DOU ความรู้สากล
เรื่อง : พระมหาวุฒิชัย วุฑฺฒิชโย ป.ธ. ๙
การกลับมาของมหาวิทยาลัยนาลันทา...
ศูนย์กลางแห่งพุทธปรัชญาเมื่อ ๘๐๐ ปีก่อน
มหาวิทยาลัยนาลันทา (ค.ศ. ๔๑๓-๑๑๙๓) หนึ่งในมหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียงที่สุดในอินเดียนับแต่ครั้งอดีต เปิดตัวอย่างเป็นทางการใหม่อีกครั้ง ภายหลังหยุดการเรียน การสอนมานานกว่า ๘๐๐ ปี ซากปรักหักพังของมหาวิทยาลัยนาลันทาทั้งใหม่และเก่าตั้งอยู่ภายในบริเวณศาสนสถานและโบราณสถาน อันศักดิ์สิทธิ์ ครอบคลุมพุทธคยาซึ่งเป็นสถานที่ตรัสรู้ธรรมของพระพุทธองค์ ในเมืองราชคฤห์ รัฐพิหาร ศูนย์กลางของแคว้นมคธ ที่รู้จัก กันดีว่า เป็นแหล่งฟูมฟักภูมิปัญญาและการเมืองการปกครอง ทั้งยังเป็นศูนย์กลางของศาสนาฮินดู และที่สำคัญคือเป็นถิ่นกำเนิด แห่งพระพุทธศาสนา
มหาวิทยาลัยนาลันทาถือเป็นแหล่งประเทืองปัญญาคล้ายกับแหล่งการศึกษาสมัยโบราณยุคเฮลเลนิสติกอย่างกรุงเอเธนส์และ อเล็กซานเดรีย มหาวิทยาลัยนาลันทาได้รับการสถาปนาขึ้นเป็นศูนย์กลางการศึกษาพุทธปรัชญาในสมัยคุปตะอันเป็นยุคทองแห่งศิลปวัฒนธรรม และต่อมากลายมาเป็นแหล่งเรียนรู้ ศาสตร์แขนงต่าง ๆ โดยมีชื่อเสียงเป็นพิเศษในทางคณิตศาสตร์และอายุรศาสตร์ เช่นเดียวกับมหาวิทยาลัยของคริสต์ศาสนาในยุคกลาง
ในอดีตหลักสูตรการศึกษาทางพุทธศาสนาที่แข็งแกร่งของมหาวิทยาลัยนาลันทาดึงดูดผู้ใคร่ต่อการศึกษาจำนวนมากมายจากทั่วสารทิศ เช่น จีน เกาหลี ญี่ปุ่น ทิเบต มองโกเลีย ตุรกี ศรีลังกา และเอเชียบูรพา ก่อให้เกิดความเป็นสากลนิยมและการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ข้ามวัฒนธรรม กล่าวกันว่าในครั้งนั้นมีนักศึกษาเป็นจำนวนนับหมื่น ครูอาจารย์กว่า ๒,๐๐๐ คน มีห้องสมุดบรรจุตำรับตำรานับ แสน ๆ เล่ม
น่าเสียดายที่มหาวิทยาลัยนาลันทาถูกทำลายลงในปี ค.ศ. ๑๑๙๓ จากการรุกรานของกองทัพมุสลิมที่นำโดย Muhammad of Ghor ซึ่งทำให้เจ้าผู้ปกครองชาวฮินดูในขณะนั้นต้องพ่ายแพ้ในระหว่างทำการรบครั้งที่ ๒ ในปี ค.ศ. ๑๑๙๒ ส่งผลให้อินเดียตอนเหนือแนวลุ่มน้ำคงคาถูกปล่อยให้ว่างเปล่า ขาดการดูแล และในปี ค.ศ. ๑๑๙๓ แม่ทัพแห่งเติร์ก Bakhtiyar Khilji ก็เข้าโจมตีมหาวิทยาลัย ที่ไร้ปราการป้องกัน เพราะเหตุที่มิใช่แหล่งยุทธศาสตร์ทางการรบ
พงศาวดารแห่งเปอร์เซียบันทึกไว้ว่า พระภิกษุจำนวนหลายพันรูปถูกเผาทั้งเป็น และอีกหลายพันรูปถูกฆ่าด้วยการบั่นศีรษะ โดยมุ่งที่จะห้ำหั่นพระพุทธศาสนาอย่างถอนราก ถอนโคน การเผาทำลายห้องสมุดต้องใช้เวลานานหลายเดือน ควันจากการเผาไหม้ต้นฉบับตำรับตำราคลุ้งไปทั่วเป็นเวลาเนิ่นนาน ดั่งความมืดมนอนธการที่ปกคลุมหุบเขาลึก ในครั้งนั้นบุคคลสำคัญของมหาวิทยาลัยนาลันทาต่างก็พากันหลบหนีไปยังทิเบต
การเปิดตัวของมหาวิทยาลัยนาลันทาในปีนี้ นับเป็นการรื้อฟื้นจิตวิญญาณแห่งนาลันทาในอดีตให้กลับมามีชีวิตชีวาอีกครั้ง โดยมุ่งหวังให้เป็นแหล่งการศึกษานานาชาติที่มีหลักสูตรหลากหลาย ทั้งนี้ได้รับการสนับสนุนจากบุคคลสำคัญ เช่น Amartya Sen เจ้าของรางวัลโนเบล สาขาเศรษฐศาสตร์ ปี ค.ศ. ๑๙๙๘ ในฐานะประธานองค์การก่อตั้งมหาวิทยาลัย พร้อมทุนสนับสนุนจากรัฐบาลอินเดีย และ ๑๕ ประเทศในทวีปเอเชีย จำนวน ๕๐๐ ล้านดอลลาร์ แต่ทว่าการรวบรวมทุนยังไม่แล้วเสร็จ เนื่องจากยังขาดทุนสนับสนุนอีกมาก รวมถึงประสบปัญหาระบบงานราชการที่ล่าช้า ทำให้การก่อสร้างมหาวิทยาลัยนาลันทายังไม่เสร็จสมบูรณ์ในวันเปิดทำการกลางเดือนกันยายน ปีนี้ ในอนาคตหากมหาวิทยาลัยนาลันทาสามารถดำเนินการราบรื่นเป็นไปตามแผนที่กำหนด ก็จะกลายเป็นการก้าวกระโดดที่สำคัญอีกก้าวหนึ่งของการศึกษาระดับอุดมศึกษาในประเทศอินเดีย เพราะเมื่อมีมหาวิทยาลัยทางพระพุทธศาสนาเกิดขึ้น ย่อมต้องมีการเรียนการสอนที่เกี่ยวข้องกับพระพุทธศาสนา ทั้งในแง่ประวัติศาสตร์ คำสอน รวมถึงการประยุกต์หลักธรรมคำสอนมาใช้ การเรียนการสอน
คำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าอย่างเป็นระบบเช่นนี้ จะเกิดขึ้นได้จำเป็นต้องมีทั้งผู้รู้ที่จะถ่ายทอดคำสอน และผู้ศึกษาที่ต้องการจะศึกษาหาความรู้ในพระพุทธศาสนา ซึ่งแน่นอนว่าจะส่งผลให้พระพุทธศาสนามีความเจริญรุ่งเรืองยิ่งขึ้นในอนาคต
การเรียนการสอนคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าอย่างเป็นระบบเช่นนี้ จะเกิดขึ้นได้จำเป็นต้องมีทั้งผู้รู้ที่จะถ่ายทอดคำสอน และผู้ศึกษาที่ต้องการจะศึกษาหาความรู้ในพระพุทธศาสนา ซึ่งแน่นอนว่าจะส่งผลให้พระพุทธศาสนามีความเจริญรุ่งเรืองยิ่งขึ้นในอนาคต
มหาวิทยาลัยธรรมกาย แคลิฟอร์เนีย เป็นมหาวิทยาลัยพระพุทธศาสนาในระบบทางไกลที่เกิดขึ้นเป็นแห่งแรกของโลก จัดตั้งขึ้นโดยดำริของพระเทพญาณมหามุนี (หลวงพ่อธัมมชโย) ตั้งแต่เดือนกันยายน พ.ศ. ๒๕๔๖ โดยมุ่งหวังที่จะให้ชาวโลกมีโอกาสศึกษาคำสอนของ พระสัมมาสัมพุทธเจ้า เพื่อนำหลักธรรมคำสอนไปใช้ในชีวิตประจำวัน และเพื่อสร้างความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์แบบให้เกิดขึ้น ขณะนี้นับเป็นเวลาถึง ๑๑ ปีแล้ว ที่มหาวิทยาลัยมีส่วนช่วยในการให้ความรู้ทางด้านพระพุทธศาสนา และส่งเสริมการปฏิบัติตามหลักคำสอนของ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าแก่ชาวโลก และจะยังคงพัฒนาต่อไปเพื่อเป็นมหาวิทยาลัยที่เป็นแหล่งเรียนรู้ศาสตร์แห่งการเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์แบบ จึงขอเรียนเชิญทุกท่านเข้ามาศึกษาพระพุทธ-ศาสนาอย่างเป็นระบบ ด้วยการสมัครเป็นนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมกาย แคลิฟอร์เนีย โดยเทอมนี้ลงทะเบียนเรียนได้ตั้งแต่วันที่ ๒๑ ก.ย.-๑๙ ต.ค. ที่ชมรมประสานงาน DOU ข้างโรงเรียนพระปริยัติธรรม (วันจันทร์-เสาร์) และที่เสา N26, G6 สภาธรรมกายสากล
วัดพระธรรมกาย (วันอาทิตย์)..
จากบทความ 800 Years Later, an Ancient University Reopens in India
เว็ปไซต์ http://thediplomat.com แปลโดย พระมหาศักดา มเหสกฺโข
กำหนดการการศึกษา
นักศึกษาลงทะเบียนเรียน ภาคเรียนที่ ๒/๒๕๕๗ วันที่ ๒๑ กันยายน-๑๙ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๗
ปฐมนิเทศนักศึกษาใหม่ วันที่ ๑๘ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๗
นักศึกษาจบหลักสูตรติวสอบวัดระดับความรู้องค์รวม วันที่ ๑๘-๑๙ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๗
นักศึกษาจบหลักสูตรสอบวัดระดับความรู้องค์รวม วันที่ ๒๕ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๗