับรถพระที่นั่งไปสู่สนามบินดอนเมือง พระองค์ทรงได้ยินราษฎรคนหนึ่งตะโกนลั่นว่า
"ในหลวง อย่าทิ้งประชาชน" พระองค์ทรงนึกตอบบุคคลผู้นั้นในพระราชหฤทัยว่า"ถ้าประชาชนไม่ทิ้งข้าพเจ้า แล้วข้าพเจ้าจะทิ้งประชาชนได้อย่างไร"

 

      หลังจากเหตุการณ์นั้นผ่านไปประมาณ 20 ปี พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงพบชายผู้ตะโกนทูลพระองค์ในครั้งนั้น เมื่อคราวเสด็จเยี่ยมราษฎรในต่างจังหวัด ชายผู้นั้นกราบบังคมทูลว่า ที่เขาร้องเช่นนั้น เพราะรู้สึกว่าเหว่และใจหายที่พระเจ้าแผ่นดินจะเสด็จไปจากเมืองไทย เขาเห็นพระพักตร์เศร้ามาก จึงร้องไปเหมือนคนบ้า พระเจ้าอยู่หัวทรงตอบว่า "นั้นแหละ ทำให้เรานึกถึงหน้าที่ จึงต้องกลับมา"

 

      พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงประกอบพระราชพิธีราชาภิเษกสมรส กับ หม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ กิติยากร เมื่อวันที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2493 ทรงสถาปนาหม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ กิติยากร เป็นสมเด็จพระราชินีสิริกิติ์ และในวันที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2493 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งการพระราชพิธีบรมราชาภิเษกตามแบบอย่างโบราณราชประเพณีขึ้น ณ พระที่นั่งไพศาลทักษิณ ในพระบรมมหาราชวัง เฉลิมพระบรมนามาภิไธย ตามที่จารึกในพระสุพรรณบัฏว่า "พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มหิตลาธิเบศร รามาธิบดี จักรีนฤบดินทร สยามินทราธิราช บรมนาถบพิตร"

 

      พร้อมทั้งพระราชทานพระปฐมบรมราชโองการว่า "เราจะครองแผ่นดินโดยธรรม เพื่อประโยชน์สุขแห่งมหาชนชาวสยาม" และพระองค์ได้พิสูจน์ให้เป็นที่ประจักษ์แก่หัวใจของชาวไทยทุกดวงแล้วว่า พระองค์ได้ทรงอุทิศทั้งกำลังกาย กำลังทรัพย์ และกำลังความคิดในการประกอบพระราชกรณียกิจด้านต่าง ๆ เพื่อความผาสุกของพสกนิกรของพระองค์ ไม่ว่าจะเป็นด้านการส่งเสริมอาชีพ การเกษตร การอุตสาหกรรม การศึกษา การสาธารณสุข และการต่างประเทศ ฯลฯ

 

      นอกจากนี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ยังได้เสด็จออกไปเยี่ยมเยียนราษฎรในถิ่นทุรกันดารเพื่อความรับทราบความ เดือดร้อนและปัญหาอุปสรรคต่าง ๆ ด้วยพระองค์เอง ในคราวที่เกิดสาธารณภัยต่าง ๆ ขึ้น ไม่ว่าจะเป็นไฟไหม้ น้ำท่วม ลมพายุพัดบ้านเรือนราษฎรให้ได้รับความเสียหาย พระองค์จะทรงห่วงใยและอาทรในความเดือนร้อนของพวกเขาเหล่านั้น ทรงรับสั่งให้มีการช่วยเหลือและพระราชทานพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์เพื่อเป็นการ ช่วยเหลืออย่างเร่งด่วน

 

      ด้วยพระมหากรุณาธิคุณอันหาที่สุดมิได้ ทำให้เหล่าพสกนิกรชาวไทยทุกหมู่เหล่า มอบความจงรักภักดีต่อพระองค์ด้วยการทูลไว้เหนือเกล้า เมื่อถึงวันคล้ายวันพระราชสมภพของพระองค์ทางราชการและภาคเอกชนได้ร่วมกันจัดงานเฉลิมฉลอง และประกอบสาธารณกุศลต่าง ๆ เพื่อถวายเป็นพระราชกุศล อีกทั้งยังถือเอาวันที่ ๕ ธันวามคม ของทุกปี เป็นวันพ่อแห่งชาติอีกด้วย

 

      ในวันนี้ จะมีการประดับไฟตามสถานที่ราชการและอาคารบ้านเรือนราษฎรทั่วไป ในกรุงเทพฯ ประชาชนจะพร้อมใจกันมาชุมนุมที่ท้องสนามหลวง ส่วนในต่างจังหวัดก็จัดให้มีการชุมนุมในสถานที่ต่าง ๆ เพื่อร่วมจุดเทียนชัย และร้องเพลงสดุดีมหาราชากระหึ่มพร้อมกันทั่วประเทศโดยมีการถ่ายทอดทางโทรทัศน์ทุกช่อง

 

Anchorพระราชกรณียกิจ

 

ด้านการศึกษา
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมีพระราชดำริว่าการศึกษาเป็นสิ่งสำคัญที่สุดในการพัฒนาประเทศและพัฒนาให้ประชาชนภายในประเทศมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น ดังพระราชดำรัสครั้งหนึ่งว่า "การศึกษาซึ่งเป็นรากฐานส่งเสริมความเจริญ" ทรงส่งเสริมการศึกษาของประชาชนในชาติทั้งในเมืองและในชนบทถิ่นทุรกันดาร โดยเฉพาะอย่างยิ่งการพระราชทานโอกาสทางการศึกษาให้กับเยาวชนที่ยากจนและด้อยโอกาส พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงก่อตั้งโครงการที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาหลายโครงการ ได้แก่

 

ทุนอานันทมหิดล

 

โรงเรียนเจ้าพ่อหลวงอุปถัมภ์

โรงเรียนราชประชานุเคราะห์

โรงเรียนสอนเด็กที่ประสบเคราะห์กรรม

โรงเรียนร่มเกล้า

โรงเรียนราชประชาสมาสัย

โครงการสารานุกรมไทย

โครงการพระดาบส

 

ด้านการพัฒนาชนบท
จากการที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จเยี่ยมราษฎรในถิ่นทุรกันดารทำให้ทรงทราบถึงความเดือดร้อนในเรื่องต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นสาธารณูปโภค ไฟฟ้า น้ำ เป็นต้น โดยเฉพาะการคมนาคมที่ไม่สะดวกทำให้ไม่สามารถนำความเจริญต่าง ๆ เข้าไปถึงได้ จึงมีพระราชดำริที่จะพัฒนาช่วยเหลือให้ประชาชนที่อยู่ในถิ่นทุรกันดารสามารถช่วยเหลือตัวเองได้ ทรงเน้นการพัฒนาอย่างเป็นไปตามลำดับขั้นตอน ซึ่งจะต้องสร้างพื้นฐานให้มั่นคงก่อน และประการสำคัญจะต้องสามารถพึ่งพาตนเองได้ ต่อมาจึงพัฒนาสภาพแวดล้อมความเป็นอยู่ให้ดีขึ้นตามลำดับ วิธีการดังกล่าวพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงได้ดำเนินมาเป็นระยะเวลานานและประสบความสำเร็จเป็นอย่างดี ทำให้ประชาชนมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ตัวอย่างความสำเร็จในแนวพระราชดำรินี้ ดังจะเห็นได้จากโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริต่าง ๆ เป็นต้น นักวิชาการทั้งหลายต่างก็ยอมรับกันว่าแนวทางการพัฒนาประเทศตามแนวพระราชดำรินี้ จะเป็นการพัฒนาประเทศแบบกระจายความเจริญไปสู่ประชาชนผู้ยากไร้ในชนบท ตลอดจนเป็นการสร้างความมั่นคงทางด้านเศรษฐกิจ และสังคมให้แก่ประเทศชาติเป็นอย่างดี ทรงก่อตั้งศูนย์พัฒนาอันเนื่องมาจากพระราชดำริ โดย มุ่งเน้นเพื่อพัฒนาสภาพความเป็นอยู่ของชาวบ้านให้มีความเจริญมากขึ้น ศูนย์พัฒนาอันเนื่องมากจากพระราชดำริมีทั้งหมด 6 ศูนย์ได้แก่

 

ศูนย์ศึกษาการพัฒนาเขาหินซ้อนตามแนวพระราชดำริ อ.พนมสารคาม จ.ฉะเชิงเทรา
ศูนย์ศึกษาพัฒนาห้วยทรายอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ตั้งอยู่ในเขตพื้นที่พระราชนิเวศน์มฤคทายวัน ต.ห้วยทราย จ.เพชรบุรี
ศูนย์ศึกษาพัฒนาห้วยฮ่องไคร้อันเนื่องมาจากพระราชดำริ ตั้งอยู่ที่ อ.ดอยสะเก็ด จ.เชียงใหม่
ศูนย์ศึกษาการพัฒนาอ่าวคุ้งกระเบนตามแนวพระราชดำริ ตั้งอยู่ที่ อ.ท่าใหม่ จ.จันทบุรี
ศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทองตามแนวพระราชดำริ ตั้งอยู่ที่ อ.เมือง จ.นราธิวาส
ศูนย์ศึกษาการพัฒนาภูพานตามแนวพระราชดำริ ตั้งอยู่ที่บ้านนกเค้า ต.ห้วยขวาง อ.เมือง จ.สกลนคร

 

อ้างอิง:
ธนากิต. วันสำคัญของไทย. กรุงเทพฯ : ชมรมเด็ก,2541.
ศิริวรรณ คุ้มโห้. วันและประเพณีสำคัญ. กรุงเทพฯ

 ยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคล Total Execution Time: 0.07758633295695 Mins