วันที่ 9 มิ.ย. 2549 ประชาชนชาวไทยร่วมกันเฉลิมฉลองอีกครั้ง ในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช รัชกาลที่ 9 ทรงครองราชย์ครบ 60 ปี
โดยกำหนดชื่องานว่า "การฉลองการเสด็จอยู่ในสิริราชสมบัติครบ 60 ปี"
ชื่อพระราชพิธีว่า "พระราชพิธีการฉลองการเสด็จอยู่ในสิริราชสมบัติครบ 60 ปี"
ชื่อการจัดงานและชื่อพระราชพิธีภาษาอังกฤษคือ
"The Sixtieth Anniversary Celebration of His Majesty"s Accession to the Throne"
ถือเป็นสิ่งที่พิเศษมหัศจรรย์ที่ไม่เคยมีมาเลยในประวัติศาสตร์ไทย เนื่องจากไม่เคยมีพระมหากษัตริย์ครองราชย์มายาวนาน 60 ปี แม้แต่ในโลกก็ไม่เคยมี
การจัดงานจะแบ่งออกเป็น 3 ส่วนด้วยกันคือ งานราชพิธีซึ่งทางสำนักพระราชวังจะเป็นฝ่ายอำนวยการในการจัดให้สอดคล้องกับโบราณราชพิธี ที่ส่วนใหญ่เป็นในเรื่องพิธีบวงสรวง งานบำเพ็ญพระราชกุศลทักษิณานุประทาน และการสถาปนาสมณศักดิ์และการหล่อพระ
ทั้งนี้ คณะกรรมการจัดงานได้จัดเสนอแนะเป็นร่างกำหนดการที่จะจัดขึ้นในงานฉลองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี ดังนี้
1.พระราชพิธีบวงสรวงสมเด็จพระมหากษัตริย์ในอดีต และเสด็จออกมหาสมาคมถวายพระพรชัยมงคล วันศุกร์ที่ 9 มิ.ย.2549 เวลา 10.00 น. ณ พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท
2.งานมหรสพสมโภช วันศุกร์ที่ 9 มิ.ย.2549
3.พิธีจุดเทียนถวายชัยมงคล วันศุกร์ที่ 9 มิ.ย.2549 เวลา 19.19 น. ณ ท้องสนามหลวง
4.พระราชพิธีฉลองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี สถาปนาสมณศักดิ์ เจริญพระพุทธมนต์ และเวียนเทียนสมโภชสิริราชสมบัติ วันเสาร์ที่ 10 มิ.ย.2549 เวลา 16.30 น. ณ พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท
5.คณะทูตเฝ้าฯ วันจันทร์ที่ 12 มิ.ย.2549 เวลา 17.00 น. ณ พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท
6.งานสโมสรสันนิบาต และงานถวายพระกระยาหารค่ำเฉลิมพระเกียรติฯ วันพุธที่ 14 มิ.ย.2549 เวลา 19.30 น. ณ ทำเนียบรัฐบาล หรือพระที่นั่งจักรีมหาปราสาท
7.งานสวนสนามแสดงแสนยานุภาพของกองทัพไทย วันศุกร์ที่ 23 มิ.ย.2549 เวลา 15.00 น. ณ ถนนราชดำเนิน
8.พระราชพิธีเสด็จพระราชดำเนินถวายผ้าพระกฐิน โดยกระบวนพยุหยาตราชลมารค วันที่... ที่... เดือน... 2549 เวลา... ณ วัดอรุณราชวราราม
9.สถาปนาเลื่อนและตั้งสมณศักดิ์พระสังฆาธิการจำนวน...รูป จัดทำพัดรองและพัดสมณศักดิ์ถวายพระสังฆาธิการที่ได้รับการสถาปนาและตั้งสมณศักดิ์
10.จัดทำของที่ระลึกน้อมเกล้าฯ ถวาย ในงานสโมสรสันนิบาตฯ
งานเฉลิมฉลองครั้งนี้เพื่อเป็นการแสดงให้เห็นว่า 60 ปีในรัชกาลปัจจุบัน ภายใต้พระมหากรุณาธิคุณประเทศไทยได้เจริญรุ่งเรือง ผ่านพ้นอุปสรรคภยันตราย และประชาชนอยู่เย็นเป็นสุขภายใต้พระบารมีอย่างไร
จุดพลุและดอกไม้ไฟ ครั้งประวัติศาสตร์ ฉลองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี
สวยงามตระการตา กว่าสามหมื่นนัด สถานเอกราชทูตสาธารณรัฐประชาชนจีน ประจำประเทศไทย ร่วมกับ มูลนิธิเอกชนพัฒนาภูมิภาค,บริษัท เมืองทองไซโก้ จำกัด,บริษัท จีสตีล จำกัด (มหาชน),บริษัท โรงแรม อโนมา จำกัด,บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ มาร์เก็ตติ้ง จำกัด,บริษัท เอ็น ซี.ซี. แมนเนจเม้นท์ แอนด์ ดิเวลลอปเม้นท์ จำกัด และภาคเอกชน ร่วมจัดงาน จุดพลุและดอกไม้ไฟ ครั้งประวัติศาสตร์ ฉลองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี สุดยิ่งใหญ่ ครั้งแรกในเมืองไทย รวม 3 วัน คือในวันที่ 9 มิถุนายน จะมีการจุดพลุแดลดอกไม้ไฟประกอบการบรรเลงเพลงของวง ORCHESTRA ที่สวนเบญจกิตติ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ ตั้งแต่เวลา 18.00 – 21.00 น. พร้อมฉายพระบรมฉายาลักษณ์ และพระราชกรณียกิจต่าง ๆ ผ่านจอม่านน้ำ ส่วนใน วันที่ 10 มิถุนายน จุดบริเวณกลางลำน้ำเจ้าพระยา ระหว่างสะพานพระพุทธยอดฟ้า และสะพานพระปิ่นเกล้า เวลา 20.30 – 21.30 น. และใน วันที่ 11มิถุนายน จุดที่บริเวณ ราชตฤนมัยสมาคม (สนามนางเลิ้ง) เวลา 20.30 – 21.30 น.
พลเอก ดร. มนตรี ศุภาพร จเรทหารทั่วไป ประธานอนุกรรมการ โครงการจุดพลุและดอกไม้ไฟฉลองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี เปิดเผยว่า การจุดพลุและดอกไม้ไฟ ในครั้งนี้ถือเป็นครั้งประวัติศาสตร์ที่ไม่เคยมีมาก่อน เป็นพลุที่จุดด้วยเทคโนโลยีชั้นสูงสุด ไร้ควัน สีสันสวยสดใส เสียงเบา และเคลื่อนไหวได้
กิจกรรมจุดพลุฉลองครองราชย์ จะจัดขึ้น 2 วัน คือ
- วันที่ 9 มิถุนายน 2549 เวลา 18.00 – 21.00 น. จะจุดที่บริเวณสวนเบญจกิติ ศูนย์ประชุมแห่ง ชาติสิริกิติ์ ระหว่างเวลา 18.00 – 21.00 น. เป็นการจุดพลุไฟประกอบการบรรเลงเพลงของวง ORCHESTRA บริเวณสระน้ำของสวนเบญจกิตติ พลุที่จะใช้จุดมีทั้งหมด 5 ชุด โดยมีความสูงระหว่าง 100 – 200 เมตร ซึ่งพลุส่วนใหญ่ได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลจีน เป็นพลุที่มีจังหวะขึ้นลงตามเสียงดนตรี มีสีสันสดใส สว่างสวยงาม และมีชีวิตชีวา สะบัดเส้นสายไปมาได้ อาทิ ชุด มงกุฎเงิน มงกุฎทอง ที่มีทั้งรูปดาวพระศุกร์ ดาวพระเสาร์ รูปจักรวาลต่าง ๆ เป็นต้น นอกจากนี้ระหว่างการจุดพลุจะมีดนตรีบรรเลงเพลงพระราชนิพนธ์พร้อมฉายพระบรมฉายาลักษณ์ พระราชกรณียกิจต่าง ๆ ของพระองค์ท่านตั้งแต่ทรงพระเยาว์ จนถึงปัจจุบัน ผ่านจอม่านน้ำ มีทั้งหมด 5 ช่วง โดยมีชื่อช่วงต่าง ๆ ดังนี้
ช่วงที่ 1
พระภูมินทร์แห่งสยาม ดนตรีจะบรรเลงเพลงเสียงเทียน จอม่านน้ำฉายภาพตั้ง
แต่ทรงพระเยาว์ จนถึงก่อนขึ้นครองราชย์ มีความยาว 3 นาที
ช่วงที่ 2
เถลิงราชย์ บาทบงกช บรรเลงเพลง แผ่นดินของเรา จอม่านน้ำฉายภาพ
บรรยากาศในพิธีขึ้นครองราชย์และการเฉลิมฉลอง ความยาว 3 นาที
ช่วงที่ 3 เย็นศิระเพราะพระบริบาล บรรเลงเพลง สายฝน จอม่านน้ำ ฉายภาพพระราชกรณียกิจต่าง ๆ และการเยี่ยมเยียนพสกนิกรในทุกพื้นที่ ความยาว 3 นาที
ช่วงที่ 4
พระบารมีจักรีเกริกฟ้า บรรเลงเพลง ใกล้รุ่ง จอม่านน้ำฉายพระอัจฉริยภาพ
ของพระองค์ในด้านต่าง ๆ เช่นการกีฬา ดนตรี การปกครอง ความยาว 3 นาที
- ส่วนในวันที่ 10 มิถุนายน จุดบริเวณกลางลำน้ำเจ้าพระยา เป็นพลุที่มีสีสันสวยงามตระการตา โดยได้รับการสนับสนุนจากประเทศญี่ปุ่น โดยมีหน่วยงานกรมวิทยาศาสตร์ทหารบกเป็นผู้ดูแลการจุด โดยจะเริ่มจุดจากเรือท้องแบนของกรมขนส่งทางบก 4 ลำ ขนาบซ้ายขวา มองเห็นได้จากเรือว่าพลุจะมาทิศทางไหน ซึ่งจะวิ่งเข้าหากันเป็นรูปตัววี ยิ่งเรียบแม่น้ำเข้ามาแตกตัวบริเวณกลางแม่น้ำเจ้าพระยา โดยจะจุดต่อเนื่องเป็นเวลา 15 นาที ไม่มีเว้นช่วง โดยพลุจะเปลี่ยนทุก 5 วินาที จะเริ่มจากพลุที่มีความสูงจากพื้นจนถึงท้องฟ้า 150 เมตร มีระดับจังหวะที่แตกต่างกันออกไป เป็นพลุที่มีชีวิตเคลื่อนที่ไปมาได้ รวม 200 ชนิด ท้องฟ้าในค่ำคืนนั้นจะเต็มไปด้วยสีสันสวยงดงามตระการตา ถือเป็นการจุดพลุครั้งประวัติศาสตร์ที่มีความสวยงามใช้เทคโนโลยีชั้นสูงเข้าร่วมด้วยเป็นครั้งแรกในเมืองไทย“ พลุในวันดังกล่าวนับเป็นเทคโนโลยีใหม่จากประเทศญี่ปุ่น เป็นพลุไม่มีควัน มีสีสวยกว่าพลุทั่วไปที่เคยเป็น เป็นพลุที่มีชีวิตเคลื่อนที่ไปมาได้ รวมกว่า 200 ชนิด และที่สำคัญเสียงไม่ดัง มีจำนวนทั้งสิ้น 20,000 กว่านัด จุดพลุแบบชนิดว่ายุงบินผ่านไม่ได้ คือเราจุดทุกวินาที มีความหนาแน่นสูงและต่อเนื่อง”
- และในวันที่ 11 มิถุนายน จะมีการจุดพลุ ณ ราชตฤนมัยสมาคม (สนามนางเลิ้ง) เป็นพลุขนาด 8,10 และ 12 นิ้ว สูง 100-350 เมตร จำนวน 1,010 นัด ใช้เวลาจุดนานถึง 20 นาที เป็นตัวเลขไทยและอาราบิค “60” มีสีสันสวยงดงาม ซึ่งเป็นพลุของ บริษัท เมืองทอง ไซโก้ จำกัด มาร่วมสร้างประวัติศาสตร์
กองทัพเรือเตรียมการจัดกระบวนพยุหยาตราชลมารค เนื่องในวโรกาส สมเด็จพระราชาธิบดี และสมเด็จพระราชินีต่างประเทศ ร่วมงานฉลองสิริราชสมบัติ ครบ ๖๐ ปี ในวันจันทร์ที่ ๑๒ มิถุนายน ๒๕๔๙ เวลา ๑๙.๓๐ น. เส้นทางจาก ท่าวาสุกรี ถึง สะพานสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าฯ ในการนี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณ เสด็จพระราชดำเนินมาทอดพระเนตร พร้อมสมเด็จพระราชาธิบดี และสมเด็จพระราชินี จาก ๒๘ ประเทศทั่วโลก
การจัดกระบวนพยุหยาตราชลมารคในครั้งนี้ กองทัพเรือ กำหนดจะใช้ เรือพระราชพิธีทั้งหมด รวม ๕๒ ลำ ประกอบด้วย เรือพระที่นั่ง ๔ ลำ ได้แก่ เรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์ เรือพระที่นั่งอนันตนาคราช เรือพระที่นั่งนารายณ์ทรงสุบรรณ รัชกาลที่ ๙ และเรือพระที่นั่งอเนกชาติภุชงค์ โดยใช้กำลังพลจากหน่วยจากต่าง ๆ ในกองทัพเรือ จำนวน ๒,๐๘๒ นาย เป็นฝีพายเรือพระราชพิธี