อนาถบิณฑิกเศรษฐี ตอนที่ ๑๖ การสั่งสมบุญ

วันที่ 28 เมย. พ.ศ.2548

อนาถบิณฑิกเศรษฐี
ตอนที่ ๑๖ การสั่งสมบุญ


อนาถบิณฑิกเศรษฐี , การสั่งสมบุญ , กาละ , บุตร , ถวายทาน , พระสัมมาสัมพุทธเจ้า , ธรรมะ , วัดพระธรรมกาย , เทศนา  , หลวงพ่อธัมมชโย , พุทธกาล

     เมื่อทรงเล่าเรื่องในอดีตจบแล้ว พระพุทธองค์ก็ตรัสพระคาถาอย่างนี้ว่า “ผู้ไม่มีบุญจะเป็นผู้มีศิลปะ หรือไม่มีศิลปะก็ตาม ย่อมขวนขวายที่จะรวบรวมทรัพย์เอาไว้เป็นอันมาก แต่ผู้มีบุญเท่านั้นจะได้ใช้สอยทรัพย์ ส่วนผู้ไม่มีบุญไม่มีโอกาสได้ใช้สอยทรัพย์นั้นเลย ไม่เพียงแต่เท่านั้น ทรัพย์ทั้งหลายยังเกิดขึ้นแม้ในที่ที่ไม่ใช่แหล่งเกิด บางทีเกิดในดิน เกิดตั้งแต่ภูเขาไล่เรื่อยไปถึงทะเล ในอากาศ ฝนรัตนชาติตกลงมา ผู้มีบุญย่อมบันดาลให้เกิดสิ่งเหล่านั้นได้”


อนาถบิณฑิกเศรษฐี , การสั่งสมบุญ , กาละ , บุตร , ถวายทาน , พระสัมมาสัมพุทธเจ้า , ธรรมะ , วัดพระธรรมกาย , เทศนา  , หลวงพ่อธัมมชโย , พุทธกาล

     ท่านถึงบอกว่าย่อมเกิดขึ้นในที่ทั้งปวง คือ ทุกหนทุกแห่ง แก่ผู้มีบุญที่ได้กระทำความดีไว้แล้ว “บุญนั้นย่อมส่งผลให้ได้สมบัติ อันน่าใคร่ทั้งปวง ซึ่งเทวดาและมนุษย์ทั้งหลายปรารถนาอย่างไร ย่อมได้ผลอย่างนั้น” มนุษย์ปรารถนาอย่างไร เทวดาปรารถนาอย่างไร เมื่อมีบุญย่อมได้อย่างที่อยากได้ ตามกำลังบุญ เช่น ความเป็นผู้มีผิวพรรณงาม ความเป็นผู้มีเสียงไพเราะ ความเป็นผู้มีทรวดทรงงดงาม งามมาตั้งแต่เกิดด้วยอานุภาพแห่งบุญ เป็นผู้ที่มีรูปร่างสวยงาม และ ความเป็นอธิบดีได้เป็นใหญ่ด้วยบุญ ไม่ใช่ได้เป็นใหญ่ด้วยการรบราฆ่าฟัน บุญบันดาลให้เกิดขึ้น ได้อย่างเย็นๆ และจะมีพวกพ้องบริวารก็ด้วยอานุภาพแห่งบุญ ได้เป็นเจ้าผู้ปกครองประเทศราช ความเป็นผู้มีอิสริยยศ มียศใหญ่ จนกระทั่งถึงความเป็นพระเจ้าจักรพรรดิ เป็นพระราชาแห่งเทวดาทั้งเทวโลก อย่างเท้าสักกเทวราช เป็นต้น


อนาถบิณฑิกเศรษฐี , การสั่งสมบุญ , กาละ , บุตร , ถวายทาน , พระสัมมาสัมพุทธเจ้า , ธรรมะ , วัดพระธรรมกาย , เทศนา  , หลวงพ่อธัมมชโย , พุทธกาล

     กระทั่งลงมาเกิดเป็นมนุษย์ได้ความเป็นอริยสาวก กระทั่งมาเป็นมหาสาวก อัครสาวก เป็นพระปัจเจกพุทธเจ้า รวมทั้งความเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าด้วย ล้วนเกิดขึ้นด้วยบุญทั้งสิ้น กล่าวมาแล้วทั้งหมด เพราะบุญอย่างเดียวทั้งสิ้น เพราะบุญย่อมส่งผลให้เกิดความสำเร็จอันยิ่งใหญ่ เป็นพลังแห่งความบริสุทธิ์ จะส่งผลยิ่งใหญ่ถึงขนาดนี้ ดังนั้น เราจึงควรทำบุญ สร้างบุญกันไว้


อนาถบิณฑิกเศรษฐี , การสั่งสมบุญ , กาละ , บุตร , ถวายทาน , พระสัมมาสัมพุทธเจ้า , ธรรมะ , วัดพระธรรมกาย , เทศนา  , หลวงพ่อธัมมชโย , พุทธกาล

