การแข่งขันสร้างมหาทานบารมี
ชีวิตคือการแข่งขัน โดยจะรู้ตัวหรือไม่ก็ตามย่อมจะมีอยู่ทุกวัย ทุกที่ ทุกชนชั้น ไม่ว่าจะในเรื่องเงินทองหรือในเรื่องการแสวงหาเกียรติยศชื่อเสียง ความเป็นจริงสิ่งที่เราวิ่งตามหาชนิดเลือดตาแทบกระเด็น สุดท้ายเมื่อต้องจากไป กลับกลายเป็นเพียงความเหนื่อยเปล่า การแข่งขันอย่างนี้ เป็นเกมส์ที่ไม่มีกติกาหรือกรรมการการตัดสินขึ้นอยู่กับกิเลสที่มากน้อยของแต่ละคน โดยมีโลกเป็นสนามประหัตประหาร แล้วก็ตัดสินชัยชนะด้วยความพอใจ ซึ่งก็ไม่ได้เป็นชัยชนะที่จะมีบุคคลใดครอบครองได้ตลอดอย่างแท้จริง
นับว่าเป็นการแข่งขันที่ทำร้ายตนเอง สร้างความทุกข์ให้กับตนเองทั้งนั้นถึงแม้ทุกชีวิตจะมีสำนึกเหมือนกันว่าที่ทำไปเพราะรักตนเอง ตรงกันข้ามมันคือโศกนาฏกรรมเงียบ โดยมีเจ้าทุกข์และคนร้ายเป็นคนคนเดียวกัน อย่างเช่นการฆ่าสัตว์เพื่อดำรงชีวิตไม่ว่าจะกินเองหรือขายก็ตามยิ่งฆ่ามากยิ่งทำร้ายตนเองมาก เป็นการสร้างความสะดวกสะบายในชาตินี้เปรียบเพียงก้อนกรวดเท่านั้นแต่หลังจากละโลกไปแล้วย่อมจะได้รับความทุกข์ดังภูเขา
หากการแข่งขัน เป็นไปเพื่อก่รสร้างความดีผลย่อมกลับเป็นตรงกันข้าม คือเป็นการสร้างหนทางสวรรค์และพระนิพพานให้ตนเอง แต่ถึงกระนั้น ก็ใช่ว่าจะเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นได้ง่าย เพราะการทำความดีที่ยิ่งยวดอย่างนี้เป็นวิสัยของบัณฑิตผู้เห็นภัยในวัฏสงสาร อย่างเช่นในสมัยพุทธกาลมีมหาทานที่ยิ่งใหญ่อันเกิดขึ้นเพราะการแข่งขันเพียงครั้ง้เดียวเท่านั้น อสทิสทาน การแข่งขันสร้างมหาทานบารมีระหว่างพระราชาผู้ยิ่งใหญ่กับชาวเมืองผู้สามัคคีกันที่ได้ขับเคี่ยวกันถึง ๗ ครั้งถึงจะได้ผู้ชนะ เข้าทำนองที่ไม้ซี่มีหลายอันเอามารวมกัน จะสามารถงัดไม้ซุงได้หรือไม่ เป็นเครื่องพิสูจน์ว่าพระราชาจะเก่งแต่สงครามนองเลือดอย่างเดียว หรือว่าแม้แต่สงครามแห่งความดีพระองค์ก็สู้ได้
สมัยหนึ่ง เมื่อพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เสด็จจาริกไปตามชนบทแล้วทรงกลับมาพระเชตวัน ปเสนทิโกศลราชาทรงนิมนต์พระบรมศาสดาเพื่อถวายทาน และทรงให้ประกาศทั่วพระนครว่า ชาวเมืองขอจงมาดูทานของเรา พอชาวเมืองมาดูทานของพระราชาแล้ว ก็ได้ทูลนิมนต์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าและพระสงฆ์มาถวายทานบ้างพร้อมทั้งส่งตัวแทนไปกราบทูลพระราชาว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้สมมติเทพ ขอให้พระองค์มาทอดพระเนตรทานของพวกข้าพระองค์” พอพระราชาเสด็จไปทอดพระเนตรก็เห็นว่า ชาวเมืองได้ถวายทานประณีตกว่าตนเอง จึงได้นิมนต์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าและคณะสงฆ์มาเพื่อถวายทานอีก โดยจัดให้ประณีตยิ่งกว่าชาวเมือง เป็นอย่างนี้อยู่ ๕ ครั้ง สลับกันไปสลับกันมา ความประณีตของทานก็เพื่มขึ้นตามลำดับ รวมสองฝ่าย ๑๐ ครั้ง ทั้งพระราชาและชาวเมืองก็ไม่สามารถชนะกันได้เลย ในครั้งที่ ๖ ชาวเมืองแทนที่จะเพิ่มความประณีตแห่งมหาทานตามลำดับอย่างที่เคยทำมาก่อน กลับเพิ่มความประณีตเป็นพันๆเท่า ถ้าเป็นมวยก็หวังจะเอาชนะคู่ต่อสู้ให้เร็วที่สุด โดยประชุมกันว่า จะจัดแจงมหาทานชนิดที่ใครๆก็ไม่สามารถจะทักได้ว่า ของอย่างนี้ ทำไมไม่มี พระราชาก็มาทอดพระเนตรเห็นก็ทรงดำริว่า “ถ้าเราไม่สามารถทำให้ยิ่งกว่าชาวเมืองพระนคร ขอตายเสียดีกว่า” ได้บรรทมดำริถึงอุบาย ด้วยความกระวนกระวายอย่างมากเพาะกลัวจะแพ้
พระนางมัลลิกาเทวี เข้าไปเฝ้า ทูลถามว่า “ข้าแต่มหาราช เพราะเหตุไร จึงมีสภาพเช่นนี้” พระเจ้าปเสนทิโกศลเลยตัดถามว่า “เทวี เธอยังไม่ทราบหรือ” พระเทวีตอบว่า “หม่อมฉันยังไม่ทราบ พระเจ้าข้า” ท้าวเธอตัดบอกความจริงแก่พระนาง พระนางเลยกราบทูลว่า “ข้าแต่สมมติเทพ พระองค์อย่าทรงหนักพระทัยไปเลย พระราชาผู้เป็นใหญ่ในแผ่นดิน ถูกพระนครให้พ่ายแพ้พระองค์เคยทอดพระเนตรหรือเคยสดับแล้วที่ไหนบ้าง หม่อมฉันจักจัดแจงทานแทนพระองค์เอง” เพราะพระนางใคร่จะจัดแจงอสทิสทาน แล้วกราบทูลว่า “ข้าแต่พระมหาราช ขอพระองค์จงรับสั่งให้เอาไม้สาละและไม้ขานางทำมณฑปสำหรับนั่งกลางจานกลม เพื่อพระภิกษุทั้งกลายเถิด พระภิกษุที่เหลือให้ท่านนั่งภายนอกขอจงรับสั่งให้ทำเศวตฉัตร ๕๐๐ คัน โดยให้ช้าง ๕๐๐ เชือกถือเศวตฉัตรยืนกั้นแก่พระภิกษุ ๕๐๐ รูป ขอจงทรงรับสั่งให้ทำเรือทอง ๘ ลำ หรือ ๑๐ ลำโดยจัดวางไว้กลางมณฑป ให้พวกเจ้าหญิงทำหน้าที่อย่างนี้คือ บางกลุ่มให้นั่งบดของหอมอยู่ระหว่างพระภิกษุ ๒ รูป บางกลุ่มให้ถือพัดยืนพัดถฃภิกษุ ๒ รูป ให้เอาของหอมที่บดแล้วใส่ในเรือทองคำ บางกลุ่มให้เอาดอกอุบลเขียวเคล้าของหอมในเรือทองคำ เพื่อสร้างบรรยากาศรอบๆให้อบอวล ถ้าพระองค์ทำอย่างนี้ พระองค์จะเป็นผู้ชนะเพราะเจ้าหญิงก็ดี เศวตฉัตรก็ดี ช้างก็ดี เป็นของซึ่งชาวเมืองไม่มี” พระราชาพอรับฟังก็ทรงโสมนัสยินดี ตรัสว่า “ดีมาก พระเทวี เธอนับว่ามีอุบายที่เยี่ยมมาก” แล้วรับสั่งให้ทำตามนั้นทุกอย่าง
พระราชาทรงถวายมหาทานนี้แก่ภิกษุสงฆืมีพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นประธาน ด้วยภัตตาหารอย่างประณีตถวายบังคมพุทธองค์ กราบทูลว่า ”ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ สิ่งใดที่เป็นของควรหรือไม่ควรในโรงทานนี้ หม่อมฉันถวายสิ่งนั้นทั้งหมดแด่พระองค์”
ในวันนั้นวันเดียว รวมค่าใช้จ่ายทั้งหมด ๑๔ โกฏิ (๑ โกฏิเท่ากับ ๑๐ ล้าน) มีเพียงของ ๔ อย่างที่ตีราคาไม่ได้คือเศวตฉัตร ๑ บัลลังก์สำหรับนั่ง ๑ เชิงบาตร๑ ตั่ง สำหรับเช็ดพระบาท ๑ เป็นของที่พระราชาให้จัดถวายพระสัมมาสัมพุทธเจ้า การทำมหาทานนี้อย่างนี้ ผู้สามารถจะทำแด่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าและหมู่สงฆ์ไม่มีอีกแล้วเพราะฉนั้นจึงชื่อ ว่า อสทิสทานซึ่งแปลว่าท่านไม่มีใครทำได้เช่นนี้อีก อสทินทานนี้ จะมีแด่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทุกๆองค์พระองค์ ครั้งเดียวเท่านั้น สตรีเท่านั้นเป็นผู้จัดแจงยุคพระสัมมาสัมพุทธเจ้าของเรา คือพระนางมัลลิกามัลลิกา
กาฬและชุณหะเป็นอำมาตย์ของพระราชากาฬอำมาตย์ คิดว่า “โอ ความเสื่อมอย่างใหญ่หลวงแห่งราชตระกูลได้เกิดขึ้นแน่นอนนแล้ว จำนวนทรัพย์อย่างมากมาย ได้หมดไปแล้วเพียงวันเดียว ภิกษุเหล่านี้ ฉันแล้วก็จะเอาแต่นอนหลับ ตายล่ะ ราชตระกูลล่มสลายแน่ๆ”
...สำหรับการทำความดี หากรู้ว่าเป็น
ดีที่ทำไปแล้วไม่ร้อนเขาและร้อนเรา ถึงแม้
จะมีคนเป็นร้อยๆ คนไม่เห็นด้วยก็ต้องเอา
ความดีเป็นที่ตั้ง อย่างเช่นนอสทิสทาน ถ้าไม้
ดีจริง ไม่เกิดประโยชน์จริง เหตุใดสุดยอด
แห่งมหาบัณฑิตของโลกคือพระสัมมา
สัมพุทธเจ้าซึ่งเป็นผู้หนึ่งที่รับนิมนต์ไม่
ทรงห้ามแต่ถึงกับตรัสชมว่า เป็นทานที่ยากจะหาใครทำได้....
ส่วนชุณหะอำมาตย์กลับคิดว่า “โอ ทานของพระราชายิ่งใหญ่หนอ ใครก็ตามหากไม่เป็นราชา ไม่สามรถทำอย่างนี้ได้ พระราชาพระองค์นี้ต้องอุทิศส่วนบูญแก่สรรพสัตว์อย่างแน่นอน เราขออนุโมทนาในทางนี้”
เมื่อพระสัมมาสัมพุทธเจ้าและหมู่ภิกษุฉันเสร็จแล้วพระราชาทรงรับบาตรเพื่อให้พระองค์ทรงอนุโมทนาพระองค์ดำริว่า “พระราชาถวายมหาทาน เหมือนมหาเทพยังห้วงน้ำใหญ่ให้ไหลหลากไป มหาชนสามารถที่จะทำใจเลื่อมใสหรือไม่หนอทรงทราบว่า ถ้าทำอนุโมทนาให้สมควรแก่ทานของพระราชา ศรีษะของกาฬะอำมาตย์ต้องแตกเป็น ๗เสี่ยง ชุณหะอำมาตย์จะบรรลุธรรมเป็นพระโสดาบัน” ทรงอาศัยความอนุเคราะห์กาฬะอำมาตย์ ตรัสแต่เพียงพระคาถาสั้นๆ แด่พระราชาว่า “พวกคนตระหนี่” จะไปเทวโลกไม่ได้ พวกคนโง่จะไม่สรรเสิรญทานเลย แต่นักปราชญ์ พลอยยินดีในทานเพราะเหตุนั้นจึงมีความสุขในโลกหน้า”
พระราชา ทรงโทมนัสว่า พระสัมมาสัมพุทธเจ้าไม่ทรงทำอนุโมทนาให้สมควร ตรัสเพียงพระคาถาเดียวเท่านั้น เสด็จลุกออกจากอาสนะไป สงสัยเราไม่ทำให้สมควรแก่พระองค์ เราถูกพระองค์ทรงขุ่นเคืองเสียแล้ว จึงเสด็จไปวิหารถวายบังคมและกราบทูลว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญทานที่ควรถวาย หม่อมฉันมิได้ถวายหรือ” พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงตอบว่า “นี้อย่างไร หมาพิตรพระราชาตรัสว่า มหาบพิตร” พระราชาตรัสว่า “รพะองค์ทรงเห็นว่าถึงเวลาสมควรที่จะยก ใจ พระราชาแล้วจึงต รัสว่า “พระมหาบพิตรพระองค์ถวายทานอันสมควรแล้วทีเดียว ทานนั้น ชื่อว่าอสทิสทาน บุคคลสามารถถวายแด่พระพุทธเจ้าแต่ละพระองค์ ครั้งเดียวเท่านั้น ธรรมทานนี้ เป็นของยากที่จะทำ”
เมื่อเป็นเช่นนั้นเพราะเหตุไร พระองค์จึงไม่ทรงอนุโมทนา ให้สมควรแก่ทานของหม่อมฉัน พระราชาตรัสถามต่อ พระสัมมสัมพุทธเจ้าเห็นว่าควรให้ความกระจ่างแก่พระราชายิ่งขึ้นจึงตรัสว่า เพราะข้าราชบริพารของพระองค์ไม่บริสุทธิ์ โทษอะไรหนอแลของพระราชาตรัสถาม
ลำดับนั้น พระพุทธองค์จึงตรัสบอกว่าวาระจิตของอำมาตย์ทั้งสอง ตรัสบอกสาเหตุการไม่ทำอนุโมทนาเพราะความอนุเคราะห์กาฬอำมาตย์ พระราชาตรัสถามกาฬอำมาตย์ที่ตามเสด็จมาด้วยว่า “กาฬะ ได้ยินว่าท่านคิดอย่างนี้จริงหรือ” เมื่อทูลว่า “จริง พระเจ้าข้า” จึงตรัสว่า “เราพร้อมบุตรภรรยา มิได้ถือเอาของของท่านให้ของของตน เบียดเบียนอะไรท่าน สิ่งใดที่เราให้แก่ท่าน สิ่งนั้นจงเป็นของท่าน แต่ท่านจงออกไปจากแว่นแคว้นรับสั่งกับชุณหะอำมาตย์ว่า ท่านคิดอย่างนี้จริงหรือ” เขาทูลว่า “จริง พระเจ้าข้า” จึงตรัสว่า “ดีละ ลุงเราเลื่อมใส่ท่าน ท่านจงรับราชสมบัติของเรา ให้ทานอย่างที่เราให้เถิด” ทรงมอบราชสมบัติให้๗ วันแล้วจึงกราบทูลพระองค์ว่า “ข้าแต่พระองค์ทรงเจริญ ขอพระองค์ทรงทอดพระเนตคนพาล เขาหลู่ทานที่หม่อมฉันถวาย” พระพุทธองค์ ตรัสว่า “อย่างนั้น มหาบพิตร ขึ้นชื่อว่าคนพาลจะไม่ยินดีทานของผู้อื่น เมื่อตายไปจักไปสู่สุคติจากนั้นทรงแสดงธรรมที่สมควรแก่ทานของพระราชายิ่งขึ้นไปอีก”