ฉบับที่ 55 พฤษภาคม ปี 2550

หลวงพ่อตอบปัญหา : ทำไมต้องมานั่งสมาธิด้วย การทำทานรักษาศีล ไม่พอหรือ

 

   

 

       ลูกเคยชวนเพื่อนมานั่งสมาธิ เขากลับบอกว่าคนอยู่ทางโลกอย่างเรา แค่ทำทาน รักษาศีล ก็พอแล้ว ทำไมต้องมานั่งสมาธิด้วย ลูกจะอธิบายให้เขาเข้าใจได้อย่างไรเจ้าคะ ?

         ในการตอบคำถามเพื่อให้เห็นความสำคัญของการนั่งสมาธินั้น ในขั้นต้นต้องดูก่อนว่า เขาสนใจคำสอนในพระพุทธศาสนามากน้อยแค่ไหน

 

  ประโยชน์ของการฝึกสมาธิ

       คนบางประเภท แม้ไม่ค่อยได้สนใจคำสอนในพระพุทธศาสนามากนัก แต่ว่าเขาก็ยังตักบาตร ให้ทาน รักษาศีลไปตามประเพณีเพราะฉะนั้น  ถ้าปรากฏว่าเพื่อนของเราเป็นคนประเภทนี้  เราต้องไปช่วยชี้  ช่วยแนะให้เขาดูว่า  การทำทานทำให้เขามีความสบายใจดี  แต่ถ้าจะให้มีความสบายใจและได้บุญมากยิ่งขึ้น  ก่อนทำทานลองนั่งสมาธิดูสักหน่อย  ใจจะได้ใสๆบุญที่ได้ก็จะมีคุณภาพมากกว่าการทำทานอย่างเดียวในทำนองเดียวกัน ถ้าเขารักษาศีลดีอยู่แล้วก็บอกกับเขาว่า รักษาศีลดี ๆ อย่างนี้ ถ้าได้นั่งสมาธิอีกสักหน่อยให้ใจใสๆศีลที่เขารักษาก็จะได้มั่นคงยิ่งขึ้นสำหรับระยะแรก ๆ เราคงอธิบายให้เขาเข้าใจได้ในระดับนี้ แต่ว่าหลังจากที่เขานั่งสมาธิไปได้สักระยะหนึ่งแล้วเราจึงค่อย ๆ อธิบายให้เขาเข้าใจลุ่มลึกยิ่งขึ้นไปอีกตามลำดับ ๆ ตามแต่จะเห็นสมควร โดยเอาประสบการณ์จากที่เราเคยมีในการนั่งสมาธิมาแรมปี ไปค่อย ๆ อธิบายให้เขาฟัง เขาก็จะเข้าใจได้ง่ายขึ้น ส่วนคนอีกประเภทหนึ่งนั้น ทั้งตั้งใจให้ทาน ตั้งใจรักษาศีล แล้วก็ศึกษาธรรมะด้วย เช่น ศึกษาว่ารักษาศีลอย่างไรศีลของตนจึงจะบริสุทธิ์ ทำทานอย่างไรจึงจะได้บุญมาก ๆ แต่ว่ายังมองไม่เห็นคุณค่าที่แท้จริงของการฝึกสมาธิ เช่น มีครูบาอาจารย์บางท่านทั้งที่เป็นพระภิกษุ แต่กลับพูดว่าท่านมีสมาธิดีอยู่แล้ว จะต้องมาฝึกสมาธิอีกทำไม อย่างนี้ก็มีเหมือนกัน สำหรับคนประเภทนี้ ถ้าไม่ถึงกับต่อต้าน ก็ยังพอจะอธิบายให้เขาเข้าใจได้บ้างในระดับหนึ่ง ยกตัวอย่าง อธิบายให้เขาฟังง่ายๆว่า ถึงแม้จะให้ทาน จนสามารถกำจัดความตระหนี่ออกไปจากใจได้แล้ว ถึงแม้จะตั้งใจรักษาศีล จนทำให้สามารถควบคุมกิริยามารยาท ควบคุมความวิปริตทางกาย ทางวาจา  ทางใจ ได้ดี

 

 

             วิธีที่จะให้ใจหายล้า หายเพลีย หายเหนื่อย หายหน่ายได้ง่ายๆ ซึ่งเป็นเรื่องของการฟื้นฟูใจ การให้กำลังใจตัวเองขึ้นมาก็ไม่มีอะไรเกินการทำสมาธิ

           แต่ว่าที่ทำมาทั้งหมดนั้น ก็ยังทำให้ใจของเขาใสไม่พอ เมื่อใจใสไม่พอ คุณต้องคิดนะว่า ขณะที่คุณให้ทาน รักษาศีล เป็นประจำ แต่ว่าหลาย ๆ ครั้งก็ยังมีเรื่องที่มาทำให้คุณขุ่นใจ ทำให้นอนไม่หลับ ทำให้คิดฟุ้งซ่าน หรือบางครั้งถึงกับต้องกระทบกระทั่งแตกหักกับพรรคพวกเพื่อนฝูงก็ยังมี แล้วคุณไม่คิดที่จะแก้ไขสิ่งเหล่านี้บ้างหรอกหรือวิธีที่จะแก้ไขความใจขุ่นได้ง่าย ๆ โดยไม่ต้องลงทุนอะไรเลยก็คือ คุณลองมาฝึกสมาธิสักหน่อย เพราะการฝึกสมาธิเป็นเรื่องของการฝึกหักห้ามใจลักษณะหนึ่งคือให้เขาฝึกสมาธิเพื่อสำหรับใช้เป็นเครื่องหักห้ามใจนั่นเองหรือถ้าเขาเป็นนักทำงาน ที่ไม่ค่อยได้กระทบกระทั่งอะไรกับใคร แต่่่นักทำงานพอถึงจุดหนึ่งเข้าแล้วมักจะล้า วิธีที่จะทำให้ใจหายล้า หายเพลีย หายเหนื่อย หายหน่าย ได้ง่าย ๆ ซึ่งเป็นเรื่องของการฟื้นฟูใจ การให้กำลังใจตัวเองขึ้นมาก็ไม่มีอะไรเกินการทำสมาธิพูดง่าย ๆ ก็คือนำอานิสงส์ของการฝึกสมาธิในแง่มุมต่าง ๆ มาอธิบายให้เขาฟัง ให้เหมาะกับจริตอัธยาศัยของเขาให้ได้ ก็จะสามารถชวนให้เขามาเข้าวัด ปฏิบัติธรรมนั่งสมาธิภาวนา ร่วมกับคุณได้ไม่ยากจนเกินไปเช่น มีครูบาอาจารย์บางท่านทั้งที่เป็นพระภิกษุ แต่กลับพูดว่าท่านมีสมาธิดีอยู่แล้ว จะต้องมาฝึกสมาธิอีกทำไม อย่างนี้ก็มีเหมือนกัน สำหรับคนประเภทนี้ ถ้าไม่ถึงกับต่อต้านก็ยังพอจะอธิบายให้เขาเข้าใจได้บ้างในระดับหนึ่ง ยกตัวอย่าง อธิบายให้เขาฟังง่าย ๆ ว่า ถึงแม้จะให้ทาน จนสามารถกำจัดความตระหนี่ออกไปจากใจได้แล้ว ถึงแม้จะตั้งใจรักษาศีลจนทำให้สามารถควบคุมกิริยามารยาท ควบคุมความวิปริตทางกาย ทางวาจา ทางใจ ได้ดี แต่ว่าที่ทำมาทั้งหมดนั้น ก็ยังทำให้ใจของเขาใสไม่พอ เมื่อใจใสไม่พอ คุณต้องคิดนะว่า ขณะที่คุณให้ทาน รักษาศีล เป็นประจำ แต่ว่าหลาย ๆครั้งก็ยังมีเรื่องที่มาทำให ้คุณขุ่นใจ ทำให้นอนไม่หลับ ทำให้คิดฟุ้งซ่าน หรือบางครั้งถึงกับต้องกระทบกระทั่งแตกหักกับพรรคพวกเพื่อนฝูงก็ยังมีแล้วคุณไม่คิดที่จะแก้ไขสิ่งเหล่านี้บ้างหรอกหรือวิธีที่จะแก้ไขความใจขุ่นได้ง่าย ๆ โดยไม่ต้องลงทุนอะไรเลยก็คือ คุณลองมาฝึกสมาธิสักหน่อยเพราะการฝึกสมาธิเป็นเรื่องของการฝึกหักห้ามใจลักษณะหนึ่ง คือให้เขาฝึกสมาธิเพื่อสำหรับใช้เป็นเครื่องหักห้ามใจนั่นเองหรือถ้าเขาเป็นนักทำงาน ที่ไม่ค่อยได้กระทบกระทั่งอะไรกับใคร แต่นักทำงานพอถึงจุดหนึ่งเข้าแล้วมักจะล้า วิธีที่จะทำให้ใจหายล้า หายเพลีย หายเหนื่อย หายหน่าย ได้ง่าย ๆ ซึ่งเป็นเรื่องของการฟื้นฟูใจ การให้กำลังใจตัวเองขึ้นมาก็ไม่มีอะไรเกินการทำสมาธิพูดง่าย ๆ ก็คือนำอานิสงส์ของการฝึกสมาธิในแง่มุมต่าง ๆ มาอธิบายให้เขาฟัง ให้เหมาะกับจริตอัธยาศัยของเขาให้ได้ ก็จะสามารถชวนให้เขามาเข้าวัดปฏิบัติธรรมนั่งสมาธิภาวนา ร่วมกับคุณได้ไม่ยากจนเกินไป

ช่วงเวลาที่เหมาะแก่การไปชวนคนให้มาฝึกสมาธิ

         ขอแถมอีกนิดหนึ่งก็แล้วกัน ในวาระที่จะชวนคนมาเข้าวัด มาปฏิบัติธรรมได้ง่าย ๆ ทั้งที่ธรรมดาเขาค่อนข้างจะเป็นคนดื้อก็คือ

๑. ตอนที่เขาป่วย
๒. ตอนที่เขามีทุกข์

       ตอนกำลังป่วยก็ทุกข์กายนั่นเอง ไม่ว่าจะทุกข์กาย ทุกข์ใจ ทุกข์ในเรื่องของครอบครัว ทุกข์จากที่ทำงานหรือทุกข์จากอะไรก็ตาม
       ตอนกำลังมีทุกข์คนเราย่อมต้องการที่พึ่งกันทั้งนั้น เราก็อาศัยจังหวะนั้นแหละ ชวนเขามาทำสมาธิ แล้วจะไม่พลาดสักรายทีเดียว

บทความนี้ ถูกใจคุณหรือไม่ + -

สิ่งดีๆมีไว้แบ่งปัน อะไรดีๆมีอีกเยอะ กด Like facebook กัลยาณมิตร

 ยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคล