วารสารอยู่ในบุญ ธรรมะออนไลน์

พระธรรมเทศนา ปุจฉา-วิสัชนา บทความข่าว ผลการปฏิบัติธรรม ตักบาตรพระ บาลีน่ารู้ กฏแห่งกรรม ฝันในฝัน บวชพระ

บทความอยู่ในบุญ หลวงพ่อตอบปัญหา : การฝึกสมาธิส่งผลต่อพฤติกรรมของคนเราให้แตกต่างกันอย่างไร ?

หลวงพ่อตอบปัญหา
เรื่อง : หลวงพ่อทัตตชีโว

 

อยู่ในบุญ , วัดพระธรรมกาย , ธรรมกาย , วารสาร , หนังสือ , แม๊กกาซีน , หนังสืออยู่ในบุญ , หนังสือธรรมะ , บุญ , หลวงพ่อธัมมชโย , หลวงพ่อทัตตชีโว , พระมงคลเทพมุนี , case study , ฝันในฝัน , สื่อธรรมะ , วิชชาธรรมกาย , ธรรมกายเจดีย์ , สวดธรรมจักร , ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร , world peace , พระสัมมาสัมพุทธเจ้า , พระพุทธเจ้า , พุทธพจน์ , คำสอนหลวงปู่ , คำสอนคุณยาย , คำสอนหลวงพ่อธัมมชโย , อยู่ในบุญเดือนพฤศจิกายน2563 , สมาธิ , หยุดเป็นตัวสำเร็จ , พระพุทธศาสนา , หยุดใจ , ศูนย์กลางกายฐานที่ 7 , หลวงพ่อตอบปัญหา : การฝึกสมาธิส่งผลต่อพฤติกรรมของคนเราให้แตกต่างกันอย่างไร ?

ถาม : การฝึกสมาธิส่งผลต่อพฤติกรรมของคนเราให้แตกต่างกันอย่างไร ?

ตอบ : เนื่องจากความรู้ในโลกและชีวิตนี้มีมาก ความรู้ที่เรายังไม่รู้ก็มีอีกมาก แต่สิ่งหนึ่งที่ต้องรู้ ไม่รู้ไม่ได้ คือ รู้ว่าอะไรดี อะไรชั่ว เพราะกฎแห่งกรรม คือ กฎของการกระทำของทุกคนที่ต้องดำเนินไปภายใต้กฎนี้ ถ้าทำชั่วผลจะเป็นความทุกข์ ถ้าทำดีผลจะเป็นความสุข แต่การรู้ว่าอะไรดีอะไรชั่วอย่างชัดเจนเป็นสิ่งที่ยาก เพราะยากนี้เองหลายคนจึงทำความชั่ว ทั้ง ๆ ที่อยากดี แล้วเขาก็ได้ผลคือความทุกข์ และไม่รู้ว่าที่เขาทุกข์นั้นเพราะเขาไปทำชั่ว เขายังหลงเข้าใจผิดว่าสิ่งที่ทำนั้นดี เลยเป็นทุกข์เดือดร้อนกันไปตลอด ในทางกลับกัน ใครได้ทำความดีทั้ง ๆ ที่ไม่รู้ว่าเป็นความดี ก็ยังออกผลเป็นความสุขได้ ทำดีได้สุข ทำชั่วได้ทุกข์ ดีชั่วทำแล้วให้ผลแน่นอนอย่างนี้

        คนใส่แว่นตา ใส่แว่นสีอะไรก็เห็นอะไรเป็นสีนั้น ๆ ตามสีแว่นไปหมด สีของแว่นทำให้เห็นผิดจากความเป็นจริง หรือถ้าฝุ่นจับแว่น แล้วใช้แว่นมองอะไรก็ทำให้เห็นอะไรผิดจากความเป็นจริงไปเหมือนกัน คนใส่แว่นเห็นไม่ถูกต้องตามความเป็นจริงเพราะสีแว่น เพราะฝุ่นที่แว่นได้อย่างไร คนที่ใจไม่ใส ใจไม่สะอาด ก็จะมองอะไรไม่ตรงความเป็นจริง จะตัดสินดีชั่วไม่ได้ชัดเจนเช่นกัน

        ความไม่ใสของใจคนเหมือนกับแว่นที่ย้อมด้วยสีต่าง ๆ เมื่อใจถูกใส่สี ก็จะทำให้ใจไม่ใส สิ่งที่ทำให้ใจไม่ใสคือนิสัยไม่ดีต่าง ๆ


อยู่ในบุญ , วัดพระธรรมกาย , ธรรมกาย , วารสาร , หนังสือ , แม๊กกาซีน , หนังสืออยู่ในบุญ , หนังสือธรรมะ , บุญ , หลวงพ่อธัมมชโย , หลวงพ่อทัตตชีโว , พระมงคลเทพมุนี , case study , ฝันในฝัน , สื่อธรรมะ , วิชชาธรรมกาย , ธรรมกายเจดีย์ , สวดธรรมจักร , ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร , world peace , พระสัมมาสัมพุทธเจ้า , พระพุทธเจ้า , พุทธพจน์ , คำสอนหลวงปู่ , คำสอนคุณยาย , คำสอนหลวงพ่อธัมมชโย , อยู่ในบุญเดือนพฤศจิกายน2563 , สมาธิ , หยุดเป็นตัวสำเร็จ , พระพุทธศาสนา , หยุดใจ , ศูนย์กลางกายฐานที่ 7 , หลวงพ่อตอบปัญหา : การฝึกสมาธิส่งผลต่อพฤติกรรมของคนเราให้แตกต่างกันอย่างไร ?

"สมาธินั้นเป็นงานเพื่อชีวิต เป็นหน้าที่ที่จะต้องฝึกทำให้ได้
ฝึกทำให้เป็น เหมือนอย่างที่เรามีหน้าที่ต้องหายใจ"

 

       แม้ใครที่ปกติมีนิสัยดี นิสัยใช้ได้ แต่ตอนอารมณ์ขุ่น ๆ เช่น เวลาโกรธใครอยู่ ไม่ว่าเขาจะพูดดี พูดถูกต้องอย่างไร ก็รับไม่ได้ เพราะมีฝุ่นจับใจเข้าแล้ว ทำให้ใจไม่สะอาด ความโลภ โกรธ หลง เป็นเหมือนกับฝุ่นเปื้อนใจ นิสัยไม่ดีก็เหมือนสีย้อมใจ เผลอไปทำอะไรด้วยใจอย่างนี้ เดี๋ยวก็ได้ความทุกข์เข้ามาหาตัว

       เราสังเกตกันไหม ครั้งใดที่ใจแล่นออกไปนอกตัวด้วยความโลภ โกรธ หลง ก็ง่ายที่จะไปทำอะไรที่ไม่ดี ไม่เหมาะ ไม่ควร แต่ถ้าใจอยู่ในตัว ตอนนั้นเราจะเป็นคนมีเหตุมีผลขึ้นมาทันที เพราะว่าใจที่นิ่ง ๆ ใจที่เป็นกลาง ๆ ความโลภ โกรธ หลงจะไม่เข้ามา แล้วใจจะเริ่มมองเห็นชัดว่าอะไรผิด อะไรถูก อะไรควร อะไรไม่ควร โดยไม่ต้องไปหามิเตอร์ที่ไหนมาวัดเลย เพราะใจนิ่ง ใจใส ไม่มีเอนเอียงไปด้านใดด้านหนึ่ง ธรรมชาติของใจตอนที่ใจนิ่งอยู่ในตัว จะทำให้เรามองเห็นสิ่งต่าง ๆ ไปตามความเป็นจริง นี้คือเหตุผลที่เราต้องมาฝึกสมาธิกันให้ดี

       การฝึกสมาธิ คือ การฝึกเก็บใจเอาไว้ในตัว ไม่ยอมให้ใจหนีเตลิดเปิดเปิงไป ถ้าใจหนีเตลิดไปนอกตัวจะถูกกระตุ้นให้เกิดความโลภ ความโกรธ ความหลงได้ง่าย ดังนั้นตำแหน่งแห่งใจที่ควรอยู่คืออยู่กับเนื้อกับตัว อยู่ในตัวของเรา อยู่ในกลางตัวเรา


อยู่ในบุญ , วัดพระธรรมกาย , ธรรมกาย , วารสาร , หนังสือ , แม๊กกาซีน , หนังสืออยู่ในบุญ , หนังสือธรรมะ , บุญ , หลวงพ่อธัมมชโย , หลวงพ่อทัตตชีโว , พระมงคลเทพมุนี , case study , ฝันในฝัน , สื่อธรรมะ , วิชชาธรรมกาย , ธรรมกายเจดีย์ , สวดธรรมจักร , ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร , world peace , พระสัมมาสัมพุทธเจ้า , พระพุทธเจ้า , พุทธพจน์ , คำสอนหลวงปู่ , คำสอนคุณยาย , คำสอนหลวงพ่อธัมมชโย , อยู่ในบุญเดือนพฤศจิกายน2563 , สมาธิ , หยุดเป็นตัวสำเร็จ , พระพุทธศาสนา , หยุดใจ , ศูนย์กลางกายฐานที่ 7 , หลวงพ่อตอบปัญหา : การฝึกสมาธิส่งผลต่อพฤติกรรมของคนเราให้แตกต่างกันอย่างไร ?

"ไม่ว่าอะไรจะเกิดขึ้นในโลกนี้ ก็เป็นภาระ เป็นหน้าที่ เป็นความจำเป็น ที่เราจะต้องฝึกสมาธิ"
 

     ในเมื่อสมาธิทำให้เรามีความเห็นถูกต้องตามความเป็นจริงว่าอะไรถูก อะไรผิด อะไรดี อะไรชั่ว อะไรควรทำ อะไรไม่ควรทำ โดยไม่ต้องอาศัยมิเตอร์อื่นใดมาวัด ดังนั้นคนฉลาดที่ต้องการความสุขตลอดชีวิตต้องมองออกว่าสมาธินั้นเป็นงานเพื่อชีวิต เป็นหน้าที่ที่จะต้องฝึกทำให้ได้ ฝึกทำให้เป็น เหมือนอย่างที่เรามีหน้าที่ต้องหายใจ ชีวิตจึงจะยังอยู่ได้ 

       การฝึกสมาธิจึงเป็นงานเพื่อชีวิตซึ่งต้องทำจริง ๆ จัง ๆ ไม่ใช่งานสมัครเล่น ไม่ใช่งานที่ทำยามว่าง ไม่ว่าโลกนี้จะสงบสุขหรือวุ่นวาย ไม่ว่าโลกนี้จะมีภาวะเศรษฐกิจเป็นอย่างไร ไม่ว่าอะไรจะเกิดขึ้นในโลกนี้ ก็เป็นภาระ เป็นหน้าที่ เป็นความจำเป็น ที่เราจะต้องฝึกสมาธิ ซึ่งถ้าเรารู้และตระหนักถึงคุณค่าของสมาธิว่ามีผลดีต่อชีวิตของมนุษย์และสังคมโลกเราเพียงใดก็จะทำให้เราใส่ใจและตั้งใจฝึกสมาธิให้ได้ทุกวันและตลอดไป

 

บทความนี้ ถูกใจคุณหรือไม่ + -

บทความอยู่ในบุญทั้งหมด ฉบับที่ ๒๑๕ เดือนพฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๖๓

สิ่งดีๆมีไว้แบ่งปัน อะไรดีๆมีอีกเยอะ กด Like facebook กัลยาณมิตร

 ยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคล