ธรรมะเพื่อประชาชน พร้อมภาพประกอบ คติธรรม ข้อคิดสอนใจ

ดูก่อนท่านผู้เห็นภัยในวัฏสงสาร ท่านทั้งหลายอย่ากลัวต่อบุญเลย เพราะคำว่าบุญนี้เป็นชื่อของความสุข ดูก่อนท่านผู้เห็นภัยในวัฏสงสาร เราย่อมรู้ชัดผลแห่งบุญอันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ ที่เราเสวยแล้วตลอดกาลนาน

ชาดก : ธรรมะเพื่อประชาชน Dhamma for peopleรวมนิทานอีสปพร้อมภาพประกอบ  ข้อคิดสอนใจ

ธรรมะเพื่อประชาชน : ความรู้เกี่ยวกับวันเข้าพรรษา 2


ธรรมะเพื่อประชาชน : ความรู้เกี่ยวกับวันเข้าพรรษา 2

Dhammaforpeople
ธรรมะเพื่อประชาชน

 

Dhammapp081_01b.jpg

ความรู้เกี่ยวกับวันเข้าพรรษา 2

 


                ผู้รู้ได้กล่าวไว้ว่าเราจะเห็นคุณค่าของเข็มทิศ ต่อเมื่อชีวิตของเราน่ะหลงทางในกลางป่า จะเห็นคุณค่าของเงาไม้เมื่อต้องยืนอยู่กลางแดดร้อนระอุ แล้วจะเห็นคุณค่าของธรรมะเมื่อยามชีวิตเราน่ะประสบกับทุกเข็ญ วันเวลาที่ผ่านไปแม้จะยาวนานเพียงใด แต่สัจธรรมก็ยังคงอยู่ไม่มีวันเปลี่ยนแปลง ดูเหมือนว่ามีผู้คนมากมายในโลกที่เพียงรับรู้รับฟังแต่ก็ไม่ค่อยจะใส่ใจต่อการนำธรรมะไปปฏิบัติ กลับปล่อยชีวิตที่ควรจะมีคุณค่ามากกว่านี้ให้สูญสลายไปกับกาลเวลาที่ผ่านไป เมื่อเราได้รู้อย่างนี้แล้วจึงไม่ควรประมาทในชีวิต เราควรดำเนินชีวิตอยู่บนเส้นทางของความดี โดยการให้โอกาสแก่ตัวของเราเอง ในการสั่งสมบุญอยู่ตลอดเวลาและก็หมั่นฝึกฝนใจให้หยุดนิ่ง ให้เข้าไปพบที่พึ่งที่ระลึกภายในคือพระรัตนตรัยให้ได้ 

 

DhammaPP_02..jpg


                พระสัมมาสัมพุทธเจ้าในวินัยปิฎกมหาวรรคว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลายภิกษุในศาสนานี้อาพาธ ถ้าเธอจะพึงส่งฑูตไปในสำนักภิกษุทั้งหลายว่า กระผมอาพาธ ขออาราธนาภิกษุทั้งหลายมา กระผมปรารถนาการมาของภิกษุทั้งหลาย ดูก่อนภิกษุทั้งหลายแม้เมื่อเธอไม่ได้ส่งฑูตมา ก็พึงไปด้วยสัตตาหกรณียะได้ พึงไปด้วยตั้งใจว่า จักแสวงหาคิลานภัต คิลานุปัฏฐากภัต คิลานเภสัช จักถามอาการหรือจักพยาบาล แต่ต้องกลับภายใน ๗ วัน พวกเราได้ทราบแล้วว่า ตลอดฤดูกาลของการจำพรรษา พุทธองค์ทรงห้ามพระภิกษุ เที่ยวจาริกไปในสถานที่ต่าง ๆ ตลอดฤดูฝน ยกเว้นเมื่อมีเหตุจำเป็นที่เรียกว่าสัตตาหกรณียะ จึงจะทรงอนุญาตให้เดินทางในระหว่างพรรษาได้ โดยให้กลับภายใน ๗ วันคราวนี้แน่ะเรามาศึกษารายละเอียดเกี่ยวกับสัตตาหะกรณียะกันดูนะจ๊ะ

 

DhammaPP_04..jpg


                วัตถุประสงค์ก็คือเมื่อเวลาเห็นพระสงฆ์ท่านเดินทางไกลในช่วงฤดูฝน อาจไปพักที่วัดใดวัดหนึ่ง เป็นเวลาหลายวัน เราจะได้เข้าใจถูกว่า ท่านมีกรณียกิจที่พระบรมศาสดาทรงอนุญาตให้มาแรมราตรีที่อื่นได้เมื่อจำเป็น ไม่ใช่ศึกษาเพื่อไปจับผิดท่านนะจ๊ะ แต่หลวงพ่ออยากให้พวกเราน่ะจับเอาแต่สิ่งที่ดีงาม จะได้เป็นทางมาแห่งบุญกุศล ความเป็นมาของสัตตาหกรณียะก็มีอยู่ว่า หลังจากที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบัญญัติการอยู่จำพรรษาแล้ว มีอุบาสกชาวเมืองโกศลคนหนึ่งชื่ออุเทน มีกุศลและจิตศรัทธาได้สร้างวิหารถวายสงฆ์ เมื่อสร้างเสร็จแล้วก็ส่งคนไปนิมนต์ภิกษุสงฆ์มาพำนักที่วิหารหลังใหม่ เพื่อตนเองจะได้ถวายวิหารทานและฟังธรรม แต่ภิกษุสงฆ์บอกว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบัญญัติไว้ว่า เมื่อเข้าพรรษาแล้วภิกษุต้องอยู่จำพรรษาตลอด ๓ เดือน จะเที่ยวไปในที่ต่าง ๆ ตามความประสงค์เหมือนช่วงก่อนเข้าพรรษานั้นไม่ได้ ขออุบาสกอุเทนจงรอก่อนเถิด เมื่อหมดเขตพรรษาแล้วภิกษุสงฆ์ก็จะรีบพากันไป 

 


                แต่ถ้าหากว่าประสบมีภารกิจอื่นที่ต้องรีบทำและจำเป็นต้องถวายวิหารในเวลานั้น ก็ถวายแก่ภิกษุที่ประจำอยู่ในอารามใกล้ ๆ นั้นเถอะ อุบาสกอุเทนทราบข่าวแล้วก็ไม่พอใจ ถึงกับกล่าวติเตียนภิกษุสงฆ์ว่า เราน่ะมีจิตศรัทธาบริจาคทรัพย์มากมายเพื่อหวังจะถวายวิหารทาน แต่ทำไมพระคุณเจ้าจึงไม่มารับวิหารทานของเราทั้ง ๆ ที่เราก็เป็นทายกผู้ตั้งใจทำหน้าที่อุปัฏฐากทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา ภิกษุสงฆ์ได้ยินคำติเตือนนั้นแล้วก็พากันไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าให้ทรงทราบ พุทธองค์จึงตรัสว่า ตถาคตอนุญาตให้ไปได้ ๗ วันผู้ที่จะไปได้ ได้แก่ ภิกษุ ภิกษุณี สิกขมานา สามเณร สามเณรี อุบาสก อุบาสิกา

DhammaPP_03..jpg


                แต่เมื่อไปแล้วต้องกลับมาให้ทันภายใน ๗ วัน สัตตาหกรณียะที่พระพุทธองค์ทรงอนุญาต มีอยู่ ๘ อย่างหลัก ๆ ด้วยกันคือ

 

        ๑. เมื่อมีสาธุชนปรารถนาจะบำเพ็ญบุญกุศลและส่งคนมานิมนต์ ในกรณีเช่นนี้ทรงอนุญาตให้ไปได้เฉพาะภิกษุรูปที่เขาส่งคนมานิมนต์ ถ้าไม่ส่งคนมานิมนต์ก็ไม่ทรงอนุญาต 

        ๒. เมื่อเพื่อนสหธรรมิกทั้ง ๕ คือ ภิกษุ ภิกษุณี สิกขมานา สามเณร สามเณรี เกิดอาพาธในระหว่างพรรษา จะส่งคนมานิมนต์หรือไม่ก็ตามทรงอนุญาตให้ไปช่วยกันดูแล 

        ๓. เมื่อเพื่อนสหธรรมิกเกิดความไม่ยินดีในการประพฤติพรหมจรรย์ หรือเกิดความเห็นผิดจะได้รับคำเชื้อเชิญให้ไปหาหรือไม่ก็ตาม หากคิดว่าเป็นไปเพื่อประโยชน์แก่พรหมจรรย์ของสหธรรมิก ก็ทรงอนุญาตให้ไป เพื่อระงับเหตุนั้น ๆ ได้ 

        ๔. เมื่อเพื่อนสหธรรมิกเฉพาะที่เป็นภิกษุ ภิกษุณีต้องอาบัติสังฆาทิเสส ปรารถนาจะออกจากอาบัติในขั้นใดก็ตามพระองค์ทรงอนุญาตให้ไปได้ เพราะการอนุเคราะห์เพื่อนพรหมจารีด้วยกันเป็นสิ่งที่ควรให้ความสำคัญ 

        ๕. เมื่อสงฆ์ปรารถนาจะทำสังฆกรรมลงโทษภิกษุรูปใดรูปหนึ่งคือตัชชนียกรรม นิยสกรรม ปัพพาชนียกรรม ปฏิสารณียกรรม หรืออุกเขปนียกรรม และภิกษุรูปที่จะถูกลงโทษต้องการให้ไปเพื่อไกล่เกลี่ย ไม่ให้ต้องปรับโทษหรือให้โทษเบาลง หรือไปเพื่อแนะนำภิกษุรูปนั้น ให้ปฏิบัติโดยชอบตามพระธรรมวินัย หรือเพื่อปลอบใจเป็นต้น ก็ทรงอนุญาตให้ไปได้

       ๖. เมื่อนางสิกขมานาหรือสามเณรปรารถนาจะบวช ทรงอนุญาตให้ไปเพื่อช่วยเหลือในการนั้นได้ สิกขมานาก็คือสามเณรี ที่ได้รับการอบรมเป็นเวลา ๒ ปีแล้วเตรียมตัวบวชเป็นภิกษุณี 

        ๗. มาดาบิดา พี่น้องหรือญาติเจ็บ ป่วยแม้จะส่งคนมานิมนต์หรือไม่ก็ตามถ้าทราบเรื่องก็สามารถไปเยี่ยมเยียนได้ เป็นการไปให้กำลังใจคนป่วย อีกทั้งเป็นที่พึ่งทางใจก่อนที่จะหลับตาลาโลก ประกาศสุดท้ายคือเมื่อวิหารชำรุดสามารถเดินทางไปวัดอื่นหรือต่างถิ่น เพื่อหาสิ่งของมาปฏิสังขรได้ นี่ก็เป็นข้อยกเว้นสำหรับไปปฏิบัติศาสนกิจนอกวัดภายใน ๗ วัน ในช่วงระหว่างเข้าพรรษานะจ๊ะ

 


                ทีนี้เรามาดูกันว่าการขาดพรรษา ที่ไม่ต้องอาบัติของภิกษุมีอะไรบ้าง ตามปกติแล้วในพระวินัยมีพุทธบัญญัติว่าภิกษุใดมาอยู่จำพรรษาหรือพบวัดที่สามารถอยู่จำพรรษาได้ แต่แกล้งเดินเลยไปเสียไม่ยอมอยู่จำพรรษาภิกษุนั้นต้องอาบัติทุกกฎ แต่เนื่องจากบางวัดน่ะมีเหตุการณ์สุดวิสัย ที่ภิกษุไม่สามารถอยู่จำพรรษาจนครบ ๓ เดือนได้ทำให้ต้องขาดพรรษาได้เหมือนกัน ก็ทรงอนุญาตไม่ให้ต้องอาบัติซึ่งมีอยู่หลายกรณีด้วยกันตั้งแต่ว่าเมื่อถูกสัตว์ร้ายรบกวน ถูกโจรปล้น วิหารถูกไฟไหม้หรือน้ำท่วม เมื่อชาวบ้านถูกโจรปล้นแล้วอพยพหนีไป ทรงอนุญาตให้ไปกับชาวบ้านได้และหากชาวบ้านแตกกันเป็น ๒ ฝ่ายทรงอนุญาตให้ไปกับฝ่ายข้างมากได้ หรือถ้าหากฝ่ายข้างมากไม่มีศรัทธาเลื่อมใสก็ทรงอนุญาตให้ไปกับฝ่ายข้างน้อยที่มีศรัทธาเลื่อมใสได้

 

DhammaPP_05..jpg


                เมื่อเกิดปัญหาขาดแคลนอาหารหรือยารักษาโรคหรือขาดผู้บำรุง ทำให้ได้รับความลำบากในเรื่องปัจจัย ๔ ทรงอนุญาตให้ไปสู่ที่อื่นได้ หรือหากมีผู้เอาทรัพย์มาล่อ ทรงอนุญาตให้ไปให้พ้นจากที่นั้นได้ นอกจากนี้ก็ยังมีกรณีที่เมื่อภิกษุสงฆ์หรือภิกษุณีสงฆ์แตกกัน หรือมีผู้พยายามทำให้แตกกัน หรือทำให้แตกกันแล้วทรงอนุญาตให้ไปเพื่อช่วยระงับความไม่สามัคคีนั้นได้ 

 

DhammaPP_06..jpg


                พระพุทธองค์ทรงห้ามจำพรรษาในที่ที่ไม่สมควร คือไม่ปลอดภัยหรือคับแคบเกินไปเช่นในโพรงไม้ บนกิ่งหรือคาคบไม้ กลางแจ้ง สถานที่ที่ไม่มีที่นอนที่นั่ง ห้ามไม่ให้จำพรรษาในโลงศพเป็นต้น นี่ก็เป็นภาพรวมเกี่ยวกับการอยู่จำพรรษาคร่าว ๆ ที่เราควรจะรู้กันเอาไว้บ้างนะจ๊ะ ส่วนรายละเอียดนั้นน่ะภิกษุสงฆ์ท่านมีความเข้าใจและก็ได้ ศึกษากันดีอยู่แล้ว และได้ยึดถือปฏิบัติสืบเนื่องกันมาเป็นเวลายาวนานกว่า ๒,๕๐๐ ปีประเพณีอันดีงามนี้ก็ยังคงยึดถือปฏิบัติกันต่อมาตราบกระทั่งถึงทุกวันนี้

 

DhammaPP_07..jpg


                การอยู่จำพรรษานั้น เป็นการเปิดโอกาสให้ภิกษุ สามเณรทั้งหลาย ตลอดจนพุทธบริษัททั้ง ๔ ได้มีโอกาสปฏิบัติธรรมกันอย่างเต็มที่ แล้วก็จะได้แลกเปลี่ยนความรู้ และประสพการณ์ซึ่งกันและกัน เพื่อการประพฤติธรรม ประพฤติพรหมจรรย์ให้บริสุทธิ์บริบูรณ์ยิ่งขึ้น จะมีเวลาฝึกทำใจหยุดใจนิ่งมากขึ้นเพื่อให้บรรลุเป้าหมายของชีวิต คือการทำพระนิพพานให้แจ้ง อันเป็นเป้าหมายสูงสุดของมวลมนุษยชาติ ดังนั้นน่ะพรรษานี้นอกจากภิกษุสงค์ท่านจะอยู่จำพรรษาแล้วพวกเราเองก็ควรจะจำพรรษาที่ศูนย์กลางกาย ทำพรรษานี้เนี่ยให้เป็นพรรษาที่พิเศษสุด ที่เราจะทำกาย วาจา ใจให้สะอาดบริสุทธิ์ ทำใจหยุดใจนิ่งให้เข้าถึงพระธรรมกายภายในให้ได้กันทุก ๆ คนนะจ๊ะ 

 

 

 

 

 

 

 ยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคล