อานิสงส์ของอุปสมานุสติ 1.หลับเป็นสุข 2.ตื่นเป็นสุข 3.มีความสงบ 4.มีหิริโอตัปปะ
...อ่านต่อ
ในคัมภีร์วิสุทธิมรรคกล่าวไว้ว่า เมื่อเจริญอุปสมานุสติอย่างที่ได้อธิบายมานี้ ทำให้ถึงเพียง “ อุปจารสมาธิ” ไม่สามารถส่งผลให้ได้ถึงฌานสมาบัติได้ เพราะว่าในบรรดากัมมัฏฐานทั้งหลาย
...อ่านต่อ
เมื่อรู้ถึงคุณของพระนิพพานด้วยใจจริงอย่างนี้แล้ว ท่านผู้ปรารถนาจะเจริญอุปสมานุสติ ควรอยู่ในที่สงัด แล้วจึงเจริญสมาธิโดยการพิจารณาคุณลักษณะของพระนิพพานตามที่ท่านแสดงไว้ในภาษาบาลีดังต่อไปนี้
...อ่านต่อ
ในการเจริญอุปสมานุสตินี้ ผู้เจริญควรมีความรู้ความเข้าใจในศัพท์ที่พรรณาถึงคุณของพระนิพพาน ทั้ง 29 ประการให้ดีเสียก่อน
...อ่านต่อ
คำว่า อุปสม ท่านให้คำจำกัดความว่า สพฺพทุกฺขอุปสม ซึ่งหมายถึงความสงบแห่งทุกข์ทั้งปวง คำนี้หมายถึงพระนิพพาน ในความหมายที่ว่า เป็นความสงบที่แท้จริง
...อ่านต่อ
อุปสมานุสติไม่ปรากฏเป็นเอกเทศในพระไตรปิฎกนอกจากจะปรากฏอยู่ในรายชื่อ ที่ท่านให้ไว้ในฌานวรรค ในอังคุตตรนิกาย แต่ในคัมภีร์วิสุทธิมรรค
...อ่านต่อ
อานาปานสติ เหมาะกับผู้ที่มีโมหจริตและวิตกจริต เพราะตามธรรมดาโมหะนั้นมีสภาพมืดมัวงมงาย ย่อมทำให้จิตใจฟุ้งซ่านโลเลหวั่นไหวอยู่เนืองนิตย์
...อ่านต่อ
1.ทำให้ได้รูปฌาน 2.ทำให้เป็นบาทของมรรคผล นั่นก็คือ อานาปานสติเป็นสาเหตุแห่งการทำให้วิชชาและวิมุตติเต็มบริบูรณ์ ดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ว่า ถ้าบุคคลปฏิบัติอานาปานสติ เธอชื่อว่าทำสติปัฏฐาน 4 ให้บริบูรณ์ ถ้าบุคคลปฏิบัติสติปัฏฐาน 4 เธอชื่อว่าทำโพชฌงค์ 7 ให้บริบูรณ์ ถ้าบุคคลปฏิบัติโพชฌงค์ 7 เธอชื่อว่าทำวิมุตติและวิชชาให้บริบูรณ์
...อ่านต่อ
การเจริญอานาปานสติมีนิมิต 3 อย่าง คือ “ บริกรรมนิมิต” ได้แก่ ลมหายใจเข้าออก “ คคหนิมิต” คือ บางท่านลมหายใจเข้าออกปรากฏดังปุยนุ่น ปุยสำลีและดุจลมฝน ดุจสายน้ำบ้าง เปลวควันบ้าง บางท่านปรากฏเป็นเหมือนดวงดาว เหมือนพวงแก้วมณี
...อ่านต่อ
การเจริญอานาปานสติหากจะให้จิตสงบถึงระดับอัปปนาสมาธิ ต้องหาสถานที่ที่สงบสงัด เช่น เรือนว่าง ในถ้ำ โคนต้นไม้หรือในป่าที่ไม่มีผู้ใดหรือเสียงรบกวน แม้แต่เสียงเพลง เสียงอึกทึกอื่นๆ เป็นสิ่งที่ควรหลีกเลี่ยง เพราะเสียงเป็นปฏิปักษ์ต่อฌาน เมื่อเลือกสถานที่ได้แล้วให้นั่งคู้บัลลังก์หรือนั่งขัดสมาธิ
...อ่านต่อ
ในการปฏิบัติเมื่อต้องการเจริญอานาปานสติ พระพุทธองค์ทรงแนะนำให้เข้าไปสู่ป่า โคนไม้ หรือเรือนว่าง แล้วให้นั่งคู้บัลลังก์ ตั้งกายตรง ดำรงสติอยู่เฉพาะหน้า มีสติกำหนดลมหายใจเข้าออก ดังที่พระองค์ตรัสไว้ว่า “ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ อยู่ในป่าก็ดี อยู่ที่โคนไม้ก็ดี อยู่ที่เรือนว่างก็ดี นั่งคู้บัลลังก์ ตั้งกายตรง ดำรงสติไว้เฉพาะหน้า เธอมีสติหายใจออก มีสติหายใจเข้า ฯลฯ”4)
...อ่านต่อ
อานาปานสติมาจากคำ 3 คำ ได้แก่ อานะ คือ ลมหายใจเข้า อปานะ คือ ลมหายใจออก สติ คือ ความระลึก ในคัมภีร์มหานิเทศกล่าวว่า อานาปานสติ หรือ อานาปานัสสติ คือ การระลึกอยู่ในลมหายใจเข้าออก หรือ สติที่เกิดขึ้นโดยมีการระลึกอยู่ในลมหายใจเข้าออกลมหายใจนั้นมีอยู่ 2 อย่าง คือลมหายใจเข้ากับลมหายใจออก ในอรรถกถาพระวินัย
...อ่านต่อ
อานาปานสติ เป็นกัมมัฏฐานหนึ่งในอนุสติ 10 และปรากฏอยู่ในสติปัฏฐานด้วย ดังที่พระพุทธองค์ตรัสไว้ว่า ถ้าบุคคลปฏิบัติอานาปานสติ เธอชื่อว่าทำสติปัฏฐาน 4 ให้บริบูรณ์ ถ้าบุคคลปฏิบัติสติปัฏฐาน 4 เธอชื่อว่าทำโพชฌงค์ 7 ให้บริบูรณ์ ถ้าบุคคลปฏิบัติโพชฌงค์ 7 เธอชื่อว่าทำวิมุตติและวิชชาให้บริบูรณ์Ž1)
...อ่านต่อ
1.ทำให้มีความอดทน สามารถดูสิ่งที่น่าเกลียดน่ากลัวได้ 2.ทำให้มีความอดทน ในความร้อน ความหนาว เป็นต้น 3.ทำให้เห็นความเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา และความเป็นอสุภะของร่างกาย
...อ่านต่อ
เมื่อเจริญกายคตาสติไปตามลำดับ ตั้งแต่อุคคหโกสัลละประการแรก อันได้แก่ “ วจสา” คือ ให้ท่องอาการ 32 นั้นให้คล่องปาก เหมือนประหนึ่งท่องที่ศูนย์กลางกายจนขึ้นใจเป็น “ มนสา” จากนั้นภาพของอาการ 32 ข้อใดข้อหนึ่งปรากฏขึ้นเป็น “ บริกรรมนิมิต”
...อ่านต่อ
ในบรรดากัมมัฏฐาน 40 นั้น อนุสติ 10 พรหมวิหาร 4 ทำการปฏิบัติลำบากมากกว่ากัมมัฏฐานอื่นๆ ที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะว่า ผู้ปฏิบัติจะต้องทำการศึกษาให้เข้าใจเป็นอย่างดีเสียก่อน จึงจะลงมือปฏิบัติได้ มิฉะนั้นก็จะปฏิบัติไม่ถูก
...อ่านต่อ
สำหรับการพิจารณาในมนสิการโกสัลละ 10 อย่าง หลังจากอุคคหโกสัลละ ทั้ง 7 ผู้ปฏิบัติ ไม่จำต้องท่องบ่นด้วยวาจาอีกต่อไป คงใช้พิจารณาโกฏฐาสะ 32 เหล่านั้นด้วยใจ
...อ่านต่อ
ผู้ใดพิจารณาโกฏฐาสะอยู่ แต่นิมิตทั้ง 3 คือ วัณณนิมิต สี ปฏิกูลนิมิต ความน่าเกลียด ธาตุนิมิต ความสูญจากการเป็นสัตตชีวะอย่างใดอย่างหนึ่งมิได้ปรากฏเลย ผู้นั้นก็ไม่ควรละทิ้งกัมมัฏฐานนั้นโดยเข้าใจเสียว่า นิมิตไม่ปรากฏแก่เราแล้ว
...อ่านต่อ
ตามธรรมดาคนทั้งหลาย เมื่อได้เห็นกันและกันแล้ว ย่อมสำคัญผิดยึดถือว่าเป็น คนนั้น คนนี้ เป็นชาย เป็นหญิง งาม ไม่งาม อยู่อย่างนี้เสมอไป
...อ่านต่อ
ในการพิจารณาอาการทั้ง 32 มีตัวอย่างการพิจารณา โดยเริ่มต้นที่การพิจารณาผมก่อนในการพิจารณาผมให้ดูผมที่เขาตัดทิ้งไว้ หรือถอนผมของตนเองออกมา 1 หรือ 2 เส้น
...อ่านต่อ
การเจริญท่องบ่นครั้งแรกในหมวดๆ หนึ่งนั้น ผู้เจริญจะต้องท่องบ่นโดยความเป็น ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เป็นต้น ประการเดียว ไม่ต้องพิจารณาโดยความเห็นสี เป็นปฏิกูล เป็นปฐวีธาตุ อาโปธาตุ แต่อย่างใด ฝ่ายอาจารย์ผู้สอนก็ไม่ต้องสอนให้พิจารณาถึงสี ถึงความปฏิกูล ถึงธาตุแต่อย่างใด
...อ่านต่อ

สิ่งดีๆมีไว้แบ่งปัน อะไรดีๆมีอีกเยอะ กด Like facebook กัลยาณมิตร


ยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคล