ฉบับที่ 107 กันยายน ปี2554

ผู้ให้ที่พักอาศัยชื่อว่าให้ทุกสิ่ง

บทความพิเศษ
เรื่อง : มาตา

 




 

ผู้ให้ที่พักอาศัยชื่อว่าให้ทุกสิ่ง

"บุคคลให้อาหารชื่อว่าให้กำลัง ให้ผ้าชื่อว่าให้วรรณะ

ให้ยานพาหนะชื่อว่าให้ความสุข ให้ประทีปโคมไฟชื่อว่าให้จักษุ

ให้ที่พักอาศัยชื่อว่าให้ทุกสิ่งทุกอย่าง ผู้พร่ำสอนธรรม ชื่อว่าให้อมฤตธรรม"


 

    เมื่อกวาดสายตามองพุทธพจน์นี้แล้ว ก็สะดุดใจตรงคำว่า “ให้ทุกสิ่ง” ในขณะเดียวกันก็รู้สึก ดีมาก ๆ ถ้าชีวิตนี้จะมีโอกาสเป็นผู้ให้ทุกสิ่ง แต่ก่อนอื่นก็ยังอยากทำความเข้าใจกับคำว่า “ให้ทุกสิ่ง” ให้มากกว่านี้ จึงไปสอบถามผู้รู้ ซึ่งท่านก็อธิบายให้ฟังว่า ให้ทุกสิ่งก็คือให้ทั้ง ๔ ประการข้างต้นตามพุทธพจน์ คือให้กำลัง ให้วรรณะ ให้ความสุข และให้จักษุ ทั้งนี้เพราะที่พักอาศัยเป็นสถานที่ที่ช่วยให้มนุษย์เราสามารถทำกิจวัตรประจำวันทุกประการได้อย่างเป็นปกติสุข รวมทั้งช่วยป้องกันความทุกข์ อันตราย และโรคภัยต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้นจากความร้อน ความหนาว ลม แดด ฝน สัตว์ร้าย แมลง นอกจากนี้ยังช่วยป้องกันภัยจาก พวกมิจฉาทิฐิได้อีกด้วย กุศลผลบุญจากการให้ทุกสิ่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งแก่ผู้มีศีลมีธรรม จึงส่งผลให้ชีวิตของผู้ให้เจริญรุ่งเรืองขึ้นอย่างอัศจรรย์ จากคนยากจนก็กลายเป็นมหาเศรษฐีได้ --จากสามัญชนก็กลายเป็นพระราชามหากษัตริย์ได้ --จากปุถุชนคนธรรมดาก็หมดกิเลส อาสวะกลายเป็นพระอริยเจ้าได้

          ดังเรื่องราวของพระเจ้ามหากัปปินะ ผู้เคยสร้างวิหาร (ที่พักของพระภิกษุ) ถวายแด่คณะสงฆ์ ในอดีตชาติ

 




          

          ...ในสมัยของพระกัสสปสัมมาสัมพุทธเจ้า พระราชามหากัปปินะเกิดเป็นหัวหน้าช่างหูก อาศัยอยู่ในกรุงพาราณสี วันหนึ่ง หัวหน้าช่างหูกได้ยินเสียงป่าวประกาศให้ไปฟังธรรม เขาจึงชักชวนภรรยาและเพื่อนบ้านเดินทางไปฟังธรรม ที่วัด แต่ยังไปไม่ทันถึงสถานที่แสดงธรรมก็มีฝนตกลงมาอย่างหนัก บรรดาผู้ไปฟังธรรมต่างพากันเข้าไปขอหลบฝนในกุฏิของพระภิกษุสามเณรที่ คุ้นเคย แต่หัวหน้าช่างหูกและเพื่อนบ้านไม่กล้าเข้าไปหลบฝนในกุฏิหรือศาลาหลังไหน เพราะไม่รู้จักพระภิกษุสามเณรรูปใดเลย และไม่เคยสร้างศาลาหรือวิหารใด ๆ ไว้ในพระศาสนา จึงได้แต่ยืนกางร่มอยู่กลางแจ้งด้วยความเก้อเขิน และโดนฝนสาดเปียกปอนไปตาม ๆ กัน

          แต่หัวหน้าช่างหูกเป็นคนมีปัญญาสอนตัวเองได้ เมื่อพิจารณาเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นแล้ว เขาก็รู้ว่าอะไรทำให้พวกเขาต้องมายืนตากฝนอยู่ท่ามกลางวัดเช่นนี้ เขาจึงกล่าวกับเพื่อนบ้านว่า “ที่เราต้องมายืนตากฝนอยู่อย่างนี้ เพราะเราไม่เคยทำบุญสร้างกุฏิ ศาลา หรือวิหารถวายวัดเลย เราควรร่วมมือร่วมใจกันสร้างวิหารหลังใหญ่สักหลังหนึ่ง จะได้อาศัยร่มเงาในบวรพระพุทธศาสนาเพื่อสร้างบารมีอย่างสะดวกสบาย เกิดกี่ภพกี่ชาติจะได้มีที่อยู่อาศัย มีเสนาสนะไว้สำหรับประพฤติธรรมอย่างสะดวกสบาย ไม่ต้องมายืนเปียกฝน เช่นนี้อีกต่อไป”

          หัวหน้าช่างหูก เพื่อน ๆ และทุกคนในครอบครัว จึงร่วมกันบริจาคทรัพย์สร้างมหาวิหารหลังใหญ่ มีเรือนยอดพันหลังเป็นบริวาร ไว้ในวัดนั้น เพื่อเป็นที่ประทับของพระบรมศาสดา โดยหัวหน้าช่างหูกบริจาค ๑,๐๐๐ กหาปณะ เพื่อน ๆ บริจาคคนละ ๕๐๐ กหาปณะ ผู้หญิงบริจาคคนละ ๒๕๐ กหาปณะ แต่ปรากฏว่าทรัพย์ไม่เพียงพอ ในการก่อสร้าง เพราะเป็นงานใหญ่มาก หัวหน้าช่างหูกและเพื่อน ๆ จึงทุ่มบริจาคเงินเพิ่มขึ้นจนกระทั่งการก่อสร้างสำเร็จตามประสงค์ เมื่อสร้างเสร็จก็ฉลองด้วยการถวายมหาทานแด่คณะพระภิกษุ ที่มีพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นประมุขตลอด ๗ วัน พร้อมทั้งถวายจีวรแด่พระภิกษุ ๒๐,๐๐๐ รูป

          ฝ่ายภรรยาของหัวหน้าช่างหูก นอกจากจะทำบุญทุกอย่างเหมือนคนอื่น ๆ แล้ว ยังตั้งใจจะถวายทานที่พิเศษกว่าใคร ๆ ด้วยความคิดว่า “เราจะบูชาพระศาสดาให้ยิ่งกว่าคนอื่น” นางจึงถวายผอบดอกอังกาบกับผ้าสาฎกที่มีสีเหลืองเหมือนดอกอังกาบแด่พระสัมมาสัมพุทธเจ้า แล้วตั้งความปรารถนาว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอสรีระของหม่อมฉันจงมีสีดุจดอกอังกาบนี้ และขอให้หม่อมฉันจงมีนามว่าอโนชาด้วยเถิด” พระบรมศาสดาทรงอนุโมทนาว่า “จงสำเร็จอย่างนั้นเถิด”

          นับจากนั้น หัวหน้าช่างหูกและเพื่อน ๆ ก็หาโอกาสสั่งสมบุญเรื่อยมา เมื่อละโลกไปแล้ว ด้วยอานิสงส์ที่ถวายวิหารในครั้งนั้น ทำให้พวกเขาได้ไปเสวยทิพยสมบัติในสวรรค์เป็นเวลานานถึงหนึ่งพุทธันดร เมื่อจุติจากอัตภาพนั้น ด้วยอานุภาพบุญเขาได้มาบังเกิดในตระกูลกษัตริย์ในกุกกุฏวดีนคร เมื่อเจริญวัยแล้วได้เป็นพระราชา มีพระนามว่า “พระเจ้ามหากัปปินะ” มีมเหสีคู่บุญที่มีผิวพรรณเหมือนดอกอังกาบ มีพระนามว่า “อโนชา” ส่วนผู้ที่เคยร่วมบุญสร้างวิหารด้วยกันก็มาเกิดเป็นข้าราชบริพาร

 




 

          วันหนึ่ง พระราชากัปปินะได้ยินถ้อยคำอันเป็นสิริมงคลจากพ่อค้าที่เดินทางมาจากนครสาวัตถีว่า “พระพุทธเจ้าทรงอุบัติขึ้นแล้ว พระธรรมอุบัติขึ้นแล้ว พระสงฆ์อุบัติขึ้นแล้ว” ก็เกิดมหาปีติซาบซ่านไปทั่วสรรพางค์กาย พระราชารวมทั้งอำมาตย์อีกหนึ่งพันต่างพร้อมใจกันเดินทางไปเข้าเฝ้าพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทันที เพื่อบวชอุทิศแด่พระศาสดา

          เมื่อได้ฟังธรรมแล้ว พระราชาและข้าราชบริพารได้บรรลุโสดาปัตติผล แล้วทูลขอบรรพชา พระบรมศาสดาทรงเห็นว่า “บุคคลเหล่านี้ เคยถวายจีวรพันผืนแด่พระปัจเจกพุทธเจ้าพันองค์ และในกาลแห่งพระพุทธเจ้าพระนามว่ากัสสป ได้ถวายจีวร ๒๐,๐๐๐ ผืน แด่พระภิกษุ ๒๐,๐๐๐ รูป จึงประทานการบวชแบบเอหิภิกขุอุปสัมปทา ด้วยการเหยียดพระหัตถ์ขวาแล้วตรัสว่า “ท่านทั้งหลายจงเป็นภิกษุมาเถิด จงประพฤติพรหมจรรย์ เพื่อทำที่สุดแห่งทุกข์โดยชอบเถิด” และต่อมาเมื่อได้ฟังธรรมครั้งที่ ๒ พระมหากัปปินะและพระภิกษุที่เคยเป็นข้าราชบริพารได้บรรลุธรรมเป็นพระอรหันต์ผู้ทรงอภิญญา

 




 

          ส่วนพระนางอโนชา เมื่อทรงทราบว่า พระราชาเสด็จออกบวช ก็ทรงปรารถนาที่จะบวชเช่นกัน จึงเดินทางไปเฝ้าพระบรมศาสดาแล้วทูลขอบวชเป็นภิกษุณี และต่อมาได้บรรลุอรหัตผล หลุดพ้นจากการร้อยรัดของกิเลสอาสวะที่ก่อให้เกิดทุกข์ทั้งปวง

          อานิสงส์ของการถวายวิหารทานทำให้ ผู้ถวายสมบูรณ์พร้อมในทุกสิ่งได้จริง ๆ ตามเรื่องราวในพระไตรปิฎกข้างต้น คือถึงพร้อมด้วยมนุษย์

บทความนี้ ถูกใจคุณหรือไม่ + -

* * อยู่ในบุญ แนะนำ/เกี่ยวข้อง * *

สิ่งดีๆมีไว้แบ่งปัน อะไรดีๆมีอีกเยอะ กด Like facebook กัลยาณมิตร

 ยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคล