ฉบับที่ ๒๔ ประจำเดือนตุลาคม พ.ศ. ๒๕๔๗

พุทธประวัติ หน่วยของเวลา "มหากัป" เรียบเรียงจากพระธรรมเทศนา พระราชภาวนาวิสุทธิ์ (หลวงพ่อธัมมชโย)

กาลเวลาที่เรียกว่า อสงไขย คือ การกำหนดเวลาที่จะนับจะประมาณไม่ได้ ซึ่งมีอุปมาเปรียบเทียบไว้ว่า

 
ถ้านับเม็ดฝนที่ตกลงมาทั้งวันทั้งคืน
ตลอดทั้ง 3 ปี ไม่ได้ขาดเลย
จนกระทั่งเต็มท่วมขอบจักรวาล
มีระดับความสูง 84,000 โยชน์ อย่างต่อเนื่องได้ 1 อสงไขย ก็คือจำนวนเม็ดฝน
ที่นับได้เป็น 1 อสงไขย
ส่วนกาลเวลาที่เรียกว่า มหากัป คือ ระยะเวลาที่โลกเกิดขึ้น ตั้งอยู่ และเสื่อมสลายไป
ซึ่งมีอุปมาเปรียบเทียบไว้ว่า มีภูเขาศิลาแท่งทึบ กว้าง ยาว สูง อย่างละ 1 โยชน์
 
               เรามาศึกษากาลเวลาที่เรียกว่า อสงไขย ที่เราได้ยินว่า ๒๐ อสงไขย ๔๐ อสงไขย ๘๐ อสงไขย อสงไขยคืออะไร

               กาลเวลาที่เรียกว่า อสงไขย คือการกำหนดเวลาที่นับประมาณมิได้ ซึ่งมีอุปมาเปรียบเทียบเอาไว้ว่า ฝนตกใหญ่อย่างมโหฬารทั้งวันทั้งคืน เป็นเวลานานถึง ๓ ปี ไม่ได้ขาดสายเลย จนกระทั่งน้ำฝนท่วมเต็มขอบจักรวาล ซึ่งมีระดับความสูง ๘๔,๐๐๐ โยชน์ หากว่ามีใครสามารถนับเม็ดฝนที่ตกลงมาตลอดทั้ง ๓ ปีได้ นับได้เท่าไร นั่นคือระยะเวลา ๑ อสงไขย
เมื่อครบร้อยปี
จะมีเทวดาเอาผ้าทิพย์ที่บางเบามาลูบภูเขานี้ ๑ ครั้ง
เมื่อใดที่เทวดานั้นเอาผ้าทิพย์บางเบามาลูบ จนภูเขาสึกกร่อนเรียบเสมอพื้นดิน จึงเรียกว่า มหากัป
 
หรือ มีกำแพงสี่เหลี่ยมใหญ่มหึมา มีความกว้าง ยาว ลึก อย่างละ 1 โยชน
 
               ส่วนกาลเวลาที่เรียกว่า มหากัป คือ ระยะเวลาที่โลกเกิดขึ้น ตั้งอยู่ และเสื่อมสลายไป ซึ่งมีอุปมาเปรียบเทียบไว้ว่า มีภูเขาศิลาแท่งทึบ กว้าง ยาว สูง อย่างละ ๑ โยชน์ เมื่อครบ ๑๐๐ ปีทิพย์ จะมีเทวดานำผ้าทิพย์ที่บางเบาเหมือนควันมาลูบ ๑ ครั้ง เมื่อใดที่เทวดาได้นำผ้าทิพย์บางเบาเหมือนควันมาลูบ จนภูเขาสึกกร่อนเรียบเสมอพื้นดิน เมื่อนั้นจึงจะเรียกว่า ๑ มหากัป

               หรืออีกอุปมาหนึ่งว่า มีกำแพงสี่เหลี่ยมขนาดใหญ่มหึมา มีความกว้าง ยาว ลึกอย่างละ ๑ โยชน์ เมื่อครบ ๑๐๐ ปีทิพย์จะมีเทวดาองค์หนึ่ง นำเมล็ดพันธุ์ผักกาดซึ่งเมล็ดนิดเดียว มาหยอดใส่ในกำแพงสี่เหลี่ยมนั้น ๑ เมล็ด เมื่อใดที่เทวดานั้นนำเมล็ดผักกาดมาหยอดใส่จนเต็มเสมอขอบปากกำแพงนั้น เมื่อนั้นจึงจะเรียกว่า ๑ มหากัป
พอถึงร้อยปีจะมีเทวดาองค์หนึ่ง เอาเมล็ดผักกาดมาหยอดใส่ในกำแพงสี่เหลี่ยมนี้ 1 เมล็ด
เมื่อใดที่เทวดานั้นเอาเม็ดผักกาดมาหยอดใส่จนเต็ม เสมอขอบปากกำแพงนั้นแล้ว เมื่อนั้นจึงเรียกว่า มหากัป
 
ในมหากัปยังแบ่งออกเป็น 4 อสงไขยกัป หากจะอธิบายให้ง่ายขึ้น ก็คือสมมุติว่าเรามีเค็กอยู่ 1 ก้อนในแต่ละชิ้นมีระยะเวลาเท่ากับ 64 อันตรกัป
 

               มหากัปนั้นจะแบ่งเป็น ๔ ช่วง โดยสมมุติว่า เรามีเค้กอยู่ก้อนหนึ่ง เราแบ่งเค้กนั้นออกเป็น ๔ ชิ้นเท่ากัน ในแต่ละชิ้นมีระยะเวลาเท่ากับ ๖๔ อันตรกัป

               ชิ้นที่ ๑ มีชื่อเรียกว่า สังวัฏฏอสงไขยกัป หมายถึง ช่วงที่โลกกำลังถูกทำลาย หรือกัป กำลังพินาศอยู่ เป็นช่วงที่เกิดบรรลัยกัลป์ อาจจะ เป็นไฟบรรลัยกัลป์ เกิดไฟไหม้ หรือน้ำบรรลัยกัลป์ เกิดน้ำท่วม หรือลมบรรลัยกัลป์ เกิดลมพายุ อย่างใดอย่างหนึ่ง สมมุติว่า เกิดไฟบรรลัยกัลป์ ใช้เวลาถึง ๖๔ อันตรกัป

               ชิ้นที่ ๒ มีชื่อเรียกว่า สังวัฏฏฐายีอสงไขย-กัป หมายถึง ช่วงที่โลกถูกทำลาย เรียบร้อยไปแล้ว จนเหลือแต่อวกาศว่างเปล่า สมมุติว่า ไฟบรรลัย-กัลป์ไหม้ไปแล้ว ช่วงนี้ไฟเริ่มมอด แต่ยังระอุอยู่เป็นเวลาถึง ๖๔ อันตรกัป

               ชิ้นที่ ๓ มีชื่อเรียกว่า วิวัฏฏอสงไขยกัป หมายถึง ช่วงที่โลกกำลังพัฒนาสู่ภาวะปกติ หรือกัปที่เจริญขึ้น เป็นช่วงที่แผ่นดินเริ่มก่อตัวใหม่ ซึ่งต้องใช้เวลาถึง ๖๔ อันตรกัป

               ชิ้นที่ ๔ มีชื่อเรียกว่า วิวัฏฏฐายีอสงไขยกัป หมายถึง ช่วงที่โลกเจริญขึ้น พัฒนาเรียบร้อย เป็นปกติตามเดิม คือ มีสิ่งมีชีวิตปรากฏเกิดขึ้น มีต้นไม้ ภูเขา คน สัตว์ สิ่งของ ซึ่งเป็นช่วงที่เรากำลังอยู่ โดยเริ่มจากอาภัสราพรหม ลงมากินง้วนดิน ใช้เวลาถึง ๖๔ อันตรกัป

ชิ้นที่ 1 เรียกว่า สังวัฏฏอสงไขยกัป หมายถึง ช่วงที่โลกถูกทำลาย หรือกัปกำลังพินาศอยู่
ใช้เวลาถึง 64 อันตรกัป
ชิ้นที่ 2 เรียกว่า สังวัฏฏฐายีอสงไขยกัป หมายถึง ช่วงที่โลกถูกทำลายเรียบร้อยเเล้ว จนเหลือแต่อวกาศว่างเปล่า ใช้เวลาถึง 64 อันตรกัป
 
ชิ้นที่ 3 เรียกว่า วิวัฏฏอสงไขยกัป หมายถึง ช่วงที่โลกกำลังเริ่มพัฒนาเข้าสู่ภาวะปกติ หรือกัปที่เจริญขึ้น ใช้เวลาถึง 64 อันตรกัป
ชิ้นที่ 4 เรียกว่า วิวัฏฏฐายีอสงไขยกัป หมายถึง เป็นช่วงที่โลกเจริญขึ้น พัฒนาเรียบร้อยเป็นปกติตามเดิม หรือ กัปที่เจริญขึ้นพร้อมเเล้วทุกอย่างตั้งอยู่ตามปกติ ใช้เวลาถึง 64 อันตรกัป
 
               ต่อจากนี้เรามาศึกษาว่า ๑ อันตรกัป มีระยะเวลานานขนาดไหน
๑ อันตรกัป คือ ช่วงที่มนุษย์มีอายุสูงสุดถึง ๑ อสงไขยปี คือ อายุมนุษย์ที่นับประมาณมิได้ และค่อยๆ ลดลงมาเรื่อยๆ คือ ๑๐๐ ปี ลด ๑ ปี จนกระทั่งอายุมนุษย์เหลือเพียงแค่ ๑๐ ปี ที่อายุมนุษย์เสื่อมลง เพราะสั่งสมอกุศลธรรมมากขึ้น เรียกว่า ไขลง จากนั้นมนุษย์ก็สั่งสมกุศลธรรมมากขึ้น เรียกว่า ไขขึ้น อายุมนุษย์จึงค่อย ๆ เพิ่มขึ้น จาก ๑๐ ปี คือ ๑๐๐ ปี เพิ่ม ๑ ปี ไปจนกระทั่งอายุมนุษย์สูงสุดคือ ๑ อสงไขยปี

ใน 1 อันตรกัป คือช่วงที่มนุษย์มีอายุสูงสุด ถึง 1 อสงไขยปี และค่อยๆ ลดลงมาเหลือ เพียงแค่ 10 ปี จากนั้นมนุษย์ก็เริ่มมีอายุเพิ่มขึ้นอีกจนกระทั่ง 1 อสงไขยปี เรียกว่า 1 อันตรกัป
               ดังนั้นสรุปว่า ช่วงอายุมนุษย์ตั้งแต่ ๑ อสงไขยปีลดลงเหลือ ๑๐ ปี และจาก ๑๐ ปี เพิ่มขึ้นจนถึงอสงไขยปี อย่างนี้จึงเรียกว่า ๑ อันตรกัป

ทั้ง 4 ช่วงรวมเป็น 256 อันตรกัป หรือเรียกว่า มหากัป
 
               เพราะฉะนั้น ระยะเวลา ๔ ช่วงรวมกันแล้วเท่ากับ ๒๕๖ อันตรกัป หรือเรียกว่า ๑ มหากัป

 

บทความนี้ ถูกใจคุณหรือไม่ + -

* * อยู่ในบุญ แนะนำ/เกี่ยวข้อง * *

สิ่งดีๆมีไว้แบ่งปัน อะไรดีๆมีอีกเยอะ กด Like facebook กัลยาณมิตร

 ยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคล