.....คำว่า “ สังคม” โดยรูปศัพท์หมายถึง รนจำนวนหนึ่งที่มีความสัมพันธ์กันตามระเบียบกฎเกณฑ์ โดยทีวัตถุประสงค์ร่วมกัน หรือหมายถึงวงการของคนกลุ่มหนึ่ง เช่น สังคมไทย ย่อมหมายถึงกลุ่มคนที่มีเชื้อชาติหรือสัญชาติไทย ซึ่งอยู่รวมกันและมีวัตถุประสงค์ร่วมกันในอันที่จะทำนุบำรุงส่งเสริมให้ชาติไทยเป็นปึกแผ่น เจริญรุ่งเรือง เพื่อความอยู่ดีมีสุข และความเป็นชาติไทยอย่างมั่นคงตลอดไป
สังคมดี ย่อมหมายถึง วงการของคนกลุ่มหนึ่ง ซึ่งสมาชิกแต่ละคนในกลุ่มล้วนเป็นคนดี ถ้าสมาชิกในกลุ่มแม้เพียงคนเดียวเป็นคนไม่ดีสังคมนั้นย่อมไม่ใช่สังคมดี โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ถ้าผู้นำกลุ่มเป็นคนไม่ดีสังคมนั้นจะเป็นสังคมดีไม่ได้เลย
สังคมดีที่โลกต้องการ ย่อมหมายถึง กลุ่มคนที่ยู่ร่วมกัน โดยที่สมาชิกทุกคนมนกลุ่มเป็นคนดีที่โลกต้องการ
คนดีที่โลกต้องการมีคุณสมบัติอย่างไร?
ได้กล่าวไว้ในบทที่ ๒ แล้วว่า คนดีที่โลกต้องการ ต้องประกอบด้วยคุณสมบัติ ๔ ประการเป็นอย่างน้อย ดังนั้น สังคมดีที่โลกต้องการก็คือสังคมที่มีสมาชิกทุกคนสมบูรณ์พร้อมด้วยคุณสมบัติของคนดี ๔ ประการ
คุณสมบัติ ๔ ประการนี้ คือ คุณธรรมที่จะเอื้ออำนวยให้โลกเกิดสันติสุข
คุณสมบัติ ๔ ประการของคนดีมีอะไรบ้าง?
เพื่อที่จะไม่ต้องพลิกย้อนกลับไปดูบทที่ ๒ อีก จึงขอกล่าวถึงคุณสมบัติ ๔ ประการของคนดี ไว้ ณ ที่นี้อีกครั้งหนึ่ง ดังนี้
๑. คนดีต้องมีความสำนึกรับผิดชอบต่อศักดิ์ศรีแห่งความเป็นมนุษย์ของตนเอง ด้วยการไม่ทำกรรมกิเลส ๔ ประการ คือ การฆ่าสัตว์ตัดชีวิต การลักขโมย การประพฤติผิดทางเพศ และการพูดเท็จ กรรมกิเลสทั้ง ๔ ประการนี้ ถือว่าเป็นกรรม คือการกระทำที่ชั่วช้าสามานย์ ที่ผู้ชื่อว่ามนุษย์ต้องไม่กระทำ ถ้าผู้ใดกระทำก็ถือว่าผู้นั้นปฏิบัติตนใกล้เคียงกับดิรัจฉาน หมดศักดิ์ศรีแห่งความเป็นมนุษย์
อย่างไรก็ตาม ในบรรดากรรมกิเลสทั้ง ๔ ประการ ดังกล่าว ยังมีการกระทำที่มีระดับหรือน้ำหนักแห่งความชั่วช้าสามานย์รองลงมาอีก ซึ่งเป็นสิ่งที่ดีเขาไม่กระทำกัน เพราะทำแล้วจะก่อปัญหาเดือดร้อน ขาดความสงบสุขในสังคม เช่น การทะเลาะวิวาทหรือทุบตีกัน การฉ้อโกงกัน การละเมิดสิทธิกัน การประพฤติทุจริตด้วยวิธีต่างๆ ตลอดจนการพูดจากระทบกระทั่งเสียดสีกัน เป็นต้น
เพราะฉะนั้น ผู้ที่จะได้ชื่อว่า มีคุณสมบัติของคนดีที่โลกต้องการประการที่ ๑ ครบสมบูรณ์ จะต้องไม่มีพฤติกรรมในทำนองที่กล่าวเพิ่มเติมนี้อีกด้วย เพราะพฤติกรรมเหล่านี้ คือเครื่องแสดงถึงจิตใจที่ยังมือมัวด้วยอำนาจกิเลส เป็นจิตใจที่ไร้ความบริสุทธิ์สะอาด เป็นจิตใจที่ยังห่างไกลจากความเป็นอริยะ ย่อมพร้อมที่จะก่อบาปกรรมได้เสมอ
ใครก็ตามที่สามารถละกรรมกิเลส ๔ ประการ รวมทั้งกรรมกิเลสในระดับรองลงมา แสดงว่าเป็นผู้มีพื้นฐานจิตใจดีมาก มีจิตใจเมตตากรุณาสูง อีกทั้งไม่มีความคิดที่จะเบียดเบียนผู้อื้นให้เดือดร้อนเลย ดังนั้นการกระทำต่างๆ ของเขาจึงยึดเอาความสุจริตและความจริงใจเป็นที่ตั้ง รังเกียจการกระทำอันเป็นการทุจริตแม้เล็กน้อย มีสติยั้งคิดใคร่ครวญอยู่เสมอว่า สิ่งใดควรทำและไม่ควรทำ คุณธรรมเหล่านี้ของคนดีจึงพัฒนาขึ้นเป็นลักษณะพฤติกรรม ๑๖ ประการ ของมิตรแท้ได้โดยง่าย
๒. คนดีต้องมีความสำนึกรับผิดชอบต่อสังคมหรือต่อศักดิ์ศรีแห่งความเป็นมนุษย์ของผู้อื่นที่ร่วมสังคม ด้วยการละอคติหรือความลำเอียง ๔ ประการ คือ ลำเอียงเพราะรัก เพราะโกรธ เพราะหลง และเพราะกลัว
ความลำเอียงเป็นต้นเหตุแห่งความไม่เป็นธรรม สังคมใดที่ขาดความเป็นธรรมไม่ว่าสังคมเล็กหรือใหญ่ สังคมนั้นจะมีแต่ความร้าวฉานไม่สามัคคี ซึ่งนอกจากจะทำให้สังคมเจริญก้าวหน้าไม่ได้แล้ ยังมีแต่ปัญหาเดอดร้อนไม่รู้จบ
การที่ประเทศไทยต้องประสบปัญหาวิกฤต ทั้งด้านสังคม เศรษฐกิจ และการเมือง ตลอดเวลา ๓- ๔ ปีมานี้ สาเหตุสำคัญส่วนหนึ่งคือ ผู้คนส่วนใหญ่ในสังคมมีอคติ ดังจะสังเกตเห็นจากการเล่นพรรคเล่นพวกในกลุ่มคนที่มีฐานะโอกาสดีในสังคม เป็นเหตุให้คนรวยยิ่งรวยมากขึ้นคนจนยิ่งจนลงๆ ก่อให้เกิดปัญหาช่องว่างระหว่างชนชั้น และปัญหาทุจริตคอรัปชั่น อันก่อให้เกิดวิกฤตการณ์ในชาติ
ผู้ที่สามารถละอคติ ๔ ประการ ดังกล่าวได้ ก็เพราะมีจิตใจรักความเป็นธรรมเป็นที่ตั้ง เมือจะกระทำสิ่งใดร่วมกับผู้อื่น จะต้องเอาใจเขามาใส่ใจตนเสมอ เมื่อไม่ต้องการให้ผู้อื่นแสดงความชั่วร้ายอย่างหนึ่งอย่างใดต่อตน ตนก็จะต้องไม่แสดงพฤติกรรมเช่นนั้นต่อผู้อื่นอย่างเด็ดขาด
คนที่ปราศจากอคติ เมื่อมั่นใจว่าความติดเห็นของเขาเกิดจากเจตนาอันบริสุทธิ์ยุติธรรม เขาก็จะยืนยันความคิดเห็นนั้นด้วยความเป็นตัวของตัวเองไม่กลัวเกรงและไม่ยอมโอนอ่อนไปตามอิทธิพลมืดอันชั่วร้ายใดๆ ทั้งสิ้น แม้ ต้องเดิมพันด้วยชีวิตก็ตาม ความปราศจากอคติของคนดีย่อมสามารถพัฒนาขึ้นเป็นลักษณะนิสัยและพฤติกรรมของมิตรแท้ ๑๖ ประการ ได้โดยง่าย
การสร้างคนดีที่โลกต้องการ ( ตอน 1) / 15 มกราคม 2548
๓ . คนดีต้องมีความสำนึกรับผิดชอบต่อศีลธรรมทางเศรษฐกิจ