เรื่อง : โค้ก อลงกรณ์
ตามหลวงพ่อ >> เส้นทางสร้างบารมี >> พระครูปลัดภูเบศ ฌานาภิญฺโญ >> บางสิ่งที่ใส่ลงไป
"สมัยนั้นโบสถ์ยังเป็นเนินดินอยู่ ข้างโบสถ์ก็ยังไม่มีอะไรเลย" พระครูปลัดภูเบศ ฌานาภิญฺโญ พระมหาเถระรุ่นบุกเบิกของวัดพระธรรมกายได้เมตตาย้อนบรรยากาศการสร้างวัดให้ฟัง
ช่วงที่กำลังทำถนนกันอยู่บริเวณหน้าประชาสัมพันธ์หินอ่อน ตอนนั้นราวเดือนเมษายนซึ่งเป็นช่วงพายุฤดูร้อนเข้า ทั้งลมและฝนกระหน่ำลงมา
"พอพายุมาพวกช่างก็รีบเข้าที่ร่มหลบพายุฝนกัน หลวงพี่ก็เข้าไปหลบฝนด้วย ก็ไปอยู่ ข้าง ๆ เขา"
จากนั้นสักพักเสียงเชียร์ของคนงานก็ดังขึ้น "แรงอีกหน่อยหนึ่ง ๆ" ต้นกล้วยที่อยู่ริมตลิ่งเอนต้นลงเรื่อย ๆ ตามแรงลมพายุ คนงานต่างก็ลุ้นพร้อมกับส่งใจเชียร์พายุให้พัดแรงขึ้น ๆ
เสียงเชียร์ดังขึ้นเรื่อย ๆ แต่ต้นกล้วยก็ไม่ยอมแพ้ พยายามยืนสู้ต้านพายุอยู่อย่างนั้น เมื่อพายุอ่อนตัวลง กล้วยก็ตั้งลำต้นกลับขึ้นมาเหมือนเดิม สักพักพายุพัดมาอีกระลอกทั้งหนักและแรงกว่าเดิม ต้นกล้วยเอนลงจนแทบขนานกับพื้นดิน เสียงเชียร์ดังขึ้นอย่างต่อเนื่อง
เมื่อสุดที่จะต้านทานได้ ในที่สุดต้นกล้วยก็เลยถูกถอนรากล้มฟาดลงกับพื้น
หลวงพี่เล่าว่า "ทุกคนปรบมือชอบใจ เสียง เฮ! จากหัวหน้าคนงานที่ชื่อบุญช่วยดังกว่าเพื่อน"
เมื่อพายุสงบ ท้องฟ้าก็เรี่มมืดแล้ว ทุกคนก็เก็บงานแล้วแยกย้ายกันกลับบ้าน พอวันรุ่งขึ้นทุกคนก็มาเข้างานทำถนนกันต่อ เมื่อหลวงพี่เห็นว่ามีบางคนหายไปจึงถามคนงานว่า "วันนี้ บุญช่วยไปไหน"
"ไม่มาครับ" ทุกคนมองหน้ากันแล้วก็ยี้ม
"ทำไม?"
"กำลังซ่อมบ้านอยู่ครับ ลมพายุเมื่อวานนี้หอบทั้งหลังคาทั้งฝาบ้านของบุญช่วยไปหมดเลย"
เขาหายไปประมาณ ๓ วันก็กลับมา "บุญช่วย ทำไมเพี่งกลับมา?"
เขาหัวเราะแหะ ๆ บอกกับหลวงพี่ว่า "ผมมัวแต่ทำหลังคาใหม่ ฝาบ้านใหม่ ซ่อมบ้านอยู่ครับ"
"ทำไมล่ะ"
"ลมพายุหอบหลังคาบ้านผมไปครับ"
"ลมพายุที่ไหน?"
"ก็วันนั้นแหละครับ"
บางสิ่งที่ใส่เข้าไปไม่ว่าจะเป็นความคึกคะนอง ความมันส์สะใจ บางทีเราก็ลืมคีดถึงอีกด้านหนึ่งว่า สิ่งนั้นมีโอกาสจะย้อนกลับมาหาเราเช่นกัน
ในขณะที่กำลังสนุกกับบางอย่าง อย่าลืมว่า "กฎแห่งกรรม" นั้นมีอยู่
"ช่วงที่มีการตอกเสาเข็มจะต้องตั้งไม้แบบกันก่อน" หลวงพี่อธิบายถึงการตั้งไม้แบบว่า จะนำ ไม้กระบากมาตั้งเป็นไม้แบบ จากนั้นก็นำเหล็กยาวประมาณ ๔๐ ซม. เอาไปเผาปลายให้มันแข็ง แล้วก็ทำให้แหลม จากนั้นก็จะเอามาตอกเป็นเป็กยึด เพื่อให้ไม้แบบมั่นคงนี่งอยู่กับที่ไม่ให้ล้มลงมา เวลาที่เทปูนลงไปจะได้ไม่เคลื่อนเลื่อนออกจากตำแหน่งที่ตั้ง
"แล้วเขาจะใช้ค้อนปอนด์ยาวประมาณ ๑ เมตรมาตอกเป๊ก ที่หัวค้อนปอนด์จะเป็นตุ้มใหญ่ ที่มีน้ำหนักมาก เวลาตอกต้องออกแรงยกแล้วที้งน้ำหนักทุ่มลงไปพร้อมกับค้อน งานนี้จึงเป็น อีกงานที่หนักและเหนื่อยเพราะต้องใช้พลังมาก
"เวลาที่ตอกตามลำพังคนเดียวมันจะช้า ก็จะต้องให้อีกคนมาช่วยกันตอกลงไป คนแรกตีลงไปปั๊บ คนที่ ๒ ตีตาม สลับกันไปต่อเนื่องเช่นนี้ ถ้าชำนาญมาก ๆ ก็ให้ ๓ คนช่วยกัน เสียงตีจะดังเป๊ก ๆ ๆ ต่อเนื่องไปเรื่อย ๆ ซึ่งแต่ละคนเขาจะรู้จังหวะค้อน พอตีเข้าขากันมันจะเป็นจังหวะที่สนุกมาก"
งานบางอย่างถ้าทำคนเดียวมันทั้งหนัก เหนื่อย และน่าเบื่อ แต่เมื่อใส่จังหวะอารมณ์เข้าไปในการทำงาน นอกจากจะทำให้งานสนุกและเสร็จเร็วขึ้นแล้ว ยังสามารถทำให้เราทำงานเป็นทีมได้ดีมากด้วย
ครั้งหนึ่งที่หลวงพี่ท่านได้ไปดูการจัดระบบงานด้านต่าง ๆ ที่สวนสนุกในต่างประเทศ ท่านเล่าว่าทุกอย่างในนั้นเขาจะทำให้เป็นเรื่องที่สนุกเพลิดเพลินไปหมด ทุกอย่างที่ทำลงไปจึงออกมาน่าดูแม้แต่เรื่องของการเก็บกวาดขยะ
"ทันทีที่มีคนที้งเศษกระดาษ หรือว่านักท่องเที่ยวที้งขยะลงที่พื้น ไม่รู้ว่าคนเก็บขยะโผล่มาจากที่ไหน เขาจะเข้ามาเก็บขยะนั้นทันที เขาจะมีกระป๋องใบหนึ่งแล้วก็มีไม้กวาด เขาแค่กระดกนิดเดียวฝามันก็เปิดแล้ว จากนั้นก็เขี่ยเศษกระดาษเข้าไป"
"หรืออย่างเวลาที่ม้าออกมาเดินตามถนนในสวนสนุกแห่งนั้น ม้าพออยากอึมันก็อึ พอม้าอึลงพื้นปั๊บ ไม่รู้ว่าคนโผล่มาจากไหน ว่องไวมาก เขารีบเข้ามาเก็บกวาดทันที"
"ตอนที่เขากวาด เขาไม่ได้เก็บกวาดแบบเรา เขาจะมีลีลาเหีนคล้าย ๆ เต้นรำ ลีลาเหมือนนก เหมือนหงส์ที่กำลังเหีนลม เหมือนผีเสื้อที่โฉบดอกไม้ แค่เขาบิดข้อมือพลิกไปพลิกมาแล้วหมุนตัวพร้อมกับควงอุปกรณ์ในมือไปด้วย ปัดเข้าไปในถังขยะ กิริยาท่าทางที่เห็นมันมีลีลาที่พลิ้วไหวชวนดู ดูแล้วงามเพลิดเพลิน"
บางสิ่งที่ใส่ลงไป ทั้งลีลา ศีลปะ และอารมณ์ เมื่อใส่เข้าไปแล้ว งานที่คนไม่ชอบทำ งานที่ คนส่วนใหญ่รังเกียจว่าต่ำต้อย ก็กลายเป็นสิ่งที่น่าดูและงดงามขึ้นมาได้
เวลาที่ทำงานเหนื่อย ๆ อยู่ในพื้นที่กลางแดดเปรี้ยง ๆ อย่างงานคุมแทรกเตอร์ พอเวลาล่วงเลยไปถึงบ่าย ๔ โมงกว่า ท่านเริ่มกระหายน้ำมาก แต่ไม่มีเวลาปลีกตัวออกมา เพราะงานยังติดพันอยู่ คุณยายจะให้เด็กในครัวนำน้ำปานะมาถวายถึงสนามในพื้นที่เลย
"พอได้ฉันน้ำส้มคั้น มันชื่นใจมาก ยังไม่ต้องแวะเข้ามาพักหรอก ทำให้หลวงพี่ลุยงานต่อได้จนมืดเลย"
"น้ำส้ม ๑ แก้วตอนนั้นกับตอนนี้มันไม่เหมือนกัน ตอนนั้นพื้นที่ยังเป็นท้องนา ต้นไม้แทบจะหาไม่ได้เลยสักต้น เปลวแดดจากพื้นดีนเป็นไอลอยขึ้นมาเลย ซึ่งต่างกันมากกับตอนนี้ที่มีแต่ความร่มรื่น"
สมัยก่อนนั้นยังไม่มีความพร้อมในด้านใดเลยนอกจากด้านของจิตใจ ไม่มีตู้เย็น ไม่มีน้ำแข็ง ไม่มีอุปกรณ์อำนวยความสะดวก ส้มที่คั้นแบบสด ๆ ๑ แก้วกลางแดดเปรี้ยง ๆ ในตอนบ่าย ๔ โมงกว่า สามารถเข้าไปช่วยดับร้อน ดับความกระหาย เรียกความสดชื่นกลับคืนขึ้นมาได้เป็นอย่างดี
นอกจากความสดชื่นที่ได้รับมาพร้อมกับน้ำส้มแก้วนี้แล้ว หลวงพี่ท่านรู้สึกซาบซึ้งถึงน้ำใจของคุณยาย "คุณยายท่านเห็นนะ เราทุกคนอยู่ในสายตาของคุณยายตลอด เราทำงานกันเหนื่อย คุณยายท่านก็เห็นตลอด เห็นว่าเราล้า เราขาดแคลน และเรายังไม่ได้พัก"
น้ำส้มแก้วเดียวกัน น้ำส้มเหมือนกัน แต่รสชาติไม่เหมือนกัน
คุณค่าก็ไม่เหมือน
ชื่นใจก็ไม่เหมือนกัน
ซึ้งน้ำใจก็ไม่เหมือนกัน
เมื่อได้รับมอบหมายงานจากหลวงพ่อแล้ว หลวงพี่ทุกรูปในวัดจะลุยงานไปข้างหน้า โดยที่คุณยายท่านจะเป็นคนเก็บตามหลังให้อีกที โดยที่ท่านจะช่วยดูในเรื่องความเรียบร้อย มีอะไรตกหล่นหรือไม่ ท่านจะช่วยเก็บละเอียดให้เป็นคนสุดท้าย
วันหนึ่งคุณยายท่านเดินไปเจอลวดผูกเหล็กเบอร์ ๑๘ มีความยาวประมาณ ๒๕ ซม. ลวดนี้ คนรดน้ำต้นไม้ไปขอมาจากที่ก่อสร้าง เขาเอามาใช้รัดสายยางโดยใช้คีมขันรัดข้อต่อให้แน่น จากนั้นก็ลากสายยางไปฉีดรดน้ำต้นไม้ พอเขารดน้ำเสร็จ ทั้งคีมและลวดที่เหลืออยู่เป็นมัด มันก็ยังอยู่ในสนาม ซุกตัวอยู่ในที่ลับตาคน คุณยายท่านไปเจอเข้า ท่านก็เก็บเอามา
ตกเย็นหลังเลิกงานแล้วประมาณ ๕ โมงครึ่ง ต่างก็มานั่งล้อมวงฉันน้ำปานะกัน คุณยาย ท่านก็เดินเข้ามาพูดคุยด้วย โดยเริ่มปรารภขึ้นว่า "คนทำงานนั้นมีเยอะ คนรับผิดชอบงานนั้นมีน้อย"
จากนั้นท่านก็เล่าให้ฟังว่า "วันนี้ยายไปเจอลวดผูกเหล็กมา ใช้เสร็จแล้วทิ้ง ๆ ขว้าง ๆ แบบนี้ไม่ได้ นี่เป็นสมบัติของพระศาสนา มีคิมผูกเหล็ก มีลวดผูกเหล็กด้วย"
แล้วท่านก็เล่าถึงจุดที่ท่านเดินไปเจอว่าอยู่ตรงไหนในสนามหญ้า แล้วก็หันมามองหน้า
หลวงพี่รีบรับทันทีว่า "ครับยาย" เรื่องนี้ทำให้ได้คิดเลยว่า สนามหญ้ากว้างใหญ่ขนาดนั้น คุณยายท่านยังตามไปดู ไปพบเจอลวดเส้นเล็ก ๆ เรื่องแค่นี้ยังไม่หลุดจากสายตายาย นี่ก็แสดงว่า คุณยายท่านตามอยู่ข้างหลังเราทุกคนตลอดเวลา
เมื่อฉันน้ำปานะเสร็จ หลวงพี่ท่านจึงรีบไปดูแล้วก็รู้ว่า แม้เรื่องนี้จะเป็นเรื่องของหน่วยงานที่ดูแลเรื่องต้นไม้ แต่หลวงพี่ก็ต้องเข้ามามีส่วนร่วมรับผิดชอบด้วย
บางสิ่งที่ควรใส่เพิ่มลงไปในการทำงาน นั่นคือความรู้สึกเป็นเจ้าของบ้าน-เจ้าของวัดร่วมกัน
ดังนั้นทุกสิ่งทุกอย่างในวัดเราจึงควรรู้สึกว่าเป็นของเรา เป็นของพวกเราทุกคน
"ทั้งลวดผูกเหล็กกับคีมนี้ เขาก็ไปเบิกมาจากสโตร์ของหลวงพี่ เมื่อเบิกไปแล้วเขาเกิดขาดความรับผิดชอบ พอเกิดอะไรขึ้นมา หลวงพี่จะโยนหรือปัดความผิดไปที่ไหนไม่ได้
"เลยต้องมาย้ำกับคนดูแลสโตร์ของหลวงพี่ว่า เวลาใครมาเบิกของ ต้องกำชับให้เขาช่วยดูแล สมบัติพระศาสนาด้วย แม้ว่าคนนั้นจะเป็นหน่วยงานอื่นก็ตาม เราทุกคนก็ต้องช่วยกันดูแลรักษา"
ความเป็นเจ้าของบ้าน-เจ้าของวัดเมื่อใส่ลงไป ทำให้ภาพที่เกิดขึ้นไม่ว่าจะเป็นภาพของ วัดพระธรรมกาย ภาพของหลวงพ่อ ภาพของหมู่คณะ หรือภาพของพวกเราทุกคน ที่ได้มา ปักหลักร่วมสร้างที่นี่ สู้ที่นี่ โตที่นี่ ทุกข์และสุขด้วยกันที่นี่ เหนื่อยก็เหนื่อยด้วยกัน เมื่อถึงเส้นชัยก็ถึงเส้นชัยพร้อมกัน ล้วนแต่เป็นภาพที่สูงค่าและงดงาม
"ตลอดการเดินทางกว่าจะถึงเป้าหมายของพวกเรา ต้องบอกเลยว่ามันยาวนาน แล้วก็ทั้งหนักและเหนื่อย แต่ว่าภายใต้ผู้นำที่มีความสามารถ มีศีลปะ มีอารมณ์สนุก มีวิสัยทัศน์แบบหลวงพ่อของพวกเรานี้ เราทุกคนจะรู้สึกสนุกตามไปด้วย"
ไม่ว่าเราจะใส่การสังเกต / ใส่ความสนุก / ใส่จังหวะ ลีลา / ใส่อารมณ์ขัน / ใส่ความเบิกบานใจ / ใส่ความรับผิดชอบ / ใส่ความเป็นเจ้าของบ้าน-เจ้าของวัด / ใส่จิตใจที่เป็นบุญกุศล / ใส่ความรัก ความห่วงใย / ใส่ความเมตตา / ใส่ความสามัคคี / ใส่ความเป็นทีม / ใส่เป้าหมาย / ใส่อุดมการณ์ / ใส่ความพยายาม / ใส่ความอดทน / ใส่...บางสิ่งลงไป
งานที่ว่าหนักมากจริง ๆ ก็เบาลงไปแล้วกว่าครึ่งหนึ่ง
ศักยภาพที่มีอยู่ในตัวของเราแต่ละคน จะถูกเค้นออกมาใช้ประโยชน์อย่างเต็มที่
ทุกสิ่งที่เราเข้าไปเกี่ยวข้องไม่ว่าเป็นเรื่องเล็กน้อย หรือเป็นเรื่องที่ต่ำต้อย ย่อมกลายเป็นสี่งที่สูงค่าขึ้นมาทันที
บางสิ่งเมื่อใส่ลงไป >> สิ่งนั้นยิ่งใหญ่เสมอ
.................................................................................