ติลักขะณาทิคาถา

วันที่ 11 เมย. พ.ศ.2559

ติลักขะณาทิคาถา , ไตรลักษณ์ , ธรรม , สวดมนต์ , วัดพระธรรมกาย , สวดมนต์วัดพระธรรมกาย , ติลักขณาทิคาถา ,  สัพเพ สังขาราอะนิจจาติ

ติลักขะณาทิคาถา

         สัพเพ สังขาราอะนิจจาติ
ยะทา ปัญญายะ ปัสสะติ
อะถะ นิพพินทะติ ทุกเข
เอสะ มัคโค วิสุทธิยา
สัพเพ สังขารา ทุกขาติ
ยะทา ปัญญายะ ปัสสะติ
อะถะ นิพพินทะติ ทุกเข
เอสะ มัคโควิ สุทธิยา
สัพเพ ธัมมา อะนัตตาติ
ยะทา ปัญญายะ ปัสสะติ
อะถะ นิพพินทะติ ทุกเข
เอสะ มัคโค วิสุทธิยา
อัปปะกา เต มะนุสเสสุ
เย ชะนา ปาระคามิโน
อะถายัง อิตะรา ปะชา
ตีระเมวานุธาวะติ
เย จะ โข สัมมะทักขาเต
ธัมเม ธัมมานุวัตติโน
เต ชะนา ปาระเมสสันติ
มัจจุเธยยัง สุทุตตะรัง
กัณหัง ธัมมัง วิปปะหายะ
สุกกัง ภาเวถะ ปัณฑิโต
โอกา อะโนกะมาคัมมะ
วิเวเก ยัตถะ ทูระมัง
ตัต๎ราภิระติมิจเฉยยะ
หิต๎วา กาเม อะกิญจะโน
ปะริโยทะเปยยะ อัตตานัง
จิตตัก๎เลเสหิ ปัณฑิโต
เยสัง สัมโพธิยังเคสุ
สัมมา จิตตัง สุภาวิตัง
อาทานะปะฏินิสสัคเค
อะนุปาทายะ เย ระตา
ขีณาสะวา ชุติมันโต
เตโลเก ปะรินิพพุตาติ

 

117770658.jpg

 

คำแปล ความหมาย ติลักขณาทิคาถา
(ธรรมทั้งหลายมีไตรลักษณ์เป็นต้น)

      เมื่อใด บุคคลเห็นอยู่ด้วยปัญญา ว่า สังขารทั้งหลายทั้งปวงไม่เที่ยง, เมื่อนั้น เขาย่อมเบื่อหน่ายในทุกข์ การเห็นและเบื่อหน่ายอย่างนี้ เป็นทางแห่งความหมดจด ฯ

     เมื่อใด บุคคลเห็นอยู่ด้วยปัญญา ว่า สังขารทั้งหลายทั้งปวงเป็นทุกข์, เมื่อนั้น เขาย่อมเบื่อหน่ายในทุกข์ การเห็นและเบื่อหน่ายอย่างนี้ เป็นทางแห่งความหมดจด ฯ

    เมื่อใด บุคคลเห็นอยู่ด้วยปัญญา ว่า ธรรมทั้งหลายทั้งปวงเป็นอนัตตา, เมื่อนั้น เขาย่อมเบื่อหน่ายในทุกข์ การเห็นและเบื่อหน่ายอย่างนี้ เป็นทางแห่งความหมดจด ฯ

       ในบรรดามนุษย์ทั้งหลาย ชนผู้เข้าไปถึงฝั่ง คือพระนิพพาน มีประมาณน้อยมากทีเดียว, ส่วนหมู่สัตว์คือชนที่เหลือนอกจากนี้ ย่อมแล่นเลาะไปตามชายฝั่งเกาะสักกายทิฏฐิอยู่นั่นเทียว ฯ

   สำหรับหมู่ชนที่มีปกติประพฤติตามธรรม ที่พระตถาคตเจ้าทรงกล่าวไว้แล้วโดยชอบ ก็จักถึงฝั่งคือพระนิพพาน ล่วงพ้นวัฏสงสารอันเป็นที่ตั้งแห่งมัจจุ คือกิเลสมาร ที่บุคคลข้ามได้ยากยิ่งนั้นไปได้  ฯ

      บัณฑิตควรจะละธรรมอันดำเสีย แล้วพึงเจริญธรรมอันขาวให้มีขึ้น โดยอาศัยเอาจิตเกาะพระนิพพานแดนที่ไม่มีตัณหา ออกจากตัณหาอาลัย แล้วพึงละกามทั้งหลาย เป็นผู้ไม่มีความกังวล ยินดีในพระนิพพานอันสงัดที่ใคร ๆ ยินดีได้โดยยากนั้น, บัณฑิตควรทำจิตให้ผ่องแผ้วจากกิเลสเครื่องเศร้าหมองทั้งหลาย,

 

 


** อ้างอิงจาก หนังสือสวดมนต์แปล วัดจันทาราม (วัดท่าซุง) อ.เมือง จ.อุทัยธานี 

 

 ยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคล Total Execution Time: 0.059906915823619 Mins