     บัณฑิตผู้เป็นนักปราชญ์ทั้งหลายจึงสรรเสริญความเป็นผู้ได้กระทำบุญมาดีแล้ว ไม่ยกย่องเรื่องบาปเลย บุญดีอย่างนั้นอย่างนี้ สิ่งนี้เป็นสิ่งที่เราจะต้องช่วยกันขยายความรู้นี้ออกไป เพราะคนไม่เข้าใจเรื่องบุญ เราใช้บุญเก่าหมดไปทุกวัน ใช้ทุกอนุวินาที แต่บุญใหม่นานๆ สร้างสักครั้ง พอจะชวนสร้างทีก็บอกบุญอีกแล้ว ชวนทำบุญอีกแล้ว เขาไม่เข้าใจ เพราะฉะนั้นสิ่งที่กล่าวมาเป็นสิ่งที่เราจะต้องศึกษา ไปทบทวนแล้วก็ขยายความรู้นี้ให้กว้างว่า ทั้งหมดนี้ บังเกิดขึ้นด้วยอานุภาพแห่งบุญอย่างเดียว ครั้นตรัสพระคาถาแล้ว พระพุทธองค์จึงทรงประชุมชาดกว่า พระราชาในครั้งนั้น ชาตินี้ได้มาเป็นพระอานนท์ ส่วนพระดาบประจำตระกูลในครั้งนั้นก็มาเป็น เรา ตถาคต


อนาถบิณฑิกเศรษฐี , การสั่งสมบุญ , กาละ , บุตร , ถวายทาน , พระสัมมาสัมพุทธเจ้า , ธรรมะ , วัดพระธรรมกาย , เทศนา  , หลวงพ่อธัมมชโย , พุทธกาล

    ท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐีมีลูกชายคนหนึ่ง ชื่อ กาละ แปลว่า กาลเวลา แต่นายกาละก็เหลือเกิน คล้ายลูกเศรษฐีบางคน คือ พ่อศรัทธาในพระพุทธศาสนาแต่ลูกไม่ศรัทธาเลย พ่อไปเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้า ลูกไม่อยากเข้าเฝ้า เพราะเดี๋ยวท่านก็จะพูดว่าสังขารไม่เที่ยง อย่างนี้เป็นปฏิกูล มีความแก่ ความเจ็บ ความตายเป็นธรรมดา ไม่อยากฟังหรอก ยังหนุ่มอยู่ นายกาละเหมือนวัยรุ่นสมัยนี้ แถมเป็นลูกเศรษฐีด้วย ไม่อยากพบพระพุทธเจ้า ไม่ปรารถนาจะฟังธรรม ไม่ปรารถนาแม้กระทั่งจะไปอุปัฏฐากพระภิกษุสงฆ์ เวลาท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐีนิมนต์พระมา ๒, ๐๐๐ รูป อาสนะปูไว้ ๒, ๐๐๐ ที่ ลูกกาละมาถวายภัตตาหารพระ ก็ไม่เอาอย่างเดียว


อนาถบิณฑิกเศรษฐี , การสั่งสมบุญ , กาละ , บุตร , ถวายทาน , พระสัมมาสัมพุทธเจ้า , ธรรมะ , วัดพระธรรมกาย , เทศนา  , หลวงพ่อธัมมชโย , พุทธกาล

    แม้ท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐีผู้เป็นบิดาจะบอกว่า ลูกทำอย่างนั้นไม่เหมาะ การบังเกิดขึ้นของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า กระทั่งพระสงฆ์ที่มาไม่ใช่ง่ายเลย การเกิดเป็นมนุษย์ก็ไม่ใช่ของง่าย การได้ฟังธรรมไม่ใช่ง่าย แต่ลูกไม่เชื่อฟังเลย ท่านเศรษฐีกลัวว่า ถ้าลูกเราเป็นอย่างนี้ เอาแต่สนุกเฮฮา โดยคิดว่าตัวเป็นลูกเศรษฐี เดี๋ยวคงได้ตกนรกแน่ คิดอยู่เสมอ ท่านไม่อยากให้ลูกท่านตกนรก เพราะฉะนั้น จะให้ลูกของเราไปตกนรกไม่ได้เด็ดขาด ทำอย่างไรจะหาแรงจูงใจให้ลูกได้เข้าวัด ถ้าเข้าเฝ้าพระสัมมาสัมพุทธเจ้าจะได้ฟังธรรม


อนาถบิณฑิกเศรษฐี , การสั่งสมบุญ , กาละ , บุตร , ถวายทาน , พระสัมมาสัมพุทธเจ้า , ธรรมะ , วัดพระธรรมกาย , เทศนา  , หลวงพ่อธัมมชโย , พุทธกาล

     ท่านเศรษฐีนึกได้ว่า ปกติมนุษย์ที่ยังมีกิเลสอยู่ ไม่มีใครที่ปฏิเสธทรัพย์ ต้องการอยากได้ทรัพย์สมบัติทั้งนั้น เราคงจะต้องใช้ทรัพย์ทำลายความเห็นผิดของลูก คิดอย่างนั้นแล้วจึงเรียก กาละ ลูก เอาอย่างนี้ เดี๋ยวพ่อจะจ้างลูกสัก ๑๐๐ กหาปณะ ให้ลูกไปวัด รักษาอุโบสถศีล ไปแค่นี้แล้วก็กลับมา


อนาถบิณฑิกเศรษฐี , การสั่งสมบุญ , กาละ , บุตร , ถวายทาน , พระสัมมาสัมพุทธเจ้า , ธรรมะ , วัดพระธรรมกาย , เทศนา  , หลวงพ่อธัมมชโย , พุทธกาล

     กาละถามว่า พ่อจะให้เงินผมจริงหรือ จริงลูก ท่านเศรษฐียืนยันถึง ๓ ครั้ง ว่าเอาไปเลย ๑๐๐ กหาปณะ ถ้าลูกไปวัด ตั้งใจสมาทานอุโบสถศีล นายกาละไปวัดเพราะไม่ได้หวังบุญ แต่หวังเงิน ๑๐๐ กหาปณะ คิดในใจว่า เดี๋ยวเราจะไปเข้าเฝ้าได้ ๑๐๐ กหาปณะ ดีใจเดินอย่างเบิกบานไปวัดเชตวัน เดินไปวัด แล้วไปหาที่รื่นรมย์ หามุมสบายนอน ไม่ได้ฟังธรรม ไม่ได้คิดเรื่องบุญ เรื่องศีล พระบอกให้สมาทานอุโบสถศีลก็เอารับๆ ไปอย่างนั้นเอง ที่จริงต้องการเงินมากกว่าไปแอบนอน ณ มุมใดมุมหนึ่งในวัดพระเชตวัน ถืออุโบสถ พอถึงเช้าก็กลับบ้าน


อนาถบิณฑิกเศรษฐี , การสั่งสมบุญ , กาละ , บุตร , ถวายทาน , พระสัมมาสัมพุทธเจ้า , ธรรมะ , วัดพระธรรมกาย , เทศนา  , หลวงพ่อธัมมชโย , พุทธกาล

    พอเห็นลูกกลับมาก็บอกว่าให้บริวารไปรับ ไปจัดเตรียมอาหาร มีข้าวต้ม หรือมีอะไรก็เอามาเลี้ยงลูกชาย กลับจากถืออุโบสถศีลแล้ว บริวารก็นำอาหารมาให้นายกาละ นายกาละยกมือ ที่ตกลงกันไม่ใช่ตรงนี้ ถ้ายังไม่ได้ ๑๐๐ กหาปณะก็ยังไม่รับประทานอาหาร ได้รับเงินเสร็จแล้วจึงยอมรับประทานอาหาร


อนาถบิณฑิกเศรษฐี , การสั่งสมบุญ , กาละ , บุตร , ถวายทาน , พระสัมมาสัมพุทธเจ้า , ธรรมะ , วัดพระธรรมกาย , เทศนา  , หลวงพ่อธัมมชโย , พุทธกาล

      วันรุ่งขึ้นเศรษฐีคิดใหม่ ลูกกาละ วันนี้เอาไป ๑,๐๐๐ กหาปณะ ขอไปนั่งฟังธรรมอยู่ข้างหน้าพระบรมศาสดา แล้วเรียนมาสักข้อหนึ่ง จำให้ได้แล้วกลับมาเล่าให้พ่อฟัง


อนาถบิณฑิกเศรษฐี , การสั่งสมบุญ , กาละ , บุตร , ถวายทาน , พระสัมมาสัมพุทธเจ้า , ธรรมะ , วัดพระธรรมกาย , เทศนา  , หลวงพ่อธัมมชโย , พุทธกาล

     นายกาละรีบไปวัดพระเชตวัน ต้องการแค่เงิน ๑,๐๐๐ กหาปณะ ไปถึงก็นั่งหน้าเลยด้วยใจเบิกบาน แล้วก็ตั้งใจว่าจะจำธรรมะเพียงข้อเดียวพอ ถ้าจำได้แล้วก็กลับเลย


อนาถบิณฑิกเศรษฐี , การสั่งสมบุญ , กาละ , บุตร , ถวายทาน , พระสัมมาสัมพุทธเจ้า , ธรรมะ , วัดพระธรรมกาย , เทศนา  , หลวงพ่อธัมมชโย , พุทธกาล

   นายกาละฟังธรรมด้วยความตั้งใจว่า เราจะต้องจดจำหัวข้อธรรมที่พระพุทธองค์ทรงแสดงนี้ให้ได้ พระพุทธเจ้าทรงทำให้นายกาละจำไม่ได้อีก เพื่อจะให้นายกาละเปลี่ยนความคิดว่า มาฟังธรรมะเพื่อจะเอาเงิน ๑,๐๐๐ กหาปณะ ก็ทำให้นายกาละตั้งใจฟังธรรมเพิ่มเข้าไปอีก เราต้องจำให้ได้ ธรรมดาสมัยนั้น ใครฟังธรรมด้วยความตั้งใจแล้ว ย่อมได้ชื่อว่า เป็นผู้ฟังธรรมด้วยความเคารพ

 

 ยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคล Total Execution Time: 0.033995163440704 Mins