นิทานอีสป พร้อมคติสอนใจ

สุนัขจิ้งจอกหางด้วน

นิทานอีสป เรื่องสุนัขจิ้งจอกหางด้วน
ผู้แต่ง : อีสป
 

 สุนัขจิ้งจอกหางด้วน  , นิทานอีสป , อีสป , นิทานสอนใจ , นิทานอีสปสอนใจ , นิทาน , aesop fables ,  aesop , พุทธภาษิต , นิทานเรื่องนี้สอนให้รู้ว่า , พุทธพจน์

 

   สุนัขจิ้งจอกตัวหนึ่งหลุดออกจากกับดักของนายพรานมาได้เพราะดิ้นหนีจนหางขาดติดอยู่ที่กับดัก หมาจิ้งจอกรู้สึกอับอายมากที่หางด้วนเมื่อกลับเข้าฝูงจึงพูดจาหว่านล้อมให้สุนัขจิ้งจอกทุกตัวตัดหางทิ้งจะได้หางด้วนเหมือนกับตน

             “ข้าเพิ่งคิดออกว่า หางที่เป็นพวงยาวนี่มันช่างเกะกะ รุ่มร่ามจริงๆ วิ่งก็ช้า ข้าจึงตัดหางทิ้งซะ…ทำให้สง่างาม  โดดเด่น และวิ่งเร็วขึ้นกว่าเดิมเยอะเลย พวกเจ้าก็น่าจะตัดหางทิ้งเหมือนข้านะ”  แล้วเพื่อนๆของมันทั้งหมด ต่างก็คล้อยตามไปกับวาจาที่เจ้าเล่ห์นั่น

 

           สุนัขจิ้งจอกอาวุโสตัวหนึ่ง ที่คอยเฝ้าดูเหตุการณ์อยู่ใกล้ๆจึงพูดขึ้นว่า “พวงหางที่ดูสวยงามของพวกเราเป็นสิ่งที่มีค่า เราควรภาคภูมิใจกับมันแล้วข้าก็เห็นว่าสุนัขจิ้งจอกหางด้วนไม่เห็นมีอะไรวิเศษตรงไหน! เจ้าอย่าพยายามมาหลอกพวกเราให้ยากเลยดีกว่า เจ้าอับอายที่ไม่มีหาง ก็เลยคิดจะให้พวกเราตัดหางทิ้งเหมือนอย่างเจ้าใช่ไหมล่ะ”

             ในเวลานั้น สุนัขจิ้งจอกหางด้วนรู้สึกสมเพชตัวเอง และอับอายเป็นอย่างมากส่วนเพื่อนสุนัขจิ้งจอกตัวอื่น เมื่อได้ฟัง  ก็พากันเมินหน้าหนีไม่มีตัวใดหลงเชื่อและและคิดอยากคบค้าสมาคมกับสุนัขจิ้งจอกหางด้วนอีกเลย

 

 

:: นิทานเรื่องนี้สอนให้รู้ว่า ::

1) “สิ่งที่ตนเห็นว่าน่าอับอาย ก็ไม่ควรหว่านล้อมให้ผู้อื่นเห็นดีด้วย”
2) “ผู้มีปัญญาย่อมไม่คล้อยตามคำพูดของใครง่ายๆ”

 

:: พุทธภาษิต ::

ปรสฺส วา อตฺตโน วาปิ เหตุ น ภาสติ อลิกํ ภูริปญฺโญ
โส ปูชิโต โหติ สภาย มชฺเฌ ปจฺฉาปิ โส สุคติคามิ โหติ

ผู้มีภูมิปัญญา ย่อมไม่พูดพล่อยๆ เพราะเหตุแห่งคนอื่น หรือตนเอง
ผู้นั้นย่อมมีผู้บูชาในท่ามกลางชุมชน (สภา) แม้ภายหลังเขาย่อมไปสู่สุคติ

 

บทความนี้ ถูกใจคุณหรือไม่ + -
 ยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคล