วิบากกรรมที่ทำให้บรรลุธรรมช้า

วันที่ 15 สค. พ.ศ.2558

 

 

วิบากกรรมที่ทำให้บรรลุธรรมช้า
           เมื่อศึกษาพุทธประวัติอย่างละเอียดแล้วจะพบว่า แม้แต่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าก็ไม่ทรงสามารถหลีกเลี่ยงกฎแห่งกรรมพ้น ดังนั้นเราไม่ควรสร้างกรรมแม้เพียงเล็กน้อย เพราะแม้จะทำไปด้วยความไม่รู้ ก็ต้องได้รับผลของกรรมนั้น ดังเรื่องราวที่เกิดขึ้นในสมัยพระกัสสปพุทธเจ้า ในชาตินั้น
           พระสัมมาสัมพุทธเจ้าของเราบังเกิดเป็นลูกของพราหมณ์ ชื่อว่า โชติปาละ และเมื่อ ฆฏิการะ ซึ่งเป็นเพื่อนมาชวนให้ไป ฟังธรรมจากพระกัสสปพุทธเจ้า เขาจึงกล่าวจาบจ้วงไปว่า “การตรัสรู้ของสมณะโล้นจักมีมาแต่ที่ไหน เพราะการตรัสรู้ ธรรมเป็นสิ่งที่ทำได้โดยยากยิ่ง” ด้วยวิบากกรรมนี้เอง
            ทำให้ในชาติสุดท้ายทรงได้รับทุกขเวทนาแสนสาหัสในการ บำเพ็ญทุกรกิริยา ตั้งแต่การกดพระทนต์ด้วยพระทนต์ (ฟัน) กดพระตาลุ (เพดานปาก) ด้วยพระชิวหา (ลิ้น) การผ่อนกลั้น ลมอัสสาสะ ปัสสาสะ (ทรงกลั้นลมหายใจเข้าออกให้เดิน ไม่สะดวก) การอดพระกระยาหารจนแทบสิ้นพระชนม์ และเมื่อลูบพระวรกายก็มีเส้นพระโลมา (ขน) ติดออกมาด้วย ซึ่งพระองค์ต้องทรงทรมานพระวรกายอย่างนี้นานถึง ๖ ปี
           ถึงจะค้นพบทางสายกลางแล้วได้ตรัสรู้ธรรม ดังนั้น หากมีคนชวนเราให้เข้าวัดมานั่งสมาธิ ปฏิบัติธรรม ก็อย่าเพิ่งไปกล่าวจาบจ้วงหรือเผลอพูดไปด้วย ความไม่รู้ในทำนองว่า “ไม่เชื่อ เป็นเรื่องงมงาย เป็นสิ่งที่
พิสูจน์ไม่ได้” เพราะหากเผลอพูดไปอาจได้รับวิบากกรรม โดยที่เราไม่รู้ตัว ตรงกันข้ามเราควรจริงจังในการพิสูจน์ก่อนจะ พูดว่าพิสูจน์ไม่ได้ โดยการลองนั่งสมาธิอย่างจริงจังต่อเนื่องดูก่อน ท้ายที่สุดแล้วการฝึกสมาธิย่อมเกิดผลดีต่อผู้ปฏิบัติแน่นอน

 

 

 

ฉบับที่ ๑๕๒
ประจำ เดือนมิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๘

 

 

 ยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคล Total Execution Time: 0.022766598065694 Mins