เมื่อบุคคลประสบกับโลกธรรม 8

วันที่ 03 ธค. พ.ศ.2557

 

 

 

…เมื่อบุคคลประสบกับโลกธรรม 8 ความหวั่นไหวแห่งจิตย่อมเกิดขึ้น 
ความหวั่นไหวแห่งจิต หมายถึงความที่จิตกระเพื่อมผิดจากปกติ กระเพื่อมด้วยความเสียใจหรือกระเพื่อมด้วยความดีใจก็ตาม แม้จะเป็นไปในทางที่ชอบใจ รื่นเริงยินดี  หรือผู้ที่ประสบสิ่งไม่ชอบใจ เสียสติร้องไห้ ก็คือผู้เสียสตินั่นเอง ความหวั่นไหวแห่งจิต ย่อมเป็นโทษอย่างยิ่ง เมื่อเกิดแก่ผู้ใดจิตย่อมเศร้าหมอง กายไม่ผ่องใส เป็นทางมาแห่งอกุศลธรรมทั้งหลาย เมื่อต้องประสบควรทำใจอย่างไร?
“ มีลาภ-เสื่อมลาภ, มียศ- เสื่อมยศ สรรเสริญ-นินทา, สุข-ทุกข์”


…8 ประการนี้ คนในโลกทั้งหมดหนีไม่พ้น เมื่อเกิดขึ้นแก่เรา จะมีผลต่อความสงบของใจ ถือว่าเรื่องของขันธ์ 5 เป็นธรรมดา คนมีขันธ์ 5 ต้องมีการกระทบกระทั่งทั้งทางหูและทางตา หนีไม่ได้ เหมือนกับคนเดินอยู่กลางทุ่งที่ไม่มีอะไรบัง ฝนจะตกก็ดี แดดจะออกก็ดี ก็ต้องถูกตัว แต่เราก็ไม่โกรธแดดโกรธฝน เพราะถือเราเป็นคนเดินทาง มันหนีไม่พ้น เมื่อหนีไม่พ้นเราก็ต้องศึกษาวิธีที่จะรับมือกับสิ่งนี้…
-เมื่อต้องประสบกับโลกธรรม  ทั้งฝ่ายชอบใจ และไม่ชอบใจ ควรตั้งสติ ใช้ปัญญาพิจารณาว่า “สิ่งใดมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นล้วนมีความดับไปเป็นธรรมดา” จะต้องรู้จักหัดปล่อยวาง " เป็นผู้สละละวางไม่อาลัยอาวรณ์ เกี่ยวข้องพัวพันในสิ่งทั้งปวง  ฝึกวางเฉยในอารมณ์อันน่าพอใจ และไม่น่าพอใจ คือไม่ยินดี ยินร้าย ที่ทำให้ใจกระเพื่อม ใจจะวางเฉยต่ออารมณ์ต่าง ๆ ได้ จะต้องมีที่เกาะ ที่พึ่ง ที่ยึด อยู่ภายในคือ ศกก.ฐานที่ 7 ต้องหมั่นเอาใจของตนไปจรดอยู่ที่ศูนย์กลางกายของตนนั้น แล้วทำใจให้หยุดให้นิ่งด้วยการตรึกไว้ภายใน…

 ยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคล Total Execution Time: 0.029647533098857 Mins