ทันทีที่ลืมตามาดูโลก เราก็ต้องผจญภัยชนิดที่ พร้อมจะเอาให้ถึงตายอยู่ทุกวินาที เหมือนว่ายน้ำอยู่กลางทะเลมหาโหดที่มืดมิดอยู่ตลอดเวลา ภัยในโลกนี้แบ่งออกเป็น ๒ ประเภท
๑. ภัยภายในใครก็หลีกเลี่ยงไม่ได้
เบื้องหน้ามีมรณภัย คือภัยจากความตายรออยู่
เบื้องหลัง มีชาติภัย คือ ภัยจากการเกิดรออยู่
เบื้องซ้าย มีชราภัย คือภัยจากความแก่รออยู่
เบื้องขวา มีพยาธิภัย คือภัยจากความเจ็บรออยู่
๒. ภัยภายนอก มีนับไม่ถ้วนเช่น
ภัยจากคน ได้แก่ ผัวร้าย เมียเลว ลูกชั่ว นายชัง เพื่อนพาล
ภัยจากธรรมชาติ ได้แก่ น้ำท่วม ไฟไหม้ แผ่นดินไหว
ภัยจากบาปกรรมตามทัน ได้แก่ การถูกตามล้างตามผลาญด้วยเคราะห์กรรมทุกรูปแบบ
ภัยทั้ง ๒ ประเภทนี้ ตามล้างตามผลาญ แม้ตายแล้วก็ไม่ปล่อย จนกว่าจะปฏิบัติครบทุกมงคลให้หมดกิเลส จึงจะปลอดภัยอย่างแท้จริง เรียกว่า จิตเกษม
จิตเกษม แปลว่า ปลอดภัย พ้นภัย สิ้นกิเลส นิพพาน
หมายถึง สภาพจิตที่หมดกิเลสผูกมัด ทำให้คล่องตัว ไม่ติดขัด ไม่อึดอัดอีกต่อไป ไม่มีภัยใดๆ บีบคั้นบังคับได้อีก จึงมีความสุขอย่างแท้จริง
เหตุที่คนทั่วไปจิตไม่เกษม เพราะถูกกิเลสมัดเอาไว้ จนดิ้นไม่หลุด ตายแล้วก็เกิด เกิดแล้วก็ตาย กิเลสที่ผูกมัดเราไว้นี้เรียกว่าสังโยชน์สังโยชน์แปลว่า เครื่องผูก หมายถึง กิเลสที่ผูกใจสัตว์หรืออกุศลธรรมที่ผูกมัดสัตว์ให้เวียนว่ายตายเกิดอยู่ในสังสารทุกข์อุปมาเหมือนเชือกที่ผูกเทียมสัตว์ติดไว้กับรถ มี ๑๐ ประการ
-----------------------------------------------------------------
หนังสือ " เปิดไปอ่านความสุข "
ส. ผ่องสวัสดิ์
ชมรมนักคิดนักเขียนเพื่อสันติภาพโลกและมูลนิธิพัฒนาเยาวชนต้นแบบศีลธรรม