ความหมายของกายคตาสติ

วันที่ 30 กค. พ.ศ.2558

 

ความหมายของกายคตาสติ

            กายคตาสติ คือ การระลึกถึงส่วนต่างๆ ของร่างกาย ซึ่งเป็นที่ประชุมกันด้วยโกฏฐาสะ 32 หรือ อาการ 32 กายคตาสตินี้มีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ทวัตติงสาการกัมมัฏฐาน ในกายคตาสติสูตรได้กล่าวถึง การมีสติระลึกลักษณะอาการของกายส่วนต่างๆ 31 ประการว่า กายนี้ประกอบไปด้วย

1. ผม (เกสา)

2. ขน (โลมา)

3. เล็บ (นขา)

4. ฟัน (ทันตา)

5. หนัง (ตโจ)

6. เนื้อ (มังสัง)

7. เอ็น (นหารู)

8. กระดูก (อัฐิ)

9. เยื่อในกระดูก (อัฐิมิญชัง)

10. ม้าม (วักกัง)

11. หัวใจ (หทยัง)

12. ตับ (ยกนัง)

13. พังผืด (กิโลมกัง)

14. ไต (ปิหกัง)

15. ปอด (ปัปผาสัง)

16. ไส้ใหญ่ (อันตัง)

17. ไส้น้อย (อันตะคุณัง)

18. อาหารใหม่ (อุทริยัง)

19. อาหารเก่า (กรีสัง)

20. น้ำดี (ปิตตัง)

21. น้ำเสลด (เสมหัง)

22. น้ำเหลือง (ปุพโพ)

23. น้ำเลือด (โลหิตัง)

24. น้ำเหงื่อ (เสโท)

25. น้ำมันข้น (เมโท)

26. น้ำตา (อัสสุ)

27. น้ำมันเหลว (วสา)

28. น้ำลาย (เขโฬ)

29. น้ำมูก (สิงฆาณิกา)

30. น้ำไขข้อ (ลสิกา)

31. น้ำมูตร (มุตตัง)

           ในอรรถกถามีเพิ่มเป็นอาการ 32 คือ เยื่อในสมองศีรษะ (มัตถะเก มัตถลุงคัง)

 

            กายคตาสติที่พระอรรถกถาจารย์และพระพุทธองค์ทรงยกย่องชมเชยนี้ มิได้มุ่งหมายแต่เฉพาะ 32 โกฏฐาสะอย่างเดียว แม้อสุภะ 10 ก็ดี อานาปานสติก็ดี การกำหนดอิริยาบถใหญ่น้อยก็ดี พิจารณาธาตุทั้ง 4 ก็ดี เหล่านี้ล้วนแต่จัดเป็นกายคตาสติด้วยกันทั้งสิ้น ดังที่มีในกายานุปัสสนาแห่งมหาสติปัฏฐานสูตร แต่สำหรับกายคตาสติในอนุสติ 10 นี้ มุ่งหมายเอาเฉพาะแต่ 32 โกฏฐาสะเท่านั้น

 

------------------------------------------------------------------------

 สมถกัมมัฏฐาน 40 วิธี

 
 ยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคล Total Execution Time: 0.02115398645401 Mins