พระอภิธรรม (๗ คัมภีร์)

วันที่ 30 ธค. พ.ศ.2561

พระอภิธรรม (๗ คัมภีร์)

590405_01.jpg

      พระอภิธรรม ๗ คัมภีร์ คือพระธรรมในอภิธรรมปิฎกมีอยู่ทั้งสิ้น ๔๒,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ อภิธรรม คือธรรมะขั้นสูงหัวใจของอภิธรรมจะกล่าวถึงเรื่องของ จิต เจตสิก รูป และนิพพาน สิ้นเนื้อความในพระไตรปิฎกนับ ๑๐,๐๐๐ หน้าพระอภิธรรม ๗ คัมภีร์ เป็นธรรม ที่พระพุทธเจ้าแสดงโปรดพุทธมารดา( ธรรมแทนค่าน้ำนม) เมื่อจบพระอภิธรรมเทศนาเทวดาและพรหม ๘๐๐,๐๐๐ โกฎิ ได้บรรลุธรรมและสันตุสิตเทพบุตร (พุทธมารดา) ได้สำเร็จ เป็นพระโสดาบันบุคคล

 

 

 

๑. พระสังคิณี

            กุสะลา ธัมมา อะกุสะลา ธัมมา อัพยากะตา ธัมมาฯ กะตะเม ธัมมา กุสะลา ฯ ยัสมิง สะมะเย กามาวะจะรัง กุสะลัง จิตตัง อุปปันนัง โหติโสมะนัสสะสะหะคะตัง ญาณะสัมปะยุตตัง รูปารัมมะณัง วา สัททารัมมะณัง วา คันธารัมมะณัง วา ระสารัมมะณัง วา โผฏฐัพพารัมมะณัง วา ธัมมารัมมะณัง วา ยัง ยัง วา ปะนารัพภะ ตัสมิง สะมะเย ผัสโส โหติอะวิกเขโป โหติ เย วา ปะนะ ตัสมิง สะมะเย อัญเญปิอัตถิ ปะฏิจจะสะมุปปันนา อะรูปิโน ธัมมา อิเม ธัมมา กุสะลา

 

๒. พระวิภังค์

           ปัญจักขันธา รูปักขันโธ เวทะนากขันโธ สัญญากขันโธ สังขารักขันโธ วิญญาณักขันโธ ฯ ตัตถะ กะตะโม รูปักขันโธ ฯ ยังกิญจิรูปัง อะตีตานาคะตะปัจจุปปันนัง อัชฌัตตัง วา พะหิทธา วา โอฬาริกัง วา สุขุมัง วา หีนัง วา ปะณีตัง วา ยัง ทูเร วา สันติเก วา ตะเทกัชฌัง อะภิสัญญูหิตวา อะภิสังขิปิตวา อะยัง วุจจะติ รูปักขันโธ

 

๓. พระธาตุกะถา

          สังคะโห อะสังคะโห ฯ สังคะหิเตนะ อะสังคะหิตัง อะสังคะหิเตนะ สังคะหิตัง สังคะหิเตนะ สังคะหิตัง อะสังคะหิเตนะ อะสังคะหิตัง ฯ สัมปะโยโค วิปปะโยโค สัมปะยุตเตนะ วิปปะยุตตัง วิปปะยุตเตนะ สัมปะยุตตัง อะสังคะหิตัง

 

๔. พระปุคคะละปัญญัตติ

         ฉะ ปัญญัตติโย ขันธะปัญญัตติ อายะตะนะปัญญัตติ ธาตุปัญญัตติ สัจจะปัญญัตติ อินทริยะปัญญัตติ ปุคคะละปัญญัตติฯกิตตาวะตา ปุคคะลานัง ปุคคะละปัญญัตติฯ สะมะยะวิมุตโต อะสะมะยะวิมุตโต กุปปะธัมโม อะกุปปะธัมโม ปะริหานะธัมโม อะปะริหานะธัมโม เจตะนาภัพโพ อะนุรักขะนาภัพโพ ปุถุชชะโน โคตระภู ภะยูปะระโต อะภะยูปะระโต ภัพพาคะมะโน อะภัพพาคะมะโน นิยะโต อะนิยะโต ปะฏิปันนะโก ผะเลฏฐิโต อะระหา อะระหัตตายะ ปะฏิปันโน

 

๕. พระกะถาวัตถุ

         ปุคคะโลอุปะลัพภะติ สัจฉิกัตถะปะระมัตเถนาติ อามันตา ฯ โย สัจฉิกัตโถ ปะระมัตโถ ตะโต โส ปุคคะโล อุปะลัพภะติ สัจฉิกัตถะปะระมัตเถนาติฯ นะ เหวัง วัตตัพเพ ฯ อาชานาหิ นิคคะหัง หัญจิปุคคะโล อุปะลัพภะติสัจฉิกัตถะปะระมัตเถนะ เตนะ วะตะ เร วัตตัพเพ โย สัจฉิกัตโถ ปะระมัตโถ ตะโต โส ปุคคะโลอุปะลัพภะติสัจฉิกัตถะปะระมัตเถนาติฯ มิจฉา

 

๖. พระยะมะกะ

         เย เกจิกุสะลา ธัมมา สัพเพ เต กุสะละมูลา ฯ เย วา ปะนะ กุสะละมูลา สัพเพ เต ธัมมา กุสะลา ฯ เย เกจิกุสะลา ธัมมา สัพเพ เต กุสะละมูเลนะ เอกะมูลา ฯ เย วา ปะนะ กุสะละมูเลนะ เอกะมูลา สัพเพ เต ธัมมา กุสะลา

 

๗. พระมะหาปัฏฐาน

        เหตุปัจจะโย อารัมมะณะปัจจะโย อะธิปะติปัจจะโย อะนันตะระปัจจะโย สะมะนันตะระปัจจะโย สะหะชาตะปัจจะโย อัญญะมัญญะปัจจะโย นิสสะยะปัจจะโย อุปะนิสสะยะปัจจะโย ปุเรชาตะปัจจะโย ปัจฉาชาตะปัจจะโย อาเสวะนะปัจจะโย กัมมะปัจจะโย วิปากะปัจจะโย  อาหาระปัจจะโย อินทริยะปัจจะโย ฌานะปัจจะโย  มัคคะปัจจะโย  สัมปะยุตตะปัจจะโย วิปปะยุตตะปัจจะโย อัตถิปัจจะโย นัตถิปัจจะโย วิคะตะปัจจะโย อะวิคะตะปัจจะโย

 

117770658.jpg

คำแปล ความหมาย พระอภิธรรม ๗ บท

พระสังคิณี

ธรรมทั้งหลายแบ่งเป็น ๓ หมวด คือ
๑. ธรรมที่เป็นกุศล มีผลทำให้เป็นสุขตลอดไป เช่น ทาน ศีล ภาวนา เป็นต้น
๒. ธรรมที่เป็นอกุศล มีผลทำให้เป็นทุกข์ตลอดไป เช่น ความโลภ ความโกรธ ความหลง เป็นต้น
๓. ธรรมที่เป็นอัพยากฤต คือ ธรรมที่เป็นกลางๆ ไม่เกาะทั้งกุศล และอกุศล 
(มีคำถามว่า) ธรรมที่เป็นกุศลคืออย่างไร
(คำตอบ) จิตที่เป็นกุศลที่เกิดขึ้นพร้อมกับความสุขใจ และประกอบด้วยปัญญาอันรู้ว่ามีผลทำให้เป็นสุข ที่สามรถนำให้ไปเกิดในกามาวจรสวรรค์ ได้แก่ จิตที่ยินดีในรูปที่เป็นกุศล มีรูปพระพุทธเจ้า เป็นต้น หรือจิตที่ยินดีในเสียงที่เป็นกุศล เช่น เสียงที่ท่านแสดงธรรมเทศนา เป็นต้น หรือจิตที่ยินดีในกลิ่นที่เป็นกุศล เช่น กลิ่นธูปหอมบูชาพระ เป็นต้น หรือจิตที่ยินดีในรสอาหารแล้วคิดอยากจะให้ทาน เป็นต้น หรือจิตที่ยินดีในการเจริญกรรมฐานในอนุสสติ มีพุทธานุสสติ เป็นต้น และอีกนัยหนึ่งคือ จิตที่มีความปรารถนาในรูป กลิ่น เสียง รส สัมผัส และอารมณ์ที่เป็นกุศล มีการเจริญพุทธานุสสติ เป็นต้น ดังกล่าวแล้วนั้น ก็สามารถทำให้จิตรวมตัวเป็นกุศลได้เช่นกัน  
และอีกอย่างหนึ่ง คือเมื่อจิตที่เป็นกุศลนึกถึงอารมณ์ที่เป็นกุศลต่าง ๆ ดังกล่าวมาแล้วนั้น สามารถทำให้ได้รับผลเป็นอรูปธรรมขึ้นมา ได้แก่ เกิดสมาธิจิตตั้งมั่นในอารมณ์ที่เป็นกุศลนั้น ๆ ทั้งหมดนี้ได้ชื่อว่า ธรรมที่เป็นกุศลทั้งนั้นแล ฯ 

พระวิภังค์

ขันธ์ ๕ คือสภาธรรมชาติที่ประกอบกันเป็นร่างกาย มี ๕ กอง คือ 
๑. รูป คือสภาวะที่จะต้องฉิบหายสลายไปเพราะร้อนจัดหรือเย็นจัด ประกอบด้วยธาตุทั้ง ๔ มีอาการ ๓๒ ได้แก่ ผม ขน เล็บ หนัง เนื้อ เอ็น กระดูก ตับ ไต ไส้ ปอด ขี้ เยี่ยว เสลด หนอง เลือด มันสมอง เหล่านี้เป็นต้น 
๒. เวทนา คือความรู้สึกเป็นสุข เป็นทุกข์ ความรู้สึกดีใจ เสียใจ และอารมณ์ที่รู้สึกเฉย ๆ 
๓. สัญญา คือความจำ
๔. สังขาร คือความคิดดีและชั่ว
๕. วิญญาณ คือความรู้สึกสัมผัสกับ รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส ทั้งดีและไม่ดี

(มีคำถามว่า) ในบรรดาขันธ์ทั้ง ๕ นั้น รูปมีสภาวะเป็นอย่างไร
(คำตอบ) รูปอย่างใดอย่างหนึ่ง ที่มีแล้วในอดีต รูปภายนอก คือร่างกายที่จิตผูัอื่นเข้ามาอาศัยอยู่ ทั้งหยาบและละเอียด ทั้งเลวและดี ทั้งอยู่ไกลและอยู่ใกล้ สรุปแล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงกล่าวโดยย่อว่า ขั้นธ์ ๕ คือร่างกายนี้นั้นแล ฯ

พระธาตุกถา

     การสงเคราะห์ คือการรวมธรรมที่มีเหตุปัจจัยอันเดียวกันเข้าเป็นหมวดหมู่เดียวกัน ได้แก่ รวมเอา จิต เจตสิก (อารมณ์ความคิด) และรูป เข้าเป็นหมวดหมู่เดียวกัน

      การไม่สงเคราะห์ คือการไม่รวมธรรมเข้าเป็นหมวดหมู่เดียวกัน ได้แก่ การที่ไม่เอา จิต เจตสิก รวมเข้าเป็นหมวดหมู่เดียวกัน  การเอาธรรมที่เป็นหมวดหมู่เดียวกันคือ จิต เจตสิก รูป ไปรวมไว้กับธรรมอื่นที่ไม่ได้จัดรวมเป็นหมวดหมู่ไว้  การไม่เอาธรรมที่เป็นหมวดหมู่เดียวกัน เข้าไปรวมกับธรรมอื่นที่จัดเป็นหมวดหมู่ไว้แล้ว ได้แก่ การไม่เอาจิต เจตสิก รูป ที่เป้นหมวดหมู่เดียวกันเข้าไปรวมไว้กับธรรมอื่นที่จัดเป็นหมวดหมู่ไว้แล้ว   

   การเอาธรรมที่เป็นหมวดหมู่เดียวกัน เข้าไปรวมกับธรรมอื่นที่จัดเป็นหมวดหมู่ไว้แล้ว ได้แก่ การเอาจิต เจตสิก รูป ที่เป็นหมวดหมู่เดียวกัน เข้าไปรวมไว้กับธรรมอื่นที่จัดเป็นหมวดหมู่ไว้แล้ว
      การไม่เอาธรรมที่เป็นหมวดหมู่เดียวกัน เข้าไปรวมกับธรรมอื่นที่ไม่ได้จัดเป็นหมวดหมู่ไว้ ได้แก่ การไม่เอาจิต เจตสิก รูป ที่เป็นหมวดหมู่เดียวกันเข้าไปรวมไว้กับธรรมอื่นที่ไม่ได้จัดเป็นหมวดหมู่ไว้ ฯ

    ธรรมที่ประกอบกันได้ คือธรรมที่มีความเกิดดับเหมือนกัน มีวัตถุเป็นที่ตั้งเหมือนกัน และมีอารมณ์เป็นอันเดียวกัน ได้แก่เจตสิก มีเกิดขึ้นพร้อมกับจิต

     ธรรมที่ประกอบกันไม่ได้ คือธรรมที่มีความเกิดดับไม่เหมือนกัน ฯ ได้แก่ จิตดวงนี้กับจิตดวงอื่น ที่มีความเกิดดับไม่เหมือนกัน ฯ 

     การเอาธรรมที่เกิดดับไม่เหมือนกัน เข้าไปประกอบกับธรรมที่มีความเกิดดับเหมือนกัน ได้แก่ การเอาเจตสิกของจิตดวงนี้และเจตสิกของจิตดวงอื่นเข้าไปประกอบกับเจตสิกของจิตอีกดวงหนึ่งที่มีความเกิดดับเหมือนกัน

    การเอาเจตสิกของจิตดวงนี้ที่มีความเกิดดับเหมือนกัน เข้าไปประกอบกับเจตสิกของจิตอีกดวงที่มีความเกิดดับไม่เหมือนกัน

     การไม่รวมเอาธรรมที่ไม่ควรรวบรวม ซึ่งเข้ากับธรรมหมวดอื่นไม่ได้เลย ฯ


พระบุคคลบัญญัติ

   การประกาศแต่งตั้งสภาวะธรรมชาติ เพื่อให้เรียกชื่อได้ถูกต้อง ๖ ประเภท คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ เรียกว่า ขันธ์ ๕  

     ตา หูจมูก ลิ้น กายใจ ซึ่งเป็นเครื่องเชื่อมต่อให้เกิดบุญและบาป เรียกว่า อายตนะ

     ธรรมชาติที่ทรงไว้ซึ่งลักษณะของตน ซึ่งมีการเสื่อมไปสลายไปเป็นธรรมดา เรียกว่า ธาตุ 

     ความจริง ๔ อย่าง คือ ทุกข์ เหตุให้เกิดทุกข์ ความดับทุกข์ และข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์ (มรรค ๘ หรือกล่าวโดยย่อเรียกว่า ศีล สมาธิ ปัญญา) เรียกว่า สัจจะ

    ความเป็นใหญ่ในหน้าที่ของตน คือ ตาเป็นใหญ่ในการเห็นรูป หูเป็นใหญ่ในการฟังเสียง จมูกเป็นใหญ่ในการดมกลิ่น ลิ้นเป็นใหญ่ในการลิ้มรส กายประสาทเป็นใหญ่ในการสัมผัส เรียกว่า อินทรีย์

    ธรรมชาติอันประกอบด้วยธาตุ ๕ มีอาการ ๓๒ มี ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ เอ็น กระดูก ตับ ไต ไส้ ปอด ขี้ เยี่ยว เสลด เลือด มันสมอง เหล่านี้เป็นต้น ที่รวมกันเป็นรูปร่าง เรียกว่า บุคคล 

(มีคำถามว่า)   บัญญัติที่ประกาศแต่งตั้งให้เรียกว่า บุคคล มีกี่จำพวกหนอ?
(คำตอบ)  พระอริยบุคคลผู้พ้นกิเลสยังไม่ขาดหมด มีพระโสดาบัน เป็นต้น และพระอริยบุคคลผู้พ้นกิเลสเด็ดขาด เป็นสมุจเฉทปหานแล้ว ได้แก่ พระอรหันต์

   บุคคลผู้ได้ฌาณสมาบัติไม่คล่องแคล่ว จิตย่อมกำเริบตกเป็นทาสของนิวรณ์ได้อีก และบุคคลผู้ได้ฌาณสมาบัติคล่องแคล่วแล้ว จิตไม่มีทางกำเริบตกเป็นทาสของนิวรณ์ได้อีก

     บุคคลผู้ได้ฌาณสมาบัติขั้นต่ำ ซึ่งมีโอกาสที่ฌาณสมาบัติจะเสื่อมได้ และบุคคลผู้ใดได้ฌาณสมาบัติขั้นสูง ไม่มีทางเสื่อมจากฌาณสมาบัติได้

       บุคคลผู้ได้ฌาณสมาบัติแล้วไม่สามารถจะรักษาไว้ได้ และบุคคลผู้ได้ฌาณสมาบัติแล้วขยันปฏิบัติสามารถรักษาฌาณสมาบัติไว้ได้ตลอดไป

       บุคคลผู้เป็นปุถุชนผู้หนาแน่นไปด้วยอาสวกิเลส และบุคคลผู้เจริญวิปัสสนากรรมฐานจนถึงขั้นโคตรภู (คือผู้ที่มีจิตกำลังจะข้ามพ้นจากความเป็นปุถุชนไปสู่ความเป็นพระอริยะ)

      บุคคลผู้งดเว้นจากการทำความชั่ว เพราะกลัวบาป (ได้แก่บุคคลธรรมดาที่มีศีล พระโสดาปัตติมรรค ฯลฯ พระอรหัตมรรค) และบุคคลผู้ไม่มีความกลัวต่อทุกอย่างและไม่มีความชั่วในจิต (ได้แก่พระขีณาสพ หรือที่เรียกว่า พระอรหันต์ เป็นเพราะจิตไม่เกาะในอะไร ๆ จึงไม่มีความกลัว)

       บุคคลผู้มีวาสนาบารมีอันแก่กล้า สามารถจะได้ลรรบุมรรคผลในชาตินี้และบุคคลผู้มีวาสนาบารมียังอ่อน ยังไม่สามารถที่จะบรรลุมรรคผลในชาตินี้ได้ 

     บุคคลผู้เที่ยงแท้แน่นอน ได้แก่ ผู้ทำอนันตริยกรรม ๕ อย่าง คือ ฆ่ามารดา ฆ่าบิดา ฆ่าพระอรหันต์ ทำลายสงฆ์ให้แตกกัน ทำร้ายพระพุทธเข้าจนถึงให้พระบาทห้อพระโลหิต จะต้องตกนรกอย่างแน่นอน (หรืออีกนัยหนึ่ง บุคคลผู้เที่ยงแท้แน่นอน ได้แก่พระอริยบุคคล คือมีความเที่ยงแท้แน่นอนที่จะได้ไปนิพพาน) และบุคคลผู้ไม่เที่ยงแท้แน่นอน ได้แก่ ปุถุชนคนธรรมดาที่ต้องเวียนว่ายตายเกิด

      บุคคลผู้ปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานที่กำลังจะได้อริยมรรค และบุคคลผู้ปฏิบัติจนได้อริยผลแล้ว ได้แก่ พระโสดาปัตติผล เป็นต้น 

         บุคคลผู้เป็นพระอรหันต์ไกลจากกิเลสแล้ว และบุคคลผู้กำลังปฏิบัติเพื่อความเป็นพระอรหันต์ ฯ

พระพุทธองค์ทรงตรัสว่า 

เอถะ ปัสสะถิมัง     - สูเจ้าทั้งหลายจงมาเถิด มาดูโลกนี้
จิตตัง ราชะระถูปะมัง     - อันวิจิตรพิสดารเหมือนราชรถทรง
ยัตถะ พาลา วิสีทันติ  - ณ ที่นี่แหละ เหล่าคนโง่พากันหมกอยู่
นัตถิ สังโค วชานะตัง   - แต่ผู้รู้หาข้องอยู่ไม่

 

พระกถาวัตถุ

(พระกถาวัตถุบทนี้ พระพุทธเจ้าทรงถามเองและตอบเอง)

    ท่านมีความเห็นว่า บุคคลชายหญิงย่อมเกิดมีขึ้นมาได้โดยธรรมเป็นเครื่องทำให้แจ้งซึ่งพระนิพพาน และธรรมอันสูงสุดคือนิพพานหรือ?

        ย่อมมีได้ ฯ

     ธรรมเป็นเครื่องทำให้แจ้งซึ่งพระนิพพาน และธรรมอันสูงสุดคือพระนิพพานอย่างแท้จริง มีอยู่ในพระพุทธศาสนานี้ ก็บุคคลชายหญิงย่อมเกิดมีขึ้นมาได้โดยธรรมเป็นเครื่องทำให้แจ้งซึ่งพระนิพพาน และธรรมอันสูงสุดคือพระนิพพาน อย่างนั้นหรือ?

        เราไม่ได้กล่าวอย่างนั้นเลย ฯ

  ถ้าท่านกล่าวหรือมีความเห็นว่า บุคคลชายหญิงย่อมเกิดมีขึ้นมาได้โดยธรรมเป็นเครื่องทำให้แจ้งซึ่งพระนิพพาน และธรรมอันสูงสุดคือพระนิพพานแล้วไซร้ ท่านก็จงรับโทษอันควรลงแก่ผู้ที่ประพฤติและเห็นผิดจากพระธรรมวินัยเสียเถิด เพราะการกล่าวว่า "ธรรมอันเป็นเครื่องทำให้แจ้งซึ่งพระนิพพาน และธรรมอันสูงสุดคือพระนิพพาน มีอยู่ในพระพุทธศาสนานี้อย่างแท้จริงแล้ว ยังกล่าวว่า บุคคลชายหญิงย่อมเกิดมีขึ้นมาได้โดยธรรมเป็นเครื่องทำให้แจ้งซึ่งพระนิพพาน และธรรมอันสูงสุดคือพระนิพพาน" นั้น เป็นคำกล่าวที่ผิดโดยแท้แล ฯ
 

พระยมก

     ธรรมทั้งหลายที่เป็นกุศลมูลคคือรากเหง้าของความดี ได้แก่ ความไม่โลภ ความไม่โกรธ และความไม่หลง เป็นต้น ชื่อว่าธรรมที่เป็นกุศล ย่อมให้ผลเป็นสุข ฯ

     และธรรมที่เป็นรากเหง้าของธรรมอย่างอื่นอีก ได้แก่ ทาน ศีล ภาวนา เป็นต้น ก็ได้ชื่อว่าธรรมที่เป็นกุศลย่อมให้ผลเป็นสุขทั้งสิ้น ฯ

      และธรรมอย่างอื่นที่นอกเหนือไปจากนี้ ที่เป็นธรรมฝ่ายเดียวกับธรรมที่เป็นกุศลมูล ได้แก่ ศีล สมาธิ ปัญญา เป็นต้น ก็ได้ชื่อว่าธรรมที่เป็นกุศลย่อมให้ผลเป็นสุขทั้งสิ้น ฯ
 

พระมหาปัฏฐาน

      ความไม่โลภ ความไม่โกรธ ความไม่หลง และ ทาน ศีล ภาวนา เป็นต้น เป็นปัจจัยให้เกิดในที่มีสุข

      อารมณ์ความยินดีในรูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส เป็นปัจจัยให้เกิดธรรมอย่างใดอย่างหนึ่งขึ้นมาทั้งดีและไม่ดี

      อิทธิบาท ๔ คือ ฉันทะ วิริยะ จิตตะ  วิมังสา ซึ่งเป็นธรรมที่ทำให้จิตเป็นใหญ่เหนือสิ่งใด ๆ  เป็นปัจจัยให้เกิดธรรมอย่างใดอย่างหนึ่งขึ้นมา

      จิตที่เกาะอยู่ในรูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส แบบต่อเนื่องกันตลอดเวลาไม่มีอารมณ์อื่นเข้ามาแทรก เป็นปัจจัยให้เกิดธรรมอย่างใดอย่างหนึ่งขึ้นมาทั้งดีและไม่ดี

     จิตและอารมณ์ความคิดซึ่งเป็นธรรมที่เกิดร่วมกัน เป็นปัจจัยให้เกิดธรรมอย่างใดอย่างหนึ่งขึ้นมาทั้งดีและไม่ดี

      อารมณ์ความคิดที่เกิดขึ้นเพราะอาศัยจิต เป็นปัจจัยให้เกิดธรรมอย่างใดอย่างหนึ่งขึ้นมาทั้งดีและไม่ดี

      จิตจะดีหรือชั่วก็เพราะอาศัยอารมณ์ความคิด เป็นปัจจัยให้เกิดธรรมอย่างใดอย่างหนึ่งขึ้นมาทั้งดีและไม่ดี

    จิตที่มีกำลังมากได้อาศัยอารมณ์ความคิดที่มีกำลังมาก เป็นปัจจัยให้เกิดธรรมอย่างใดอย่างหนึ่งขึ้นมาทั้งดีและไม่ดี

     รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส ที่มีอยู่ตามปกติก่อนที่ ตา หู จมูก ลิ้น กาย จะได้สัมผัส เป็นปัจจัยให้เกิดธรรมอย่างใดอย่างหนึ่งขึ้นมาทั้งดีและไม่ดี

     จิตและอารมณ์ความคิดที่เกิดรู้สึกขึ้นภายหลังจากการที่ ตาได้เห็นรูป หูได้ฟังเสียง จมูกได้ดมกลิ่น ลิ้นได้ลิ้มรส กายได้สัมผัสกับสิ่งต่าง ๆ เป็นปัจจัยให้เกิดธรรมอย่างใดอย่างหนึ่งขึ้นมาทั้งดีและไม่ดี

      อารมณ์ของจิตที่แล่นเข้าไปยินดีใน รูป กลิ่น เสียง รส สัมผัส เป็นปัจจัยให้เกิดธรรมอย่างใดอย่างหนึ่งขึ้นมาทั้งดีและไม่ดี

        กรรมคือบุญและบาปที่ทำไว้แล้ว เป็นปัจจัยให้บุคคลเกิดในที่ดีและชั่ว

        ผลบุญและบาป เป็นปัจจัยให้บุคคลเกิดในที่ดีและชั่ว

      อาหารทั้งหลาย ๔ อย่าง มีอาหารที่บริโภคเข้าไป เป็นต้น เป็นปัจจัยให้เกิดธรรมอย่างใดอย่างหนึ่งขึ้นมาทั้งดีและไม่ดี

       ความเป็นใหญ่ทั้งหลาย คือ ตา เป็นใหญ่ในการเห็นรูป หู เป็นใหญ่ในการฟังเสียง จมูก เป็นใหญ่ในการดมกลิ่น ลิ้น เป็นใหญ่ในการลิ้มรส กายประสาท เป็นใหญ่ในการสัมผัส เป็นปัจจัยให้เกิดธรรมอย่างใดอย่างหนึ่งขึ้นมาทั้งดีและไม่ดี

       ฌาณสมาบัติ เป็นปัจจัยให้ไปเกิดเป็นพรหม

       มรรค ๘ ประการ หรือกล่าวโดยย่อคือ ศีล สมาธิ ปัญญา เป็นปัจจัยให้บุคคลเป็นพระอริยเจ้า

       จิตและอารมณ์ความคิดที่คิดในเรื่องเดียวกัน เป็นปัจจัยให้เกิดธรรมอย่างใดอย่างหนึ่งขึ้นมาทั้งดีและไม่ดี

      รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ที่แตกต่างกัน เป็นปัจจัยให้เกิดธรรมอย่างใดอย่างหนึ่งขึ้นมาทั้งดีและไม่ดี

       รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ที่ยังมีอยู่ เป็นปัจจัยให้เกิดธรรมอย่างใดอย่างหนึ่งขึ้นมาทั้งดีและไม่ดี

    จิตและอารมณ์ความคิดทั้งดีและไม่ดี ซึ่งออกจากร่างกายที่ตายแล้วเป็นปัจจัยให้เกิดในร่างกายใหม่ทั้งดีและไม่ดี

       จิตและอารมณ์ความคิดที่แยกออกเป็นฝ่ายดีและฝ่ายชั่ว เป็นปัจจัยให้เกิดในภพใหม่ที่ดีและไม่ดี

       จิตและอารมณ์ความคิดทั้งดีและไม่ดีในปัจจุบัน เป็นปัจจัยให้เกิดธรรมอย่างใดอย่างหนึ่งขึ้นมาทั้งดีและไม่ดี ฯ

 

 


อ้างอิงจาก หนังสือสวดมนต์แปล วัดจันทาราม (วัดท่าซุง) อ.เมือง จ.อุทัยธานี

 ยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคล Total Execution Time: 0.0191153327624 Mins